สินเชื่อรถแลกเงิน คืออะไร ? โอนเล่ม VS ไม่โอนเล่ม จะเลือกแบบไหนดี ?
สินเชื่อ มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งานและความเหมาะสม โดยหนึ่งในรูปแบบของสินเชื่อที่คนอาจยังไม่คุ้นเคยก็คือสินเชื่อรถแลกเงิน ไปจนถึง โอนเล่ม ไม่โอนเล่ม มันคืออะไรกันนะ? ใครที่สนใจเรื่องสินเชื่อรถแลกเงิน หรือกำลังหาข้อมูลอาจจะสงสัยขึ้นมา งั้นตาม Rabbit Care ไปหาคำตอบกันดีกว่า รับรองว่าเคลียร์!
สินเชื่อรถแลกเงิน คือ
สินเชื่อรถแลกเงิน (Car Loan for Money) คือรูปแบบหนึ่งของสินเชื่อที่ผู้ขอกู้ ใช้รถยนต์ของตนเอง เป็นหลักประกัน หรือหลักทรัพย์เพื่อขอกู้เงินจากผู้ให้กู้ ซึ่งวงเงินที่จะได้ก็จะขึ้นอยู่กับข้อเสนอของสินเชื่อ รวมไปถึงราคาประเมินของรถที่นำมาเป็นหลักทรัพย์ เหมาะสำหรับคนที่อยากได้รับเงินก้อน เงินเร็ว โดยที่ไม่ได้มีทรัพย์สินค้ำประกันอื่น ๆ นอกจากรถยนต์
ขั้นตอนการทำงานของสินเชื่อรถแลกเงิน
- ผู้กู้ยื่นคำขอสินเชื่อและมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ให้สินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับรูปแบบสินเชื่อรถแลกเงิน บางกรณีอาจไม่ต้องมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้สินเชื่อ)
- ผู้ให้สินเชื่อจะประเมินมูลค่ารถยนต์และอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จะประกาศเงื่อนไขการกู้เงิน รวมถึงสิทธิ์และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
- เมื่อคำขอสินเชื่อได้รับอนุมัติและกำหนดเงื่อนไขที่เหมาะสม ผู้กู้จะได้รับเงินกู้ โดยจำนองรถยนต์เป็นทรัพย์ประกัน
- รถยนต์ยังคงอยู่ในความครอบครองของผู้กู้ระหว่างระยะเวลาที่กู้เงินอยู่ แต่หลักทรัพย์ (car title) จะถูกเก็บไว้โดยผู้ให้สินเชื่อ
- ผู้กู้ต้องชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามเงื่อนไขที่กำหนด หากไม่ชำระตามเงื่อนไข ผู้ให้สินเชื่อมีสิทธิ์ถอนรถยนต์เพื่อชดใช้หนี้
สินเชื่อรถแลกเงิน แบบโอนเล่ม VS ไม่โอนเล่ม
หลังจากเข้าใจถึงความหมายของสินเชื่อรถแลกเงินกันมากพอแล้ว เราจะต้องมาพูดถึงรูปแบบทั้ง 2 อย่างของสินเชื่อ ซึ่งหลาย ๆ คนน่าจะมีความสับสนกันอยู่ อย่าง 1) แบบโอนเล่ม และ 2) สินเชื่อรถแลกเงิน ไม่โอนเล่ม ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากมายตั้งแต่ในเรื่องของวงเงิน ไปจนถึงข้อจำกัดในการส่งตัวรถที่เป็นหลักค้ำประกัน จึงจะต้องรู้เรื่องเเหล่านี้เสียก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทำสินเชื่อ
สินเชื่อรถแลกเงิน แบบโอนเล่ม
สินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม เป็นการขอสินเชื่อที่ต้องโอนเล่มทะเบียนรถยนต์ให้เป็นชื่อของแหล่งสินเชื่อเพื่อค้ำประกัน (พูดง่าย ๆ ก็คือการเปลี่ยนชื่อเจ้าของในเล่มทะเบียนนั่นเอง) เมื่อคุณผ่อนชำระค่างวดสุดท้ายเสร็จสิ้น แหล่งสินเชื่อจะโอนกรรมสิทธิ์คืนให้เจ้าของตามเดิม แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการโอนชื่อส่วนใหญ่ทางผู้ขอสินเชื่อจะต้องเป็นฝ่ายชำระ
ข้อดีของการขอโอนเล่ม คือ อนุมัติวงเงินสูงกว่า แต่ก็แลกกับการมีประวัติการเปลี่ยนชื่อเจ้าของในเล่มทะเบียนรถยนต์
สินเชื่อรถแลกเงิน แบบไม่ต้องโอนเล่ม
ส่วนการขอแบบไม่โอนเล่ม หรือเรียกอีกชื่อว่า “การจำนำเล่มทะเบียน” คือการนำเล่มทะเบียนตัวจริงให้แหล่งสินเชื่อเป็นผู้เก็บ โดยไม่ต้องโอนชื่อไปมา ไม่มีบันทึกในเล่มทะเบียนรถยนต์ เมื่อชำระค่างดครบตามกำหนด ทางแหล่งสินเชื่อก็จะคืนเล่มทะเบียนให้กับผู้กู้
สินเชื่อรถแลกเงินแบบไม่โอนเล่มให้วงเงินน้อยกว่าแบบโอนเล่ม แถมยังอนุมัติไว เนื่องจากแหล่งสินเชื่อไม่มีหลักประกันเก็บไว้ แต่ก็ไม่ทิ้งประวัติกู้ยืมในเล่มให้เสียเครดิตอีกด้วย
แต่ทางแหล่งสินเชื่ออาจมีข้อตกลงเพิ่มเติม คือ จะให้ผู้กู้ทำหนังสือมอบอำนาจการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ทิ้งไว้ (หรือโอนลอย) คู่กับการทำสัญญาสินเชื่อรถแลกเงิน หากผู้กู้ไม่ชำระตามข้อตกลง หรือปล่อยให้รถโดนยึด ทางแหล่งสินเชื่อจะนำหนังสือมอบอำนาจ พร้อมเอกสารการกู้ไปโอนกรรมสิทธิ์ภายหลัง
หลักฐานที่ใช้การโอนกรรมสิทธิ์รถ
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
- สำเนาใบมรณะบัตรเจ้าของรถ และคำสั่งศาลหรือพินัยกรรมพร้อมสำเนา (กรณีโอนรับมรดก)
- แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียบร้อยแล้ว
- หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ กรณีผู้โอน และ/หรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง
การโอนรถทั้งแบบโอนเล่มหรือไม่โอนเล่มก็มีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป หากใครมีรถยนต์และต้องการเงินก้อนแบบด่วน ๆ ก็ลองพิจารณาและเลือกสินเชื่อ Car for Cash ให้เหมาะกับสถานการณ์ของตัวเองที่สุด หากต้องการเงินก้อนโตก็เลือกแบบโอนเล่ม ถ้าไม่อยากโอนเล่มก็อาจจะได้เงินน้อยลงหน่อย
สำหรับใครที่สนใจสินเชื่อรถแลกเงิน หรือกำลังร้อนเงิน อยากกู้เงินผ่านสินเชื่อสุดคุ้ม ของ่าย ไม่ยุ่งยาก แรบบิท แคร์ แนะนำ สินเชื่อส่วนบุคคล จากธนาคาร หรือสถาบันการเงินชั้นนำ คลิกเลย
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี