แคร์สุขภาพ

คลายข้อสงสัย! “Transgender” ผู้หญิง-ผู้ชายข้ามเพศ ทำประกันได้หรือไม่?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: September 28,2022
Transgender ทำประกันได้หรือไม่

แม้ว่าจนถึง ณ ขณะนี้ กฎหมายในประเทศไทยว่าด้วยเรื่องการสมรสเท่าเทียม จะยังไม่ได้รับการอนุมัติ และมีผลทำให้กลุ่มบุคคลเพศทางเลือกต่าง ๆ หรือกลุ่ม LGBTQA+ ไม่สามารถที่จะจดทะเบียนสมรสร่วมกัน เพื่อยกสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้กันตามกฎหมายได้ แต่ในขณะเดียวกันเพศทางเลือกในประเทศไทย ก็ได้กลายเป็นเพศที่ถูกยอมรับในสังคมวงกว้าง คนในสังคมเริ่มมีการเรียนรู้และทำความเข้าใจในความหลากหลายมากขึ้น สินค้าและผลิตภัณฑ์อุปโภคต่าง ๆ ก็ได้มีการปรับเพิ่มให้รองรับการใช้งานกับทุกเพศในรูปแบบ Unisex ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ทุกเพศ ไม่แบ่งแยก เพื่อแสดงออกถึงการให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมเรื่องเพศ

ซึ่งนอกจากสินค้าและผลิตภัณฑ์อุปโภคต่าง ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ทุกเพศมีสิทธิ์ในการใช้งานและเข้าถึงแล้ว ผลิตภัณฑ์สำหรับความคุ้มครองและวางแผนทางการเงิน อย่างประกันชีวิต ก็มีการปรับรูปแบบเงื่อนไขการรับประกันภัย เพื่อให้สามารถตอบโจทย์กลุ่มบุคคลเพศทางเลือกมากขึ้นด้วยเช่นกัน และคำถามคาใจสำหรับใครหลายๆคนที่เกี่ยวกับการซื้อประกันของเพศทางเลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศทางเลือกกลุ่ม Transgender ทั้งผู้หญิงข้ามเพศและผู้ชายข้ามเพศ ที่มีการแปลงเพศสภาพเกิดขึ้น จะยังสามารถทำประกันทุกประเภทได้อยู่หรือไม่ น้องแคร์ช่วยคลายข้อสงสัยนี้ได้

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    Transgender คือใคร?

    Transgender หรือภาษาไทยเรียกว่า บุคคลข้ามเพศ ก็คือ บุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่สัมพันธ์กับเพศสภาพโดยกำเนิดของตนเอง ไม่รู้สึกพึงพอใจในเพศสภาพเดิมของตนเอง จึงเลือกที่จะรับฮอร์โมนเพศตรงข้ามกับเพศสภาพของตนเอง เพื่อทำให้ตนเองมีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกับเพศที่อยากเป็น รวมไปถึงการผ่าตัดแปลงเพศ ให้มีลักษณะเหมือนเพศที่อยากเป็นมากที่สุด สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะหลัก ได้แก่

    Transgender ผู้หญิงข้ามเพศ ผู้ชายข้ามเพศ
    • ผู้หญิงข้ามเพศ หรือ Transgender woman

    คือ บุคคลที่มีเพศสภาพโดยกำเนิดเป็นเพศชายมาก่อน แต่รู้สึกว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงร่างกายและเพศสภาพของตนเองให้กลายมาเป็นผู้หญิง โดยการผ่าตัดแปลงเพศ หรือการรับฮอร์โมนเพื่อให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมือนเพศหญิงมากที่สุด ศัพท์ที่คนไทยค่อนข้างคุ้นหูมากที่สุดในกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศ ก็คือ สาวประเภทสอง เป็นต้น

