สายช้อปเตรียมจด! ซื้อของจากต่างประเทศอย่างไร ไม่ให้เสียภาษีนำเข้า

กองบรรณาธิการ
ผู้เขียน: กองบรรณาธิการ Published: July 25, 2022
กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี
คะน้าใบเขียว
แก้ไขโดย: คะน้าใบเขียว Last edited: June 2, 2024
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
หิ้วของเข้าประเทศ

ไปเที่ยวเมืองนอกทั้งทีก็ต้องช้อปปิ้งหิ้วของเข้าประเทศไทยกันใช่ไหมล่ะ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า นาฬิกา โทรศัพท์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่างก็เป็นของยอดฮิตที่ใครไปเมืองนอกก็ต้องซื้อกลับมากันทั้งนั้น ส่วนจะหิ้วนำกลับมาใช้เองหรือเป็นของฝากก็แล้วแต่ตามต้องการของคุณ แต่สิ่งที่สายช้อปต้องระวังที่สุดก็คือการเสียภาษีนำเข้าที่ด่านศุลกากรนั่นเอง เพราะถ้าคุณซื้อของจากต่างประเทศโดยผิดกฎที่กรมศุลกากรตั้งไว้คุณอาจต้องจ่ายภาษีนำเข้าเพิ่มเติม ซึ่งรวม ๆ แล้วอาจจะต้องจ่ายแพงกว่าซื้อตาม shop ที่บ้านเราเสียอีก 

อย่างที่เราเห็นกันในข่าวว่ามีหลายเคสที่หิ้วของกลับแล้วโดนเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจและต้องภาษีนำเข้าเพิ่ม ซึ่งหลายคนก็งงว่าหิ้วของกลับไทยแบบไหนถึงไม่โดนเรียกเก็บภาษีนำเข้า ทำไมบางคนซื้อของจากต่างประเทศแล้วโดนเรียกเก็บภาษีทั้งที่เป็นของประเภทเดียวกัน หรือบางทีก็มีกรณีที่โดนเรียกเก็บภาษีทั้ง ๆ ที่เป็นของใช้ส่วนตัว น้องแคร์เลยขออาสามาอธิบายให้ทราบกันเพื่อให้สายช้อปทุกท่านวางแผนซื้อของได้อย่างสบายใจไม่โดนภาษี

บัตรไหนคุ้ม เปรียบเทียบเลย แค่ 30 วิ เช็คเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน

ทำความเข้าใจกันก่อน ภาษีนำเข้าคืออะไร?

ภาษีนำเข้าคือเงินภาษีที่ทางภาครัฐเรียกเก็บโดยกรมศุลกากรเมื่อมีการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ เพื่อนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาประเทศ ซึ่งอัตราการเก็บภาษีนำเข้าจะขึ้นกับประเภทของสินค้านั้น ๆ ตามประกาศของกรมศุลกากร 

สำหรับกรณีที่เดินทางไปต่างประเทศและช้อปปิ้งซื้อของจากต่างประเทศกลับเข้ามาตามไฟท์บินต่าง ๆ หากสินค้าดังกล่าวเข้าข่ายต้องเสียภาษีนำเข้า คุณก็ต้องสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ช่องตรวจสีแดง ส่วนใครที่ไม่ได้ซื้อของกลับมาหรือของที่ซื้อไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีนำเข้า ก็สามารถเดินเข้าช่องสีเขียวได้เลย ซึ่งหลักการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่นั้นจะเป็นการสุ่มตรวจ ถ้าใครหิ้วของมาขายเยอะ ๆ แล้วคิดจะเนียนเข้าช่องเขียวไปกับคนหมู่มาก หากโดนแจ็คพอตโดนสุ่มตรวจขึ้นมาบอกเลยว่าโดนทั้งภาษีโดนทั้งค่าปรับและอาจถูกจับติดคุกได้เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้เราจึงแนะนำว่าหากหิ้วของเข้าไทยและมีเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ให้เดินเข้าช่องแดงแสดงกับเจ้าหน้าที่ไปเลยดีกว่า

ซื้อของกลับไทย

หิ้วของเข้าไทยแบบไหนต้องเสียภาษีนำเข้า?

