แคร์สุขภาพ

หยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร ? อันตรายหรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่ามีอาการ ?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
 
Published: May 16,2024
  
Last edited: May 17, 2024
หยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแค่ชื่อก็สัมผัสได้ถึงความร้ายแรงของสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แล้วในความเป็นจริงเจ้าภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมีความร้ายแรงตามชื่อของมันหรือไม่ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากอะไร มีอาการที่แสดงออกมาแบบไหน เป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ มักจะเกิดขึ้นกับใคร จะสามารถรู้ตัวได้อย่างไรว่ามีภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น ?

คำตอบของคำถามเหล่านี้วันนี้ แรบบิท แคร์ ได้รวบรวมมาให้ ทุกคนสามารถลองอ่านทำความเข้าใจ และนำไปช่วยกันสังเกตคนใกล้ชิดกันได้ว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ เพื่อที่จะได้แก้ไขและทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร ?

    โรงพยาบาลกรุงเทพให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstuctive Sleep Apnea : OSA) คือ ภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างที่เรานอนหลับ เนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้นและมีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดและระดับออกซิเจนในเลือดลดลง จากนั้นเมื่อสมองเกิดการรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวภายในร่างกายก็จะตอบสนองโดยการปลุกให้เราตื่นขึ้น ส่งผลให้มีการหายใจสะดุด นอนกระสับกระส่ายหรือสะดุ้งตื่นขึ้นกลางดึกเพื่อให้สามารถกลับมาหายใจได้ปกติ คุณภาพการนอนหลับของผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจึงจะแย่ลงอย่างมาก ส่งผลต่อระดับสมาธิและการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน อาจส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ อีกทั้งภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้นั้นถือเป็นภาวะที่มีความอันตรายมากและอาจก่อให้เกิดความผิดปกติอื่น ๆ ตามมาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

    ปกติแล้วภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุและมักจะพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น อีกทั้งยังมีอัตราการพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงรวมถึงกลุ่มคนที่มีน้ำหนักตัวมาก

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายไหม ?

    สำหรับผู้ที่สงสัยว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมีความอันตรายเหมือนชื่อของมันหรือไม่ คำตอบคือภาวะหยุดหายใจนั้นมีความอันตราย เริ่มตั้งแต่ระดับที่รบกวนประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่มีสมาธิ ลดทอนความสามารถในการเรียนรู้ ไปจนถึงส่งผลต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย และร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุ

    หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นคืออะไร และมีระดับความอันตรายร้ายแรงมากแค่ไหน ก็ถึงเวลาลองทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับกันไว้ด้วยเช่นกัน

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดความผิดปกติกับระบบหายใจมีการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ระบบทางเดินหายใจส่วนต้นไปถึงบริเวณปอดมีความตีบแคบเนื่องจากกล้ามเนื้อเพดานอ่อนมีความหย่อนยานส่งผลให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ในขณะที่กำลังนอนหลับ มีอาการนอนกรน นอนกระสับกระส่าย โดยหลายครั้งมักเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเพราะสมรรถภาพทางร่างกายมีความเสื่อมถอยลง กล้ามเนื้อเพดานอ่อนจึงมีความหย่อนยาน และการที่น้ำหนักตัวมาก เป็นต้น

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาการ

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาการ

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีอาการอย่างไร ? สำหรับผู้ที่มีอาการหรือพฤติกรรมการนอนดังต่อไปนี้ ขอให้ลองตั้งข้อสงสัยกับตัวเองไว้ ว่าตนเองอาจจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวได้ ควรรีบเช็กให้แน่ใจจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที

    • มีอาการนอนกรน นอนกรนบ่อยมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
    • ขณะที่นอนหลับมีการหายใจแรงมากกว่าปกติ
    • สะดุ้งตื่นขึ้นมาด้วยอาการหายใจแรง สำลัก หรือหายใจติดขัด
    • ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกปากคอแห้งผาก
    • นอนฝันร้ายบ่อย ๆ 
    • นอนเตะขาไปมาขณะหลับ
    • นอนตกเตียง
    • มีอาการชักหรือนอนกัดฟัน
    • มีการปัสสาวะรดที่นอน
    • ริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ
    • มักรู้สึกปวดหัวเวลาที่ตื่นนอน
    • มักผล็อยหลับหรือรู้สึกง่วงในเวลากลางวัน
    • มักนอนหลับในท่าแหงนคอขึ้น
    • เวลานอนอาจมีเสียงเงียบเหมือนหยุดหายใจไปสักพัก ก่อนมีเสียงหายใจดังเฮือก
    • รู้สึกมีปัญหาสมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หรือซุกซนผิดปกติ
    • รู้สึกว่าประสิทธิภาพการเรียนรู้ลดลง

    อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าเราอาจเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการดังกล่าวหรือไม่ หากยังไม่แน่ใจอาจลองถามคนรัก คุณพ่อ-คุณแม่ รูมเมตที่นอนด้วยว่าการนอนของเราปกติดีหรือไม่ แต่หากใครนอนคนเดียวและไม่แน่ใจ กังวลว่าตนเองจะมีความเสี่ยงก็สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจได้ อย่านิ่งนอนใจเพราะภาวะดังกล่าวมีอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว

    จะรู้ได้อย่างไรว่าหยุดหายใจขณะหลับ ?

