เคล็ด(ไม่)ลับ อะไรคือรากฟันอักเสบ พร้อมรวมวิธีรักษารากฟัน ฉบับ 2023
ปากเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญมากในร่างกาย เพราะเราทุกคนล้วนรับประทานอาหารผ่านทางปากและเคี้ยวด้วยฟัน ดังนั้น คุณจำเป็นต้องดูแลรักษาฟันให้ดี โดยการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอให้ถูกวิธีตามคำแนะนำของกรมอนามัย เมื่อได้ยินคำว่ารักษารากฟัน คงทำให้ใครหลาย ๆ คนตื่นเต้นและแพนิกไม่น้อย ว่ามันคืออะไร ขั้นตอนการทำเป็นอย่างไรบ้าง เจ็บปวดหรือไม่ วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลดีดีให้กับทุก ๆ คนแล้ว ไปดูกันเลย!
รักษารากฟัน คืออะไร?
การรักษารากฟัน หรือชื่อภาษาอังกฤษ เรียกว่า Root Canal Treatment โดยทันตแพทย์จะทำความสะอาดที่บริเวณคลองรากฟัน เพื่อทำให้เชื้อโรคที่มีอยู่ในบริเวณนั้นหมดไปและทำให้อาการปวดฟันหายไปด้วยเช่นกัน ฟันที่ทำก็จะสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ส่วนใหญ่แล้วฟันที่ผ่านการรักษารากมักจะถูกคลอบฟัน เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับฟันซี่นั้น
ลักษณะฟันแบบไหน ต้องรักษารากฟัน?
1. ฟันผุลึกถึงโพรงประสาทฟัน
ปัญหาฟันผุเป็นสิ่งที่หลายคนเผชิญได้เนื่องจากหากคุณดูแลสุขภาพฟันหรือช่องปากได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดฟันผุได้ เช่น การแปรงฟันไม่ถึง ซึ่งในตอนแรกอาจยังไม่มีอาการมาก ดังนั้นหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้อาการผุลึกไปถึงโพรงประสาทฟันได้ น้องแคร์ขอแนะนำว่าคุณควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก ๆ 6 เดือนหรืออย่างน้อยปีละครั้ง
2. ฟันได้รับอุบัติเหตุ
หากฟันของคุณได้รับอุบัติเหตุหรือการกระแทกแรง ๆ เช่น ปากไปชนโต๊ะ ทำให้ฟันได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง อาจทำให้ฟันโยก ฟันหัก หรือรากฟันมีปัญหาได้ ดังนั้น หากคุณพบว่าฟันของคุณได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง คุณควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน บางรายแพทย์อาจวินิจฉัยให้ถอนฟันหากการรักษารากฟันไม่ประสบผลสำเร็จ
3. ฟันมีการเปลี่ยนสี
หากฟันของคุณมีการเปลี่ยนสีเป็นสีดำ คล้ำ นั่นแปลว่าเกิดภาวะฟันตาย ซึ่งจำเป็นต้องรักษารากฟันโดยแพทย์จะน้ำเนื้อฟันส่วนที่ตายออกให้หมดและล้างทำความสะอาด หลังจากนั้นทันตแพทย์จะเติมสารเพื่อแทนเนื้อฟันที่เสียไป โดยจะช่วยทำให้ฟันซี่เดิมยังคงใช้งานได้ต่อไป หรือบางรายทันตแพทย์อาจแนะนำให้ทำการครอบฟันโดยเฉพาะฟันกราม
** แหล่งข้อมูลเรื่องลักษณะฟันที่ต้องรักษาราก จากโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
อาการของรากฟันอักเสบ
อาการหลัก ๆ ของรากฟันอักเสบ หรือบ่งบอกว่ามีปัญหาที่รากฟัน คือ อาการเจ็บหรือปวดเวลาเคี้ยวอาหาร อาหารเสียวฟันอย่างมากเวลาดื่มหรือรับประทานอาหารร้อนและเย็น มีความรู้สึกว่าฟันโยก หากรากฟันเกิดการติดเชื้อหรือเป็นหนอง จะทำให้เกิดอาการเหล่านี้ขึ้นและทำให้ฟันซี่นั้นตายในที่สุด นอกจากนี้แล้วรากฟันอักเสบอาจทำให้เกิดลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น หน้าบวม มีตุ่มหนองขึ้นบริเวณเหงือกใกล้ ๆ กับฟันซี่นั้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามคุณเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมถึงมีความรู้สึกเจ็บปวดเกิดขึ้น นั่นเพราะฟันของเรามีโพรงประสาทฟันอยู่
