แคร์การเงิน

Agile VS Scrum คำมาแรงในแวดวงธุรกิจ คืออะไร ? เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: May 19,2023
agile

เชื่อว่าหลายคนที่ทำงานมาซักระยะ โดยเฉพาะทำงานในองค์กรสมัยใหม่ คงเคยได้ยินคำว่า Agile ไม่ก็ Scrum มาบ้าง โดยเฉพาะช่วงต้นปี 2020 ที่คำเหล่านี้บูมสุด ๆ ซึ่งมาจนถึงปัจจุบันก็ยังมีหลายบริษัทที่ใช้แนวคิดเหล่านี้ในการทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของงานออกมาได้อย่างดีเยี่ยมที่สุด และต่อยอดมาถึงปัจจุบัน ปรัชญาการทำงานของ Agile นำพาไปสู่อาชีพใหม่ได้เลยทีเดียว อย่าง Scrum Master เราจึงอยากมาอัปเดทว่า Agile หรือ Scrum คืออะไร ? นำมาใช้ได้จริงทางใดบ้าง ? และหากอยากยกระดับตนเองขึ้นมาเป็น Scrum Master เรามีวิธีการอย่างไรบ้าง ?

agile

Agile คือ

Agile คือแนวคิด ปรัชญาการทำงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด โดยคำว่า Agile แปลตรงตัวเลยแปลว่า ‘ความกระฉับกระเฉง รวดเร็ว คล่องตัว’ โดยหัวใจสำคัญของการทำงานแบบ Agile คือจะต้องมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น (Flexibility) / การทำงานแบบอิสระ (Self-organization) / มีความโปรงใส ทุกคนในทีมสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งหมด (Transparency) และสุดท้ายคือสามารถร่วมมือกันได้อย่างอิสระ (Collaboration) 

Scrum คือ

Scrum คือความคิดต่อยอดมาจากหลักการ Agile เป็นสิ่งที่ทำให้หลักการของ Agile สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ หรือจะให้พูดง่าย ๆ ที่สุด Agile คือวิธีคิด ส่วน Scrum คือเครื่องมือต่าง ๆ ในการที่จะทำให้การทำงานรวดเร็ว และได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

สิ่งที่ทำให้ Scrum แตกต่างจากการทำงานทั่วไป ก็คือความรวดเร็ว โดยการทำงานทั่วไป หรือที่เราเรียกว่าแบบ Waterfall คือการทำงานเป็นระดับขั้น ขั้นที่ 1 เสร็จ ก็ค่อยไปทำขั้นที่ 2 ต่อ เช่น ขั้นตอนการวางแผน 1 อาทิตย์ การลงมือทำ 2 อาทิตย์ และการทดลองแก้ไข 2 อาทิตย์ แล้วจึงปล่อยใช้งานจริง แต่การ Scrum อาจทำให้ทุกอาทิตย์ จะต้องเกิดขั้นตอนของการวางแผน การทำงาน การแก้ไข ขึ้นตลอด ทุกอาทิตย์ จนผลงานถูกขัดเกลาไปเรื่อย ๆ จนไม่มีข้อผิดพลาด

waterfall vs agile

 

ทำไมต้อง Agile 

ยิ่งเทคโนโลยีถูกพัฒนามากขึ้น การทำงานของมนุษย์ก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะในโลกสายเทค เขียนโปรแกรม พัฒนา Software ต่าง ๆ ที่คนกลุ่มเล็ก ๆ 5-6 ไปจนถึงคน ๆ เดียว สามารถสร้างโปรเจกต์ขึ้นมาได้เลย ฉะนั้นแนวคิดการบริหาร Agile จึงถูกพัฒนาขึ้นมาในกลุ่มบริษัทสายเทคก่อน เพื่อทำให้สามารถพัฒนาระบบการทำงานที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และไม่ต้องขึ้นอยู่กับคนใดคนหนึ่งมากจนเกินไป สามารถสร้างทีมย่อย และบริหารงาน บริหารโปรเจกต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการเบื้องต้น นำ Agile มาใช้จริงกับงานของเรา

ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องบอกก่อนเลยว่าแต่ละองค์กรก็อาจจะมีรูปแบบการทำงาน การใช้หลัก Agile ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม จึงจะยกตัวอย่างการใช้ Scrum พื้นฐานเพื่อให้เห็นภาพ และเข้าใจหลักการของ Agile มากขึ้น 

ขั้นที่ 1 : สร้าง Scrum Workflow

อาจใช้ Spreadsheet หรือ Figma เพื่อวางแผนการทำงานในแต่ละโปรเจกต์ พร้อมระบุรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นในโปรเจ็คนั้น ๆ เช่น

  • วัน/เวลา ในการทำงาน
  • ขั้นตอนการทำงาน
  • สมาชิกภายในทีม (Product Owner / Scrum Master / Team Member)

ขั้นที่ 2 : สร้าง Product Backlog

นำโจทย์มาแตกต่อว่าในโปรเจกต์นี้เราควรจะทำอะไรบ้าง ซึ่งการสร้าง Product Backlog จะแตกต่างจากการ Brainstrom ตรงที่จะเน้นความรวดเร็ว เน้นหลัก objective แต่ละอย่างที่จะต้องทำขึ้น หากใครยังคิดภาพไม่ออก การทำ Product Backlog สามารถเริ่มต้นด้วยแค่ 3 คำถามง่าย ๆ

ในการที่จะ ………. ฉันต้อง ………. เพื่อที่จะ ……….

