แคร์ไลฟ์สไตล์

ฤกษ์บวช & ฤกษ์สึกพระ 2567 ฉบับสายมูไม่ควรพลาด

ผู้เขียน : Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: February 9,2023
  
Last edited: March 9, 2023
บวชพระต้องเตรียมอะไรบ้าง

การบวชพระ หรือการบวชนาคเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีจุดเริ่มต้นในภูมิภาคอุษาคเนย์ ถือเป็นประเพณีไทยโบราณที่ถูกสืบทอดต่อกันมา โดยหลายคนเข้าใจผิดว่าพิธีอุปสมบทคือการบวชคนให้เป็นพระ แต่นั่นไม่ใช่เลยเพราะที่จริงแล้ว คือ “การบวชนาคให้เป็นพระ” หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า บรรพชาอุปสมบทหมายถึงการบวชพระ แต่ที่จริงแล้ว บรรพชาคือการบวชเป็นสามเณร ส่วนอุปสมบท คือการบวชเป็นพระภิกษุ จึงสรุปได้คร่าว ๆ ว่า การบวชเป็นอีกหนึ่งภารกิจของลูกผู้ชาย สมัยก่อนมีเรื่องเล่าว่าการบวชจะทำให้ผู้ที่บวชได้ขัดเกลากิเลสในใจ ฝึกวินัย เรียนรู้ธรรมะ สร้างภาวะความเป็นหัวหน้าครอบครัวในอนาคต

การดูฤกษ์ถือเป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่มีมาตั้งแต่โบราณ ทำให้ปัจจุบันก่อนทำอะไรก็ตามมักจะหาดูฤกษ์ก่อนเสมอ เช่น ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ฤกษ์ทำบุญบ้าน ฤกษ์คลอด ฤกษ์ศัลยกรรม และอื่นๆ รวมถึงฤกษ์บวชและฤกษ์สึกด้วย

 

เสี่ยงเซียมซีออนไลน์แม่น ๆ
  • เลือกหมวดที่ต้องการ
  • ตั้งจิตให้มั่น นึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธ์ แล้วกดปุ่ม “อธิษฐาน ก่อนเขย่า”
  • รอคำทำนายสักครู่
image 1 chi chi sticks widget
สุขภาพ
image 2 chi chi sticks widget
การเงิน
image 3 chi chi sticks widget
ความรัก
chi chi sticks
ครอบครัว
chi chi sticks by rabbitcare
widget : chi chi stick
อธิษฐาน ก่อนเขย่า
กรุณาเลือกหมวดที่ต้องการ

การบวชมีกี่รูปแบบ

ในสมัยก่อน การบวชสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 รูปแบบดังนี้ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ติสรณคมนูปสัมปทา ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา ปัญหาพยากรณูปสัมปทา และ ทูเตนอุปสัมปทา 

ฤกษ์บวช

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการบวช 

1. อายุของการบวช 

 โดยส่วนใหญ่แล้ว ชายไทยเมื่ออายุครบ 15 ปี มักจะหาจังหวะบวชเป็นสามเณรเนื่องจากอายุยังน้อย และภาระยังน้อย ทำให้ผลสำเร็จในการเรียนรู้ธรรมะมีสูง มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้รวดเร็ว หลังจากนั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีควรหาเวลาบวชเป็นพระ บางคนอาจบวชหลังจากนั้นหรือเมื่อมีเวลาที่เหมาะสม แต่น้องแคร์อยากแนะนำว่าควรบวชก่อนอายุ 25 ปี เพราะหากบวชตอนอายุเยอะจะทำให้สังขารไม่พร้อม เช่น มีปัญหาด้านเข่า ทำให้การลุกนั่งทำได้ลำบาก มากไปกว่านั้น ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งสอนได้ยากเนื่องจากมีทิฐิสูง

2. ระยะเวลาในการบวช

โดยส่วนใหญ่แล้วระยะเวลาในการบวชจะอยู่ที่ 15 และ 30 วัน บางคนอาจบวชมากกว่า 1 เดือนเพื่อที่จะได้มีเวลาในการศึกษาพระธรรมและพุทธศาสนานาน ๆ อย่างไรก็ตามมีบางคนที่บวชในช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน หรือบวชในช่วงภาคฤดูร้อนซึ่งจะมีระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ระยะเวลาในการบวชขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเพราะบางคนอาจบวชแค่ในช่วงที่ลางานได้ หรือบางคนอาจบวชไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้

3. การเลือกสถานที่บวช 

การบวชจะมีประสิทธิภาพหรือสำเร็จแค่ไหน สถานที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญดังนั้นก่อนการบวชควรเลือกสำนักบวชให้ดีก่อนทุกครั้ง เช่น การหาประวัติ การดูพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และอื่นๆ หากสถานที่บวชดี คุณจะได้รับการเคี่ยวเข็ญ อบรมสั่งสอนศีลธรรมและพุทธศาสนา ทำให้คุณสามารถนำคำสอนต่าง ๆ ไปปรับใช้ในชีวิตหลังการบวชเสร็จได้ หากคุณเลือกที่บวชไม่ดี คุณอาจไม่ได้เรียนรู้พระธรรมคำสอนอย่างเต็มที่ อาจอยู่แบบสบาย ๆ ไม่ได้มีการสนทนากับพระอุปัชฌาย์อาจารย์เลย

4. การรักษาวินัย 

ในระยะเวลาการบวชหรือตลอดเวลาที่คุณอยู่ใต้ชายผ้าเหลือง คุณควรรักษาวินัยของตนเองโดยการตั้งใจเรียนรู้และศึกษาพระธรรมอย่างเต็มที่ มีความจดจ่อ มีสมาธิ ไม่ว่อกแว่กไปคิดเรื่องอื่น โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นอกุศลน้องแคร์แนะนำว่าคุณควรสงบกาย วาจา ใจ ไม่คุยเสียงดังจนรบกวนผู้อื่น

บวชพระ

การเตรียมตัวก่อนบวชพระ 

ก่อนเข้าพิธีอุปสมบท น้องแคร์มีวิธีการเตรียมตัวมาฝากกัน ดังนี้

1. ติดต่อเจ้าอาวาส 

หลังจากได้สถานที่บวชเรียบร้อยแล้ว ก่อนบวช คุณควรติดต่อเจ้าอาวาสหรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลวัดเพื่อหาฤกษ์บวชและนัดวันบวช คุณควรแจ้งล่วงหน้าเพราะบางครั้งอาจทำให้วุ่นวายได้หากแจ้งกระชั้นชิดเกินไป

 

2. เตรียมชุดเครื่องบวชให้พร้อม 

การบวชก็เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมทางศาสนาที่จำเป็นต้องจัดเตรียมล่วงหน้า หลายคนที่มีแพลนจะบวชอาจไม่รู้ว่าต้องเตรียมอะไร วันนี้น้องแคร์มีรวบรวมไปให้แล้ว ไปดูกันเลย: 

  • เตรียมบริขาร 8 ให้พร้อม ประกอบไปด้วย ผ้าจีวร, ผ้าสังฆาฏิ , ผ้าจีวร, ถุงบาตร, เข็มเย็บผ้าพร้อมด้าย , มีดโกน, ประคตเอว , กระบอกกรองน้ำ (ธรรมกรก)
  • เตรียมของใช้ส่วนตัว เช่น เสื่อ มุ้ง ที่นอน ผ้าห่ม ผ้าสบง จีวร ร่มกันแดดกันฝน สบู่ ผ้าเช็ดตัว รองเท้า สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และอื่น ๆ 
  • เตรียมเครื่องไทยธรรม เพื่อใช้ถวายพระอุปัชฌาย์ ได้แก่ เครื่องไทยธรรม เครื่องสักการะ ซองใส่ปัจจัย ดอกไม้ธูปเทียน 
  • เตรียมเครื่องประกอบ เช่น ผ้านุ่งนาค ย่าม ตาลปัตร เหรียญโปรยทาน และอื่น ๆ  

เหรียญโปรยทานในปัจจุบันมีการออกแบบให้สวยงาม ทันสมัยมากขึ้น มีหลายรูปแบบเช่น เหรียญรูปทรงผ้าไตร รูปทรงบาตร รูปทรงย่าม รูปทรงดอกบัว หรือรูปทรงถุงเงินถุงทอง โดยคุณสามารถทำเองได้ง่าย ๆ หรือจะหาซื้อตามร้านค้า ซึ่งในออนไลน์ก็มีเช่นกัน อาทิ Shopee, Lazada โดยราคาเริ่มต้นอยู่เหรียญละ 10 บาท อาจเตรียมไปสักประมาณ 500 เหรียญก็เพียงพอแล้ว

อุปกรณ์การทำเหรียญโปรยทาน

  • ริบบิ้น
  • ที่แบ่งริบบิ้น
  • โบว์
  • กรรไกร กาว 
  • ถุงแก้ว 
  • กระดาษสาห่อเหรียญ
  • เหรียญ 1 บาท/ 5 บาท

ฤกษ์สึก

3. ศึกษาธรรมะเบื้องต้น 

หลังจากหาฤกษ์บวชแล้ว คุณควรเตรียมตัวโดยการศึกษาธรรมะเบื้องต้นโดยการอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และรักษาศีล 8 ดังนี้

  • เว้นจากทำลายชีวิต
  • เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
  • เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์  
  • เว้นจากพูดเท็จ
  • เว้นจากของเมา 
  • เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
  • เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
  • เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย

คำอาราธนาศีล 8

มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ

ทุติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ

ตะติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ

(สมาทานคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ”)

4. ซ้อมท่องบทสวด

 ก่อนบวชคุณควรซ้อมบทสวดต่าง ๆ และจำให้ขึ้นใจ และจำขั้นตอนการบวชนาค 

บทขานนาค

อะหัง ภัณเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง ภัณเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ 

คำแปลบทขานนาค : “ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ผ้ากาสาวะนี้ ให้กระผมบวชเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดออกจากความทุกข์”

5. ทำพิธีขอขมากรรม  

ก่อนบวช คุณจำเป็นต้องทำพิธีขอขมาบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เคารพรักเพื่อลาบวช

คำขอขมากรรม

“กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทและล่วงเกินท่าน ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี เพื่อความบริสุทธิ์แห่งเพศพรหมจรรย์ ขอท่านโปรดจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพานเทอญ ขอให้อานิสงส์และกุศลบุญของการบรรพชาของข้าพเจ้าแผ่ไพศาล ถึงทุกท่านโดยถ้วนทั่วกันเทอญ”

ฤกษ์บวช 2567

ทำไมต้องดูฤกษ์สึกพระ

คนโบราณเชื่อว่า หากดูฤกษ์ไม่ดีก่อนสึกพระ จะส่งผลร้ายต่อผู้ที่สึกออกมา ทำให้ชีวิตวุ่นวาย ไม่สงบ หรืออาจกลายเป็นคนวิกลจริต ดังนั้นหากฤกษ์สึกดี จะทำให้ผู้ที่สึกนั้นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุข ค้าขายมั่งคั่งร่ำรวย ทำกิจการอันใดก็รุ่งเรือง จึงเป็นที่มาของคำว่าฤกษ์บวชจำเป็นน้อยกว่าฤกษ์สึก เพราะการบวชถือเป็นการตั้งใจทำความดีอย่างหนึ่ง หากอยากจะทำแล้วก็สามารถทำได้เลยไม่ต้องรอ อย่างไรก็ตามการบวชเป็นสิ่งที่เราต้องตัดกิเลสรอบตัวแล้วตั้งใจศึกษาธรรมะ ดังนั้นก่อนบวชควรปรึกษาเจ้าอาวาสวัดเสียก่อนเพื่อหาฤกษ์งามยามดี 

วันนี้น้องแคร์รวบรวม ฤกษ์บวชและฤกษ์สึกพระ ปี 2567 มาให้คุณแล้ว!!

เดือนมกราคม 2567

ฤกษ์บวช

  • 1 มกราคม 2567
  • 8 มกราคม 2567
  • 15 มกราคม 2567
  • 22 มกราคม 2567
  • 26 มกราคม 2567

ฤกษ์สึก

  • 1 มกราคม 2567
  • 2 มกราคม 2567
  • 8 มกราคม 2567
  • 10 – 11 มกราคม 2567
  • 15 มกราคม 2567
  • 19 – 20 มกราคม 2567
  • 22 มกราคม 2567
  • 26 มกราคม 2567
  • 28 – 29 มกราคม 2567

เดือนกุมภาพันธ์ 2567 

ฤกษ์บวช

  • 9 กุมภาพันธ์ 2567 
  • 13 กุมภาพันธ์ 2567 
  • 26 – 28 กุมภาพันธ์ 2567 

ฤกษ์สึก

  • 7 – 9 กุมภาพันธ์ 2567 
  • 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2567
  • 24 – 28 กุมภาพันธ์ 2567 

เดือนมีนาคม 2567 

ฤกษ์บวช

  • 7 – 8 มีนาคม 2567
  • 15 – 16 มีนาคม 2567
  • 25 – 26 มีนาคม 2567

ฤกษ์สึก

  • 5 – 8 มีนาคม 2567
  • 13 – 16 มีนาคม 2567
  • 23 – 26 มีนาคม 2567

เดือนเมษายน 2567 

ฤกษ์บวช

  • 3 – 4 เมษายน 2567
  • 12 – 13 เมษายน 2567
  • 21 – 22 เมษายน 2567

ฤกษ์สึก

  • 1 – 4 เมษายน 2567
  • 10 – 13 เมษายน 2567
  • 19 – 22 เมษายน 2567
  • 29 – 30 เมษายน 2567

เดือนพฤษภาคม 2567

ฤกษ์บวช

  • 1 พฤษภาคม 2567
  • 9 – 10 พฤษภาคม 2567
  • 18 พฤษภาคม 2567
  • 20 พฤษภาคม 2567
  • 28 – 29 พฤษภาคม 2567

