แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

ผู้เขียน : Natthamon
Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
ตรวจทาน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
Published: September 3,2024
  
Last edited: September 1, 2024
  
Reviewed: August 9, 2024
ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน เสี่ยงต่อการโดนฟ้องต้องรับผิดชอบโทษอะไรบ้าง ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ อายุความกี่ปี รวมถึงก่อนจะถูกยึดรถมีเงื่อนไขไหนที่เราควรรู้ก่อน เพื่อรักษาสิทธิ์ของตัวเอง ไปจนถึงข้อควรระวังไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ แล้วเรายังทำผิดเพิ่มเติมอาจเสี่ยงถึงขั้นติดคุกได้เลย และหากต้องเจอกับปัญหาไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ขึ้นมาจริง เราจะมีวิธีการรับมืออย่างไร

สุดท้ายหากผ่อนรถไม่ไหว เราต้องแก้ไขที่ตรงไหน อนาคตหากเคยโดยยึดรถ ผ่านเรื่องราวการไม่มีรถคืน หรือคืนรถไปแล้ว เราสามารถออกรถใหม่ได้หรือ ลองมาร่วมกันหาคำตอบทั้งหมดได้จากเนื้อหาทั้งหมดในบทความนี้

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

โดนฟ้อง กรณีไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ มีโทษอย่างไร

เมื่อเราไม่มีรถคืนไฟแนนซ์หลังจากที่ขาดค่างวดมาจนถึงกำหนด ทางไฟแนนซ์มีสิทธิ์ที่จะฟ้องเราทั้งคดีทางแพ่งพร้อมเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัญญา ซึ่งนั่นทำให้เราต้องเจอค่าปรับมหาศาลได้ในชั่วพริบตา หรืออาจโดนฟ้องถึงขั้นคดีอาญาในฐานยักยอกทรัพย์ เพราะผู้เช่าซื้อมีกรรมสิทธิ์เพียงแค่ครอบครองเท่านั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ตามกฎหมาย ถ้าถูกเรียกรถคืนแล้วไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ โทษหนักสุดของกฎหมายนี้สามารถติดคุกได้เลยทีเดียว

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์อายุความกี่ปี

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์อายุความกี่ปี คำตอบ คือ จะมีกฎหมายครอบคลุมทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็นกรณี ได้แก่ อายุความการฟ้องเรียกค่าขายรถขาดทุน มีอายุความ 10 ปี, อายุความฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคารถยนต์แทน มีอายุความ 10 ปี และอายุความฟ้องเรียกรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน จะเป็นการติดตามเอาทรัพย์สินคืนตามกฎหมายมาตรา 1336 โดยไม่มีอายุความ ดังนั้นเมื่อประสบปัญหาไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ แล้วทำผิดอย่างต่อเนื่อง หนีหาย ไม่ไกล่เกลี่ย ไม่พูดคุยกับทางไฟแนนซ์ ไม่มีการไปรับหมายศาลตามขั้นตอนทางกฎหมาย คุณต้องเผชิญหน้ากับอายุความนานถึง 10 ปี มีปัญหาภาระผูกพันธ์จนปวดหัวไปอย่างยาวนาน

ไฟแนนซ์จะยึดรถ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

ก่อนที่จะต้องเจอปัญหาไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ลองมาดูว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ทางไฟแนนซ์ ถึงจะสามารถยึดรถเราได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คือ หากเราค้างจ่ายค่างวดนานกว่า 3 เดือนขึ้นไป ทางไฟแนนซ์ต้องมีการฟ้องร้องต่อศาล พอศาลออกคำสั่งทางไฟแนนซ์จะสามารถเข้ามาดำเนินการยึดรถของเราได้ตามความเป็นจริง แต่ทั้งนี้หากมีการร้องขอให้คืนรถ มีการข่มขู่กดดันจากทางไฟแนนซ์ ก่อนที่เราจะค้างค่างวดถึง 3 เดือน ทางผู้เช่าซื้อต้องรับรู้ไว้เลยว่าทางไฟแนนซ์ไม่มีสิทธิ์ยึดรถของเราได้เลย เพราะถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

ข้อควรระวังไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ทำผิดเสี่ยงติดคุก

ข้อควรระวังไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ หากทำผิดซ้ำซ้อนเราเสี่ยงติดคุกได้ง่ายกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อถูกศาลออกหมายเรียกแล้ว ห้ามเบี้ยวนัดอย่างเด็ดขาด ให้ไปรายงานตัวให้ครบทุกครั้ง รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น ทำการยอมรับสภาพหนี้ เพื่อเข้าสู่กระบวนการประนีประนอมหนี้ เพื่อหาจุดที่ลงตัวว่าเราสามารถชำระหนี้ที่เหลืออยู่แบบเป็นก้อนเดียว หรือตกลงกับทางไฟแนนซ์ขอผ่อนชำระเป็นงวดตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงสำหรับการที่ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ถ้าหากเราสามารถตัดจบได้ตามกระบวนการที่กล่าวมา ยังถือว่าอยู่ในลำดับขั้นของคดีแพ่งเท่านั้น ไม่มีโทษจำคุก

ข้อควรระวังเพิ่มเติมหากไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ และไม่ไปรายงานตัวต่อศาลครบ 2 ครั้ง จะถูกตีว่าเป็นเจตนาในการหลบหนี อาจมีผลต่อเนื่องให้กลายเป็นคดีอาญา ในฐานะผู้ยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 บัญญัติว่า ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พอถูกออกหมายจับแล้วยังเสียสิทธิ์ในการเจรจาต่อรอง ส่งผลให้ทางไฟแนนซ์เรียกร้องความเสียหายได้สูงขึ้นไปอีก

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์

วิธีรับมือขั้นสุดท้ายหากไม่มีรถคืนไฟแนนซ์

วิธีรับมือขั้นสุดท้ายหากไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จริง ๆ คือ การร้องขอทางศาลให้ช่วยไกล่เกลี่ยเรื่องหนี้สินที่ยังคงค้างอยู่ เพื่อให้เราสามารถทำการชำระได้ตามสถานภาพทางการเงินในปัจจุบัน ซึ่งหากเราแสดงตัวยอมรับสภาพหนี้ตามคำแนะนำด้านบนทั้งหมด ยังพอมีโอกาสที่ศาลให้การช่วยเหลือเรื่องปรับลดหนี้ลงมาให้อยู่ในช่วงที่เรารับผิดชอบได้ตามความสามารถ รวมถึงการไกล่เกลี่ยกับทางไฟแนนซ์ที่หากเป็นไปในทิศทางบวก ก็ถือว่าเรายังมีโอกาสแก้ไขปัญหาเรื่องการไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ได้ดีทีเดียว

ผ่อนรถไม่ไหว แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง

ทั้งนี้หากเราผ่อนรถไม่ไหวจริง ๆ สามารถรีบแก้ไขปัญหาได้ก่อนจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะคนที่เสี่ยงไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ควรรีบแก้ปัญหาด้วยวิธีการขอประนอมหนี้ในการจ่ายค่างวดรถก่อนได้หรือไม่ ซึ่งหมายถึงการที่เราพร้อมจ่ายเงินให้กับทางไฟแนนซ์ แต่อาจไม่ถึงยอดค่างวดทั้งหมดที่กำหนดเอาไว้ต่อเดือน หรือขอเลื่อนหนี้งวดนี้ออกไปก่อน เพื่อหาเงินหมุนเวียนมาชำระให้ทันตามกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้กับทางไฟแนนซ์อีกทีหนึ่ง ถ้าใครสามารถหารถมาคืนได้ ก็ถือว่ายังพอมีช่องทางการยอมให้ทางไฟแนนซ์ยึดรถคืนเพื่อขายทอดตลาด แล้วรับชำระเงินส่วนต่างที่คงค้างอยู่เท่านั้น

อนาคตเคยถ้าเคยคืนรถให้ไฟแนนซ์ จะออกรถได้อีกไหม

อนาคตถ้าเราเคยคืนรถให้ไฟแนนซ์มาก่อน จะสามารถออกรถหรือในอนาคตเราจะกู้ซื้อรถได้อีกไหม สามารถทำได้อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่ากรณีที่เราเคยโดนยึดรถคืน เพราะมีการผิดชำระหนี้เกิน 90 วันขึ้นไป ทางเครดิตบูโรจะมีการบันทึกประวัติการผิดนัดชำระของเราเอาไว้ ถ้าเราไปยื่นกู้ขอซื้อรถอีกครั้ง จะเป็นการติดแบล็กลิสต์ ทำให้ไม่สามารถกู้ซื้อรถได้ผ่าน ตามข้อมูลของทางเครดิตบูโรนั้นมีการเก็บข้อมูลไว้ประมาณ 3 ปี ถึงจะเริ่มต้นบันทึกใหม่ แปลว่าคนที่อยากออกรถใหม่และเคยมีประวัติการผิดนัดชำระหนี้มาก่อน ต้องรอไปอีกถึง 3 ปี ถึงจะสามารถยื่นกู้ได้ใหม่นั่นเอง รวมถึงคนที่เคยประสบปัญหาไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ด้วย

