เช็กลิสต์..พฤติกรรมแบบไหนสุ่มเสี่ยงเป็นโรคคลั่งผอม (Anorexia)
สไตล์คนยุคใหม่ใคร ๆ ก็ล้วนอยากผอม โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่อยากมีหุ่นดีเพื่อที่จะได้ใส่เสื้อผ้าสวย ๆ ไว้อวดกับผองเพื่อน แต่การผอมหุ่นดีนั้นก็ต้องแลกมาด้วยความพยายามและแรงใจมากมายทั้งการออกกำลังกายไปจนถึงการคุมอาหาร แม้ว่าการผอมจะเป็นเรื่องดีแต่ผู้ที่อยากผอมมาก ๆ ลดน้ำหนักเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตนเอง หรือน้ำหนักขึ้นมาเพียงไม่กี่กรัมก็เข้าขั้นเครียดแล้ว แบบนี้อาจเรียกว่าโรคคลั่งผอมหรือ Anorexia ได้ ซึ่งบทความนี้เราจะมาอธิบายสาเหตุของโรคคลั่งผอมให้ได้ทราบ การเช็กอาการ รวมถึงวิธีดูแลรักษาสุขภาพกายและใจของตนเองให้หุ่นดีอย่างมีคุณภาพ
โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa) คืออะไร?
หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อของโรคคลั่งผอมมาอยู่มาบ้าง ซึ่งต้องบอกเลยว่าโรคนี้มีอยู่จริง โดยโรคคลั่งผอมนั้นมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Anorexia Nervosa ผู้ที่เป็นโรคดั่งกล่าวนี้จะมีความวิตกกังวลว่าตนเองจะอ้วนจนเกินไป แม้ว่าตนเองจะหุ่นดีและผอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็จะยังคงพยายามทำให้น้ำหนักของตนเองลดลงไปอีกจนผอมเกินมาตรฐาน ทั้งการควบคุมอาหารตลอดจนออกกำลังกายอย่างหนัก เพราะกลัวว่าตนเองจะอ้วนจนเกินไปหรืออาจวิตกว่าตนเองจะอ้วนกว่าคนอื่น ผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาลดความอ้วนเพื่อช่วยลดน้ำหนัก หรือบางรายก็ล้วงคออาเจียนหลังรับประทานเสร็จ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ต่อไปอาจขาดสารอาหารจนเกิดอันตรายต่อร่างกายและชีวิตได้
สาเหตุของโรคคลั่งผอมมาจากอะไร?
Anorexia Nervosa หรือโรคคลั่งผอมนับเป็นอาการทางสุขภาพจิต ซึ่งผู้ป่วยจะไม่พอใจในรูปลักษณ์ของตนเอง คิดว่าตนเองยังมีรูปร่างไม่ดีเพียงพอ มีความคาดหวังในตนเองสูงอยากให้ตนเองดูสมบูรณ์แบบสำหรับคนอื่น ผู้ป่วยบางคนอาจมีหน้าตาในสังคมหรือเป็นคนที่มีการเรียนหรือการทำงานที่ดีอยู่แล้วจึงต้องการให้ตนเองมีรูปร่างดีเข้ามาประกอบ หากมีคนรอบข้างทักว่าอ้วนไปก็จะส่งผลต่อสภาพจิตใจจนทำให้ตนเองอยากลดน้ำหนักให้มากขึ้น และเมื่อน้ำหนักลดลงจากการอดอาหารก็จะรู้สึกภูมิใจมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานจนทำให้สุขภาพทรุดโทรมได้
มีข้อสันนิษฐานทางการแพทย์ระบุว่าโรคคลั่งผอมอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมได้เช่นกัน ซึ่งมีรายงานว่าพี่น้องที่เป็นแฝดจากไข่ใบเดียวกัน หากคนใดคนหนึ่งเป็นโรคดังกล่าวแฝดอีกคนก็จะมีแนวโน้มเป็นโรคนี้ด้วย รวมถึงโรคนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางสมองในส่วนของการควบคุมเรื่องการกินได้เช่นกัน ทั้งนี้ผู้ป่วยเป็นโรคคลั่งผอมมักป่วยเป็นโรคจิตเวชอื่น ๆ ด้วย อย่างโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า เป็นต้น
นอกจากนี้สภาพแวดล้อมและค่านิยมทางสังคมยังส่งผลให้เป็นโรคคลั่งผอมได้เช่นกัน เมื่อร่างกายเข้าสู่วัยรุ่นย่อมมีการพบปะสังคมรอบด้านมากขึ้น เมื่อมีแรงกดดันจากคนอื่น ๆ ก็อาจทำให้อยากผอม หรืออาชีพที่ต้องพึ่งพาความงามและรูปร่างอย่างเช่น ดารา นางแบบ นักร้อย พริตตี้ แอร์โฮสเตส ก็สร้างบรรทัดฐานให้ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ต้องผอมหุ่นดีเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อความคิดและทัศนคติของผู้ป่วยโดยตรง
อาการของโรคคลั่งผอมมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยมักจะมีสภาพเช่นเดียวกับผู้ที่อดอาหาร ได้แก่ ร่างกายผอมซูบโทรมไม่มีกล้ามเนื้อ มวลน้ำหนักน้อยผิดปกติกว่าคนมาตรฐานทั่วไป ร่างกายอ่อนเพลียง่าย รู้สึกเมื่อยล้าไปทั้งตัว มีอาการวิงเวียนศรีษะบ่อยครั้ง จำนวนเม็ดเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ผิวแห้งซีดเหี่ยวเฉา ผมร่วง ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา
ส่วนอาการทางสุขภาพจิตของโรคคลั่งผอมนั้น ผู้ป่วยจะวิตกกังวลหักโหมออกกำลังกายอย่างหนักหรือพยายามลดน้ำหนักอย่างเข้มงวด จะทานอาหารแต่ละครั้งจิตใจจะจดจ่อเรื่องปริมาณแคลลอรี่ของอาหาร มีความกังวลอย่างมากเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วพบว่าตนเองมีน้ำหนักเพิ่มแม้จะเพียงน้อยนิดก็ตาม แต่ถ้าน้ำหนักลดลงจะมีความภาคภูมิใจ จิตใจฟุ่งซ่านจดจ่อกับเรื่องรูปร่างของตนเอง มีอารมหงุดหงิดโมโหง่ายเพราะท้องหิวแต่ต้องหักห้ามใจ มีอาการซึมเศร้าเข้ามาประกอบ รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ผู้ป่วยโรคคลั่งผอมสุ่มเสี่ยงเป็นโรคร้ายอะไรบ้าง
อย่างที่อธิบายไปก่อนหน้าว่าโรคนี้อันตรายแค่ไหน หากคลั่งผอมมากและละเลยย่อมส่งผลต่อโรคภัยอื่น ๆ มาแน่นอน หลัก ๆ เลยก็คือโรคขาดสารอาหารเนื่องจากการกินที่น้อยกว่าปกติทำให้ไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อการสร้างกล้ามเนื้อ และขาดโปรตีนที่จะทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีโรคอันตรายอื่น ๆ อีกคือโรคกระดูกพรุน โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคไตวาย โรคกระเพาะ โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคสมองและประสาท เป็นต้น ส่วนโรคสภาวะทางจิตก้ส่งผลด้วยเช่นกันอย่างโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวน ตลอดจนสุ่มเสียงที่จะใช้สารเสพติด
จะเห็นได้ว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคคลั่งผอมนั้นเป็นอันตรายทั้งสุขภาพกายและใจ หากปล่อยไว้เป็นแบบนี้จะสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคภัยต่าง ๆ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยต้องหมั่นคอยสังเกตอาการ คอยช่วยตักเตือนและให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม หากผู้ป่วยมีอาการขาดสารอาหารหนักเช่น อ่อนเพลียทั้งวัน กล้ามเนื้อไม่มีแรง ความดันโลหิตต่ำก็ต้องส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด
วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคคลั่งผอม
หากเป็นการตรวจ Anorexia เบื้องต้น แพทย์จะดำเนินการใช้แบบสอบถามและให้ผู้สุ่มเสี่ยงตอบ โดยจะเป็นชุดคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมส่วนตัว สภาวะทางร่างกาย การรับประทานอาหาร แต่ก็มีวิธีการตรวจอย่างละเอียดคือ
- การตรวจทางร่างกาย เช่น ตรวจค่า BMI หรือวัดดัชนีมวลกาย หากน้อยกว่า 18.5 จะถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานและเสี่ยงเป็นโรคคลั่งผอม, การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ, การตรวจตามผิวรวมถึงลักษณะภายนอกทางร่างกาย
