5 ความปลอดภัยแรกเริ่มในโลกยานยนต์ ที่ต่อมาทุกค่ายรถ ต้องมีกันหมด!
สวัสดีครับชาว Rabbit Care กลับมาพบกับสาระดีๆ ที่ทาง CARRO นำเสนอให้อ่านกันอีกเช่นเคยนะครับ ในช่วงโควิด-19 นี้ หลายคนอาจจะประสบกับปัญหา ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ และฐานะทางการเงิน หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทีมงาน CARRO ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านสู้กันต่อไปนะครับ
ที่สำคัญ ตอนนี้เราก็ได้พบกับวิถีชีวิตแบบใหม่ หรือที่เรียกกันว่า ”New Normal” ก็ทำให้พวกเราต้องปรับตัวกันพอสมควรเลย ซึ่งระบบความปลอดภัยของรถยนต์นั้น เมื่อแรกเริ่มของการคิดค้นและพัฒนาขึ้นมา ก็ไม่ต่างไปจาก New Normal ที่ใช้กันจนเป็นมาตรฐานของรถยนต์ในยุคปัจจุบันเช่นกัน
ส่วนถ้าใครกำลังเดือดร้อนเรื่องเเงิน หรือกำลังมองหารถยนต์มาตรฐานใหม่ และอยากเปลี่ยนรถยนต์คันเก่า อย่าลืมนึกถึง “CARRO Express” นะครับ เราพร้อมรับซื้อรถของคุณ เร็ว ไว ให้ราคาที่คุณพอใจ พร้อมปิดการขายภายใน 24 ชั่วโมง
MR.CARRO จะมานำเสนอ 5 ความปลอดภัยแรกเริ่มในโลกยานยนต์ ที่ต่อมาทุกค่ายรถ ต้องมีตามกันหมด! ใครไม่มีถือว่าล้าหลัง มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง
มารู้จักกับ 5 ความปลอดภัยแรกเริ่มในโลกยานยนต์ ที่ต่อมา ใคร ๆ ก็ทำ
1. เข็มขัดนิรภัย
เข็มขัดนิรภัย เป็นอุปกรณ์สามัญประจำรถยุคใหม่ ที่ทุกคันจะต้องมี เพราะสามารถปกป้องชีวิตของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้อย่างมาก
นับตั้งแต่การคิดค้นของ George Cayley วิศวกรชาวอังกฤษช่วงกลางศตวรรษที่ 19 แต่ก็ยังไม่ได้ต่อยอดอะไร มาจนถึงปี 1946 Dr. C. Hunter Shelden แห่ง Huntington Memorial Hospital ในเมือง Pasadena รัฐแคลิฟอเนีย จึงเริ่มทำการศึกษาถึงการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในรถ ต่อมาในปี 1949 รถยนต์ยี่ห้อ Nash และ Ford ในปี 1955 จึงมีการนำเสนอ “เข็มขัดนิรภัย” ในรูปแบบของอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติม
จากนั้นในปี 1958 SAAB ผู้ผลิตรถยนต์จากสวีเดน จึงเริ่มติดตั้งในรถรุ่น GT 750
ต่อมาในปี 1959 เข็มขัดนิรภัย 3 จุด (Three-Point Safety Belt) จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยแนวคิดของ Nils Bohlin วิศวกรของวอลโว่ ที่ศึกษาการอุบัติเหตุมามากถึง 28,000 เคส ก่อนจะมาพัฒนาเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรุ่น Amazons และ PV544 สำหรับตลาดสแกนดิเนเวีย
หลังจากที่วอลโว่ได้ยกเลิกสิทธิบัตรที่เป็นเจ้าของเข็มขัดนิรภัย 3 จุดลง ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกๆ ต่างนำนวัตกรรมชิ้นนี้มาใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และพัฒนาต่อยอดเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน
2. ถุงลมนิรภัย
การขับรถในสมัยก่อน คนขับและผู้โดยสารมักได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เพราะมาจากการถูกพวงมาลัยกระแทกอัดหน้าอก หรือแผงคอนโซลหน้ากระแทก
Airbag หรือ ถุงลมนิรภัย เริ่มผลิตออกมามีลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปด้วยอากาศ ผลิตขึ้นอย่างช้าที่สุดในช่วงต้นปี 1941 ต่อมาในปี 1951 วอลเตอร์ ลินเดอเรอ วิศวกรชาวเยอรมัน ได้ทำการออกแบบถุงลมนิรภัยขึ้น และยื่นขอจดสิทธิบัตรของเยอรมันหมายเลขที่ # 896312 เมื่อ 6 ตุลาคม 1951 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1953 ประมาณสามเดือนหลังจากที่ชาวอเมริกัน John Hetrick ได้ขอสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา หมายเลขที่ # 2649311 ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 สิงหาคม 1953 แต่ก็ยังใช้ในเชิงพาณิชย์ไม่ได้
ทางฝั่งญี่ปุ่นในปี 1964 Yasuzaburou Kobori ก็ได้เริ่มพัฒนาถุงลมนิรภัยขึ้นเช่นกัน ด้วยระบบ “Safety Net”
จนกระทั่งปี 1971 จึงได้ทดลองนำมาติดตั้งในรถ Ford ติดตั้งในกลุ่มของรถยนต์ทดลองที่เรียกว่า Experimental Fleet of Car
หลังจากนั้น GM จึงริเริ่มนำถุงลมนิรภัย มาใช้อย่างจริงจังในรถตัวเองเป็นเจ้าแรกๆ ของโลก โดยเรียกถุงลมนิรภัยว่า ACRS (Air Cushion Restraint System) และติดตั้งครั้งแรกใน 1973 Chevrolet Impala ก่อนที่จะติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานพิเศษ ในรถ Oldsmobile, Buick และ Cadillac
ในอดีต ถุงลมนิรภัยยังมีราคาแพงมาก จึงมีการติดตั้งให้เฉพาะรถยนต์ในรุ่น Top เท่านั้น ก่อนจะเงียบหายไปและเริ่มมาพัฒนากันใหม่ในช่วงปลายๆ ยุค 80 โดยรถยุโรปรุ่นแรกๆ ที่มีถุงลมนิรภัยติดตั้งให้ คือ Mercedes-Benz S-Class (W126) รุ่นปี 1981 และ Ford ที่เริ่มติดตั้งแต่มาตรฐานสามัญครั้งแรก (คือติดตั้งในรถทุกรุ่น ไม่ใช่เฉพาะรถหรูๆ อีกต่อไป) ได้แก่รถรุ่น Ford Escort (Mk5)
หลังจากนั้นก็ใช้เวลานานกว่า 20 ปีได้ กว่าที่ถุงลมนิรภัย จะกลายมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสามัญ ที่ต้องมีในรถทุกคัน เป็นสิ่งที่อยากได้ แต่ไม่อยากใช้ รวมไปถึงการคิดค้นถุงลมนิรภัยในจุดต่างๆ เพิ่มอีกด้วย เช่น ถุงลมนิรภัยด้านข้าง (มีครั้งแรก ในรถ Volvo 850 ปี 1995) ถุงลมนิรภัยบริเวณเข่า (มีครั้งแรก ในรถ KIA Sportage ปี 1995) ม่านนิรภัย (มีครั้งแรก ในรถ BMW ซีรี่ส์ 5 และ ซีรี่ส์ 7 ปี 1997) หรือแม้กระทั่งถุงนิรภัยสำหรับคนเดินเท้า เมื่อเกิดการชนจากภายนอก (มีครั้งแรก ในรถ Volvo V40 ปี 2012)
3. ระบบเบรก ABS
นับตั้งแต่ระบบเบรกในรถยนต์ของเรา เริ่มตั้งแต่ใช้ระบบดรัมเบรกกันเป็นหลัก ต่อมาจึงเริ่มหันมาใช้ดิสก์เบรกหน้า (ติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานครั้งแรกในปี 1950 ในรถ Chrysler Crown และ Town & Country) จนกระทั่งรถหลายรุ่น เริ่มใช้ระบบดิสก์เบรก 4 ล้อ ที่เพิ่มความปลอดภัยและมั่นใจในการขับขี่มากขึ้น
แต่ดิสก์เบรก 4 ล้อ เวลาเบรกในที่ลื่น บนพื้นน้ำ หรือเบรกกะทัน รถมักจะประสบกับปัญหา “ล้อล็อคตาย” ทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยๆ จึงมีการวิจัยและพัฒนา “ระบบเบรก ABS” ขึ้นมา โดย Mercedes-Benz S-Class (W116) เป็นผู้ริเริ่มการใช้ระบบเบรก ABS เป็นเจ้าแรกของโลกในปี 1978 ซึ่งได้ Bosch เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นนี้ให้
ซึ่งภายหลัง ระบบเบรก ABS ก็กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่รถทั่วโลกต้องมีให้ อีกทั้งยังพัฒนาต่อยอดไปเป็นระบบต่างๆ อีกด้วย เช่น ระบบ EBD (ระบบควบคุมการกระจายแรงเบรก), ระบบ ESP / ESC (ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว) และระบบ BA (ระบบเสริมแรงเบรก) เป็นต้น
4. ไฟหน้าโปรเจคเตอร์ / ไฟตาเพชร
ไฟหน้าโปคเจคเตอร์ ยอดฮิตสุดๆ สำหรับรถสมัยนี้ ที่เราเห็นกันจนชินไม่ใช่เรื่องแปลกตาอะไร
ต้นกำเนิดของมันครั้งแรกอยู่ในรถ Audi Quartz ซึ่งเป็นรถต้นแบบของ Audi ที่ออกแบบโดย Pininfarina ในปี 1981 ภายหลังจึงเริ่มใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานครั้งแรกในรถรุ่น BMW 7 Series (E32) เมื่อปี 1986 และในส่วนของไฟหน้ารถที่มีไฟ Projector แบบคู่เป็นครั้งแรกของโลก คงต้องยกให้กับ Nissan Silvia (S13) ที่ผลิตขึ้นโดย Ichikoh
ส่วนต้นกำเนิดของ “ไฟตาเพชร” ที่ช่วยให้แสงสว่างสะท้อนออกมาได้มากขึ้น ขับรถได้อย่างปลอดภัยขึ้น กับแผ่น Refector แบบใสทำมุมต่างๆ แบบ Palabora (ภาคตัดกรวย) ภายในโคมไฟ เริ่มใช้ครั้งแรกในรถ Austin Maestro ปี 1983 ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Lucas-Carello แต่ก็รูปแบบของไฟ ก็ยังเป็นแบบโคมแก้วอยู่
มาจนถึงปี 1989 ทาง Honda จึงได้เริ่มใช้ชุดไฟหน้าแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์ (หรือแบบเคลียร์เลนส์) ซึ่งพัฒนาโดย Stanley ใช้โคมแบบพลาสติก ที่ให้ความสว่างมากขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ในรถรุ่น Honda Accord หรือที่บ้านเรารู้จักกันในรุ่น “Accord ตาเพชร” นั่นเอง !
5. พนักพิงศีรษะ
พนักพิงศีรษะ เริ่มคิดค้นพัฒนาเมื่อปี 1921 โดย Benjamin Katz แต่ก็ไม่ได้ต่อยอด ต่อมาในปัจจุบัน อุปกรณ์ชิ้นนี้ ที่หลายคนอาจจะเฉยๆ เพราะว่ามันมีติดตั้งมากับเบาะนั่งอยู่แล้ว แต่รถเก่าๆ สมัยก่อน ไม่มีนะครับ!
พนักพิงศีรษะ มีใช้กันจริงๆ จังๆ ก็ในยุค 70 ที่ผ่านมานี่เอง เนื่องจากทาง National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) ได้บังคับให้รถทุกคันที่ขายในสหรัฐอเมริกา หลังจากวันที่ 1 มกราคม 1969 เป็นต้นไป ต้องติดตั้งพนักพิงศีรษะมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
ถ้าใครอยากขายรถ สามารถขายคันเดิมกับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox มาปรึกษาเรื่องรถยนต์ได้ที่ Facebook CARRO Thailand เช่นกัน
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี