
แผลรถล้มอันตรายหรือไม่ ? มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร ?
ฟ้าผ่าถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งภัยที่พบได้บ่อยมากในช่วงฤดูฝน และคุณรู้กันหรือเปล่า รถยนต์ที่วิ่ง ๆ อยู่นี่ ก็มีสิทธิ์ถูกฟ้าผ่าได้เหมือนกันนะ! ฟ้าผ่ารถยนต์ได้จริงหรือ? ถ้าเครื่องยนต์ของเราถูกฟ้าผ่าแบบนี้จะเสียหายอะไรบ้าง? คนในรถยนต์จะได้รับอันตรายบ้างหรือเปล่า? แล้วประกันรถจะรับเคลมไหม? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ!
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ฟ้าผ่า คือปรากฎการณ์ที่เกิดจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกจากเมฆฝนฟ้าคะนอง ซึ่งภายในก้อนเมฆจะมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า ก่อนถูกเหนี่ยวนำลงสู่พื้นโลก ซึ่งฟ้าผ่าที่เป็นอันตรายต่อคนเรามากที่สุด คือ
จะเห็นได้ว่าแม้ฝนจะหยุดตกแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าปรากฎการณ์ฟ้าผ่าจะหายไป หรือแม้แต่การเลือกวิ่งฝ่าฝนก็สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการถูกฟ้าผ่าได้ไม่ยาก ซึ่งอาการของผู้ถูกฟ้าผ่านั้นเรียกได้ว่า่มีความเสี่ยงถึงแก่ชีวิตสูง
และแน่นอนว่าความสุ่มเสี่ยงนี่ ไม่ได้เกิดแค่กับคน หรือสัตว์เท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นได้กับวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เสียงด้วย อย่างการขับรถตอนฝนตกก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น!
จริงอยู่ที่การเปรียบเทียบเปอร์เซนส์จากการถูกฟ้าผ่าแล้ว การอยู่ในรถยนต์จะมีโอกาสที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเลย โดยเฉพาะหากบริเวณรอบ ๆ เป็นพื้นที่โล่งแจ้งขณะที่มีฟ้าแลบฟ้าร้อง และในระยะใกล้เคียงไม่มีรถคันอื่น หรือวัตถุอื่น ๆ อยู่ด้วย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนฟ้าคะนองนั่นเอง
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว คงมีหลายคนไม่น้อยที่กังวลว่าการที่รถยนต์ถูกฟ้าผ่าอาจทำให้คนในรถยนต์เกิดอันตรายได้ ก็ต้องบอกว่าเบาใจได้เลยสำหรับเรื่องนี้ เพราะรถยนต์นั้นนั้น แม้จะถุกสร้างจากโลหะทั้งคัน แต่ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า กรงฟาราเดย์ (FARADAY CAGE) ซึ่งจะช่วยให้คุณปลอดภัยได้จากภัยฟ้าผ่าที่ไม่คาดคิดนี้ได้
โดยหลักการของ กรงฟาราเดย์ คือ ปรากฎการณ์ที่รอบตัวล้อมไปด้วยเหล็กมีโครงปิดล้อมคล้ายกรง เมื่อเกิดฟ้าผ่า ไฟฟ้าต่าง ๆ จะวิ่งแค่รอบ ๆ เท่านั้น ไม่เข้าไปทำลายทำอันตรายคน สิ่งมีชีวิต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใน ซึ่งหลักการนี่ใช้ตอบคำถามได้อีกด้วยว่าทำไมรถไฟฟ้าเมื่อวิ่งตอนฝนฟ้าคะนองจึงไม่ถูกฟ้าผ่าได้อีกด้วย
หากอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ เมื่อเราอยู่ในรถยนต์ที่ตรงเงื่อนไข ตัวถังรถยนต์ทำหน้าที่เป็นกรงฟาราเดย์ช่วยปกป้องเราจากฟ้าผ่าได้ และเมื่อผ่านไปสักพัก ไฟฟ้าดั่งกล่าวก็จะกระโดดสู่พื้นถนนไป
นับได้ว่านี่คือนวัตกรรมของรถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่การที่คนในรถยนต์จะปลอดภัยด้วยกรงฟาราเดย์ได้สมบูรณ์แบบได้ตามทฤษฎี จะต้องมีเงื่อนไขว่า
ไม่เช่นนั้น รถยนต์ก็จะไม่สามารถทำหน้าที่กรงฟาราเดย์ได้อย่างเต็มที่ และอาจเกิดเป็นอันตรายต่อเจ้าของรถยนต์ได้ ดังนั้นหากรู้ตัวว่ารถยนต์ของตนไม่สามารถทำหน้าที่ของกรงฟาราเดย์ ควรหาที่ปลอดภัยเพื่อหลบฝนฟ้าคะนองก่อนจะดีกว่าเสี่ยงขับรถตอนฝนตก
และสำหรับใครที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV ในการขับขี่ก็ไม่ต้องกังวลไป หากโครงสร้างของรถมีลักษณะเป็นโลหะรอบตัวรถ เป็นลูกกรงที่ให้ไฟฟ้าเลี่ยงผ่านลงดินไปได้ตามหลักกรงฟาราเดย์ ก็ย่อมปลอดภัยอย่างแน่นอน