    • ผู้ชายข้ามเพศ หรือ Transman

    คือ บุคคลที่มีเพศสภาพโดยกำเนิดเป็นเพศหญิงมาก่อน และรู้สึกรับรู้ว่าตนเองเป็นผู้ชาย จึงต้องการเปลี่ยนแปลงร่างกายและเพศสภาพของตนเองให้กลายเป็นผู้ชาย ให้สอดคล้องกับความต้องการทางจิตใจของตนเอง โดยการรับฮอร์โมนเพศชาย หรือผ่าตัดแปลงเพศ เพื่อให้เหมือนเพศชายมากที่สุด ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก “ทอม” เนื่องจากผู้ที่เป็นทอม จะยังคงนิยามตนเองว่าเป็นผู้หญิง มีความพึงพอใจในการมีเพศสภาพเป็นเพศหญิงอยู่ อยู่ในกลุ่ม LGBTQA+ ประเภท L หรือ Lesbian ที่เป็นกลุ่มหญิงรักหญิง ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับผู้ชายข้ามเพศ

    Transgender แตกต่างจาก LGBTQA+ หรือไม่?

    Transgender ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงข้ามเพศ หรือผู้ชายข้ามเพศ จริงๆแล้วก็คือกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศกลุ่ม LGBTQA+ นั่นเอง เป็น 1 ใน 7 ลักษณะทางเพศ ที่ตรงกับตัวอักษรภาษาอังกฤษตัว T ที่ย่อมาจาก Transgender ดังนั้น Transgender จึงไม่มีความแตกต่างจาก LGBTQA+ ในลักษณะที่เป็นกลุ่มบุคคลเพศทางเลือกเช่นเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันก็เพียงความหมายหรือคำนิยามที่แตกต่างกันไปของแต่ละตัวอักษร LGBTQA+ ว่าหมายถึงกลุ่มบุคคลเพศทางเลือกรูปแบบใดเท่านั้นเอง โดยความหมายของแต่ละตัวอักษรย่อแต่ละตัวของ LGBTQA+ ประกอบไปด้วย

    1. L (Lesbian) : หมายถึง ผู้หญิงที่มีรสนิยมทางเพศรักผู้หญิงด้วยกัน ทั้งนี้รวมไปถึง ทอมและดี้ ด้วย
    2. G (Gay) : หมายถึง ผู้ชายที่มีรสนิยมทางเพศรักผู้ชายด้วยกัน
    3. B (Bisexual) : หมายถึง ผู้ชายหรือผู้หญิงที่มีรสนิยมทางเพศรักได้ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม
    4. T (Transgender) : หมายถึง ผู้หญิงข้ามเพศ หรือผู้ชายข้ามเพศ ตามที่ได้กล่าวข้างต้น
    5. Q (Queer) : หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ไม่จำกัดตนเองว่าเป็นเพศใด ๆ
    6. A (Asexual) : หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ ไม่ได้ต้องการจะมีเพศสัมพันธ์กับใครหรือ  เพศใดทั้งนั้น
    7. + (Plus) : หมายถึง เพศอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้ หรือยังไม่ได้เกิดขึ้นมา
    Transgender เพศทางเลือกในกลุ่ม LGBTQA+

    แล้ว Transgender ยังสามารถทำประกันได้หรือไม่?

    อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า Transgender ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงข้ามเพศ หรือผู้ชายข้ามเพศ โดยรวมแล้วการข้ามเพศจะมีอยู่ 2 วิธีการ คือ การรับฮอร์โมนและการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคลข้ามเพศด้วยวิธีการใดก็ตาม ก็สามารถที่จะซื้อประกัน เพื่อรับผลประโยชน์ความคุ้มครองได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันออมทรัพย์ ประกันบำนาญ ไปจนถึงประกันควบการลงทุน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการรับประกันภัยในแต่ละประเภทประกันด้วย โดยเงื่อนไขการรับประกันภัยโดยทั่วไปที่จะบริษัทประกันจะสามารถรับทำประกันได้ ก็อย่างเช่น

    1. สุขภาพ : ต้องปกติแข็งแรงดีไม่มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังที่เป็นมาก่อนการทำประกัน รวมถึงต้องไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อย่างเช่น เอดส์ เป็นต้น
    2. อายุการรับประกันภัย : ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัทประกันภัยและประเภทประกันภัยนั้นๆกำหนด
    3. อาชีพปัจจุบัน : ต้องเป็นอาชีพที่บริษัทประกันภัยสามารถรับทำประกันได้ โดยจะถูกแบ่งเป็นขั้นอาชีพตามลักษณะงานที่ทำ 