ฤกษ์สึก

  • 1 พฤษภาคม 2567
  • 7 – 10 พฤษภาคม 2567
  • 16 – 18 พฤษภาคม 2567
  • 20 พฤษภาคม 2567
  • 26 – 29 พฤษภาคม 2567

เดือนมิถุนายน 2567

ฤกษ์บวช

  • 5 – 6 มิถุนายน 2567
  • 15 – 16 มิถุนายน 2567
  • 24 – 25 มิถุนายน 2567

ฤกษ์สึก

  • 3 – 6 มิถุนายน 2567
  • 12 – 16 มิถุนายน 2567
  • 22 – 25 มิถุนายน 2567

เดือนกรกฎาคม 2567

ฤกษ์บวช

  • 3 – 4 กรกฎาคม 2567
  • 12 – 13 กรกฎาคม 2567
  • 22 กรกฎาคม 2567
  • 30 – 31 กรกฎาคม 2567

ฤกษ์สึก

  • 1 – 4 กรกฎาคม 2567
  • 10 – 13 กรกฎาคม 2567
  • 20 – 22 กรกฎาคม 2567
  • 28 – 29 กรกฎาคม 2567
  • 30 – 31 กรกฎาคม 2567

เดือนสิงหาคม 2567

ฤกษ์บวช

  • 8 – 9 สิงหาคม 2567
  • 18 – 19 สิงหาคม 2567
  • 26 – 27 สิงหาคม 2567

ฤกษ์สึก

  • 6 สิงหาคม 2567
  • 8 – 9 สิงหาคม 2567
  • 16 – 19 สิงหาคม 2567
  • 25 – 27 สิงหาคม 2567

เดือนกันยายน 2567

ฤกษ์บวช

  • 5 กันยายน 2567
  • 14 – 15 กันยายน 2567
  • 23 – 24 กันยายน 2567

ฤกษ์สึก

  • 2 กันยายน 2567
  • 4 – 5 กันยายน 2567
  • 12 – 15 กันยายน 2567
  • 21 – 24 กันยายน 2567
  • 30 กันยายน 2567

เดือนตุลาคม 2567

ฤกษ์บวช

  • 2 – 3 ตุลาคม 2567
  • 11 – 12 ตุลาคม 2567
  • 20 – 21 ตุลาคม 2567
  • 29 – 30 ตุลาคม 2567

ฤกษ์สึก

  • 1 – 3 ตุลาคม 2567
  • 9 – 12 ตุลาคม 2567
  • 18 – 21 ตุลาคม 2567
  • 27 – 30 ตุลาคม 2567

เดือนพฤศจิกายน 2567

ฤกษ์บวช

  • 8 – 9 พฤศจิกายน 2567
  • 16 – 17 พฤศจิกายน 2567
  • 25 – 27 พฤศจิกายน 2567

ฤกษ์สึก

  • 6 – 9 พฤศจิกายน 2567
  • 14 – 17 พฤศจิกายน 2567
  • 23 – 27 พฤศจิกายน 2567

เดือนธันวาคม 2567

ฤกษ์บวช

  • 5 – 6 ธันวาคม 2567
  • 14 – 15 ธันวาคม 2567
  • 23 – 24 ธันวาคม 2567

ฤกษ์สึก

  • 3 – 6 ธันวาคม 2567
  • 12 – 15 ธันวาคม 2567
  • 21 – 24 ธันวาคม 2567
  • 30 – 31 ธันวาคม 2567

นอกจากฤกษ์บวชแล้ว น้องแคร์เชื่อว่าหลายคนคงให้ความสนใจเกี่ยวกับงบประมาณการบวช ซึ่งเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 40,000 บาท เพราะองค์ประกอบในงานบวชหลายส่วน ต่างก็ต้องใช้เงินทั้งสิ้น เช่น พิธีปลงผม พิธีการขอขมาล้างเท้าบุพการี ค่าฉลองไตร และอื่น ๆ

บัตรไหนคุ้ม เปรียบเทียบเลย แค่ 30 วิ เช็คเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน


การดูฤกษ์สึกเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การดูฤกษ์บวช เพราะคนโบราณกล่าวว่าหากไม่ดูฤกษ์สึกแล้วจะส่งผลร้ายหรือทำให้เกิดการเจ็บป่วยต่อผู้บวชได้ อาจทำให้มีเคราะห์กรรมตามมาได้ หากคุณเป็นกังวลใจหรือไม่สบายใจ น้องแคร์แนะนำให้คุณซื้อประกันชีวิตของ แรบบิท แคร์ ติดตัวไว้ เพื่อครอบครัวและคนที่คุณรักจะได้รับผลประโยชน์กรณีเกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น

บทความฤกษ์มงคลอื่น ๆ


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024
Rabbit Care Blog Image 89764

แคร์ไลฟ์สไตล์

แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
คะน้าใบเขียว
31/05/2024