แคร์ไลฟ์สไตล์

ไบค์เกอร์เตรียมออกทริปทางไกล มีอะไรบ้างที่ห้ามลืม?

ผู้เขียน : ONLYWONDER
ONLYWONDER

นักเขียนบทความด้านประกันยานยนต์ รถยนต์ การเคลมประกันรถยนต์ ที่ Rabbit Care และ Asia Direct ตั้งใจเขียนงานให้ได้เกินครึ่งจากช่วงเวลาที่หาข้อมูล ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก

close
linkedin icon
 
 
Published: January 31,2023
สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อไบค์เกอร์ออกทริปทางไกล

เมื่อถึงเวลาที่เหล่าไบค์เกอร์เตรียมตัวออกทริปทัวร์ริ่ง มักจะต้องเตรียมความพร้อมให้รอบด้าน ทั้งในเรื่องของอุปกรณ์, การรู้จักสัญญาณมือ, การจัดตำแหน่งขบวน และเส้นทางที่เราต้องการจะไป โดยเฉพาะถ้ารถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ออกทริปไม่ใช่รถทั่วไป แต่เป็น Big Bike ขนาดใหญ่วิ่งด้วยความเร็วสูงเท่ากับหรือมากกว่ารถยนต์ ยิ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดเรื่องต่าง ๆ อย่างครบถ้วนก่อนออกสตาร์ท

วันนี้ แรบบิท แคร์ มีเรื่องราวมาแชร์ให้กับไบค์เกอร์ ที่กำลังเตรียมตัวออกทริปทัวร์ริ่งไม่ว่าจะระยะไกลหรือใกล้ ต่างก็ต้องเรียนรู้เรื่องราวเหล่านั้นเอาไว้อย่างครบถ้วน เพื่อให้การเดินทางของเราในอนาคตราบรื่น ปลอดภัย ถึงที่หมายโดยไม่ขาดสิ่งใดไปนั่นเอง  

ถ้าออกทริปเป็นกลุ่ม ต้องเรียนรู้สัญญาณมือและการจัดขบวนก่อน

อันดับแรกที่ไบค์เกอร์ทุกคนต้องเรียนรู้ ก่อนที่จะเริ่มต้นขับขี่ออกทริปทัวร์ริ่งไปบนถนนเส้นต่าง ๆ ยิ่งถ้าเดินทางไปเป็นกลุ่มไม่ใช่ตัวคนเดียว ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่เราและเพื่อนร่วมทริปต้องอ่าน และทำความเข้าใจโดยที่ไม่ข้ามหัวข้อนี้ไปเสียก่อน

เราจะเริ่มกันที่สัญญาณมือสำหรับไบค์เกอร์ หลังจากนั้นจะตามด้วยตำแหน่งของไบค์เกอร์คนอื่น ๆ ภายในทีม เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัย และการขับขี่ที่ราบรื่นตลอดเส้นทาง

17 สัญญาณมือสำหรับไบค์เกอร์ที่เตรียมออกทริป

สัญญาณมือสำหรับไบค์เกอร์ไว้ใช้ตอนออกทริปทัวร์ริ่ง

การสื่อสารกับไบค์เกอร์คนอื่นที่มาร่วมทริปกับเรา ถ้าให้พูดคุยกันผ่านโทรศัพท์ไร้สาย อาจเกิดปัญหาในบางช่วงที่สัญญาณขาดหาย ฉะนั้นการมีสัญญาณมือเอาไว้ใช้ในช่วงเวลาต่าง ๆ ทำให้เราสามารถสื่อสารต่อรถคันอื่นได้ง่ายดาย ทำให้ผู้ร่วมทริปของเราไม่เสียขบวน พร้อมเคลื่อนตัวได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะถ้าเป็นรถ Big Bike ที่หยุดยากรถยากกว่าปกติ ยิ่งควรทำความเข้าใจสัญญาณมือทั้งหมดให้ดี

