
หางาน ขับรถยนต์ส่วนตัว งานอิสระ มีรถยนต์ส่วนตัว มีอะไรบ้าง แนะนำงานที่น่าสนใจ
แน่นอนว่าสำหรับนักเดินทางการนอนในรถคงเป็นเรื่องที่คุ้นเคย หรือจำเป็นต้องเผชิญอยู่เป็นประจำ เพราะนอกจากสะดวก ทำได้ทุกที่แล้ว ยังถือเป็นการประหยัดใช้จ่าย แต่หลายคนก็คงเคยได้ยินข่าวว่านอนในรถ อันตราย นอนในรถ ตายได้ ความจริงแล้วการนอนในรถนั้นมีอันตรายถึงชีวิตจริงหรือไม่ หากจำเป็นหรือต้องการที่จะนอนในรถจะต้องมีวิธีการจัดการอย่างไรเพื่อความปลอดภัย วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมเรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับการนอนในรถมาไว้ให้ในบทความนี้แบบจัดเต็ม
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าการนอนในรถนั้นมีอันตรายหรือไม่ หากจะพูดกันตามตรงแล้วการนอนในรถถือว่ามีความเสี่ยงอันตรายโดยเฉพาะเมื่อนอนในรถอย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ได้มีการดูแลความปลอดภัยให้กับตัวเองอย่างรอบคอบ ทั้งนี้หากเราทราบวิธีการนอนในรถอย่างถูกต้อง และวิธีป้องกันเหตุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงอันตรายในการนอนในรถไปได้ ซึ่งก็จะมีอธิบายไว้ในหัวข้อถัด ๆ ไป ลองอ่านทำความเข้าใจกันดูได้เลย
ทราบกันไปแล้วว่านอนในรถอย่างไรไม่ปลอดภัย แถมเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตกันไปแล้วใช่ไหม ? ทีนี้ก็ถึงเวลามาเรียนรู้วิธีการในรถอย่างปลอดภัย โดยการที่จะนอนในรถให้ปลอดภัยมีวิธีการหรือข้อควรปฏิบัติดังนี้
นอกจากปัจจัยอื่น ๆ แล้ว จะสามารถสังเกตได้ว่าหัวใจสำคัญของการนอนในรถอย่างปลอดภัยที่ต้องท่องจำไว้ก็คือ นอนในรถ ดับเครื่อง เปิดกระจกแต่พอดี และเลือกสถานที่ที่ปลอดภัย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถนอนในรถอย่างปลอดภัยได้ ไร้กังวล
จากข่าวที่เคยเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง เชื่อว่าหลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าการนอนในรถ เสียชีวิตได้ โดยการนอนในรถ ติดเครื่อง เปิดแอร์ ปิดกระจกนั้นถือว่าอันตราย เนื่องจากอากาศถ่ายเทไม่ดี มีปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปสะสมในห้องโดยสารเพราะระบบแอร์ของรถยนต์ดูดอากาศจากภายนอก และควันท่อไอเสียรถมาหมุนเวียนในรถ ทำให้ผู้ที่นอนในรถถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นหากต้องการนอนในรถห้ามนอนติดเครื่อง เปิดแอร์ ปิดกระจกอย่างเด็ดขาด
ในส่วนของผู้ที่สงสัยว่าหากติดเครื่องปิดกระจกไม่ได้ แล้วนอนในรถแบบดับเครื่อง ปิดกระจกมิดชิดเพื่อความปลอดภัยได้ไหม คำตอบคือไม่ได้เช่นกัน เพราะจะทำให้ไม่มีอากาศไหลเวียนในห้องโดยสาร ส่งผลให้เกิดการขาดอากาศหายใจ และถึงแก่ชีวิตได้ในเวลาต่อมา
ในส่วนของการนอนในรถแบบเปิดแอร์ เปิดกระจกนั้นความจริงแล้วก็สามารถทำได้ แต่จะต้องทำการเปิดกระจกตั้งแต่ 2 บานขึ้นไป ตรวจสอบว่าอากาศภายนอกสามารถไหลเข้ามาถ่ายเทได้ จอดรถในที่โล่งมีอากาศถ่ายเท แต่ทั้งนี้ก็ยังมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงอันตราย อากาศร้อนภายนอกอาจถูกอากาศเย็นภายใน Block ไม่ให้ไหลเข้ามาถ่ายเทภายในรถได้ ดังนั้นก็ยังถือว่าเป็นทางเลือกที่ไม่ควรเสี่ยงทำอยู่ดีนั่นเอง
อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้วว่าการนอนในรถเปิดแอร์ ปิดกระจก ถือเป็นวิธีการนอนในรถที่อันตรายที่สุด และมีโอกาสเสียชีวิตได้อย่างแน่นอน ดังนั้นสำหรับนักเดินทางขาประจำ หรือขาจรนั้นจึงห้ามนอนในรถเปิดแอร์ และปิดกระจกมิดชิดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับก๊าซอันตรายเป็นจำนวนมาก และถึงแก่ชีวิตแบบที่ไม่ทันตั้งตัว
นอนในรถ เปิดกระจก ดับเครื่องยนต์ วิธีนี้เป็นวิธีการในรถที่ปลอดภัย มั่นใจว่าร่างกายของเราจะไม่ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับการสูดดมก๊าซอันตรายในขณะที่นอนหลับ แต่ทั้งนี้ก็มีเรื่องที่ต้องพึงระวังเช่นกัน นั่นก็คือในการจอดนอนในรถนั้นจะต้องมั่นใจว่าเราเก็บของมีค่าเรียบร้อย ไม่ว่างเด่นล่อตาล่อใจ ล็อครถแน่นหนา เลือกจอดนอนในสถานที่ที่ปลอดภัย ไม่เปลี่ยว มีคนพลุกพล่าน มีแสงไฟสว่างไสว หรือหากมีกล้องวงจรปิดได้ยิ่งดี เช่น ปั๊มน้ำมัน จุดพักรถต่าง ๆ เป็นต้น
เนื่องจากเมื่อเรานอนดับเครื่อง และเปิดกระจกเอาไว้ อาจทำให้มีผู้ไม่หวังดีต้องการจะทำการอุกอาจได้ ดังนั้นการเรื่องโลเคชันในการจอดนอนในรถจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจ อย่าไปจอดในที่เปลี่ยว หรือพื้นที่เสี่ยงเด็ดขาดนั่นเอง
ปัจจุบันนี้นั้นกระแสการนอน Camping บนรถ หรือ Car Camping นั้นได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับผู้ที่กำลังสนใจว่าแล้วนอนในรถแบบนี้จะมีอันตรายหรือไม่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า Car Camping ที่เราเลือกนั้นเป็นรถยนต์ประเภทไหน และมีวิธีนอนในรถถูกต้องเหมาะสมกับรถยนต์ประเภทนั้นหรือไม่ เช่น หากเป็นรถยนต์เติมน้ำมันธรรมดา ก็จะต้องนอนดับเครื่อง ปิดแอร์ เปิดกระจก ถึงจะปลอดภัย หากเป็นรถไฟฟ้า สามารถนอนเปิดแอร์ปิดกระจกได้ หากเป็นรถบ้านที่ถูกออกแบบตกแต่งมาเพื่อการนอนในเฉพาะก็สามารถดับเครื่อง เปิดแอร์ที่ใช้พลังงานจากเครื่องปั่นไฟนอนได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของรถที่เราเลือก Camping อย่างที่กล่าวไปนั่นเอง
ความจริงแล้วไม่ว่ารถยนตืรุ่นไหนก็สามารถนอนในรถได้ เพียงแต่จะต้องนอนให้ถูกวิธี เหมาะสมกับประเภทของรถตามที่กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง
การนอนในรถ SUV เป็นไปได้ และสะดวกสบายมากกว่ารถขนาดเล็ก เนื่องจากรถ SUV มีพื้นที่กว้างขวางกว่า และสามารถจัดพื้นที่สำหรับการนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามควรพิจารณาในเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก คือ ดับเครื่อง ปิดแอร์ ลดกระจกลงเพื่อถ่ายเทอากาศ และจอดนอนในที่ปลอดภัย
บางคนอาจสงสัยว่านอนในรถ EV เปิดแอร์ นอนในรถได้ไหม เพราะรถไฟฟ้านั้นไม่ได้มีการใช้ท่อไอเสียจนเกิดก๊าซที่ไม่ปลอดภัย คำตอบคือสามารถทำได้ แต่จะต้องคอยเช็กเรื่องแบตเตอรี่เป็นประจำเพื่อความไม่ประมาทนั่นเอง
แม้บางครั้งเราจะเผลอนอนหลับในรถผิดวิธีแต่ก็มีบ้างที่โชคเข้าข้างรู้สึกตัวขึ้นมาได้ ซึ่งในกรณีที่เผลอนอนในรถผิดวิธีแล้วโชคดีรู้สึกตัวขึ้นมาทันท่วงทีแต่รู้สึกว่าตนเองกำลังขาดออกซิเจนจะต้องรีบปฏิบัติดังนี้
และนี่ก็คือข้อควรปฏิบัติเมื่อเผลอนอนในรถแล้วขาดออกซิเจนแต่รู้สึกตัวขึ้นมาทัน แต่แม้จะมีวิธีเช่นนี้แล้วแน่นอนว่าไม่ว่าอย่างไรก็ไม่ควรทำ อย่าปล่อยให้ตัวเองนอนในรถแบบผิดวิธี
กรณีการเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถยนต์ การเคลมประกันรถยนต์จะขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัยรถยนต์ที่ผู้เอาประกันทำไว้ รวมถึงรายละเอียดและเงื่อนไขของกรมธรรม์ ดังนี้
1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1
ประกันภัยชั้น 1 มักจะคุ้มครองความเสียหายต่อทั้งรถยนต์ ผู้ขับขี่ และบุคคลภายในรถ รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่มีคู่กรณี ซึ่งกรณีเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถ หากสาเหตุของการเสียชีวิตมาจากปัจจัยเช่นการขาดออกซิเจนหรือการได้รับก๊าซพิษ จะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนโดยตรง ดังนั้นการเคลมอาจไม่ครอบคลุม
2. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และชั้น 2+
ประกันรถยนต์ชั้น 2 และชั้น 2+ คุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุเฉพาะเมื่อมีคู่กรณี เช่น การชนกับรถคันอื่น กรณีเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถโดยไม่มีอุบัติเหตุหรือการชนกับยานพาหนะอื่นจึงมักไม่อยู่ในความคุ้มครอง
3. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 และชั้น 3+
ประกันรถยนต์ชั้น 3 และประกันรถยนต์ชั้น 3+ คุ้มครองเฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการชนกับยานพาหนะอื่นและความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกเท่านั้น ซึ่งกรณีการเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถไม่ถือเป็นอุบัติเหตุในความคุ้มครองของประกันชั้น 3 และ 3+ เช่นกัน
แรบบิท แคร์ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะสามารถเป็นประโยชน์แก่เหล่านักเดินทางที่มักมีความจำเป็นที่จะต้องนอนในรถ หรือจอดแวะพักนอนบนรถเป็นประจำกันได้ ทั้งนี้สำหรับนักเดินทางที่มักจะต้องขับรถเดินทางระยะไกล แนะนำให้ทำประกันภัยรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ เอาไว้ เพราะในการเดินทางบนท้องถนนนั้นไม่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ มีประกันรถยนต์เอาไว้ อุ่นใจ ช่วยลดความรุนแรงของความเสียหายได้เป็นอย่างดี
การนอนในรถอาจเสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะการนอนในรถที่ติดเครื่อง เปิดแอร์ และปิดกระจก ซึ่งอาจทำให้ขาดอากาศหายใจหรือได้รับก๊าซพิษ หากจำเป็นต้องนอนในรถ ควรเลือกวิธีที่ปลอดภัย เช่น ดับเครื่อง เปิดกระจกเล็กน้อย และจอดในที่ปลอดภัย พร้อมทั้งมีอุปกรณ์เสริมที่ช่วยเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัย เช่น ผ้าห่ม หมอนรองคอ และไฟฉาย ทั้งนี้ การเคลมประกันในกรณีเสียชีวิตจากการนอนในรถขึ้นอยู่กับประเภทและเงื่อนไขของกรมธรรม์ โดยทั่วไปมักไม่ครอบคลุมกรณีนี้เพราะไม่ถือว่าเป็นอุบัติเหตุบนท้องถนนโดยตรง
ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย
หางาน ขับรถยนต์ส่วนตัว งานอิสระ มีรถยนต์ส่วนตัว มีอะไรบ้าง แนะนำงานที่น่าสนใจ
แผลรถล้มอันตรายหรือไม่ ? มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร ?
การจอดและถอยรถแบบครบสูตร อ่านแล้วช่วยให้เก่งขึ้นได้!