เช่น

ในการที่จะ พัฒนาแอป ฉันต้อง แก้ UX / UI เพื่อที่จะ ให้คนใช้งานได้ง่ายขึ้น

โดยเราจะมี Product Backlog ที่เป็นหัวใจสำคัญ และรายละเอียดยิบย่อย เขียนออกมาให้หมด จนเห็นภาพที่ชัดเจน รวดเร็วว่าเราจะต้องทำอะไรบ้างภายใน 1 โปรเจกต์

ขั้นที่ 3 : ทำ Sprint

การทำงานแบบ Sprint คือทำทุกงานภายใน Product Backlog ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาสั้น ๆ เหมือนกับการขึ้นโครงขึ้นมา ให้ครบหมดทุกฟังก์ชันของสิ่งที่เราอยากจะสร้าง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะซับซ้อนขึ้นตามความใหญ่ และละเอียดอ่อนของโปรเจกต์ แต่ Sprint ที่ดี จะต้องมีการระบุแต่ละหน้าที่ให้ชัดเจน เช่น

  • จัดลำดับความสำคัญของแต่ละงาน โดยตั้งคำถามว่า งานไหนสำคัญที่สุด ? และ งานไหนทำงานที่สุด ? ให้จัดการงานสำคัญที่ง่ายที่สุดก่อน เป็นต้น
  • Scrum Master จะต้องรีวิวการทำงานทุกวัน แบ่งออกเป็น Sprint 3 รูปแบบ : ที่กำลังทำอยู่ / ที่จะทำ / ที่ทำเสร็จแล้ว

ขั้นที่ 4 : การทดลอง

เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะในสายงานการเขียนโปรแกรม หรือพัฒนาซอร์ฟแวร์ เพราะสามารถมีข้อผิดพลาดได้เรื่อย ๆ หรือตอนแรกอาจไม่ผิดพลาดแต่หากเอาหลายส่วนมารวมกันกลับกลายเป็นว่าเกิดข้อผิดพลาดซะงั้น ซึ่งเมื่อผิดพลาด ก็จะต้องกลับไปเข้าสู่ขั้นที่ 1 ใหม่ สร้าง workflow ไปเรื่อย ๆ จนโปรเจกต์สมบูรณ์ไม่มีข้อผิดพลาด

agile

บริษัทไหนบ้างที่เหมาะกับการนำหลัก Agile มาใช้

หลายบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ ประสบความสำเร็จในการนำหลัก Agile มาใช้ในการจัดการโครงการและกระบวนการพัฒนาหลักการ Agile ถึงแม้ว่าไม่ได้มีข้อกำหนดแน่ชัดว่าบริษัทควร บริษัทไหนไม่ควรนำ Agile มาใช้ แต่ก็มีอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์มากเป็นพิเศษ จากแนวการปฎิบัติงานแบบ Agile ดังนี้

บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์

เดิมทีการทำงานแบบ Agile ได้รับการออกแบบมาสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ และยังคงได้รับความนิยมอย่างสูงในอุตสาหกรรมนี้ บริษัทที่สร้างผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์มักพบว่า Scrum ช่วยให้พวกเขาส่งมอบซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นในลักษณะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยี 

สตาร์ตอัปมักจะยอมรับหลัก Agile เนื่องจากความยืดหยุ่น ความสามารถในการปรับตัว และความสามารถในการรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ช่วยให้สตาร์ตอัปทำซ้ำได้อย่างรวดเร็ว รับคำติชมจากลูกค้าบ่อยๆ และทำการปรับเปลี่ยนที่จำเป็นไปพร้อมกัน

หน่วยงานดิจิทัล

Agile มักใช้ในหน่วยงานดิจิทัลที่จัดการการพัฒนาเว็บ การพัฒนาแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือโครงการการตลาดดิจิทัล วิธีการทำซ้ำและการทำงานร่วมกันช่วยให้เอเจนซีจัดการความคาดหวังของลูกค้าและส่งมอบโครงการได้ตรงเวลาและอยู่ในงบประมาณ

หน่วยงานสร้างสรรค์และการออกแบบ

Agile ยังเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานสร้างสรรค์และการออกแบบที่ทำงานในโครงการต่างๆ เช่น การออกแบบกราฟิก การสร้างแบรนด์ หรือการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบ ลูกค้า และนักพัฒนา ทำให้กระบวนการออกแบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เอเจนซีการตลาดและโฆษณา

Agile สามารถนำไปใช้กับแคมเปญการตลาดและโฆษณา ทำให้เอเจนซีสามารถแบ่งโครงการที่ซับซ้อนออกเป็นงานที่เล็กลงและสามารถจัดการได้ ช่วยให้ทีมสามารถจัดลำดับความสำคัญและนำเสนอความคิดริเริ่มด้านการตลาดในลักษณะซ้ำๆ ซึ่งนำไปสู่ความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้นและผลลัพธ์ของแคมเปญที่ดีขึ้น

agile

เป็น Scrum Master ได้อย่างไร ?

การเป็น Scrum Master เช่นเดียวกับสายอาชีพอื่น ๆ จะต้องผ่านการเทรนด์ และเรียนรู้เฉพาะด้าน เพราะ Scrum Master ถือว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นที่ต้องการ โดยเฉพาะในหมู่เทคสตาร์ตอัปต่าง ๆ ซึ่งคนที่อยากก้าวเป็น Scrum Master ควรมี

  • ประสบการณ์เป็น Project Manager คุมทีมขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่
  • มีการเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ ใช้เครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ได้อย่างชำนาญ
  • ทำงานได้อย่างยืดหยุ่น
  • มีวาทศิลป์ในการสื่อสารกับผู้คน

นอกจากนั้นการจะได้ชื่อว่าเป็น Scrum Master ยังต้องอาศัยการสอบเพื่อให้ได้ไปยืนยันว่าคุณเป็น Professional Scrum Master™ โดยต้องสอบ PSM ซึ่งจะมี 3 ระดับ 

  • PSM I : เข้าใจหลักการของ Scrum พร้อมทั้งคำที่ใช้ประกอบในการทำ Scrum ต่าง ๆ
  • PSM II : มีความเชี่ยวชาญด้านการทำ Scrum และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์จริง
  • PSM III : มีความชำนาญในการนำ Scrum ไปใช้นำทีมได้จริง ๆ เหมาะสมกับการเป็นผู้นำทีม ทำโปรเจกต์ที่ยากและมีความซับซ้อนมาก ๆ 

โดยสามารถทดสอบออนไลน์ได้ที่บ้าน ซึ่งหากผ่านก็จะสามารถรับบัตร Certificate ได้ออนไลน์ ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถเลือกเรียนรู้และใช้งานได้จริง ถือว่าเป็นแต้มต่อสำหรับใครที่อยากจะขึ้นไปเป็นระดับ Manager รู้ไว้ก็จะเป็นภาษีต่อตนอย่างแน่นอน

อ่านมาถึงตรงนี้ หวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจความหมายของวิธีคิดงานอย่าง Agile และการใช้เครื่องมืออย่าง Scrum ในการทำให้โปรเจกต์ลุล่วงด้วยความรวเร็ว และประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งบอกเลยว่าความรู้แค่นี้ถือว่าเป็นอะไรที่ผิวเผินมากสำหรับใครที่อยากนำ Agile มาใช้ในออฟฟิศ หรืออยากเป็น Scrum Master สำหรับคนวัยทำงานทั้งหลาย ก็จะต้องลงทุนเพื่ออนาคตตนเอง แรบบิท แคร์ จึงอยากเป็นอีกกำลังใจหนึ่ง ทำให้ทุกการใช้จ่ายของคุณ คุ้มค่ายิ่งขึ้น กับบัตรเครดิตสำหรับวัยทำงาน ยิ่งรูด ยิ่งคุ้ม ยิ่งได้พอยต์

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 90939

แคร์การเงิน

ถูกยืมเงินบ่อย ๆ ควรปฏิเสธอย่างไร เพราะอะไรเราถึงมักตกเป็นเหยื่อการขอยืมเงิน ?

ปัญหาชวนปวดหัวอย่างการถูกยืมเงินถือเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเผชิญ ไม่ว่าจะด้วยเพราะสถานการณ์การเงินที่เป็นอยู่ลำพังเอาตัวเองให้รอดก็ลำบาก
คะน้าใบเขียว
23/07/2024
Rabbit Care Blog Image 90909

แคร์การเงิน

กู้ซื้อคอนโดดีไหม ? ข้อดีและข้อเสียของการซื้อคอนโด

ควรตัดสินใจซื้อคอนโดเป็นของตัวเองดีหรือไม่ ? ปัญหากวนใจของหลายคนซึ่งอยากที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยที่ไม่ต้องเช่าซื้ออีกต่อไป
คะน้าใบเขียว
04/07/2024
Rabbit Care Blog Image 90795

แคร์การเงิน

สุขภาพทางการเงินสำคัญอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีสุขภาพทางการเงินที่ดี

แน่นอนว่าในเรื่องของสุขภาพทางการเงินนั้นถือเป็นเรื่องที่เราต่างก็พอทราบกันอยู่บ้าง ว่าควรจะดูแลสุขภาพทางการเงินของตนเองให้ดีอยู่เสมอ
คะน้าใบเขียว
20/06/2024