แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ยอดขายรถเฉียดล้านคัน ส่งผลเบี้ย ประกันวินาศภัย ขยับขึ้น 5%

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published September 13, 2018
  • การเติบโตของตลาดรถยนต์ปี 2561 ยังคงคึกคักและมีแนวโน้มว่าจะขยายขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับยอดขายในช่วงครึ่งปีแรก 61 ที่ทำยอดขายรวม 9 แสนคัน
  • ตลาดประกันรถยนต์ มีโอกาสเติบโตขึ้น 5 % ตามยอดขายรถที่โตขึ้นเกือบ 20% ซึ่งยังได้รับแรงสนับสนุนจากการจัดงาน Motor Expo ที่จะจัดขึ้นในช่วงปลายปีนี้อีกด้วย

ประกันวินาศภัย คืออะไร? 

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้า ‘ประกันวินาศภัย’ นี้ก่อน ง่ายๆ เลยคือ การทำประกันภัยทุกประเภทที่นอกเหนือจาก ประกันชีวิต โดยผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ผู้เอาประกันภัยหากทรัพย์สินที่ทำประกันเอาไว้เกิดความเสียหาย หรือเสียหายจากภัยต่างๆ ซึ่งความเสียหายนั้นสามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้

การประกันวินาศภัยแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

1.ประกันอัคคีภัย

2.ประกันภัยรถยนต์

3.ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง

4.ประกันภัยเบ็ดเตล็ด

เบี้ยประกันวินาศภัย ปี 2561 โตขึ้น 5%  

นายอานนท์ วังวสุ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย ได้เปิดเผยถึงแนวโน้มของธุรกิจประกันวินาศภัย ปี 2561 ว่า

“คาดว่าเบี้ยประกันภัยรวมอยู่ที่ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน โดยในส่วนของตลาด ประกันรถยนต์ มีโอกาสเติบโตที่ระดับ 5 % ตามยอดขายรถใหม่ที่โตขึ้นเกือบ 20% ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ที่จะถึง ยังได้รับแรงสนับสนุนจากการจัดงาน Motor Expo ในช่วงปลายปีอีกด้วย และในส่วนของประกันภัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่รถยนต์นั้น การเติบโตอาจจะไม่ถึง 5% แม้ว่าจะได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง”

ส่วนการแข่งขันในตลาดประกันภัยทรัพย์สิน (IAR) ยังคงเข้มข้น เพราะมีการปรับลดเบี้ยราคาลงต่ำมาก และยังไม่มีท่าที่จะปรับตัวขึ้น แต่ก็ยังมีประกันทรัพย์สินบางประเภทอย่าง คอนโดมีเนียม ที่เริ่มขยับตัวดีขึ้น หลังได้รับความเสียหายจากภัยที่เกิดจากน้ำค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลให้บริษัทที่เสนอเบี้ยราคาถูกเสี่ยงขาดทุน

ทั้งนี้หากนับรวมเบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลและสุขภาพที่คาดว่าจะโตขึ้น 7 % ในสิ้นปีนี้ อาจจะเป็นการช่วยหนุนให้เบี้ยประกันนอนมอเตอร์ (ประกันที่ไม่ใช่รถ) มีภาพรวมเติบโตเพิ่มขึ้นใกล้เคียงระดับ 5% ได้

ด้าน นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดว่าในช่วงปลายปีแรงส่งจากยอดขายรถป้ายแดงที่น่าจะทะลุเกินเป้า 900,000 คัน ซึ่งน่าจะอยู่ที่ราวๆ 980,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 12.4% จากปีก่อนนั้น จะช่วยหนุนให้ภาพรวมของประกันวินาศภัยเติบโตได้ที่ 5%

นอกจากนี้ในทุกๆ 3 – 5 ปี ผู้บริโภคจะมีการเปลี่ยนรถ ประกอบกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำ ทำให้แบงก์ต้องเริ่มมองหาผู้กู้ใหม่ ทั้งนี้คาดว่าจะมีเบี้ยรายใหม่เข้าสู่ระบบมากกว่า 15,000 ล้านบาท ตามยอดขายรถใหม่ที่มีการทำประกัน

ส่วนกรมธรรม์ต่ออายุกว่า 90% ในธุรกิจประกันภัย จะส่งผลให้เบี้ยประกันรถยนต์เติบโตขึ้นในระดับ 6-7% ในส่วนของเบี้ยรับรวมประกันวินาศภัยช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค. – มิ.ย. 2561) นั้น ประกันรถยนต์เติบโต 8% จากปีก่อน แยกออกเป็น

  • ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) เพิ่มขึ้น 3.37%
  • ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มขึ้น 8.75%
  • ประกันนอนมอเตอร์ (ประกันที่ไม่ใช่รถ) เพิ่มขึ้น 1.3%

“ทั้งนี้ในส่วนของแนวโน้มปี 2562 นั้น ภาพรวมของการแข่งขันอาจจะไม่ดุเดือดแล้ว เพราะผลจากการรับประกันได้สะท้อนต้นทุนออกมาอย่างชัดเจน คาดว่ารูปแบบการแข่งขันในอนาคตจะเน้นไปที่การให้บริการและโปรดักส์ใหม่ๆ ประกอบกับเทคโนโลยีอินชัวร์เทค ที่จะเข้ามามีผลต่อการขายประกัน ทำให้บริษัทประกันต้องพัฒนานวัตรกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันให้มากขึ้น ก็จะเห็นการแข่งขันด้านบริการมากกว่าด้านราคา” นายอานนท์กล่าว

ขอบคุณที่มา : ประชาชาติธุรกิจ, คปภ.


บทความแคร์เรื่องประกันยานยนต์

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ประกันรถหาย มอเตอร์ไซค์ ราคาเท่าไหร่ และคุ้มครองอะไรบ้าง

เคยจินตนาการตอนที่เราต้องเจอสถานการณ์รถมอเตอร์ไซค์หายกันไหม? นี่จึงเป็นเหตุผลที่ ประกันรถหาย มอเตอร์ไซค์ มีความสำคัญขึ้นมาอย่างโดดเด่น
Thirakan T
17/04/2024

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

หมากัดรถทำยังไงดี? สามารถเคลมประกันได้หรือไม่

เห็นคำว่าหมากัดรถหลายคนอาจจะยังจินตนาการได้ไม่ออก ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกิดขึ้นมาเพราะอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วมันมีโอกาสขึ้นสูงมาก
Thirakan T
25/03/2024

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ขั้นตอนการฟ้องคดีรถชนพร้อมกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ. จราจรที่ต้องรู้

เมื่อเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชน ฝั่งผู้กระทำผิดปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่ยอมรับผิด หรือค่าสินไหมทดแทนไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
Thirakan T
18/03/2024