    หากบุคคลข้ามเพศมีลักษณะที่เป็นไปตามเงื่อนไขการรับประกันภัย ก็จะสามารถทำประกันได้ตามปกติ ทั้งนี้สำหรับกรณีบุคคลข้ามเพศที่มีการผ่าตัดแปลงเพศมาก่อนหน้าที่จะทำประกันแล้ว นอกจากเงื่อนไขการรับประกันภัยทั่วไป 3 ข้อ ดังกล่าวแล้ว บริษัทประกันจะมีการขอประวัติสุขภาพและประวัติการเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศทั้งหมด รวมไปถึงอาจจะมีการขอตรวจสุขภาพโดยแพทย์แต่งตั้งจากบริษัทประกันก่อนการทำประกันด้วย เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดส่งฝ่ายพิจารณาประกอบการพิจารณาการรับทำประกันร่วมด้วย และจะต้องมีการผ่าตัดแปลงเพศมาแล้วอย่างน้อย 12 เดือนขึ้นไป ซึ่งหากประวัติสุขภาพและประวัติการผ่าตัดแปลงเพศทั้งหมดเป็นปกติไม่ได้มีปัญหาใด ๆ สุขภาพร่างกายหลังผ่าตัดแปลงเพศแล้วแข็งแรงเป็นปกติ ก็จะสามารถทำประกันได้ตามปกติ

    สรุปแล้ว Transgender ทั้งผู้หญิงข้ามเพศ และผู้ชายข้ามเพศ ไม่ว่าจะแปลงเพศแล้วหรือยังไม่ได้แปลงเพศ ก็สามารถที่จะซื้อประกันได้ทุกประเภท หากเป็นไปตามเงื่อนไขการรับประกันภัย

    Transgender สามารถทำประกันได้ตามปกติ

    หากเกิดโรคแทรกซ้อนหรือติดเชื้อจากการผ่าตัดแปลงเพศ ประกันสุขภาพจ่ายหรือไม่?

    เป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยสำหรับบุคคลข้ามเพศที่มีการซื้อประกันสุขภาพเอาไว้ เพื่อความคุ้มครองหากเกิดการเจ็บป่วยต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล อย่างที่ทราบกันดีว่าประกันสุขภาพนั้น ถ้าหากเราเข้าไปรักษาตัวด้วยกรณีการรักษาโรคทั่วไป หรือรักษาโรคใด ๆ ก็ตามที่ไม่ได้ถูกระบุไว้ในหมวดโรคที่ไม่คุ้มครอง ก็จะสามารถเบิกเคลมประกันสุขภาพได้ปกติ แต่สำหรับกรณีของ Transgender ทั้งผู้หญิงข้ามเพศและผู้ชายข้ามเพศ ที่มีการผ่าตัดแปลงเพศ ไม่ว่าจะเป็นก่อนหรือหลังทำประกันก็ตาม หากมีการติดเชื้อจากการผ่าตัดแปลงเพศ หรือเกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นผลมาจากการผ่าตัดแปลงเพศ ก็จะไม่สามารถเบิกประกันสุขภาพได้ในทุกกรณี พูดง่าย ๆ ก็คือ บริษัทประกันไม่รับเคลมนั่นเอง เนื่องจากเงื่อนไขในกรมธรรม์จะมีการระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ชัดเจนว่า “ค่ารักษาพยาบาลและความเสียหายที่เกิดจากการบาดเจ็บรวมถึงโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการปลูกถ่ายอวัยวะ บริษัทจะไม่รับประกันทุกกรณี” จึงไม่สามารถเคลมประกันสุขภาพในกรณีเช่นนี้ได้ คุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยตนเอง

    บริษัทประกันมีวิธีคำนวณค่าเบี้ยอย่างไร? เมื่อเป็นบุคคลข้ามเพศ

    ในการซื้อประกันไม่ว่าจะเป็นประกันประเภทใดก็ตาม บริษัทประกันจะมีหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าเบี้ยประกันเบื้องต้นสำหรับบุคคลแต่ละบุคคลหลัก ๆ 3 หลักเกณฑ์ ได้แก่

