แคร์การเงิน

ตั้งชื่อร้านอย่างไร ? ให้ธุรกิจปัง รวย เฮง ครบจบในที่เดียว !

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published May 08, 2023

ชื่อร้าน ชื่อธุรกิจ สามารถทำให้ธุรกิจของคุณเกิด หรือดับได้เลย โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจของคุณกำลังก่อร่างสร้างตัว ฉะนั้นการตั้งชื่อร้าน ตั้งชื่อแบรนด์ จึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ ตั้งชื่อร้านอย่างไรให้คนจำขึ้นใจ ไม่ซ้ำซากจำเจ แต่ก็ต้องไม่แหวกแนวจนเกินไป ต้องตอบโจทย์กับธุรกิจออนไลน์ พร้อม ๆ กับออฟไลน์ ตั้งชื่อร้านให้รวย ไม่รู้ไม่ได้แล้ว !

รู้จักพื้นฐานหลักการตั้งชื่อร้านทั้ง 4 แบบ

ก่อนที่จะมาดูเทคนิคการตั้งชื่อร้านต่าง ๆ เรามารู้จักพื้นฐานในการตั้งชื่อแบรนด์ ตั้งชื่อร้านค้า ของคุณกันก่อนดีกว่า โดยมีหลักการในการตั้งชื่อแบรนด์ทั้งหมด 4 อย่าง แบ่งตามความเฉพาะเจาะจง

ตั้งชื่อแบบอธิบาย (Descriptive)

ชื่อที่พูดไปเลยตรง ๆ ว่าเป็นสินค้าอะไร มักใช้ในการตั้งชื่อร้านที่เป็นชื่อและตามมาด้วยคำอธิบายเพิ่มเติม เช่น สมศักดิ์ปูอบ, Kentucy Fried Chicken, Toy R Us, ธนาคารไทยพาณิชย์ และ Bread Talk

ข้อดี : จำง่าย อ่านเพียงครั้งเดียวแล้วรู้เลยทันทีว่ามีบริการ หรือขายสินค้าอะไร จำพวกไหน

ข้อเสีย : มีความซ้ำซ้อนกับร้าน หรือแบรนด์อื่น ๆ ได้ง่าย

ตั้งชื่อโดยใช้คำใกล้เคียง (Suggestive)

ตั้งชื่อแบรนด์โดยใช้คำใกล้เคียงที่สามารถสื่อสารถึงแบรนด์ได้โดยอ้อม ๆ โดยไม่ได้ระบุอย่างชัดเจน เช่น Netflix (Internet+Flix ที่แปลว่าหนัง), Bitkub (มาจากคำว่า Bitcoin) และ Tesla (ชื่อนักวิทยาศาสตร์ผู้ริเริ่มการใช้ไฟฟ้า)

ข้อดี : เป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์ และสามารถบอกถึงลักษณ์ของแบรนด์ และร้านได้พร้อม ๆ กัน

ข้อเสีย : ตั้งค่อนข้างยาก และหากตั้งไม่ดีอาจสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค

ตั้งชื่อด้วยคำเฉพาะ (Arbitrary)

การตั้งชื่อที่คำยังมีความหมาย แต่เป็นชื่อที่ไม่ได้อธิบายบริการ หรือสินค้าที่ทำการขาย เช่น Puma, Apple, Rabbit และ Pomelo

ข้อดี : เป็นชื่อที่มักสั้น กระชับ จำง่าย และไม่ซ้ำกับแบรนด์ใด ๆ และ 

ข้อเสีย : อาจต้องลงทุนในการทำแบรนดิ้งเพื่อสร้างความเข้าใจ และหากชื่อฉีกเกินไป อาจทำให้ไม่มีการจดจำแบรนด์

ตั้งชื่อด้วยคำใหม่ (Fanciful)

เป็นการตั้งชื่อร้าน หรือตั้งชื่อแบรนด์ด้วยคำศัพท์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ โดยเป็นคำที่ไม่มีความหมายภายในตัวของมันเอง เช่น Google, Adidas และ Pepsi

ข้อดี : มีความโดดเด่น ไม่ซ้ำใคร หากติดตลาดแล้วจะโดดเด่น

ข้อเสีย : หากแบรนด์ไม่ดังคนจะไม่รู้ว่าเป็นแบรนด์ หรือร้านที่ขายอะไร ฉะนั้นแบรนด์ดิ้งจะต้องแข็งแรงมาก ๆ

ไอเดียตั้งชื่อร้านออนไลน์

การตั้งชื่อร้าน หรือตั้งชื่อแบรนด์สมัยนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสามารถใช้บนโลกออนไลน์ได้ (Online-Friendly) เช่นสามารถเสิร์จแล้วร้านขึ้นมาได้อย่างง่าย ๆ ฉะนั้นการคิดชื่อร้าน หรือคิดชื่อแบรนด์ในปัจจุบัน จึงให้ความสำคัญกับ Search Engine หรือ SEO อย่างมาก เช่นหากต้องการตามหา ร้านขายเครื่องเขียน จะตั้งชื่ออย่างไรเพื่อที่จะทำให้ร้านของคุณขึ้นมาเป็นร้านแรก ๆ เมื่อลูกค้าตามหาสินค้าในเว็บไซต์หลัก ๆ ไม่ว่าจะเป็น Google ไปจนถึงเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ฉะนั้นชื่อจะต้องเกี่ยวข้องกับสินค้าที่ขาย ต้องกระชับ และไม่ซ้ำใคร

ตั้งชื่อร้านที่สะกดง่าย

คุณจะต้องชื่อร้านแบบไหน จะต้องเป็นชื่อที่สะกดง่าย ฟังครั้งเดียวจะต้องสะกดได้ โดยเฉพาะธุรกิจสมัยนี้จะมีช่องทางออนไลน์ ฉะนั้นชื่อร้านจะต้องเสิร์จค้นหาได้ง่าย สะกดไม่เพี้ยนไปเป็นคำอื่นที่จะทำให้หาไม่เจอ เช่น หลีกเลี้ยงการใช้วรรณยุกต์ที่จะทำให้สับสน หรือหากเป็นคำต่างประเทศ เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น จีน ก็ต้องสามารถสะกดออกมา เป็นไทย หรือเป็นอังกฤษ ได้ง่าย

ตั้งชื่อร้านในทุกช่องทางให้เหมือนกันทั้งหมด

อีกข้อที่หลาย ๆ คนอาจมองข้ามคือการที่ทำให้แบรนด์ของเรามีตัวตนในหลากหลายแพลตฟอร์ม ในโลกออนไลน์ Facebook, Instragram, Line Official หรือใน Tiktok ไปจนถึงแอปฯ เดลิเวอรี่ต่าง ๆ ซึ่งแบรนด์ หรือร้านเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ทุกช่องทางทั้งหมดก็ได้ แต่ก่อนที่จะต้องชื่อธุรกิจ ตั้งชื่อบ้าน ก็ควรจะตรวจสอบในทุก ๆ ช่องทางด้วยว่าชื่อของเราถูกใช้รึยัง ? และสร้างชื่อในทุกช่องทางให้ตรงกัน ไม่สร้างความสับสนให้กับลูกค้า

อย่าตั้งชื่อร้านที่จำกัดจนเกินไป

หากคุณมีวิศัยทัสน์ที่ยิ่งใหญ่ ไม่อยากจำกัดร้าน หรือธุรกิจของคุณไว้เพียงแค่ที่เดียว หรือทำกิจการอยู่อย่างเดียว การตั้งชื่อร้าน หรือการตั้งชื่อแบรนด์ ควรที่จะมีความเป็นกลาง จะต้องบ่งบอกถึงตัวตน แต่ควรที่จะหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อร้านให้เกี่ยวข้องกับสถานที่ โลเคชั่น เช่น ร้านข้าวมันไก่สี่แยกนราธิวาส หากอยากจะขยายสาขาไปที่จุดอื่นจะไม่สามารถใช้ชื่อเดิมได้อีกต่อไป หรือเป็นชื่อกิจการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จนเกินไป หากอยากขยายแบรนด์ไปทำอย่างอื่น ก็จะต้องสร้างชื่อให้กับแบรนด์ใหม่ เพื่อทำให้ไม่เกิดความสับสนในหมู่ผู้บริโภค 

ยกตัวอย่าง : การตั้งชื่อร้านเป็นสถานที่จะเห็นได้จากร้านเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นจากร้านที่ไม่มีแม้แต่ชื่อด้วยซ้ำ แต่อร่อยจนกลายเป็นที่เลื่องลือ เช่น ‘ข้าวมันไก่ประตูน้ำ’ ซึ่งภายหลังเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน จึงเพิ่มชื่อ ‘โกโอ่ง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ’ เพื่อเพิ่มเอกลักษณ์ของร้านตนเอง หรือจะเป็น ‘ร้านเจ๊ไฝ’ ที่ตอนแรกก็ไม่มีชื่อร้านเสียด้วยซ้ำ แต่เจ๊ไฝเป็นฉายาที่ลูกค้าตั้งให้จนติดตลาดไปเลย

ใช้ชื่อเจ้าของมาตั้งร้านอาหารได้ แต่…

มีร้าน หรือธุรกิจต่าง ๆ มากมาย ที่ใช้ชื่อตนเองมาสร้างสรรค์เป็นการตั้งชื่อแบรนด์ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะสร้างภาพจำให้กับร้านได้อย่างง่ายดาย หากแต่ตัวเจ้าของร้าน เจ้าของกิจการเอง ก็จะต้องเป็นที่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นคนดัง หรือเป็นผู้มีชื่อเสียงในแวดวง เพราะหากคุณเป็นใครก็ไม่รู้ ตั้งชื่อเช่น ‘ร้านข้าวแกง By หญิง’ ร้านของคุณก็จะไม่ได้บ่งบอกอะไรเลยทั้งสิ้น แต่หากคุณเป็นเชฟที่โด่งดัง คร่ำหวอดในวงการมาหลายปี หรือเป็นคนดังในโลกโซเชียล หากนำชื่อไปตั้งชื่อร้านคุณ ก็จะเป็นดั่งปัจจัยเสริมที่ทำให้ร้านของคุณโดดเด่นขึ้นมาได้

ตัวอย่าง : Bearhouse ตั้งชื่อแบรนด์ร้านชานมไข่มุก ที่ตั้งมาจากชื่อของช่อง Youtubeสายอาหารชื่อดัง Bear Hug ซึ่งไม่ใช่ชื่อเดียวกัน แต่เป็นชื่อใกล้เคียง ที่ทำให้รู้ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน และเป็นชื่อที่จำง่าย 

ตั้งชื่อร้านให้สอดคล่องกับจุดยืนของร้าน

บางครั้งการตั้งชื่อร้าน หรือตั้งชื่อแบรนด์แบรนด์ ทำให้เราคาดหวังได้เลยถึงระดับราคาของสินค้า หรือบริการ เช่นบางครั้งชื่อเป็นชื่อที่สนุกสนาน มีลูกเล่น หรือฟังดูสนุกสนาน ก็อาจจะสื่อว่าร้านขายของราคาเข้าถึงง่าย เป็นกิจการสไตล์บ้าน ๆ แต่หากร้านเป็นชื่อเรียบหรู ชื่อภาษาต่างชาติ ก็อาจจะสื่อว่าเป็นร้านที่ขายของที่มีราคาขึ้นมาหน่อย

ตัวอย่าง : ร้านอาหารเครือ iberry มีร้านอาหารหลากหลายระดับ พร้อมชื่อที่มีลูกเล่น บ่งบอกที่จุดยืนของแต่ละร้าน เช่น ‘รสนิยม’ ร้านอาหารไทยขายอาหารทานง่าย ๆ ราคาไม่หนักมาก ไปจนถึง ‘Frans’ ร้านอาหารฝรั่งสไตล์คาเฟ่ ราคาค่อนข้างสูง การตั้งชื่อจึงแตกต่างและบ่งบอกถึงร้านอย่างชัดเจน

ลองใช้หลักมูเตลูมาตั้งชื่อร้าน ให้รวย ตั้งชื่อร้าน มงคล

หลักการสุดท้ายที่อยากจะเสริมอาจไม่ได้เป็นหลักวิชาการแต่อย่างใด แต่ก็เป็นศาสตร์ที่ไม่อาจมองข้าม โดยเฉพาะในสายค้าขาย ที่อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจอุ่นใจ หลักการง่าย ๆ ที่สุดคือการใส่คำมงคลลงไปในการตั้งชื่อร้าน เช่นคำว่า ‘ทรัพย์’ เพื่อให้เงินไหลมาเทมา คำว่า ‘เจริญ’ ให้กิจการรุ่งเรือง

นอกจากนั้นยังมีหลักการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษในการขึ้นต้น ตั้งชื่อแบรนด์ สื่อความหมายที่เป็นสิริมงคล เช่น

A – สัญญาลักษณ์ของความเป็นที่หนึ่ง

B – สื่อถึงการเริ่มต้นใหม่ ความหวังใหม่

C – ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง

E – ความเหนือชั้น เหนือกว่าสิ่งเดิม ๆ

K – ความยิ่งใหญ่ เจริญรุ่งเรือง พลังอำนาจ

M – ความละเอียด มีระเบียบเรียบร้อย

S – ความสำคัญ ความรัก และความปลอดภัย

T – ความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกัน

U – ไม่ขาดทุน ลงทุนเท่าไหร่ก็ได้กลับมาเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การตั้งชื่อร้าน ตั้งชื่อแบรนด์เป็นเพียงด้านแรกในการสร้างกิจการของตนเองเท่านั้น ส่วนที่ยากคือการคิดคำนวณงบประมาณ พร้อมลงมือพัฒนาสินค้า หรือบริการ ซึ่งทุกขั้นตอนต้องอาศัยทุนทรัพย์จำนวนไม่น้อยเลย สำหรับใครที่อยากสร้างร้านของตนเอง แต่ยังไม่รู้จะไปขอทุนจากไหน แรบบิท แคร์ แนะนำ สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินเยอะ ใช้เงินได้ทุกวัตถุประสงค์ คลิกเลย

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ ง่ายๆ แค่ 30 วิ คลิกเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024