คำแนะนำเพิ่มเติม แต่ทั้งนี้คนที่เคยมีปัญหาไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ หากไม่ได้มีการจัดการปัญหาอย่างถูกต้องตามกระบวนการกฎหมาย เช่น ไม่ไปตามนัดหมายศาล เคยหลบหนีไม่ประนอมหนี้ อาจมีบันทึกประวัติเสียเอาไว้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของทางเครดิตบูโร จะทำให้มีโอกาสกู้ผ่านยากมากขึ้นหลายเท่าตัว ส่วนใครที่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้จริง แต่ก็ได้มีการแก้ไข จบปัญหาหนี้ที่คงค้างไว้จนเสร็จ รอ 3 ปีเพื่อรักษาข้อมูลเครดิตใหม่ให้ขาวสะอาด ก็จะมีโอกาสกู้ผ่านง่ายขึ้นเช่นเดียวกัน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์อายุความกี่ปี

ดังนั้นหากมีปัญหาเรื่องค่างวดรถจริง อย่ารอให้ปัญหายิ่งใหญ่ไปจนถึงขั้นที่ไฟแนนซ์ขอหมายศาลให้มายึดรถคืน แต่เรากลับไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ พยายามรีบจัดการปัญหาให้เสร็จสิ้นโดยเฉพาะการขอประนอมหนี้ตั้งแต่ต้น พร้อมกับติดตามหารถยนต์ของเราคืนมาก่อนกลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งหลายคนอาจกังวลว่าอนาคตถ้ารถหาย ต้องผ่อนกุญแจต่อไหม และถ้ามีปัญหาการเงินเข้ามาซ้ำซ้อนอีก จะรับผิดชอบยังไงไหว

แรบบิท แคร์ ขออนุญาตแนะนำความช่วยเหลือด้วยการสมัครประกันรถยนต์ชั้น 1 เผื่อเอาไว้ในช่วงที่ยังมีรายรับเพียงพอต่อการดูแลที่ครอบคลุม เพราะถ้าหากเกิดรถหายขึ้นมาจริง ประกันรถยนต์ชั้น 1 พร้อมดูแลช่วยเหลือต่อตามวงเงินประกันแน่นอน หากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเข้ามาได้ที่เบอร์ 1438 (โทรได้ตลอดเวลา) ซึ่งทาง แรบบิท แคร์ มีส่วนลดพิเศษสูงสุดให้คุณถึง 70% รวมถึงยังเลือกผ่อน 0% ได้นานสุด 10 เดือน


สรุป

สรุปบทความ

ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จริง ๆ แนะนำให้ศาลช่วยไกล่เกลี่ยเรื่องหนี้สินที่ยังคงค้างอยู่ เพื่อให้เราสามารถทำการชำระได้ตามสถานภาพทางการเงินในปัจจุบัน โดยข้อดีของการไกล่เกลี่ย ไม่หนีหนี้ อาจได้รับความช่วยเหลือเรื่องปรับลดหนี้ลงมาให้อยู่ในช่วงที่เรารับผิดชอบได้ตามความสามารถ แต่หากทำผิดต่อเนื่อง หนีหาย ไม่ไกล่เกลี่ย ไม่พูดคุยกับทางไฟแนนซ์ ไม่มีการไปรับหมายศาลตามขั้นตอนทางกฎหมาย อาจทำให้มีปัญหาเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงินได้ เนื่องจากอายุความมีอายุยาวนานถึง 10 ปี เลยทีเดียว

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024
Rabbit Care Blog Image 90939

แคร์การเงิน

ถูกยืมเงินบ่อย ๆ ควรปฏิเสธอย่างไร เพราะอะไรเราถึงมักตกเป็นเหยื่อการขอยืมเงิน ?

ปัญหาชวนปวดหัวอย่างการถูกยืมเงินถือเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเผชิญ ไม่ว่าจะด้วยเพราะสถานการณ์การเงินที่เป็นอยู่ลำพังเอาตัวเองให้รอดก็ลำบาก
คะน้าใบเขียว
23/07/2024