แคร์การเงิน

รู้เท่าทันทุกมุกมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ 2567 เพื่อป้องกันการโดนหลอกโอนเงิน

ผู้เขียน : ONLYWONDER

นักเขียนบทความด้านประกันยานยนต์ รถยนต์ การเคลมประกันรถยนต์ ตั้งใจเขียนงานให้ได้เกินครึ่งจากช่วงเวลาที่หาข้อมูล ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก

close
Published June 01, 2023

เพราะทุกวันนี้พี่มิจฉาชีพ พยายามหามุกใหม่ ๆ มาหลอกให้ประชาชนอย่างเรารู้สึกไขว้เขว เพื่อที่จะหลอกให้เราเสียเงินกับเรื่องราวที่สร้างขึ้นมา ซึ่งเหล่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือมิจฉาชีพในยุคปัจจุบัน ถือว่าเป็นอะไรที่ยกระดับจากสมัยก่อนอย่างมาก ทั้งข้อมูลที่ได้มา ถึงขั้นมิจฉาชีพ รู้เลขบัตรประชาชนของเราอย่างครบถ้วน รู้ชื่อจริง รู้เบอร์โทรศัพท์ เพื่อนำมาหลอกล่อทุกหนทาง ดังนั้นบทความนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนอัปเดตมุกทั้งหมดของมิจฉาชีพในปัจจุบัน เพื่อป้องกันให้ทุกคนไม่ต้องโดนหลอกโอนเงินอีกต่อไป

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ บัตรเครดิต

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ บัตรเครดิต คือ มิจฉาชีพที่จะโทรมาหลอกลวงเราว่าบัตรเครดิตที่เราใช้อยู่ มียอดค้างชำระเกินกำหนด ต้องทำการโอนชำระทันที ก่อนจะถูกปิดบัตรเครดิต หรือมีคำขู่ตามกรณีต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับมุกที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์นั้นใช้กับเรา

วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ บัตรเครดิต: เช็คบัญชีมิจฉาชีพที่ให้เราโอนเงินเข้าไป ตรงกับธนาคารจริงไหม สามารถโทรสอบถามธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตนั้นได้ัทันที รวมถึงการตรวจเช็กผ่านแอปพลิเคชันบัตรเครดิตของเรา เพื่อตรวจสอบยอดว่าตรงกับที่มิจฉาชีพโทรหลอกหรือไม่ หากไม่ตรงตัดสายได้เลย

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พัสดุตกค้าง 

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พัสดุตกค้าง มิจฉาชีพในกรณีนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ พัสดุตกค้างผิดกฎหมาย และพัสดุตกค้างต้องมีการชำระภาษี หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • แก๊งคอลเซ็นเตอร์ พัสดุตกค้างผิดกฎหมาย: มิจฉาชีพจะแจ้งว่าเรามีพัสดุตกค้างจากต่างประเทศ เป็นของผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด, บัตรประชาชน, พาสปอร์ต หรือบัตรเครดิต
  • มิจฉาชีพ DHL: จะมีมิจฉาชีพโทรมาแจ้งว่ามีพัสดุตีกลับจาก DHL ทั้งในเรื่อง การรับรางวัลจากกิจกรรม, สินค้าจากต่างประเทศ, ของผิดกฎหมาย 
  • แก๊งคอลเซ็นเตอร์ พัสดุตกค้างต้องมีการชำระเพิ่มเติม: มิจฉาชีพจะทำการแจ้งว่าเรามีพัสดุตกค้าง ต้องมีการชำระค่าภาษีหรือค่าดำเนินการเพิ่มเติม

วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พัสดุตกค้าง: หากเป็นพัสดุตกค้างจริง เราต้องขอทราบเลขหมายพัสดุทันที เพื่อเตรียมเอาไปตรวจสอบกับระบบออนไลน์ของผู้ให้บริการแต่ละบริษัท, สอบถามชื่อผู้รับ เพื่อเช็กว่าใช่คนรู้จักเราไหม, ส่งไปประเทศอะไร ส่งไปที่ไหน และส่งจากที่ใด หากมิจฉาชีพตอบคำถามไหนมา เราสามารถตรวจสอบเองผ่านระบบออนไลน์ได้ทั้งหมด เท่านี้ก็รู้ได้เลยทันทีว่าเป็นเรื่องโกหก

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กสทช มิจฉาชีพ

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กสทช มิจฉาชีพ คือ การที่เหล่าแก๊งมิจฉาชีพทำการโทรหาเบอร์โทรศัพท์ของเราโดยตรง แล้วแจ้งว่ามาจาก กสทช. ซึ่งกลุ่ม กสทช มิจฉาชีพนี้ จะหลอกว่ามีคนร้องเรียนว่าเบอร์โทรศัพท์ของเราสร้างปัญหาให้กับประชาชนหลายคน และจะถูกตัดสัญญาณภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งถ้าเราตอบรับ ก็จะถูกชักจูงไปสู่เส้นทางการโดนหลอกโอนเงินในท้ายที่สุด

วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กสทช มิจฉาชีพ: วิธีรับมือกับมิจฉาชีพฉบับเจ้าหน้าที่ กสทช. นั้นง่ายมาก เพราะปัจจุบันทางหน่วยงาน กสทช. ทำการแจ้งออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วว่าจะไม่มีการโทรหาด้วยเบอร์ส่วนตัว หรือส่ง SMS ประชาชนอย่างแน่นอน หากเจอมุกนี้พึงระวังได้เลยว่าโดนหลอกแน่นอน

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สรรพากร

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สรรพากร คือ การที่มิจฉาชีพโทรเข้ามาหาเราเป็นการส่วนตัว พร้อมแจ้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่มาจากกรมสรรพากร ติดต่อเข้ามาเพื่อเคลียร์เรื่องภาษี, การขอคืนภาษี รวมถึงการหลอกสอบถามข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติม ถ้าหากเราหลงเชื่อ จะโดนหลอกโอนเงินเพื่อชำระค่าภาษีและค่าดำเนินการต่าง ๆ แถมถูกลวงข้อมูลไปอีก

วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สรรพากร: เช่นเดียวกับกรณี กสทช มิจฉาชีพ ซึ่งเราไม่ต้องเชื่อมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นเจ้าที่สรรพากรได้เลย เพราะกรมสรรพากรไม่มีนโยบายโทรตรวจสอบ, สอบถาม หรือแจ้งให้ชำระค่าภาษีต่าง ๆ ผ่านโทรศัพท์เลยนั่นเอง

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตำรวจ

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตำรวจ คือ จะเป็นการที่มิจฉาชีพ หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปลอมแปลงเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามาจากสถานีตำรวจต่างจังหวัดที่ได้มีการรับแจ้งเหตุเข้าไป ซึ่งก่อนที่จะมาถึงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ปลอมเป็นตำรวจนี้ อาจเริ่มต้นมาจากมิจฉาชีพลักษณะอื่นก่อน เช่น พัสดุตกค้างของผิดกฎหมาย เมื่อคุยต่อเนื่องกับมิจฉาชีพ จะมีอีกคนที่เข้าร่วมวงสนทนาออนไลน์ และแสดงตัวเป็นตำรวจผ่าน VDO Call และหลอกให้เราจ่ายค่าปรับออนไลน์

วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตำรวจ: ก่อนที่มิจฉาชีพจะทำการหลอกลวงคุณ จะมีการแจ้งชื่อตำรวจ และสถานีตำรวจที่ติดต่อเข้ามา ให้เราทำการค้นหาเบอร์โทรศัพท์สถานีตำรวจนั้น พร้อมนำชื่อเข้าสอบถามได้เลยว่ามีตัวตนจริงไหม แต่โดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะไม่มีการติดต่อผ่านโทรศัพท์ส่วนตัว ไม่ว่าจะโทร หรือผ่านแอปพลิเคชัน เพราะถ้าเป็นเรื่องใหญ่ก็จะมีการออกหมายเรียกไปที่บ้าน เพื่อให้เรามารับทราบข้อกล่าวหาอีกทีหนึ่ง

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน

มิจฉาชีพรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน คือ เป็นมิจฉาชีพแบบที่จะติดต่อเข้ามาด้วยเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางใดทางหนึ่ง เพื่อหลอกให้เราชำระเงิน หรือจ่ายค่าดำเนินการผ่านรูปแบบออนไลน์ 

วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน: กว่ามิจฉาชีพจะกล่อมให้คุณเชื่อแล้วโดนหลอกโอนเงินได้ เราจะได้ทราบข้อมูลบางส่วนจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์นั้น ว่าต้องจ่ายค่าอะไร จ่ายเท่าไหร่ จ่ายใคร หากได้เลขบัญชีมาแล้วอย่าเพิ่งรีบโอน ให้ทำการเช็คเสียก่อนว่าเป็นชื่อบัญชีใครกันแน่ แล้วถามกลับไปว่าทำไมต้องเป็นบัญชีนี้ บริษัทมีนโยบายติดต่อส่วนตัวจริงหรือไม่

มิจฉาชีพหลอกโอนเงินเพราะโอนผิด

มิจฉาชีพหลอกโอนเงินเพราะโอนผิด คือ รูปแบบที่ค่อนข้างง่ายที่สุดของมิจฉาชีพ ที่ทำการแจ้งเราว่ามีการโอนเงินผิดไปใช่ไหม ให้ทำการโอนเงินคืน อาจเป็นการหลอกให้เราโอนเงินคืนฟรีทั้งที่ไม่มีการโอนผิด หรือเป็นการหลอกเอาข้อมูลธุรกรรมไปจากเรา

วิธีรับมือมิจฉาชีพหลอกโอนเงินเพราะโอนผิด: เช็กบัญชีของเราก่อนเลยว่ามียอดเงินเข้ามาแบบผิดแปลกหรือไม่ หากมี จะมีรายละเอียดธุรกรรมแจ้งว่ามาจากไหน ซึ่งเราสามารถติดต่อกับธนาคารของเรา แล้วแจ้งเรื่องได้เลย หากเป็นเรื่องจริงธนาคารจะช่วยแนะนำต่อให้เองว่าควรทำอย่างไรต่อไป

มิจฉาชีพที่หลอกด้วยลิงก์เว็บปลอม

มิจฉาชีพที่หลอกด้วยลิงก์เว็บปลอม คือ มิจฉาชีพที่ทำการส่งลิงก์เว็บไซต์ปลอมของสถาบันการเงิน, เว็บไซต์ขายสินค้า, เว็บชำระค่าธรรมเนียม และอื่น ๆ ผ่านมาใน SMS หรือช่องทางการติดต่ออื่นบนโทรศัพท์ ซึ่งความน่ากลัวจะมี 2 แบบ คือ เป็นลิงก์ปลอมที่หากกดเข้าไปแล้วมีให้กรอกข้อมูล กับลิงก์แบบที่กดเข้าไปแล้วอาจถูกเข้าถึงข้อมูลในเครื่องได้

วิธีรับมือมิจฉาชีพที่หลอกด้วยลิงก์ปลอม: หากได้รับลิงก์ผ่าน SMS หรือช่องทางใดก็ตาม อย่ากดเข้าลิงก์นั้นเร็วเกินไป ให้สังเกตดี ๆ ว่าลิงก์ที่ได้รับมา เป็นเว็บไซต์จริงไหม ปกติแล้วบริษัทต่าง ๆ มักจะไม่ส่งลิงก์สั้น หรือลิงก์ที่ไม่มีชื่อบริษัท เช่น หากเป็น AIS TRUE หรือ DTAC จะมีชื่อบริษัทอยู่ในลิงก์ และต่อด้วย .co.th หากเป็นลิงก์ปลอมอาจจะเป็น .cc และรูปแบบอื่นที่ดูน่าสงสัย รวมถึงมีลิงก์ที่สั้นเหมือนถูกย่อมา หากเจอลักษณะนี้ให้พึงระวังไว้ก่อน รีบติดต่อบริษัทต้นทางที่ถูกอ้างอิงแล้วทำการสอบถามทันที