    1. อายุ : อายุยิ่งมากค่าเบี้ยประกันยิ่งแพง เนื่องจากบุคคลที่อายุมาก มีความเสี่ยงในทุก ๆ ด้านมากกว่าบุคคลที่อายุน้อย ค่าเบี้ยจึงแพงกว่า
    2. เพศ : เพศที่แตกต่างกันย่อมจะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นประกันส่วนใหญ่ค่าเบี้ยของเพศชายและเพศหญิงจึงไม่เท่ากัน แม้จะเป็นประกันประเภทเดียวกันและทุนประกันเท่ากันก็ตาม
    3. อาชีพปัจจุบัน : อาชีพที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบัน มีผลกับค่าเบี้ยประกัน เนื่องจากบริษัทประกันจะมีการแบ่งกลุ่มอาชีพตามขั้นของอาชีพ เพื่อแยกกลุ่มความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ตั้งแต่ขั้นอาชีพ 1 – 4 เรียงลำดับจากความเสี่ยงน้อยสุดไปมากสุด โดยขั้นอาชีพ 1 จะมีระดับความเสี่ยงทางอาชีพน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น พนักงานบริษัท นักเรียน นักศึกษา และอาชีพอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีลักษณะการทำงานนอกสถานที่หรือต้องทำงานเสี่ยงภัย เป็นต้น และขั้นอาชีพที่มีความเสี่ยงน้อยค่าเบี้ยก็จะถูกกว่าขั้นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง
    คำนวณค่าเบี้ยประกัน Transgender ตามเพศสภาพเดิม

    ดังนั้นเมื่อต้องการซื้อประกันไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม ก็จะต้องมีการนำหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าเบี้ยประกันทั้ง 3 ข้อ มาใช้ในการคำนวณทั้งสิ้น ซึ่งหลักเกณฑ์เหล่านี้ ก็จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณเบี้ยกับบุคคลข้ามเพศ หรือ Transgender ด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าบุคคลข้ามเพศบุคคลนั้น จะมีการผ่าตัดแปลงเพศให้ต่างไปจากเพศสภาพโดยกำเนิดหรือไม่ก็ตาม บริษัทประกันก็ยังคงจะยึดเพศสภาพโดยกำเนิดมาใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันเช่นเดิม เช่น หากเป็นผู้หญิงข้ามเพศ เปลี่ยนจากเพศชายมาเป็นเพศหญิงแล้ว เมื่อมีการซื้อประกัน บริษัทประกันก็จะมีการคำนวณเบี้ยประกันโดยยึดจากเพศสภาพเดิมก็คือเพศชายมาใช้ในการคำนวณเบี้ย เป็นต้น

    ต่อให้บุคคลข้ามเพศ จะมีการผ่าตัดแปลงเพศหรือไม่ก็ตาม ในการคำนวณค่าเบี้ยประกัน บริษัทประกันก็จะคำนวณค่าเบี้ยประกัน โดยยึดจากเพศสภาพโดยกำเนิดนั่นเอง

    บุคคลข้ามเพศ สามารถระบุให้คู่รักเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการทำประกันได้หรือไม่?

    ก่อนอื่น ต้องทราบก่อนว่าผู้รับผลประโยชน์ในทางประกันภัยสามารถเป็นบุคคลใดได้บ้าง? ผู้รับผลประโยชน์ ก็คือ บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เอาประกัน จะเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์จากการทำประกันตามที่ผู้เอาประกันระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยผู้รับผลประโยชน์จะต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดโดยตรง อย่างเช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร พี่ และน้อง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้มีการระบุเป็นข้อยกเว้นว่าบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดโดยตรงอย่างแฟน หรือคู่ชีวิต ที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส จะไม่สามารถเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ นั่นหมายความว่าคู่รักเพศเดียวกันสามารถที่จะระบุชื่อคนรักเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ รวมไปถึงลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย หากผู้เอาประกันสามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่เป็นเสมือนผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดที่สุด ผู้เอาประกันก็สามารถที่จะระบุชื่อบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน

    สำหรับ Transgender หรือบุคคลข้ามเพศ นอกจากจะสามารถซื้อประกันทุกประเภทได้แล้ว เมื่อซื้อแล้วก็ยังสามารถที่จะระบุชื่อคนรักที่เป็นเพศเดียวกันเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน โดยต้องระบุความสัมพันธ์ในกรมธรรม์เป็น “คู่ชีวิต” และในการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่แต่ละบริษัทประกันกำหนดด้วย อย่างเช่น การแสดงหลักฐานต่าง ๆ ในการยืนยันความสัมพันธ์ หรือทั้งคุณและคู่ชีวิตของคุณจะต้องทำประกันประเภทเดียวกัน หรือให้ผลประโยชน์ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเหมือนกันด้วยกันทั้งคู่

    เช่น คุณทำประกันชีวิต ทุนประกัน 10 ล้านบาท คนรักของคุณก็จะต้องทำประกันชีวิต ที่ทุนประกัน 10 ล้านบาท เช่นเดียวกัน เป็นต้น จึงจะสามารถระบุชื่อของกันและกันเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ เพื่อป้องกันกรณีการฆาตกรรมเพื่อรับเงินทุนประกันชีวิตนั่นเอง ทั้งนี้ก็แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันตามที่แจ้งไปข้างต้น ซึ่งหากต้องการทำประกันน้องแคร์แนะนำว่าควรสอบถามเงื่อนไขเรื่องการระบุผู้รับผลประโยชน์แบบคู่ชีวิตกับตัวแทนของแต่ละบริษัทประกันอย่างละเอียดด้วย

    Transgender สามารถระบุชื่อคนรักเพศเดียวกันให้เป็นผู้รับผลประโยชน์จากการทำประกันได้ โดยระบุความสัมพันธ์เป็น “คู่ชีวิต”

    Transgender ใส่ชื่อคู่รักเพศเดียวกันเป็นผู้รับผลประโยชน์ประกันได้

    ความรักเป็นสิ่งสวยงาม ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับเพศใดก็ตาม ย่อมเป็นเรื่องที่น่ายินดีเสมอ น้องแคร์ก็ขอแสดงความยินดีกับคนที่มีความรักในทุก ๆ เพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือจะเป็นเพศทางเลือกอย่าง Transgenderก็ตาม และสิ่งที่น่ายินดีไม่น้อยไปกว่าความรักก็คือ การที่สังคมไทยเราเปิดกว้างและให้เกียรติให้สิทธิกับเพศทางเลือกมากขึ้น มีผลิตภัณฑ์ที่ออกมาเพื่อรองรับการใช้งานและการเข้าถึงของกลุ่มบุคคลเพศทางเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านการประกันภัย ที่มีการปรับปรุงเงื่อนไขการรับประกัน ให้สามารถตอบโจทย์เรื่องการให้ผลประโยชน์ซึ่งกันและกันกับคนรักเพศเดียวกัน เป็นเสมือนทะเบียนสมรสฉบับเสมือนจริง ที่สามารถให้ผลประโยชน์ทุนประกันชีวิตกับคนรักได้ ในวันที่กฎหมายในประเทศไทยยังไม่ได้อนุมัติแบบสมบูรณ์

    แรบบิท แคร์ ขอเป็นอีก 1 เสียงในการสนับสนุนความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ ด้วยการคัดสรรผลิตภัณฑ์ประกันภัยคุณภาพจากบริษัทประกันชั้นนำของประเทศไทย ทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันประเภทอื่นๆที่มากมาย ที่ตอบโจทย์กลุ่มบุคคลเพศทางเลือก ไม่ว่าคุณจะนิยามตนเองว่าเป็นเพศใด ก็สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยจากแรบบิท แคร์ได้ตามความต้องการ พร้อมบริการ เปรียบเทียบประกันสุขภาพ ที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว ทั้งหมดนี้มีที่แรบบิท แคร์ ที่นี่ที่เดียว!

      

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024