หากรากฟันมีการอักเสบหนัก อาจทำให้เกิดหนองที่ปลายรากฟันซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนที่รุนแรงและอันตราย บางรายอาจมีหนองไหลออกมาให้ได้พบเห็น นั่นแปลว่าเชื้อโรคมีการลุกลามจนทำลายส่วนของเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันเรียบร้อยแล้ว ในกรณีแบบนี้ แพทย์จะให้การรักษารากฟันก่อนและจึงตามด้วยการอุดฟัน โดยการตรวจพบจะทำได้โดยวิธีการเอกซเรย์ และจะพบเงาดำที่บริเวณปลายรากฟัน
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าไม่ได้มีอาการปวดมาก หรือเคยมีแต่หายแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องมาพบทันตแพทย์ นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดมากเนื่องจากบางครั้งฟันผุ หรือฟันแตกในระยะเริ่มต้นอาจไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่หากปล่อยไว้ในระยะยาว อาจทำให้จำเป็นที่ต้องรักษารากฟันเลยก็ว่าได้
วิธีการรักษารากฟัน
การรักษารากฟัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีดังนี้:
1. การรักษารากฟันแบบปกติ
ในขั้นตอนแรกแพทย์จะทำการเอกซเรย์ช่องปากเพื่อวัดความยาวและดูลักษณะของคลองรากฟัน หลังจากนั้นแพทย์จะใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า File ที่มีขนาดเล็กเข้าไปทำความสะอาดบริเวณคลองรากฟันเพื่อกำจัดเชื้อโรคและแบคทีเรีย หลังจากทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน โดยที่ฟันจะยังไม่ถูกอุดถาวรในครั้งแรกจนกว่าจะมั่นใจว่าเชื้อโรคถูกขจัดออกจากคลองรากฟันจนหมดสิ้น
2. การผ่าตัดปลายรากฟัน
การรักษาด้วยวิธีนี้จะทำเมื่อการรักษาในแบบแรกไม่ประสบผลสำเร็จ แพทย์จะเข้าไปผ่าตัดบริเวณปลายรากฟันที่เป็นหนอง อย่างไรก็ตามปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ทำให้วงการทันตแพทย์มีเครื่องมือที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลศัลยกรรมที่ช่วยเพิ่มการมองเห็นคลองรากฟันที่มีขนาดเล็ก ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาสำเร็จ หลังจากนั้นแพทย์จะทำการอุดฟันหลังจากทำความสะอาดเชื้อโรคที่คลองรากฟันเสร็จ
การเตรียมตัวก่อนรักษารากฟัน
หลังจากพบทันตแพทย์และทำการเอกซเรย์แล้วว่ารากฟันมีปัญหา คุณจำเป็นต้องพบหมอครอบฟันก่อนการรักษารากฟันเนื่องจากหากไม่สามารถครอบฟันได้ การรักษารากก็ไม่มีประโยชน์อะไร หลายคนอาจไม่เข้าใจว่ารักษารากฟันแล้วทำไมต้องครอบฟัน นั่นเพราะเพื่อป้องกันการแตกหักของฟันหลังการรักษาราก ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการครอบฟันจะมีหลากหลาย เช่น โลหะ เซรามิก หรืออื่น ๆ โดยแพทย์จะเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
โดยทั่วไปแล้วการรักษาจะแบ่งออกเป็น 2 ครั้งโดยห่างกันครั้งละ 1-2 ครั้งขึ้นอยู่กับการติดเชื้อและการอักเสบของรากฟัน :
- ครั้งแรกจะเป็นการรักษาโดยการทำความสะอาดและกำจัดเชื้อโรคที่โพรงประสาทฟันและบริเวณรากฟัน นอกจากนี้ในครั้งแรกแพทย์จะทำการขยายขนาดที่บริเวณคลองฟันและใช้น้ำยาเพื่อกำจัดเชื้อโรค
- ในครั้งที่สองของการรักษา แพทย์จะทำการ อุดคลองรากฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน หลังจากนั้นแพทย์จะทำการเดือยฟันเพื่อทำการครอบฟันในอนาคต
**หากมีหนองและการอักเสบมากอาจใช้ระยะเวลาการรักษามากกว่า 2 ครั้ง
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
1. แพทย์จะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อระงับความเจ็บปวดในขณะทำการรักษารากฟัน หลังจากนั้นแพทย์จะใช้แผ่นยางเพื่อแยกฟันที่มีปัญหาออกจากฟันซี่อื่น ๆ
2. ทันตแพทย์จะทำการกำจัดเนื้อฟันที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อออกไปและทำความสะอาดบริเวณคลองรากฟันที่มีการติดเชื้อ
3. หลังจากที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะใส่ยาไปที่บริเวณคลองรากฟัน
4. แพทย์จะทำการอุดรากฟันชั่วคราวด้วยวัสดุอุดฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
ราคาในการรักษารากฟัน
การรักษารากฟัน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
- รักษารากฟันหน้า : ราคาประมาณ 6,000 บาท
- รักษารากฟันกรามน้อย : 8,500 บาท
- รักษารากฟันกราม: 11,000 บาท
**ราคาที่กล่าวมาข้างต้นนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ลักษณะความยากง่ายของการรักษา สถานที่ที่เข้ารับบริการ ค่าเครื่องมือ ค่าแพทย์ ค่ายา และอื่น ๆ
ปัจจัยเสี่ยงของการรักษารากฟัน
1. แพ้ยาชา
การรักษารากฟัน สิ่งสำคัญมาก ๆ ที่ขาดไม่ได้คือยาชา เพราะหาไม่มียาช้าแล้วคนไข้จะรู้สึกเจ็บปวดและทรมานขณะทำการรักษาได้ อย่างไรก็ตามการแพ้ยาชาเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นตามมา โดยจะมีอาการผื่นคัน หายใจติดขัดและอาจอันตรายถึงชีวิตได้
2. มีอาการเจ็บปวดหลังทำ
อาการเจ็บปวดหลังรักษารากฟันพบได้บ่อย เช่น ปวด เจ็บ หรือเสียวฟัน น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณบ้วนปากบ่อย ๆ ด้วยน้ำเกลือเพื่อช่วยลดแบคทีเรียในช่องปากและรับประทานยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบตามที่แพทย์สั่งให้ครบ อย่างไรก็ตามอย่านิ่งนอนใจเด็ดขาดเพราะอาการปวดอาจเกิดจากการทำความสะอาดรากฟันที่ไม่ดีพอหรือยังมีเชื้อโรคติดอยู่นั่นเอง
3. มีอาการชาบริเวณริมฝีปาก
อาการชาสามารถพบได้เนื่องจากฉีดยาชา อาจทำให้ในช่วงแรกรับประทานน้ำหรืออาหารได้ลำบาก แต่อาการชาจะหมดไปภายใน 4-6 ชั่วโมงหลังทำ และจะหายไปภายใน 3-5 เดือน
การดูแลรักษาหลังการรักษารากฟัน
1. รับประทานอาหารอ่อน ๆ
หลังจากการรักษาคุณควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่ายและไม่ต้องออกแรงเคี้ยวเยอะ เช่น ข้าวต้ม เพื่อที่จะไม่ให้ฟันซี่นั้นได้ใช้งานเยอะในช่วงแรก น่องไก่ทอดเป็นหนึ่งในอาหารที่น้องแคร์ไม่แนะนำ
2. หมั่นสังเกตตัวเอง
หากวัสดุอุดคลองฟันหลุดออกมา คุณควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะนั่นจะทำให้เชื้อโรคเข้าไปที่รากฟันได้ง่าย ทำให้การรักษาไม่เกิดผลสำเร็จ
3. มาพบแพทย์ตามนัด
หลังจากการรักษาเสร็จในแต่ละรอบหมอจะมีการนัดมาทำหรือตรวจ เป็นขั้นตอนที่เรียกว่า Follow up ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจเด็ดขาดว่าไม่มีอาการปวดแปลว่าหายดีแล้ว เพราะนั่นอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณต้องถอนฟันในอนาคตได้
รักษารากฟัน จัดฟันได้ไหม
ใครที่มีแพลนจะดัดหรือจัดฟัน อาจสงสัยว่าการรักษารากสามารถจัดฟันได้หรือเปล่า คำตอบคือ ทำได้เพียงแต่คุณจำเป็นที่จะต้องรักษารากฟันให้แข็งแรงและหายดีก่อน
กันไว้ดีกว่าแก้ เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการรักษารากฟันที่น้องแคร์รวบรวมมาไว้ให้คุณ ก่อนทำหัตถการใด ๆ เกี่ยวกับฟัน อย่าลืมสมัครบัตรเครดิตของ แรบบิท แคร์ ติดตัวเอาไว้ เพราะหากคุณไปทำฟัน คุณสามารถรูดบัตรได้ง่าย ๆ รวดเร็วแทนการใช้เงินสด มีหลายธนาคารให้คุณได้เลือกสรร พร้อมสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น เครดิตเงินคืน ผ่อน 0% 3 เดือน และอื่น ๆ มาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ที่พร้อมอยู่เคียงข้างคุณตลอดเมื่อเจอปัญหา เช่น ระบบ Care Center, และ CareOS
เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