ซื้อของแล้ว โดนโกงออนไลน์ แบบนี้ทำยังไงดี!?
สมัยนี้ใคร ๆ ก็ช้อปปิ้งออนไลน์กัน! เพราะสะดวกสบาย เพียงแค่เลือกสินค้า กดสั่งซื้อ รออยู่ที่บ้าน ก็ได้ของที่เราต้องการ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปไหนแล้ว! แต่ด้วยความที่ใคร ๆ ก็นิยมแบบนี้ ทำให้หลายครั้งที่มิจฉาชีพแฝงตัวมาในคราบของร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ ทำให้หลายคนต้องพบกับปัญหาถูกร้านค้าโกงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมานี่ มีผู้เสียหายมากมายนับไม่ถ้วน แล้วแบบนี้จะทำอย่างไรดีละ ถ้าต้องเจอปัญหาแบบนี้บ้าง? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ!
อัปเดตกันให้ทัน ตอนนี้มีแผนกคดีออนไลน์แล้วนะ
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบันมีผู้เสียหายจากการโดนโกงออนไลน์เพิ่มมากเป็นเท่าตัว นี่เองที่ทำให้ทางศาลยุติธรรมได้ดำเนินการการจัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง ซึ่งเริ่มดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา
โดยทางศาลยุติธรรมได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิจารณา รองรับการยื่นคำฟ้องจากผู้เสียหายทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคที่คิดว่าจะใช้สิทธิทางศาลฟ้องคดีได้รับความสะดวกสบาย และตอบโจทย์สำนักงานศาลยุติธรรมที่ต้องการยกระดับการให้บริการแก่ประชาชนได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น และที่สำคัญ ผู้เสียหายยื่นฟ้องได้เอง ไม่ต้องมีทนายความ ไม่ต้องมาศาล และไม่ต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย!
นอกจากจะดำเนินการทุกอย่างผ่านระบบออนไลน์แล้ว จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ ผู้เสียหายสามารถฟ้องออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง ไม่จำกัดวงเงินมากน้อย ไม่จำกัดว่าเป็นสินค้าชนิดใด หรือจ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือไม่ ขอเพียงเงื่อนไขเดียว คือ ต้องเป็นสินค้าที่ซื้อของออนไลน์เท่านั้น และให้คำแนะนำให้ผู้เสียหายเก็บหลักฐานสั่งซื้อจ่ายเงินที่ถูกโกงเพื่อส่งศาล และสามารถติดตามความคืบหน้าคดีได้ใน 12 ชั่วโมง โดยมีทางธนาคารกรุงไทยร่วมพัฒนาช่องทางยื่นฟ้องผ่าน e-Filing หรือชื่อเต็ม ระบบยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนทางออนไลน์
โดยการฟ้องศาลกรณีโดนโกงออนไลน์ มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
- เข้าไปที่เว็บไซต์ e-Filing (https://efiling3.coj.go.th/eFiling)
- ทำการลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้งาน โดยแนบไฟล์บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมรูปถ่ายหน้าตรงในการสมัคร ในกรณีที่มีบัญชีผู้ใช้งานอยู่แล้วสามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย
- ล็อกอินเข้าสู่ระบบ เลือกเมนูคดีซื้อขายออนไลน์
- กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมแนบเอกสารหรือหลักฐานประกอบ ไม่ว่าจะเป็น
- หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน, statement, mobile banking
- หลักฐานในการติดต่อซื้อของออนไลน์ พูดคุยต่าง ๆ เช่น ข้อความแชตที่สั่งซื้อสินค้า, หมายเลขโทรศัพท์, ข้อความ(sms), email address ,Line ,messenger facebook เป็นต้น
- ข้อมูลผู้ขายสินค้าหรือผู้ร่วมขบวนการ เช่น ชื่อสกุล , หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้, หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ, ที่อยู่ , username หรือ IP Address ที่ใช้ เป็นต้น
- หลักฐานหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี
- หากคำฟ้องตรงตามเงื่อนไขพิจารณาคดีซื้อขายออนไลน์และมีข้อมูลถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานคดีจะเสนอคำฟ้องนั้น ๆ ต่อศาล และส่งส่งจดหมายเรียกแก่จำเลยต่อไปผ่านอีเมล ข้อความ SMS หรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
- เมื่อเข้าสู่กระบวนการของศาลแล้ว ศาลจะดำเนินการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ วันพิจารณาคดี การสืบพยาน และการไกล่เกลี่ยจะดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ ส่วนกรณีไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จจำเลยมีสิทธิ์ยื่นคำให้การผ่านระบบออนไลน์และดำเนินการต่อสู้คดีในลำดับต่อไป
คดีซื้อขายออนไลน์นั้น เนื่องจากเป็นการยื่นฟ้องแบบออนไลน์ จึงสามารถยื่นฟ้องที่ไหนก็ได้ โดยผู้เสียหายสามารถติดตามความคืบหน้าได้ใน 12 ชั่วโมง นับแต่ยื่นเรื่องเข้ามา และหากเรื่องราวสามารถตกลงได้ในขั้นไกล่เกลี่ย ก็จะได้รับเงินคืนตามข้อตกลง รวมถึงค่าเสียเวลาที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องได้อีกด้วย
ซื้อของออนไลน์ โดนหลอก ทําไงดี? มีวิธีอื่นบ้างไหม?