มิจฉาชีพโทรมาหลอกว่าเป็นคนรู้จักเปลี่ยนเบอร์

มิจฉาชีพโทรมาหลอกว่าเป็นคนรู้จักเปลี่ยนเบอร์ คือ มิจฉาชีพที่โทรเข้ามาหาเรา แล้วถามในลักษณะที่เหมือนกับเพื่อนหรือคนรู้จักโทรมาถาม เช่น จำได้ไหมว่านี่ใคร, ทายสิใครเอ่ย และรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้เราเดาพร้อมเอ่ยชื่อ แล้วมิจฉาชีพจะปลอมแปลงเป็นคนนั้น เพื่อหลอกให้เราโอนเงิน ซึ่งถ้าเราเชื่อก็จะโดนหลอกโอนเงินไปให้ใครก็ไม่รู้

วิธีรับมือมิจฉาชีพหลอกเป็นคนรู้จัก: เบื้องต้นก่อนโอนเงิน เราจะได้เห็นชื่อจริง นามสกุลจริงก่อน สามารถนำไปเช็กง่าย ๆ ใน Facebook หรือค้นหาผ่าน Google ได้ หากพอจะขึ้นข้อมูล หรือรูปแล้วไม่ใช่คนรู้จักของเรา นั่นคือมิจฉาชีพอย่างแน่นอน

ทำไมมิจฉาชีพ รู้เลขบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ของเรา

รู้ทันมุกมิจฉาชีพและแก๊งคอลเซ็นเตอร์กันมาทุกรูปแบบแล้ว เคยสงสัยไหมว่าทำไมมิจฉาชีพ รู้เลขบัตรประชาชนและเบอร์โทรศัพท์ของเรา นั่นก็เพราะว่าส่วนหนึ่ง เราอาจเคยกรอกข้อมูลบนเว็บที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือข้อมูลบางแห่งที่มีการป้องกันได้ไม่ดีพอ จนถูกแฮคแล้วนำไปขายในตลาดมืดอีกที สาเหตุเหล่านี้จึงทำให้เหล่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือมิจฉาชีพรู้ข้อมูลของเราแทบหมดเปลือกเลยทีเดียว

วิธีรับมือหากมิจฉาชีพ รู้เลขบัตรประชาชน: มิจฉาชีพ รู้เลขบัตรประชาชนแล้วจะรู้เพียงแค่ข้อมูลหน้าบัตรของเรา เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่ถือว่าสำคัญในระดับหนึ่ง แต่ข้อมูลที่สำคัญที่สุดจริง ๆ บนบัตรประชาชนคือรหัสหลังบัตรที่เข้าถึงยากมาก จึงวางใจได้ระดับหนึ่งว่าเรายังไม่ถูกเข้าถึงข้อมูลบัตรประชาชนแบบหมดจด

วิธีการเช็คบัญชีมิจฉาชีพก่อนโอนเงิน

หากเราเจอมิจฉาชีพหรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรเข้ามา ก่อนจะโดนหลอกโอนเงิน เราต้องทำการเช็คบัญชีมิจฉาชีพให้ละเอียดก่อน ซึ่งแนะนำง่าย ๆ 2 วิธี คือ การเช็คบัญชีมิจฉาชีพ ผ่านเลขบัญชีหรือชื่อนามสกุลกับเว็บ Blacklist และวิธีการเช็คบัญชีมิจฉาชีพ ก่อนโอนเงินจะเห็นชื่อนามสกุล ให้นำไปเช็คข้อมูลในโลกออนไลน์ก่อน โดยรายละเอียดเบื้องต้นมีดังนี้

  • เช็คบัญชีมิจฉาชีพผ่านเว็บ Blacklist: เป็นเว็บที่รวบรวมข้อมูลคนโกงในประเทศไทย ซึ่งสามารถค้นหาได้ทั้งการใช้ชื่อ, นามสกุล, เบอร์โทรศัพท์ และเลขบัญชี หากค้นหาเจอ เราจะเจอข้อมูลการโกงจากคนที่โดนหลอกโอนเงินใส่เอาไว้ด้วย
  • เช็คบัญชีมิจฉาชีพด้วยแอปธนาคาร: ก่อนโอนเงินจะเห็นชื่อนามสกุลบัญชีปลายทาง สามารถนำไปเช็คข้อมูลได้เช่นกัน 

วิธีการแจ้งเบอร์มิจฉาชีพกับผู้ให้บริการทุกเครือข่าย

หากใครที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ช่วยเช็คเบอร์มิจฉาชีพเอาไว้ เราจะรู้ทันทีว่าเบอร์โทรศัพท์ที่โทรมา โทรมาจากเครือข่ายไหน พอทราบเครือข่ายแล้วเราสามารถโทรติดต่อผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เครือข่ายนั้น ๆ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงเบอร์ของมิจฉาชีพหรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เราเจอ เพื่อให้ทางผู้ให้บริการทำการตรวจสอบ และอาจมีการระงับการใช้งานได้ในอนาคตนั่นเอง

วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ DTAC

วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ DTAC สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านการติดต่อที่เบอร์ 1678 หรือแจ้งผ่านออนไลน์ได้ที่ www.dtac.co.th/block-scam-numbers 

วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ AIS

วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ AIS สามารถทำได้ด้วยการติดต่อที่เบอร์ 1185 ซึ่งแจ้งได้ 2 เหตุ คือ แจ้งเบอร์มิจฉาชีพ AIS และแจ้งเบอร์มิจฉาชีพที่ส่ง SMS มา โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • แจ้งเบอร์มิจฉาชีพ AIS: โทรไปที่ 1185 กด 1 ยืนยันตัวตนด้วย OTP แล้วทำการแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ AIS ได้เลย
  • แจ้งเบอร์มิจฉาชีพ AIS ที่ส่ง SMS มา: โทรไปที่ 1185 กด 2 ยืนยันตัวตนด้วย OTP แล้วระบบจะส่งลิงก์ SMS ให้ลูกค้าแจ้งเหตุเพิ่มเติมผ่านเบอร์ 1185 เบอร์ของ AIS ที่เชื่อถือได้ 

วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ TRUE

วิธีแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ TRUE สามารถทำได้ด้วยการติดต่อที่เบอร์ HOT LINE 9777 ซึ่งสามารถติดต่อได้ 2 เหตุ คือ แจ้งเบอร์มิจฉาชีพ TRUE และแจ้งเรื่อง SMS มิจฉาชีพ โดยขั้นตอนมีดังนี้

  • แจ้งเบอร์มิจฉาชีพ TRUE: โทรไปที่ 9777 กด 1 รับรหัสยืนยันตัวตนแล้วทำการแจ้งเบอร์ของมิจฉาชีพได้เลย
  • แจ้งเบอร์มิจฉาชีพ TRUE ที่ส่ง SMS มา: โทรไปที่ 9777 กด 2 แล้วระบบจะส่งลิงก์ผ่าน SMS ด้วยเบอร์ดังกล่าวของ TRUE ที่เชื่อถือได้ ทำการแจ้งเรื่องพร้อมบล็อกเบอร์ บล็อก SMS ของมิจฉาชีพ แล้วทำการยืนยันตัวตนเพื่อแจ้งเรื่อง

สรุปง่าย ๆ ว่าวิธีการรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือมิจฉาชีพในขั้นพื้นฐาน เราสามารถทำได้ทั้งเช็คเบอร์มิจฉาชีพ และเช็คบัญชีมิจฉาชีพด้วยแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ก่อนในขั้นแรก ซึ่งก็ถือว่าช่วยกรองได้มากแล้ว 
แต่บางครั้งถ้าเราเจอมุกใหม่ หรือมิจฉาชีพใกล้ตัวที่ทำเนียนจนเราจับไม่ได้ ก็อาจโดนหลอกโอนเงินจนสูญเสียอย่างสาหัส ดังนั้นคงดีกว่าหากเรามีประกันธุรกรรมออนไลน์ ที่คุ้มครองโครงกรณีถูกโจรกรรมออนไลน์สูงสุดถึง 1 แสนบาท คุ้มครองการถูกหลอกหลังช้อปออนไลน์อีก 3 หมื่นบาทและดูแลด้านอื่น ๆ อีกมากมายที่ แรบบิท แคร์ พร้อมแคร์คุณอย่างใกล้ชิด หากสนใจสอบถามเพิ่มเติมสามารถคลิกลิงก์ หรือโทรติดต่อได้ที่ 1438 (24 ชั่วโมง)

คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

  

บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024