แคร์สุขภาพ

ฮีทสโตรก ภัยร้ายหน้าร้อนที่ไม่ควรมองข้าม

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Natthamon
Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
 
Published: April 7,2023
  
Last edited: August 6, 2024
ฮีทสโตรก

ภัยหน้าร้อน ไม่เพียงแต่เรื่องของพิษสุนัขบ้า อุบัติเหตุจากช่วงเทศกาลวันหยุดยาวเท่านั้น แต่ยังมีภัยอื่นอีกมากมาย โดยเฉพาะ ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด ที่กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง แล้วแบบนี้เราจะป้องกันอย่างไร ถ้าเกิดคนใกล้ตัวเป็นฮีทสโตรก ใครบ้างที่เสี่ยงเป็น? แล้วเราจะปฐมพยาบาลอย่างไร ทำไมถึงจัดเป็นภัยหน้าร้อนที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกันมากขึ้นกัน

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    โรคฮีทสโตรก คืออะไร ทำไมถึงควรระวัง? 

    โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะที่มีความร้อนสูงมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงาน สูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย บางรายอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงสะสมมากถึง  41 องศาเซลเซียส โดยทางกระทรวงสาธารณสุข พบว่าผู้ป่วยสูงสุดในปี 2563 มากสุดในเดือน มี.ค. – มิ.ย. ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน 

    นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค รายงานว่า ระหว่างเดือนมี.ค.-พ.ค. ตั้งแต่ปี 2558-2564 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน ทั้งสิ้น 234 คน เฉลี่ย 33 คน/ปี และมีรายงานผู้ป่วยประมาณ 2,500-3,000 คน/ปี เลยทีเดียว! เห็นได้ว่า ฮีทสโตรกนั้นอันตราย และไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม 

    โดยการเป็นโรคลมแดด อาการจะแตกต่างจากการเป็นลมทั่วไปตรงที่ร่างกายไม่สามารถปรับสมดุลและระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ทัน ทำให้อาการผิดปกติต่าง ๆ ขึ้นกับร่างกาย หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธี หรือได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะมีผลกับการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท อวัยวะต่าง ๆ อาจทำงานล้มเหลว จนทำให้เสียชีวิตได้

    โดยอาการของฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด อาการที่ชวนสังเกต มีดังนี้

    • อาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย
    • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
    • วิตกกังวล สับสน
    • ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด
    • ภาวะขาดเหงื่อ
    • เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว
    • หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ
    • กระหายน้ำมาก
    • มึนงง
    • เหงื่อไม่ออกแม้อากาศร้อน
    • อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียล
    • หมดสติเป็นลม

    ส่วนวิธีการป้องกันตัวไม่ให้เป็นฮีทสโตรกนั้น เบื้องต้นสามารถทำตามได้ง่าย ๆ ด้วยการพยายามไม่ใช้เวลาในกลางแจ้งนานเกินไปในช่วงฤดูร้อน สวมใส่เสื้อผ้าบาง ๆ หรือเลือกเนื้อผ้าที่สามารถระบายความร้อนได้ดี

    หากมีความจำเป็นที่ต้องอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน หรือต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งอยู่บ่อย ๆ ทางแรบบิท แคร์ แนะนำให้หากสิ่งของมาบังแดดร่วมด้วย เช่น กางร่ม, สวมหมวกป้องกันแดด เป็นต้น และพยายามดื่มน้ำเยอะ ๆ ตลอดทั้งวัน

    ฮีทสโตรก คือ

    ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคฮีทสโตรก

    เบื้องต้นแล้ว ทุกคน หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงก็สามารถเป็นฮีทสโตรกได้ แต่กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการฮีทสโตรกได้ง่าย มีดังนี้ 

    • บุคคลที่ต้องทำงาน หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง

    ไม่ว่าจะเป็น กรรมกรก่อสร้าง, ไรเดอร์, เกษตกร, ตำรวจจราจร, คนกวาดขยะ, นักกีฬา หรอืผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง, พ่อค้าแม่ค้า และอีก ฯลฯ ต่างเสี่ยงเป็นฮีทสโตรกได้ง่าย เพราะ บุคคลที่มีอาชีพข้างต้นมักจะทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานมากกว่าคนทั่วไป และเมื่อต้องใช้เวลาอยู่ในที่ที่อากาศร้อนเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงเสียเหงื่อมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมแดดได้มากขึ้น

    • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ

    เพราะเด็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเป็น hyperthermia หรือ ภาวะตัวร้อนเกินได้มากกว่าวัยรุ่นหรือวัยทำงาน เนื่องจากเด็กจะตัวร้อนกว่าผู้ใหญ่ 3-5 เท่า ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ร่างกายก็จะไม่สามารถปรับสมดุลได้ดีเท่าเดิมเช่นกัน ทำให้คนทั้ง 2 กลุ่มนี้เสี่ยงจะเป็นโรคลมแดดมากกว่ากลุ่มวัยอื่น ๆ นั่นเอง

    • คนที่มีโรคประจำตัว 

    สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวอย่าง เช่น โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงสูงกว่าบุคคลอื่น เพราะ เมื่อความดันหรือหัวใจของทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้เลือดไหลเวียนในร่างกายได้ไม่ดีเท่าที่ควร กลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ร่างกายจะไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน และเป็นโรคลมแดดได้ง่ายขึ้น

    ลมแดด

    • คนที่มีน้ำหนักไม่ตรงกับมาตรฐาน

    ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่น้ำหนักเกินเกณฑ์หรือน้อยกว่ามาตรฐาน ต่างก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็น hyperthermia หรือ ภาวะตัวร้อนเกิน เหมือนกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นฮีทสโตรกทางอ้อมได้

    • บุคคลที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

    รู้หรือไม่ หากร่างกายคนเราพักผ่อนน้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดเป็นความเสี่ยงทำให้ร่างกายเราไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ทัน และป่วยเป็นโรคลมแดดในที่สุด

    • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

    แอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่จะทำให้ร่างกายของเราเกิด hyperthermia หรือ ภาวะตัวร้อน และภาวะขาดน้ำได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานไม่ปกติและร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าที่ควร จนอาจเสี่ยงเกิดฮีทสโตรกได้ง่าย

    ลมแดด อาการ

    ต้องปฐมพยาบาลอย่างไร หากพบผู้เป็นโรคฮีทสโตรก

    การปฐมพยาบาลให้กับผู้ที่เกิดอาการฮีทสโตรกนั้น ทำได้ไม่ยาก โดยผู้อยู่ในเหตุการณ์ควรตั้งสติให้ดี และสามารถปฎิบัติตามได้ ดังนี้

    • นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออกถ้าผู้ป่วยหมดสติให้เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง จัดให้นอนท่าตะแคงเพื่อป้องกันลิ้นตกและป้องกันการสำลัก  
    • รีบลดอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยให้เร็วที่สุด โดยเช็ดตัวแรง ๆ ย้อนรูขุมขนด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือนำน้ำแข็งประคบตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ หรือสเปรย์ร่างกายด้วยน้ำแล้วเปิดพยายามพัดระบายอากาศ
    • กรณีที่ผู้ป่วยคือตัวเราเอง ให้พยายามมีสติ หาทางทำตัวเองให้เย็นลงเร็วที่สุด เช่น หาสถานที่หลบแดด, พยายามหาน้ำจิบทานเพื่อชดเชยเกลือแร่ที่หายไป 
    • หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเปียกคลุมตัวผู้ป่วย เพราะจะขัดขวางการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย
    • หลีกเลี่ยงการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเย็นทันทีเมื่อได้สติ ควรเลือกเป็นน้ำอุณหภูมิห้องที่ไม่ได้เย็นจัด  เพราะนอกจากผู้ป่วยอาจสำลักน้ำเข้าปอดแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกระบวนรักษาระดับอุณหภูมิภายในร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ช็อก ทำให้กระแสเลือดจับตัวเป็นก้อน ก่อการอุดตันที่อาจนำไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลันได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เพิ่งใช้แรงหนักจากกิจกรรมกลางแจ้ง
    • รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งในกรณีที่ผู้ป่วยยังหายใจ หัวใจยังเต้น  ไม่ต้อง CRP ระหว่างรอรถพยาบาล แต่หากกรณีที่ผู้ป่วยฮีทสโตรก เรียกไม่ตื่น มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการ CPR ปั๊มหัวใจ (ต้องเป็นผู้ถ้าทำเป็นเท่านั้น) ควรทำให้เร็วที่สุด เพราะหากช้า ผู้ป่วยอาจเสี่ยงสมองพิการ หรืออาจเสียชีวิตได้

    จะเห็นได้ว่า ฮีทสโตรก หรือ โรคลม แดด เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายหน้าร้อนที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในไทย และคนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นได้ แถมหากช้า อาจเสี่ยงถึงชีวิต


    เพราะเรื่องไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ไปกับ แรบบิท แคร์ ด้วย ประกันชีวิต ที่มีให้เลือกหลากหลายแผน มีดอกเบี้ยที่จับต้องได้ง่าย พร้อมคำแนะนำจาก แคร์เอเจ้นท์ ที่พร้อมให้บริการคุณ คลิกเลย!


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024