    ขึ้นชื่อว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็ทราบแล้วว่าการหยุดหายใจนั้นจะเกิดขึ้นระหว่างที่เรานอนหลับ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นกับเรา คำตอบก็คืออาจลองสังเกตอาการที่ได้กล่าวถึงไปในหัวข้อก่อนหน้าว่าเมื่อตื่นนอนขึ้นมาเรามีอาการดังกล่าวเหล่านั้นหรือไม่ เรามีการฝันร้ายหรือสะดุ้งตื่นเนื่องจากปัญหาทางด้านหายใจไหม อีกทั้งอาจลองถามคนที่นอนด้วยว่าเรามีอาการหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ และสำหรับวิธีที่แน่นอนและสามารถแน่ใจ 100% ได้ ก็คือการไปทำ Sleep Test ที่โรงพยาบาลนั่นเอง

    หยุดหายใจขณะหลับ อันตรายไหม

    ​​ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีกี่ประเภท ?

    ในทางการแพทย์จะสามารถแบ่งประเภทของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เป็นทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งจะมีสาเหตุในการเกิดที่แตกต่างกัน คือ

    • ประเภทการอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive Sleep Apnea) ถือเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากระบบทางเดินหายใจที่แคบลง
    • ประเภทความผิดปกติจากสมองส่วนกลาง (Central Sleep Apnea) มีสาเหตุมาจากการที่สมองส่วนกลางไม่สามารถสั่งการกล้ามเนื้อในขณะนอนหลับได้ซึ่งอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือยาที่ส่งผลกระทบต่อสมองส่วนกลาง ทั้งนี้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับประเภทนี้ก็ถือเป็นประเภทที่พบได้น้อยที่สุด
    • ประเภทแบบผสม (Mixed Sleep Apnea) เป็นภาวะหยุดหายใจที่เกิดขึ้นจากสาเหตุการเกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจและสมองส่วนกลางร่วมกัน

    ​​ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักเกิดกับใคร ?

    โดยปกติแล้วการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ก็จะมีปัจจัยเสี่ยงที่พบได้มากกว่าคนทั่วไป ดังนี้

    • มักพบในเพศชายช่วงอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป
    • มักพบในผู้ที่อายุมากขึ้นทุกเพศทุกวัย
    • มักพบในผู้ที่มีช่องคอและช่องจมูกแคบ
    • มักพบในผู้ที่มีคางสั้นหรือกะโหลกศีรษะผิดรูป
    • มักพบในผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
    • มักพบในผู้ที่รับประทานยาบางชนิดที่ก่อให้เกิดการหย่อนของกล้ามเนื้อระบบหายใจ
    • มักพบในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด
    • มักพบในเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน
    • มักพบในเด็กที่มีอาการต่อมทอนซิลและอดีนอยด์โตหรืออักเสบเรื้อรัง

    หากทราบว่าตนเองนั้นอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ก็ควรที่จะหมั่นสังเกตตนเอง และควรที่จะทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ เอาไว้ เป็นการดูแลสุขภาพตนเองและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดูแลครอบคลุมค่าใช้จ่าย ไร้กังวล

    หยุดหายใจขณะหลับ อาการ

    หยุดหายใจขณะหลับ วิธีการรักษา

    หลายคนคงสงสัยว่าหากเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับแล้วต้องทำอย่างไร มีวิธีการรักษาแบบไหนบ้าง ซึ่งทางเลือกในการรักษาก็มีหลายรูปแบบ คือ

    • การปรับพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับให้เพียงพอ เป็นต้น
    • ใช้เครื่องสร้างแรงดันบวกในทางเดินหายใจ จะช่วยรักษาภาวะอุดกั้นในทางเดินหายใจ ซึ่งถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน
    • การผ่าตัด วิธีนี้แพทย์ผู้ทำการรักษาจะประเมินระดับความรุนแรงและอวัยวะที่ทำให้เกิดการอุดกั้นขณะหลับก่อน

    วิธีป้องกันการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

    หากไม่อยากปล่อยให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นกับตนเองต้องทำอย่างไร มี 4 วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ คือ

    • ดูแลน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • เปลี่ยนท่านอนให้ถูกต้อง (นอนตะแคง)
    • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

    และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องน่ารู้ที่เกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ทุกคนควรรู้เอาไว้ เพราะภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ อย่านิ่งนอนใจต้องหมั่นสังเกตและดูแลตนเอง


    สรุป

    สรุปบทความ

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstuctive Sleep Apnea : OSA) คือ ภาวะผิดปกติของการหายใจที่เกิดขึ้นในระหว่างนอนหลับ โดยปกติแล้วพบได้ในทุกช่วงอายุและมักจะพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น อีกทั้งยังมีอัตราการพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง รวมถึงกลุ่มคนที่มีน้ำหนักตัวมาก จะเห็นได้ว่า ภาวะหยุดหายใจนั้นมีความอันตรายตั้งแต่ระดับรบกวนประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน ไปจนถึงส่งผลต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย และร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ดังนั้น หากพบว่าตนมีอาการ หรือเข้าข่าย ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาทันที

     

    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024