แต่ถึงแม้รถยนต์ส่วนมากจะมีหน้าที่เป็นกรงฟาราเดย์แทบบทุกคันก็ตาม ก็ใช่ว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลย เพราะปัญหาที่มักจะตามมาเมื่อรถยนต์ถูกฟ้าผ่า คือ อาการตกใจของผู้ขับ ไม่ว่าจะเป็นการหักหลบ แตะเบรกกะทันหัน หรือเร่งคันเร่งจนรถประสบอุบัติเหตุขึ้นได้
หรืออีกกรณีที่เครื่องยนต์อาจเกิดปัญหาจากการถถูกฟ้าผ่าอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการเครื่องยนต์พัง ขับขี่ต่อไม่ได้ และการที่รถขับขี่ต่อไม่ได้จนต้องจอดนิ่ง ๆ ตามท้องถนน ก็อาจเกิดอุบัติเหตุหน้าฝนอื่น ๆ แทรกซ้อนขึ้นได้ทุกเมื่อ เช่น เมื่อรถยนต์เราถูกฟ้าผ่าจนต้องหยุดกะทันหันทำให้คันหลังเหยียบเบรคจนพุ่งชนเราได้ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าทางป้องกัน หรือเลี่ยงความเสี่ยงจากอุบัติเหตุนี้ได้ง่าย ๆ เพียงหาที่จอดที่ปลอดภัยก่อน รอให้สถานการณ์ฟ้าฝนคะนองสงบ หรือผ่านพ้นไปจึงค่อยขับรถเดินทางต่อจะปลอดภัยกว่า นอกจากช่วยป้องกันเรื่องรถถูกฟ้าผ่าแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น ถนนลื่นจนรถยนต์เสียหลักพุ่งชนขณะการขับรถตอนฝนตก หรือรถยนต์เจอน้ำท่วมจนเครื่องยนต์ดับ ได้อีกด้วย
ความเสียหายจากรถยนต์จากที่ถูกฟ้าผ่านั่น แรบบิท แคร์ ต้องบอกก่อนว่าไม่ได้เกิดขึ้นจากกรณีที่ขับรถตอนฝนตกเท่านั้น แต่การเผลอจอดรถไว้กลางแจ้งเองก็มีสิทธิ์ที่รถของเราจะถูกฟ้าผ่าจนเครื่องยนต์ต่าง ๆ เกิดความเสียหายได้เช่นกัน! โดยหลัก ๆ ความเสียหายหลัก ๆ มักจะเกิดขึ้นตามตัวรถ ดังนี้
กรณีที่รถยนต์ถูกฟ้าผ่า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและเกิดจาก ภัยธรรมชาติ ความคุ้มครองของประกันรถยนต์แต่ละชั้นจะแตกต่างกันไปตามประเภทของประกันภัยที่คุณทำไว้ โดยรายละเอียดการคุ้มครองสำหรับเหตุการณ์นี้แบ่งออกตามประเภทของประกันดังนี้:
1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 (คุ้มครองครอบคลุมที่สุด)
ประกันชั้น 1 จะช่วยครอบคลุมทุกความเสียหายจากการถูกฟ้าผ่า ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันภัยธรรมชาติ
2. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+
คุ้มครองเฉพาะกรณีที่ฟ้าผ่าทำให้เกิดไฟไหม้ แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับไฟไหม้
3. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+
คุ้มครองเฉพาะกรณีที่ฟ้าผ่าทำให้เกิดไฟไหม้ แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับไฟไหม้
4. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และชั้น 3 (ไม่คุ้มครองกรณีฟ้าผ่า)
ประกันชั้น 2 และ 3 จะไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่า เนื่องจากคุ้มครองเฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายต่อคู่กรณีเท่านั้น
เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็น ฟ้าผ่าใส่รถจนเครื่องพัง, รถยนต์ถูกน้ำท่วมเสียหาย หรือพัดหายไป, ถนนลื่นจนเกิดอุบัติเหตุต้องจอดข้างทาง หรืออุบัติเหตุบนท้องถนนที่ไม่คาดฝัน การเลือกประกันรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ จะช่วยให้คุณอุ่นใจได้มากยิ่งกว่าสำหรับช่วงหน้าฝนนี่ เพราะนอกจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ไม่จำเป็นคู่กรณีแล้ว ยังช่วยคุ้มครองถึงเรื่องรถถูกน้ำท่วม รถสูญหาย ได้อีกด้วย!
และสำหรับใครที่ไม่รู้ฤดูฝนนี้จะหาประกันรถยนต์ออนไลน์ที่ไหนดี ขอแนะนำ แรบบิท แคร์ โบรกเกอร์ประกันภัยที่คุณเชื่อถือได้ มาพร้อมบริการเปรียบเทียบประกันรถยนต์ ช่วยให้คุณเลือกประกันรถได้ตรงกับไลฟ์สไตล์มากยิ่งขึ้น คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย
แผลรถล้มอันตรายหรือไม่ ? มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร ?
การจอดและถอยรถแบบครบสูตร อ่านแล้วช่วยให้เก่งขึ้นได้!
อบรมใบขับขี่ออนไลน์ 2568 ยากไหม ? มีขั้นตอนในการอบรมใบขับขี่ออนไลน์อย่างไร ?