  • สตาร์ทรถ: ยกมือซ้ายเหนือศรีษะ ชูนิ้วชี้ขึ้นพร้อมหมุนเป็นวงกลม
  • เตรียมออกรถ: กางแขนซ้ายตั้งฉาก หักศอกชี้นิ้วขึ้น
  • เรียงแถวเดียว: กางแขนซ้ายตั้งฉาก หักศอกชี้นิ้วขึ้น พับแขนเข้าหาตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม
  • เรียงสองแถว: กางแขนซ้ายตั้งฉาก หักศอกชี้นิ้วขึ้น 2 นิ้ว
  • เร่งความเร็ว: แบมือซ้ายหงายขึ้น แล้วยกขึ้นตามแนวลำตัว
  • เลี้ยวซ้าย: กางแขนซ้ายระดับอก แบมือแล้วคว่ำลง
  • เลี้ยวขวา: กางแขนซ้ายตั้งฉาก แล้วหักศอก แบมือเข้าหาตัว
  • ปิดไฟเลี้ยว: กางแขนซ้ายตั้งฉาก แล้วหักศอก แบมือจีบนิ้วเข้าหากัน
  • แซงไปก่อน: กางมือซ้ายออก แบมือ แล้วโบกจากด้านหลังไปหน้า
  • ห้ามแซง: กางมือซ้ายออก แบมือคว่ำลง โบกเข้าหาตัว
  • จุดเสี่ยงอันตราย: ชี้ไปที่จุดเสี่ยงอันตรายด้วยมือซ้าย เอียง 45 องศา
  • น้ำมันหมด: ใช้มือซ้ายชี้ถังน้ำมัน
  • ทางคดเคี้ยว: ยกมือซ้ายขึ้นเหนือหัว กำมือแล้วชูสองนิ้ว โบกมือไปมา
  • ขับช้าลง: กางแขนซ้ายระดับออก แบมือ โบกขึ้นโบกลง
  • หยุดรถ: กางมือซ้าย 45 องศา แล้วแบมือออกด้านหลัง
  • หยุดรถ (กรณีฉุกเฉิน): ยกมือซ้ายขึ้น แล้วกำมือ
  • มีด่านตรวจ: ใช้มือซ้ายยกขึ้นจบที่ด้านบนของหมวกกันน็อค

7 ตำแหน่งไบค์เกอร์ในขบวนทริปทัวร์ริ่ง

ตำแหน่งของไบค์เกอร์ในขบวนทริปทัวร์ริ่ง

พอเรียนรู้สัญญาณมือกันครบถ้วนไปแล้ว ตอนนี้หน้าที่ของเหล่าไบค์เกอร์เหลือเพียงแค่รู้จักตำแหน่งของตัวเองในขบวน พร้อมกับตัวอุปกรณ์ให้พร้อมออกเดินทาง เอาละงั้นมาดูกันว่าการมอบหมายตำแหน่งให้ใครอยู่ในจุดไหน มีหน้าที่อะไร มีชื่อเรียกอย่างไรบ้าง

  • Lead Rider: ผู้นำขบวนที่มีประสบการณ์ขับขี่มากที่สุด ชำนาญเส้นทาง สามารถควบคุมระดับความเร็ว และทิศทางของไบค์เกอร์ในทริปได้
  • Wingman: คนคุมปีกขบวน มีหน้าที่ในการช่วยตัดสินใจร่วมกับผู้นำขบวน คอยช่วยเปิดทางให้ขบวน
  • Rider: ไบค์เกอร์ร่วมขบวนที่เคยมีประสบการณ์ออกทริปทัวร์ริ่งมาแล้ว
  • New Rider: ไบค์เกอร์มือใหม่ ต้องอยู่ท้ายขบวน ให้ใกล้กับคนคุมท้ายมากที่สุด
  • Tail Gunner: คนคุมท้ายขบวน ต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์มากที่สุด คอยคุมลำดับคนในทริปทัวร์ริ่ง แจ้งเตือนปัญหาต่าง ๆ ได้ทัน ทักษะความสามารถดี รถที่ใช้งานมีกำลังสูง พร้อมประกบทันทีที่มีคนมีปัญหา
  • Marshall: คนจัดระเบียบ คอยกันไม่ให้รถนอกขบวนเข้ามาแทรก คอยเติมตำแหน่งที่ว่างของกลุ่ม ต้องคอยขับขึ้นลงตลอด
  • Service: คอยช่วยเหลือรถคันที่มีปัญหา คอยสื่อสารกับคนจัดระเบียบและผู้นำ เพื่อหาจุดพักรถร่วมกัน

อุปกรณ์จำเป็นที่ไบค์เกอร์ขาดไม่ได้ในการออกทริปทางไกล

พอไบค์เกอร์ทุกคนได้เรียนรู้ถึงสิ่งสำคัญในการออกทริปทัวร์ริ่งไปแล้วถึง 2 สิ่งด้วยกัน เหลือเพียงแค่การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ต่อสถานที่ที่เราต้องไป หรือข-้ของใช้จำเป็นระหว่างการเดินทาง ซึ่งบางครั้งรถที่ใช้อาจทำให้เราต้องเตรียมสิ่งของแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะเหล่า Big Bike ในประเภทต่าง ๆ จะมีขีดจำกัดการบรรทุกสิ่งของไม่เหมือนกัน

อุปกรณ์ที่ไบค์เกอร์ต้องมีก่อนออกทริปทัวร์ริ่ง

ดังนั้นสิ่งของที่ไบค์เกอร์ควรเตรียมไปพร้อมการออกทริปในขั้นพื้นฐาน แรบบิท แคร์ ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทั้งหมดประมาณ 10 รายการด้วยกัน

1. ชุดเครื่องมือแบบพกพา

อุปกรณ์เซตที่ 1 เป็นเครื่องมือแบบพกพาที่เราควรเตรียมพร้อมไปมากที่สุด เนื่องจากไบค์เกอร์สามารถคาดเดาสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงต้องหาอุปกรณ์ไปเผื่อไว้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น เช่น อุปกรณ์ซ่อมยางแบบฉุกเฉิน, อุปกรณ์ช่าง, หลอดไฟ, สเปรย์กันยางรั่ว และเครื่องมืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม

2. อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

อุปกรณ์เซตที่ 2 ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยเฉพาะอุปกรณ์การทำแผล ล้างแผลแบบเบื้องต้น ไปจนถึงยาสามัญประจำขั้นต้น เพื่อเอาไว้ใช้บรรเทาอาการต่าง ๆ หรืออาจเพิ่มเติมยาที่เอาไว้ใช้แก้ปวดเมื่อย เพราะการขับรถระยะทางไกล ต้องใช้เวลานาน อยู่ท่าขับขี่เดิมนาน ๆ อาจทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้เป็นปกติ

3. หมวกกันน็อคและอุปกรณ์ป้องกัน

อุปกรณ์เซตที่ 3 สิ่งสำคัญมากที่สุดของเหล่าไบค์เกอร์ ชนิดที่ห้ามลืมอย่างเด็ดขาด เนื่องจากหมวกกันน็อคและอุปกรณ์ป้องกัน จะเข้ามาช่วย Safe ร่างกายของเราในส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ขับขี่ Big Bike CC สูง ควรต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันร่างกายให้ครบทุกจุด

4. เสื้อกันฝน

อุปกรณ์เซตที่ 4 เสื้อกันฝน จะช่วยให้ไบค์เกอร์ไม่ต้องตัวเปียกตลอดทางหากต้องเจอฝน เป็นหนึ่งในสิ่งของที่เมื่อพับเก็บแล้วไม่กินพื้นที่มากเท่าไหร่นัก ถ้าใครขับ Big Bike ประเภททัวร์ริ่งอยู่แล้ว อย่างน้อยก็มีติดไปสักตัวไว้อุ่นใจกว่า

5. อุปกรณ์กันขโมย

อุปกรณ์เซตที่ 5 ขาดไม่ได้เลยเมื่อต้องเดินทางไปในที่ที่เราไม่รู้จัก เพราะเราเชื่อว่าไบค์เกอร์ทุกคนคงรักรถของตัวเองอยู่แล้ว ดังนั้นห้ามลืมเอาอุปกรณ์กันขโมยไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งกล่องใส่หมวกกันน็อค, ที่ล็อคล้อ และอุปกรณ์ล็อคเบรก เป็นต้น

6. ไฟฉายและถ่าน

อุปกรณ์เซตที่ 6 ไฟฉายและถ่านมีติดไว้เผื่อไบค์เกอร์ต้องใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ต้องตรวจเช็ก หรือซ่อมในช่วงค่ำ เราจะได้มองเห็นง่ายขึ้น พร้อมลงมือจัดการปัญหาได้อย่างแม่นยำ รวมถึงใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ หลังพระอาทิตย์ตกได้อย่างครอบคลุมอีกด้วย

7. กล้องติดรถหรือหมวก

อุปกรณ์เซตที่ 7 อุปกรณ์ขั้นต้นที่ไบค์เกอร์ยุคใหม่ต้องมีทุกคน แนะนำว่าใครที่ขับขี่ Big Bike ควรมีอย่างมาก เพื่อเอาไว้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรืออีกหนึ่งการใช้งาน คือ เอาไว้เก็บช่วงเวลา Moment ต่าง ๆ ที่น่าจดจำได้เช่นกัน

8. Power Bank

อุปกรณ์เซตที่ 8 เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าจะถึงจุดพักรถตอนไหน จะถึงจุดหมายเมื่อไหร่ การมี Power Bank หรือแบตสำรองสำหรับโทรศัพท์ ช่วยให้ไบค์เกอร์สามารถใช้งานอุปกรณ์พกพาได้ตลอดทาง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่แม้แต่น้อย

9. อุปกรณ์การเติมน้ำมัน

อุปกรณ์เซตที่ 9 อย่าปล่อยให้คำว่า “เรารู้จักรถตัวเองดี” เข้ามาทำให้เกิดความเสี่ยงระหว่างขับขี่ บางครั้งถ้าเกิดน้ำมันหมดระหว่างทาง โดยที่ไบค์เกอร์ไม่มีอุปกรณ์เติมน้ำมันเสริมช่วยเลยสักอย่างเดียว อาจทำให้เราต้องลำบากกว่าเดิมหลายเท่า ทางที่ดีการมีถังหรือแกลอนเล็ก ๆ ไว้ใช้ จะช่วยรับมือได้เป็นอย่างดีที่สุด

10. ประกันรถมอเตอร์ไซค์หรือประกัน Big Bike

สุดท้ายนี้อาจไม่ใช่อุปกรณ์ที่ไบค์เกอร์จับต้องได้ แต่เป็นการดูแลทั้งคุณและรถ ให้ปลอดภัยได้ตลอดทุกช่วงเวลา ต่อให้รถที่คุณรักเป็นมอเตอร์ไซค์ทั่วไป หรือ Big Bike ก็ควรเลือกทำประกันที่ช่วยดูแลได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด รวมถึงเหมาะสมต่อการขับขี่ด้วย เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสเลือกประกันรถมอเตอร์ไซค์ หรือประกัน Big Bike ตามต้องการ เดี๋ยวเรามาดูความแตกต่าง ของประกันทั้ง 5 ประเภทกัน

  • ประกันรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 1: คุ้มครองทั้งคู่กรณีและรถมอเตอร์ไซค์ของผู้เอาประกัน, คุ้มครองค่าเสียหายรถ, ค่ารักษาพยาบาล, คุ้มครองกรณีสูญหาย, ความเสียหายจากไฟไหม้ และค่าซ่อมคู่กรณี
  • ประกันรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 2+: ครอบคลุมบุคคลภายนอก, ดูความเสียหายรถที่มีประกันภัย, คุ้มครองเฉพาะกรณีเฉี่ยวชนยานพาหนะบก, คุ้มครองเมื่อสูญหาย ถูกโจรกรรมหรือไฟไหม้
  • ประกันรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 2: เคลมค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาลคู่กรณี และเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์
  • ประกันรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 3+: คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการซ่อมทั้งรถผู้ซื้อ และคู่กรณีที่มีประกัน แต่ไม่คุ้มครองกรณีไฟไหม้หรือสูญหาย
  • ประกันรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 3: เคลมสินไหมค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถสำหรับคู่กรณีเท่านั้น ไม่คุ้มครองไฟไหม้หรือสูญหาย

ทั้งนี้ประกันรถมอเตอร์ไซค์กับประกัน Big Bike อาจมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องความคุ้มครอง แต่เรื่องเบี้ยประกันนั้นไบค์เกอร์อาจต้องศึกษาเพิ่มเติม ว่าระหว่างรถมอเตอร์ไซค์ปกติทั่วไป กับรถ Big Bike มีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ในเรื่องของราคา

สรุปสุดท้ายไบค์เกอร์อย่าลืมว่าก่อนออกทริปทัวร์ริ่ง ระยะไกลหรือใกล้ก็ตาม เราต้องเตรียมความพร้อมในทุกด้านตั้งแต่เรื่องสัญญาณมือ, ตำแหน่งขบวน และอุปกรณ์ที่ควรมี หากทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะสตาร์ทรถ ออกไปจอยทริปแห่งความสนุกที่เราต้องการ คอยเก็บความทรงจำดี ๆ ระหว่างทางมาให้มากที่สุด ส่วนเรื่องการดูแลคุ้มครองปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประกันรถมอเตอร์ไซค์ และประกัน Big Bike ที่คุณเลือกซื้อคอยดูแลเอง

แต่ถ้าไบค์เกอร์คนไหนยังไม่รู้ว่าจะเลือกประกันรถ Big Bike หรือประกันรถมอเตอร์ไซค์อย่างไร สามารถแวะเข้ามาติดต่อสอบถาม พร้อมรับคำปรึกษาและข้อเสนอสุดพิเศษจาก แรบบิท แคร์ ได้ที่ rabbitcare.com หรือโทร 143 (ติดต่อได้ 24 ชั่วโมง)

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

  

บทความอื่น ๆ เกี่ยวกับบิ๊กไบค์


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024