ถึงแม้เราจะสามารถยื่นฟ้องออนไลน์ได้แล้ว ยังมีอีกหลากหลายวิธีในการแก้เกม เมื่อคุณโดนโกงออนไลน์ โดยเบื้องต้น ทางผู้เสียหายสามารถโทรขอคำปรึกษาในกรณีโดนโกงการซื้อของออนไลน์ได้ที่ เบอร์. 1212 เพื่อขอคำแนะนำเบื้องต้นและดำเนินการประสานยังไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ( DBD )
- กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ปท.)
- กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)
และวิธีที่นิยมใช้กันก่อนมีการมาถึงของศาลออนไลน์คือ การอายัดบัญชีของผู้ทำความผิด นั่นเอง ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
แคปหน้าจอ เพื่อเก็บหลักฐานทั้งหมดให้มากที่สุด
พยายามแคปหน้าจอทั้งหมดเพื่อเก็บหลักฐาน พร้อมใส่คำบรรยายกำกับว่าแต่ละภาพ โดยหน้าที่ต้องแคปเก็บไว้ ประกอบไปด้วย
- หน้าเว็บไซต์ที่ขายของ และรูปโปรไฟล์ของร้านค้า
- ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, เลขที่บัญชีของร้านค้า
- ข้อความในแชทที่พูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้า ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม สั่งซื้อ ยืนยันการชำระเงิน ฯลฯ
- หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี เช่น สลิปโอนเงิน
- สมุดบัญชีธนาคาร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียหาย
แจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีและออกคำสั่ง “อายัดบัญชี” ผู้ทำผิด
นำหลักฐานทั้งหมดข้างบนเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ (สน.ที่ได้โอนเงิน) ให้เร็วที่สุดหรือภายใน 3 เดือน ตั้งแต่วันที่รู้ว่าโดนโกงออนไลน์ หรือจะเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ
โดยผู้เสียหายจะต้องระบุว่า ต้องการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีจนถึงที่สุด ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน และกำชับขอให้ทางตำรวจออกคำสั่งอายัดบัญชีให้ด้วย
ติดต่อธนาคารเพื่อทำการอายัดบัญชี
เมื่อแจ้งความเรียบร้อยแล้ว ให้ติดต่อธนาคารเพื่ออายัดบัญชีปลายทาง โดยเอกสารที่ต้องใช้ ประกอบด้วย
- ใบแจ้งความ
- คำสั่งอายัดบัญชี
- สมุดบัญชีต้นทาง
- สำเนาบัตรประชาชน
- หลักฐานที่รวบรวมไว้
โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารจะทำการติดต่อเจ้าของบัญชีปลายทางและแจ้งให้โอนเงินคืน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา (ยกเว้นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนที่มีเจ้าทุกข์มากกว่า 1 คน)
ในกรณีที่ติดต่อไม่ได้ หรือบัญชีปลายทางไม่ยอมรับ ให้ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ที่ซื้อของ ส่งหลักฐานใบแจ้งความและหลักฐานอื่น ๆ ให้ เช่น username เพื่อให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ตรวจสอบ IP Address ให้ จากนั้นนำหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการติดตามตัวคนร้ายทั้งจากธนาคารและผู้ดูแลเว็บไซต์ให้กับตำรวจที่ดูแลคดี และปล่อยให้เป็นขั้นตอนกระบวนการตามกฎหมายต่อไป
เบื้องต้นแล้ว การจะได้เงินคืนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการและขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ แต่อย่างน้อยจะเป็นอีกหนทางที่ทำให้คนผิดไม่ลอยนวล หรือไปทำการหลอกลวงอีก เนื่องจากการอายัดบัญชีจะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่สามารถโอนเงินออกจากบัญชีได้ จนกว่าจะมีการพูดคุย ไกล่เกลี่ย และยอมโอนเงินคืนนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งวิธีล่าสุดที่น่าสนใจ และหลายคนเริ่มนิยมมากยิ่งขึ้นนอกเหนือจากการฟ้อง หรืออายัดบัญชี อย่าง การซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตที่ให้ประกันการโดนโกงออนไลน์สามารถเคลมเงินที่โดนโกงได้ทันที หรือจะซื้อประกันไซเบอร์ ซึ่งช่วยให้คุณเคลมค่าฟ้องร้องได้ นับได้ว่าเป็นอีกหนทางที่ช่วยบรรเทาความเสียหายระหว่างการฟ้องร้องเรียกค่าของที่ถูกโกงออนไลน์ที่ดีอีกทางหนึ่ง ช่วยให้ทุกการช้อปปิ้งออนไลน์นั้นไร้กังวลมากยิ่งขึ้น!
และแน่นอนว่าทั้งบัตรเครดิต และประกันไซเบอร์ ที่แคร์ทุกความเสี่ยงของคุณแบบนี้ หาได้ง่าย ๆ แค่คลิกที่ แรบบิท แคร์! ที่นี้นอกจากจะมีบริการเปรียบเทียบบัตรเครดิตและประกันที่น่าสนใจแล้ว ยังตอบทุกโจทย์ไลฟ์สไตล์ ช่วยป้องกันปัญหาซื้อของออนไลน์ โดนหลอก ทําไงดี แถมสมัครง่าย ไม่ยุ่งยากอีกด้วย
หยุดทุกเรื่องกังวลที่ทำให้การซื้อของออนไลน์ของคุณสะดุด เพียง สมัครบัตรเครดิต กับ แรบบิท แคร์ คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct