
รวมที่จอดรถ mrt และอาคารจอดแล้วจร มีตรงไหนบ้าง? เช็กได้เลย!!
โดยธรรมชาติแล้ว เซลล์ไข่ของเพศหญิง จะมีการผลิตตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์เพียง 5 เดือน และมีปริมาณมากถึง 5-7 ล้านใบ จากนั้นจำนวนไข่จะลดลงเรื่อยๆ และเมื่อคลอดออกมา จะเหลือเซลล์ไข่เพียง 1-2 ล้านใบเท่านั้น กระทั่งเข้าสู่ช่วงวัยสาวที่มีประจำเดือนพร้อมตกไข่ จะเหลือจำนวนไข่ที่ใช้การได้เพียง 400,000 ใบเท่านั้น และ 400,000 ใบที่ว่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมดที่จะมีคุณภาพดีพอสำหรับการตั้งครรภ์
และเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ก็จะส่งผลโดยตรงต่อการมีบุตร กล่าวได้ว่า เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีลูกยากมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป และถึงแม้จำนวนไข่จะเหลือพอที่นำมาใช้ปฏิสนธิได้ แต่ภาวะการเจริญพันธุ์จะลดลง ความสมบูรณ์ของโครโมโซมที่อยู่ในเซลล์ไข่ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเช่นกัน
นอกจากนี้ หากตั้งครรภ์ ในอายุที่มากกว่า 35 ปี ขึ้นไป ยังเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก และการแท้งมากกว่าปกติ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นจะทำให้โครโมโซมของไข่มีความผิดปกตินั่นเอง
ดังนั้น การที่เซลล์ไข่ค่อยๆ เสื่อมลดไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่ที่น่ากังวล จะเป็นภาวะรังไข่เสื่อมต่างหาก
ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร หรือรังไข่เสื่อม คือ การที่รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ก่อนอายุ 40 ปี โดยจะมีอาการที่พบได้ คือ
สาเหตุหลักๆ ของการเกิดภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควรนั้น มีมาจากหลายสาเหตุ ดังนี้
จากความผิดปกติของโครโมโซม และพันธุกรรม
พบได้ประมาณ 20-30% ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ หรือในช่วงวัยเด็ก บางคนอาจจะหยุดทำงานเร็วกว่าคนทั่วไป และความรุนแรงของโรคนี้ มีหลายระดับ อาจจะไม่มีประจำเดือน และไม่มีการพัฒนาการทางเพศเลย หรือบางรายอาจจะมีการพัฒนาการทางเพศ เข้าสู่วัยสาว มีประจำเดือนอยู่ไม่กี่ปี ก่อนก็จะเข้าสู่ภาวะรังไข่หยุดทำงานก็ได้
จากการมีภูมิต้านทานตนเอง
การเป็นโรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานตัวเอง อาจเป็นสาเหตุ ได้ เช่น โรคพุ่มพวง หรือ SLE โรคภูมิต้านทานตนเองของต่อมไทรอยด์ (autoimmune thyroid disorder), โรคพาราไทรอยด์ ซึ่งจะพบได้ประมาณ 10-30% บางรายถ้าได้รับการรักษา หรือภาวะของโรคดีขึ้น การทำงานของรีงไข่อาจจะกลับมาได้
จากการผ่าตัด
คนไข้บางรายนั้น อาจเคยผ่าตัดบริเวณรังไข่ และบางครั้ง การผ่าตัดอาจทำให้ปริมาณฟองไข่ลดลงจากการบาดเจ็บ หรือตัดเอาเนื้อรังไข่ออกไป หรือ มีการรบกวนเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่ ทำให้เนื้อรังไข่ขาดเลือดและไม่ทำงานในที่สุด
จากการให้เคมีบำบัด
การได้รับรังสีจากการฉายแสงรักษา หรือถ้าได้รับรังสีในปริมาณที่มากพอ หรือหลายๆ ครั้งเข้า หรือได้รีบยาเคมีบำบัดปริมาณมาก ก็จะมีผลทำลายเนื้อเยื่อของรังไข่ได้ หรือการใช้ยาบางประเภท ก็ทำให้รังไข่หยุดทำงานเช่นกัน
ปัจจัยต่างๆ จาก พฤติกรรมผู้ป่วย
เช่น การสูบบุหรี่ จะทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ยาฆ่าแมลง และโลหะหนักบางชนิด ความเครียด อาจจะเป็นพิษต่อเซลล์เนื้อเยื่อรังไข่ได้
การติดเชื้อบางชนิด
บางแห่ง รายงานว่า มีการเกิดภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวยอันควรชั่วคราว หลังจากที่รักษาหายจากการติดเชื้อ รังไข่จะกลับมาทำงานได้ ปกติ เช่น คางทูม, วัณโรค, มาเลเรีย และเป้นสาเหตุพบได้น้อยมาก
นอกจากนี้ ผู้ป่วยเป็นภาวะรังไข่เสื่อม บางรายก็ไม่ทราบสาเหตุ มากถึง 60-70% เช่น การอักเสบที่อุ้งเชิงกราน, ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ และ เนื้องอกในมดลูก และติ่งเนื้อในโพรงมดลูก พบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
จริงอยู่ ที่ภาวะการเกิดรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควรนั้นน่ากลัว แต่โอกาสเกิดนั้น มีได้น้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง จะละเลยการดูแลตัวเอง เพราะการตั้งครรภ์ในอายุที่มากขึ้นนั้น สุ่มเสี่ยงในหลายๆ เรื่อง ดังนั้น สำหรับใครที่อยากจะมีลูกในอายุ 35 ปี ขึ้นไป อาจจะต้องดูแลตัวเอง ดังนี้
อวัยวะภายใน ก็เป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะชาย หรือหญิง การหมั่นพบแพทย์ ตรวจสุขภาพ อย่างน้อยๆ ก็ช่วยให้คุณรักษาอาการต่างๆ ได้เร็วมากขึ้น คลิกเลย! ประกันสุขภาพ จาก Rabbit Care ที่ให้คุณ อุ่นใจทุกการเจ็บป่วย เพิ่มความอุ่นใจ และลดภาระทางการเงินได้
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
บทความแคร์ไลฟ์สไตล์
รวมที่จอดรถ mrt และอาคารจอดแล้วจร มีตรงไหนบ้าง? เช็กได้เลย!!
ปักหมุด 8 อุทยานแห่งชาติที่กำลังมาแรงแห่งปี 2568 ใครชอบธรรมชาติติดใจแน่นอน
ข้อมูลสำหรับสายบินลัดฟ้า! พิกัดที่จอดรถสนามบินดอนเมือง ค่าจอดรถสนามบินดอนเมือง 2568