มาถึงประเด็นที่หลายคนอยากรู้กันแล้วว่าซื้อของจากต่างประเทศกลับเข้าไทยแบบไหนถึงเสียภาษีนำเข้า ซึ่งทางกรมศุลกากรก็ได้มีการประกาศไว้ให้ได้ทราบดังนี้

1. ของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 20,000 บาท ไม่ว่าจะใช้เอง ซื้อมาขาย หรือซื้อมาฝาก

ยกตัวอย่างแรก : หากคุณเดินทางไปต่างประเทศ แล้วซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมราคา 10,000 บาท ซื้อนาฬิการาคา 5,000 ซื้อเสื้อผ้าราคา 3,000 บาท ซื้อรองเท้าราคา 8,000 บาท รวมแล้วมีราคารวม 26,000 บาท คุณต้องสำแดงต่อศุลกากรและต้องเสียภาษีนำเข้า

ตัวอย่างที่สอง : หากคุณเดินทางไปต่างประเทศ แล้วซื้อโทรศัพท์ Iphone มาราคา 30,000 คุณต้องสำแดงต่อศุลกากรและต้องเสียภาษีนำเข้า

ตัวอย่างที่สาม : หากคุณเดินทางไปต่างประเทศ แล้วซื้อรองเท้ามูลค่า 8,000 บาท มา 1 คู่ และไม่มีสินค้าอื่น ๆ ที่ซื้อมา คุณไม่ต้องสำแดงต่อศุลกากรและต้องเสียภาษีนำเข้า

2. สิ่งของที่ที่มีลักษณะทางการค้า ต้องเสียภาษีนำเข้าแม้มีราคารวมไม่ถึง 20,000 บาท ซึ่งของที่มีลักษณะทางการค้านั้นดูแล้วเป็นคำที่ค่อนข้างคลุมเครือแต่เท่าที่หาข้อมูลมาได้คือจะเป็นพวกของที่ซื้อเยอะ ๆ เช่นพวกของ unlimited หรือของพรีออเดอร์ ที่ดูแล้วจงใจนำมาขายต่อแน่นอน โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่าสิ่งของที่คุณซื้อมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าเอากำไรหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น : ซื้อหูฟังติดกระเป๋ากลับมา 10 แพ็ก หรือซื้อโมเดลรุ่น unlimited กลับมา เป็นต้น

3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทรวมปริมาณเกิน 1 ลิตร 

ยกตัวอย่าง : หากไปประเทศญี่ปุ่นแล้วซื้อสาเกกลับมา 500 มิลลิลิตร และซื้อเบียร์กลับมา 750 มิลลิลิตร ก็ต้องสำแดงเพื่อเสียภาษี เป็นต้น

4. บุหรี่จำนวนเกิน 200 มวน  หรือซิการ์ที่มีปริมาณเกิน 250 กรัม

ยกตัวอย่าง : ซื้อบุหรี่จากประเทศอิตาลี่มาจำนวน 300 มวน ก็ต้องเสวียภาษี

5. สิ่งของจำกัดที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าประเทศ

ยกตัวอย่าง :  ยา อาหารเสริม สัตว์เลี้ยง เครื่องสำอาง อาวุธปืน พืช โดรน 

จากเนื้อหาประกาศพิธีการศุลกากรนั้น หลายคนอาจอ่านแล้วงงหรือสงสัยเพราะเป็นการตีกรอบความเข้าใจที่ยังไม่ชัดเจนนัก ประกอบกับการตรวจบริเวณที่ช่องด่านศุลกากรนั้นก็จะมีการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่เข้ามาพิจารณาด้วยว่าของแบบไหนต้องเสียภาษีและแบบไหนไม่เสียภาษี ทำให้มาตรฐานการเสียภาษีนำเข้านั้นไม่แน่นอน ซึ่งหลายคนก็ออกมาแสดงความเห็นตามที่เป็นข่าวกันในช่องทางโซเชียล ด้วยเหตุนี้เราจึงแนะนำว่าควรศึกษาและวางแผนให้ดีก่อนซื้อของจากต่างประเทศ เพื่อที่จะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

หิ้วของเข้าไทยแบบไหนต้องเสียภาษีนำเข้า?

สิ่งที่ห้ามนำเข้าประเทศมีอะไรบ้าง?

นอกจากสิ่งของที่ต้องเสียภาษีนำเข้ากับศุลกากรแล้ว ยังมีสิ่งของต้องห้ามบางประเภทที่ห้ามซื้อกลับเข้ามาประเทศไทยอย่างเด็ดขาด มิเช่นนั้นคุณอาจถูกจับเสียค่าปรับ หรือติดคุกเลยก็ได้เช่นกัน ดังนี้

1. ยาเสพติดทุกประเภท
2. บารากุ
3. บุหรี่ไฟฟ้า
4. สื่อและวัตถุลามก
5. ของละเมิดลิขสิทธิ์ หรือของลอกเลียนแบบทางการค้า

วิธีคำนวณภาษีนำเข้า

หากช้อปปิ้งมากมายและจำเป็นต้องซื้อของจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีนำเข้าเท่าไหร่ ทางเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะคำนวณอัตราการเสียภาษีอย่างไร เรามีคำตอบให้โดยรวบรวมข้อมูลจากกรมศุลกากรที่ได้ระบุไว้ในหน้า Page Facebook ว่า อัตราการเสียภาษีนำเข้าจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดและประเภทสินค้า และต้องคิดภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปอีก 7%  

– กระเป๋า มีอัตราการบวกภาษี 20% จากราคากลาง 
– นาฬิกา มีอัตราการบวกภาษี 5% จากราคากลาง 
– เครื่องสำอาง มีอัตราการบวกภาษี 30% จากราคากลาง 
– เข็มขัด มีอัตราการบวกภาษี 30% จากราคากลาง 

สูตรคำนวนคือ ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า
(ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ยกตัวอย่างเช่น : หากคุณซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมจากประเทศฝรั่งเศสมาราคา 100,000 บาท จะถูกคิดภาษีดังนี้

ราคาอากรนำเข้า : 100,000 x 20% = 20,000 บาท
ภาษีมูล
ค่าเพิ่ม : (100,000 + 20,000) x 7% = 8,400 บาท
ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ : 20,000 + 8,400 = 28,400 บาท

สรุปแล้วประเป๋าแบรนด์เนมที่คุณซื้อมาจะมีมูลค่ารวมภาษีเบ็ดเสร็จแล้ว 128,400 บาท ซึ่งรวม ๆ แล้วอาจแพงกว่าซื้อ shop ในไทยเสียอีก ส่วนขั้นตอนการสำแดงเพื่อเสียภาษีก็ง่าย ๆ คือให้นำสัมภาระไปเข้าช่องสีแดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสิ่งของ ทางเจ้าหน้าที่จะตรวจและคิดราคาประเมินค่าภาษีอากร หลังจากชำระเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่จะมอบใบเสร็จไว้ให้เป็นหลักฐาน

ทั้งนี้ทางศุลกากรได้ระบุตัวอย่างสินค้าและอัตราการคิดภาษีไว้เพียงเท่านี้ หากใครหิ้วของแปลก ๆ หรือนอกเหนือจากนี้ต้องขึ้นกับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะคิดจากราคากลางของสินค้าโดยอ้างอิงตามเว็บไซต์หลักของสินค้าหรือข้อมูลกลางที่น่าเชื่อถือ (แม้ว่าคุณจะซื้อของที่ลดราคามาแต่เจ้าหน้าที่จะคิดอัตราภาษีจากราคากลาง)

ของใช้ส่วนตัวที่ติดตัวก่อนออกไปจากประเทศไทยทำไมขากลับต้องเสียภาษี?

ของใช้ส่วนตัวที่ติดตัวก่อนออกไปจากประเทศไทยทำไมขากลับต้องเสียภาษี?

อีกหนึ่งดราม่าที่หลายคนคิดว่าไม่เป็นธรรมสำหรับผู้เดินทางคือ บางคนที่เดินทางออกนอกประเทศและมีสินค้าราคาแพงที่เป็นของใช้ส่วนตัวหรืออุปกรณ์ทำงานติดตัวไปด้วยเช่นพวก กล้องถ่ายรูป, Notebook, โทรศัพท์มือถือ, แหวนเพชร, เครื่องประดับ, นาฬิกา, แว่นตากันแดด แต่เวลาเดินทางกลับเข้าไทยนั้นถูกศุลกากรตรวจและให้เสียภาษีเพราะเจ้าหน้าที่เข้าใจผิดว่าเราซื้อของจากต่างประเทศ แต่แท้จริงแล้วของเหล่านั้นเราใช้งานมาเป็นเวลาหลายปีก่อนเดินทางไปต่างประเทศเสียอีก กว่าจะเคลียร์กันรู้เรื่องก็ใช้เวลาหลายวัน เสียทั้งความรู้สึก เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงิน ซึ่งทางกรมศุลกากรได้ออกมาชี้แจงกรณีนี้แล้วโดยสรุปว่า

ระเบียบดังกล่าวนั้นมีอยู่จริง! หากใครที่ต้องนำของใช้ต่าง ๆ ที่มีมูลค่ารวมมากกว่า 20,000 บาทออกนอกประเทศให้มาลงทะเบียนสำแดงสิ่งของก่อนเดินทาง เช่น กล้องถ่ายรูป Notebook เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายต่าง ๆ  ซึ่งจะเป็นการระบุคุณลักษณะสิ่งของ อย่างรหัสผลิตภัณฑ์ จุดเด่น รูปทรง ตำหนิ ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อที่ตอนขากลับเข้ามาจะได้มีหลักฐานแสดงว่าสิ่งของเหล่านั้นเป็นของใช้ส่วนตัวจริง และมีการใช้งานก่อนที่จะเดินทางออกไปนอกประเทศ ซึ่งคุณจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าดังกล่าว

ส่วนวิธีการลงทะเบียนนั้นก็ให้นำ boarding pass พร้อมของใช้ ไปลงทะเบียนศุลกาการตามจุดบริการที่สนามบินจัดไว้ ซึ่งสนามบินสุวรรณภูมิจะอยู่ที่ชั้น 4 ประตู 10 ผู้โดยสารขาออก ส่วนสนามบินดอนเมืองจะอยู่ที่ชั้น 3 ประตูผู้โดยสารขาออก

ช้อปปิ้งหิ้วของเข้าประเทศไทยต้องเสียภาษีไหม

อยากช้อปปิ้งหิ้วของเข้าประเทศไทยชิล ๆ ไม่ต้องเสียภาษีแบบชัวร์ ๆ ต้องทำอย่างไร?

จากระเบียบที่ศุลกากรอธิบายมานั้นมักไม่มีข้อบังคับที่แน่ชัดและส่วนมากจะขึ้นกับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น แต่น้องแคร์จะมาบอกเทคนิกให้แบบชัวร์ ๆ หรือไม่ก็ใกล้เคียงที่สุด เพื่อให้สายช้อปอย่างคุณซื้อของจากต่างประเทศแบบชิล ๆ โอกาสโดนเรียกเก็บภาษีต่ำ ๆ ดังนี้

1. ก่อนออกประเทศหากมีของใช้แพง ๆ ติดตัว พวกโทรศัพท์ กล้อง Notebook เครื่องประดับ ให้ไปลงทะเบียนกับศุลกากรก่อน เผื่อขากลับโดยเรียกตรวจจะได้มีหลักฐานว่าของเหล่านี้เป็นของใช้ส่วนตัว

2. ตอนช้อปอย่าซื้อของมูลค่ารวมเกิน 20,000 บาท หากราคาเกิน ให้ฝากของที่ซื้อเฉลี่ย ๆ ไปกับเพื่อนร่วมทริป (เพราะโค้วต้าคนละไม่เกิน 20,000 บาท) 

3. อย่าคิดว่าซื้อของ Duty Free แล้วจะไม่เสียภาษี เพราะแม้จะเป็นสินเค้าปลอดภาษีแต่ราคารวมเกิน 20,000 ก็มีโอกาสถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บเช่นกัน

4. ตอนซื้อของที่ต่างประเทศให้เก็บบิลไว้ด้วยทุกครั้ง เผื่อไว้ยืนยันกับเจ้าหน้าที่ว่าเราซื้อมาในราคาจริง 

5. ของใช้บางอย่างที่ซื้อมาจากต่างประเทศเช่นพวกเสื้อผ้า หากเป็นไปได้ให้แกะบรรจุภัณฑ์แล้วสวมใช้งานจริงตอนกลับเข้าประเทศไปเลย เพื่อให้เจ้าหน้าที่เห็นว่าเราตั้งใจซื้อมาใช้งานจริง ไม่ได้ซื้อมาเผื่อทำการค้า 

6. หากมีความจำเป็นว่าจะหิ้วของกลับมาจำนวนมาก ก็ให้ลองคำนวนภาษีนำเข้าไว้คร่าว ๆ ก่อน ไว้เผื่อเป็นราคาอ้างอิงพูดคุยกับเจ้าหน้าที่

7. หากคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร คุณสามารถร้องเรียนได้ผ่านสายด่วนเบอร์ 1332 หรือช่องทาง Line : @customshearing หรือส่ง Email : มาที่ [email protected]

เลี่ยงภาษีนำเข้ามีโทษอย่างไรบ้าง?

น้องแคร์ขอแนะนำว่าหากคุณซื้อของจากต่างประเทศกลับเข้ามาเยอะและเข้าข่ายที่ต้องเสียภาษีก็ให้เข้าช่องสำแดงภาษีกับเจ้าหน้าที่ย่อมดีกว่า เพราะหากคิดจะเดินเนียนเข้าช่องสีเขียวแล้วถูกสุ่มตรวจขึ้นมาเมื่อไหร่คุณอาจโดนโทษปรับเงิน 4 เท่าของราคาสินค้าเลี่ยงภาษีรวมกับบวกค่าภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือหนักสุดอาจมีโทษจำคุกถึง 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นของต้องห้ามนำเข้าประเทศสิ่งของที่หิ้วมาจะถูกริบเป็นของหลวง

สุดท้ายนี้น้องแคร์หวังว่าสายเที่ยวทั้งหลายคนจะช้อปปิ้งหิ้วของกลับประเทศไทยอย่างมีความสุขโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าราคาแพง แม้ว่าศุลกากรจะคิดราคาภาษีมหาโหดสักเท่าไหร่ แต่คุณยังคงสามารถเลือกช้อปสบาย ๆ เพลิดเพลินใจแบบไร้พรมแดนด้วยบัตรเครดิตชั้นนำ ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณซื้อของง่ายในต่างแดนแล้วยังได้แต้มมาแลกของรางวัลสุด Exclusive ด้วย สามารถเลือกบัตรเครดิตสำหรับสายเที่ยวที่โดนใจคุณ ได้เครดิตคุ้มค่ากับเรา แรบบิท แคร์ เรารับประกันความแคร์ให้กับคุณทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง

สรุป

สินค้าที่นำเข้ามายังราชอาณาจักรต้องเสียภาษีนำเข้าหากมีมูลค่าเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยเกณฑ์ภาษีนำเข้าจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้า อย่างไรก็ตาม สินค้าบางประเภทจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า เช่น สินค้าสำหรับใช้ในครัวเรือน สินค้าเพื่อการศึกษา สินค้าทางการแพทย์

การหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา ผู้ที่กระทำความผิดมีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ กรมศุลกากรอาจยึดของที่ผิดกฎหมายและเรียกเก็บภาษีนำเข้าพร้อมค่าปรับเพิ่มอีกด้วย


บทความแนะนำอื่นๆ : การเงินและการช้อปปิ้ง

ใช้บัตรเครดิต รูดซื้อของขวัญวาเลนไทน์ สิ่งที่ห้ามทำและต้องระวังหากถูกหวย!! แชร์เคล็ดลับช้อปออนไลน์อย่างไรไม่ให้เงินหมดกระเป๋า ซื้อของออนไลน์ ชำระเงินผ่านช่องทางไหนปลอดภัยสุด ชุดเวียดนาม คืออะไร? ซื้อช่องทางไหนได้บ้าง? ซื้อของแล้ว โดนโกงออนไลน์ แบบนี้ทำยังไงดี!? อัปเดตค่าจอดรถห้างดังในกรุงเทพ 2568 กินยังไงให้คุ้มสุด ด้วยศาสตร์การกินบุฟเฟ่ต์

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 99827

แคร์ไลฟ์สไตล์

สุดยอดไอเดียของขวัญออกรถใหม่ สร้างความประทับใจและความเป็นสิริมงคลให้รถคันโปรด

การออกรถใหม่ถือเป็นก้าวสำคัญในชีวิตของใครหลายคน เป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จ ความมุ่งมั่น และอิสระในการเดินทาง
Natthamon
13/03/2025
Rabbit Care Blog Image 99136

แคร์ไลฟ์สไตล์

รวมที่จอดรถ mrt และอาคารจอดแล้วจร มีตรงไหนบ้าง? เช็กได้เลย!!

ถึงแม้ในปัจจุบันหลายคนจะมีรถยนต์เป็นของตัวเอง แต่ในเวลาเดินทางจริงต้องเลือกใช้บริการที่จอดรถ mrt หรือลานจอดรถ mrt
Natthamon
17/01/2025
Rabbit Care Blog Image 85349

แคร์ไลฟ์สไตล์

ปักหมุด 8 อุทยานแห่งชาติที่กำลังมาแรงแห่งปี 2568 ใครชอบธรรมชาติติดใจแน่นอน

ใช้ชีวิตในป่าคอนกรีต ทำงานเช้าเย็น เหนื่อยทั้งกายทั้งใจมานาน ลองมารีชาร์จ เติมพลังให้ตนเองซะหน่อยด้วยการกลับสู่ธรรมชาติ เข้าป่า ล่องลำธาร ส่องสัตว์ ลงทะเล
Nok Srihong
13/01/2025