แคร์แม่และเด็ก

นมแม่ Vs. นมผง แบบไหนดี เหมาะกับลูกน้อยมากกว่านะ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published January 19, 2023

เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจจะกำลังกังวลถึงการให้นมลูก ประโยชน์นมแม่มีอะไรบ้าง เปรียบเทียบกับนมผงแล้วอะไรดีกว่ากัน? เด็กเล็กทานนมวัวได้หรือเปล่า? หรือทารกแรกเกิดทานอะไรได้ไหมนอกเหนือจากนม? นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ ไปดูกันเลยดีกว่า

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    นมแม่ดีจริงไหม? ควรให้นมลูกจนถึงตอนไหนดี?

    ใคร ๆ ก็บอกว่านมแม่ดี เพราะทั้งทางการแพทย์ องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศปี พ.ศ. 2545 และมีข้อมูลการศึกษาใหม่ ๆ ยืนยันว่า นมแม่ คือ น้ำนมที่ทารกแรกเกิดจะได้รับสารอาหารมากที่สุด ช่วยส่งผลดีต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก โดยเฉพาะทารกอายุ 6 เดือนแรก ประโยชน์นมแม่จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในเด็กเล็กที่จำเป็น ลดโอกาสการเกิดโรคท้องเสีย โรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ 

    และสำหรับคำถามที่ว่านมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมงนั้น ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎ์รได้ให้คำแนะนำเรื่องอายุขัยน้ำนมแม่ไว้ว่า

    • อุณหภูมิห้อง 27 – 32 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 3-4 ชั่วโมง
    • อุณหภูมิห้อง 16 – 26 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 4-8 ชั่วโมง
    • กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา 15 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
    • ตู้เย็นช่องธรรมดา 0 – 4 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 3-5 วัน และควรเก็บไว้ด้านในสุดของตู้เย็น
    • ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นแบบประตูเดียว -15 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 2 สัปดาห์
    • ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นแบบประตูแยก -18 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 3-6 เดือน
    • ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ -20 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 6-12 เดือน 
    • และไม่ควรเก็บน้ำนมไว้ที่ประตูตู้เย็น

    คุณแม่หลายคนอาจจะข้องใจ กังวลว่าน้ำนมแม่อาจมีสารอาหารไม่ครบถ้วน เนื่องจากการทานอาหารของแม่ แต่โดยพื้นฐานแล้ว ธรรมชาติร่างกายของแม่จะคงคุณค่าของน้ำนมไว้เสมอ แม้ว่าผู้เป็นแม่อาจทานอาหารไม่ครบถ้วน หรือมีอาการขาดสารอาหารก็ตาม 

    ประโยชน์นมแม่นั้น มีสารมากถึง 200 ชนิด ในขณะที่นมผงนั้น แม้จะมีวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ แต่ก็ยังได้สารอาหารที่จำเป็นเพียง 60 ชนิดเท่านั้น โดยตัวอย่างของสามารถอาหารที่มีในน้ำนมแม่ มีดังนี้

    • กรดอะมิโนทอรีน (Taurine) เป็นโปรตีนที่พบมากในนมแม่ ช่วยในการสร้างสมองและจอตาของทารก นอกจากนี้ยังย่อยง่ายและดูดซึมได้ดีกว่านมวัว
    • เอ็นไซม์ไลเปส (Lipase) ช่วยในการย่อยสลายไขมันในนมแม่ ทำให้การดูดซึมของสารอาหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ได้สารอาหารพลังงานสูงแต่ย่อยง่าย
    • กรดไขมัน (Linolelic) ช่วยทำหน้าที่รับส่งสัญญาณระหว่างสมองและร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรงในช่วงที่ทารกกำลังเติบโต

    นอกจากนี้ในนมแม่ยังมี เซลล์เม็ดเลือดขาว, สารภูมิคุ้มกัน, ฮอร์โมนของมนุษย์, สารกระตุ้นการเติบโตเส้นประสาทและสมอง เยื่อบุลำไส้ สารต้านการอักเสบ และสารต้านเซลล์มะเร็ง อีกด้วย

    จากคำแนะนำของทางการแพทย์ ได้ให้คำแนะนำว่า การรับอาหารอื่นในช่วง 6 เดือนแรก ควรหลีกเลี่ยง เพราะหากให้เด็กทานอาหารชนิดอื่นที่นอกเหนือจากนมแม่ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและภูมิแพ้ได้ง่าย เนื่องจากโครงสร้างของอวัยวะร่างกายทารกยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ โดยเฉพาะทางเดินอาหารที่มีน้ำย่อยยังไม่ครบทำให้ไม่สามารถย่อยอาหารอื่นได้ดี  

    ดังนั้น ในช่วง 6 เดือนแรกของเด็ก ควรให้ทานเป็นนมแม่จึงเหมาะสำหรับกระเพาะอาหารของทารกที่มีขนาดเล็กนิดเดียว ยืดหยุ่นได้ไม่มาก จะดีที่สุด

    ทว่าจากผลสำรวจจากทั่วโลก พบว่า เด็กไทยอายุ 6 เดือนแรก ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่น้อยที่สุดในโลกคิดอัตราส่วนแล้วมีเพียง 12% เท่านั้น เมื่อเทียบกับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากประเทศอื่น ๆ  ในขณะที่ศรีลังกาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีจำนวนมากถึง 76% ในศรีลังกา

    สรุปแล้ว การให้นมลูกควรให้เป็นระยะเวลายาวนาน 6 เดือน เพื่อให้เด็ก ๆ จะได้รับประโยชน์นมแม่ที่มีสารอาหาร ภูมิคุ้มกันที่ครบถ้วน

    ปัญหาโลกแตก ให้ลูกดื่มนมแม่สลับกับนมผงได้ไหม? 

    แม้จะบอกว่าการให้เด็กแรกเกิดได้ดื่มนมแม่อย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลา 6 เดือน จะดีที่สุด แต่เชื่อว่าคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะประสบปัญหาน้ำนมมีน้อย หรือครบกำหนดการลาคลอดแล้วจำเป็นจะต้องกลับมาทำงาน เมื่อเกิดเหตุจำเป็นมากมายแบบนี้ นมผงจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่หลายครอบครัวเลือกใช้

    เบื้องต้น ทางแพทย์ได้ให้คำแนะนำถึงเรื่องนี้ว่า ในกรณีที่ต้องการให้นมลูกเป็นนมผงแทน ควรเป็นช่วงหลังจากลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป จึงจะสามารถให้นมผงได้ แต่หากมีความจำเป็นจริง ๆ ผู้ปกครองควรปรึกษากับแพทย์ก่อนเสมอ เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความต้องการต่างกัน 

    นอกจากนี้ ระบบย่อยของเด็กยังไม่แข็งแรงมากนัก เนื่องจากเด็กแรกเกิดไม่สามารถย่อย และเสี่ยงเกิดภาวะภูมิแพ้ได้ เนื่องจากเป็นการนำโปรตีนแปลกปลอมให้โดยที่ระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็ง 

    หรือแม้แต่การให้ลูกกินนมผงผสมนมแม่ในขวดเดียวกัน ก็ไม่ควรทำ เพราะมีงานวิจัยว่า การชงนมผงตามสัดส่วน แล้วเทผสมกับนมแม่จะทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคลดลง และสารบางอย่างในนมผงจะไปขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุจากนมแม่ ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เต็มที่

    และนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมงหากผสมกับนมผง ในกรณีนี้จะอยู่ได้เพียงแค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น หากเป็นไปได้ ไม่ควรผสมน้ำแม่กับนมผงในทุกรณี เพราะจะทำให้อายุขัยของน้ำนมแม่เสียได้เร็วกว่าปกติ เพราะหากมีเพียงนมแม่ที่ลูกทานไม่หมด เรายังสามารถเก็บไว้ให้เด็กทานได้อีกภายใน 6 – 8 ชั่วโมง

    ส่วนในกรณีการให้ลูกอายุ 6 เดือน ดื่มนมวัวได้หรือไม่นั้น ทางแพทย์ไม่แนะนำ เนื่องจากไตและลำไส้ของเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ การจะย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันที่มากเกินไปในนมวัวยังไม่ได้  ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงให้ลูกทานนมวัวไปก่อนจนกว่าจะอายุครบ 1 ปี

    นอกจากนี้ การให้นมวัวในเด็กที่อายุน้อย อาจทำให้เกิดโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้โปรตีนนมวัว เนื่องจากลำไส้ของทารกแรกเกิดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่อีกด้วย

    แล้วแบบนี้ทำอย่างไรดี ถ้าคุณแม่มีน้ำนมน้อย?

    เรื่องนี้ทางการแพทย์ก็มีคำตอบให้ว่า เดิมทีการมีน้ำนมน้อยอาจมาจากกระบวนการผลิตน้ำนมที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นหากกระตุ้นกระบวนการดั่งกล่าวได้ ก็จะเพิ่มโอกาสในน้ำนมได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

    • หลังคลอดควรให้ลูกเข้าเต้าให้ไวที่สุด เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม โดยเฉพาะ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอดแล้ว และพยายามให้ลูกดูดนมถูกวิธี ครอบลานนม คางชนเต้า ใบหู ขากรรไกร ขยับตอนดูด เพื่อให้ได้นมแม่ได้มากที่สุด
    • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะความเครียด และการพักผ่อนน้อยอาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมได้น้อยลงไปด้วย 
    • ทางศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเวชธานี ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับน้ำนมแม่ว่า แม้น้ำนมแม่จะยังคงให้สารอาหารที่ครบถ้วน แต่คุณแม่ผู้ให้นมควรดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 1.5 – 2 ลิตร/วัน ร่วมกับทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ รวมไปถึงอาหารที่มีรสร้อนจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เลือดไหลเวียนดีขึ้น กระตุ้นให้ร่างกายมีน้ำนมปริมาณมากขึ้น เช่น หัวปลี, แกงเลียง, กุ้ยช่าย, ฟักทอง, มะละกอ, ขิง และพริกไทย เป็นต้น
    • ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ หรือหากมีการดื่มคาเฟอีน ไม่ควรเกินวันละ 1-2 แก้ว/วัน เพราะนมแม่ที่มีสารเหล่านี้อยู่ อาจส่งผลกระทบต่อลูกได้
    • พยายามปั๊มนมตามเวลา เพราะการปั๊มนมตามเวลาเป็นอีกหนึ่งวิธีกระตุ้นให้แม่สร้างน้ำนมได้ต่อเนื่อง

    สรุปแล้ว นมผง นมวัว ยังไม่สามารถดื่มได้หากเด็กยังมีอายุไม่ถึงกำหนด และประโยชน์นมแม่ยังมีมากกว่า แต่หากมีเหตุจำเป็น ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมผงเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย 

    เช่น ในกรณีที่คุณแม่เป็น โควิด-19 ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ในกรณีที่แม่ติดเชื้อแต่มีอาการไม่มาก สามารถให้นมลูกจากเต้าได้ปกติ แต่ต้องมีการป้องกันและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ  หรืออาจบีบเก็บน้ำนมไว้ แล้วให้ผู้อื่นเป็นผู้ป้อนนมลูกแทนก็สามารถทำได้

    แต่ในกรณีที่แม่ติดเชื้อมีอาการรุนแรง แนะนำงดให้นมบุตร และอาจบีบน้ำนมทิ้งไปก่อน เพื่อให้แม่คงสภาพที่สามารถให้นมลูกได้เมื่ออาการดีขึ้น รวมกับการปรึกษาแพทย์ในการให้นมลูกต่อไป

    เพราะสุขภาพของเด็กแรกเกิดนั่นสำคัญ จึงไม่แปลกที่จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และสำหรับใครที่ต้องการความคุ้มครองให้ลูกน้อยเป็นพิเศษ ต้องนี่เลย ประกันเด็ก จาก แรบบิท แคร์ ที่สามารถเริ่มต้นทำได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน คุ้มครองทั้งโรคภัย อุบัติเหตุ  ที่อาจเกิดขึ้นได้ แค่สมัครแผนเดียว ครบทั้งค่ารักษา, ค่าห้องและค่าผ่าตัด เซฟรายจ่ายทุกปี มาพร้อมกับเบี้ยประกันที่จับต้องได้

     หมดกังวลเรื่องอาการป่วย ให้คุณได้อุ่นใจในทุกการเติบโตของลูก ไปกับ แรบบิท แคร์ คลิกเลย!


    บทความแคร์แม่และเด็ก

    แคร์แม่และเด็ก

    ความสามารถพิเศษที่ควรให้ลูกมีติดตัวไว้ เพราะอาจได้ใช้และต่อยอดได้ในระยะยาว

    ความสามารถพิเศษ สิ่งที่เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากมีติดตัวเอาไว้ย่อมเป็นผลดีมากกว่าไม่มี
    Nok Srihong
    25/03/2024

    แคร์แม่และเด็ก

    ผ่าคลอด มีข้อดีอย่างไร ? ปลอดภัยกว่าคลอดธรรมชาติหรือไม่ ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?

    สำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ จะผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องตัดสินใจ ว่าจะผ่าคลอดดีหรือไม่ การผ่าคลอดปลอดภัยกว่าคลอดธรรมชาติไหม
    Nok Srihong
    12/03/2024