- การตรวจในห้องปฎิบัติการ เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด, ตรวจอิเล็กโทรไลต์หาสารอาหารในร่างกาย, การตรวจหาโปรตีนในเลือด, การตรวจการทำงานของตับ ไต และต่อมไทรอยด์
- การตรวจด้านจิตวิทยา เป็นการตรวจโดยจิตแพทย์เพื่อประเมินสภาวะทางจิตใจ ว่าคนไข้มีความวิตกกังวลเรื่องการบริโภคอาหารในระดับใด
- การตรวจด้วยวิธีการอื่น เช่น การเอกซเรย์กระดูก, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นต้น
แนวทางการรักษาโรคคลั่งผอม
การรักษาโรค Anorexia ต้องบำบัดทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ เริ่มแรกต้องแก้ไขที่ปัญหาทางความคิดของผู้ป่วยเพราะโรคนี้มักเกิดจากทัศนคติของผู้ป่วยเอง ซึ่งผู้ส่วนใหญ่มักจะมองว่าตนเองใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป หากตนเองเข้ารับการรักษาจะต้องกลับมาอ้วนแน่ ๆ เบื้องต้นจึงต้องบำบัดด้วยจิตแพทย์เสียก่อนเพื่อปรับความคิดของผู้ป่วยใหม่ รวมถึงคนรอบข้างผู้ป่วยต้องช่วยเหลือและคอยให้กำลังใจให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ เมื่อปรับสภาพจิตใจได้แล้วก็ถึงเวลาเพิ่มน้ำหนัก ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารโดยเริ่มรับประทานเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวทีละนิด จนกลับมาทานอาหารครบ 3 มื้ออย่างปกติ ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอและยาโอแลนซาปีนช่วยรักษาควบคู่กันไป ซึ่งจะคอยรักษาสภาวะทางจิตอื่น ๆ อย่างโรคซึมเศร้า เป็นต้น
จะเห็นได้ว่านอกจากจะอ้วนเกินไปแล้ว การที่ร่างกายผอมเกินไปก็เป็นสาเหตุที่ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอด้วย แม้ว่าอาการป่วยจะเกิดจากสภาวะทางจิตเป็นหลักแต่พฤติกรรมเหล่านั้นก็เป็นสาเหตุของโรคภัยต่าง ๆ ตามมา ทั้งโรคกระเพาะ โรคขาดสารอาการ และอาจมีโรคร้ายแรงอย่างโรคหัวใจ โรคตับ โรคไตเข้าแทรกซึมมาด้วย สุดท้ายนี้น้องแคร์ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคคลั่งผอมทุกคน ถ้าหากคุณล้มป่วยหรือเป็นโรคร้ายขึ้นมาไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด น้องแคร์ก็มีข้อเสนอความคุ้มครองเรื่องสุขภาพให้กับคุณด้วยประกันสุขภาพและประกันภัยโรคร้ายแรง ซึ่งจะช่วยค่ารักษาพยาบาลให้กับคุณหากเจ็บป่วยขึ้นมานั่นเอง อยากได้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพหรืออยากได้ความคุ้มครองดีดี สามารถปรึกษาน้องแคร์ได้ที่เบอร์ 1438
สรุป
โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa) เป็นโรคการกินผิดปกติชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีความกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างของตนเองอย่างมาก จนมีพฤติกรรมการกินผิดปกติ เช่น ควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด ออกกำลังกายอย่างหักโหม ล้วงคอ อาเจียน หรือใช้ยาระบาย เป็นต้น ผู้ป่วยโรคคลั่งผอมมักมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก ส่งผลให้มีภาวะขาดสารอาหารและเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาได้
อาการของโรคคลั่งผอม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ อาการทางกายภาพและอาการทางจิตใจ
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี