สรุป 3 ข้อต้องรู้ ‘ต่อภาษีรถยนต์’ ที่ไหน? ใช้อะไรบ้าง?
การต่อภาษีรถยนต์ในปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น จากช่องทางให้บริการต่อภาษีที่สำนักงานขนส่งแบบเดิม ช่องไดรฟ์ทรู ไปรษณีย์ไทย หรือแม้กระทั่งการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ที่เลือกได้ตามสะดวก แต่อาจต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีประจำปีตามเงื่อนไขที่กำหนด แรบบิท แคร์ รวบรวมประเด็นสำคัญที่ควรต้องรู้เมื่อต้องต่อภาษีรถยนต์ประจำปีมาฝาก
1. ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ไหม ต้องทำอย่างไร?
1.1 กรณีต่อภาษีตามปกติ หรือต่อล่วงหน้า
การชำระภาษีรถประจำปีล่วงหน้าสามารถทำได้ 2 กรณี แบ่งเป็น 1) การชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน และมีภาษีเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เมื่อชำระแล้วจะได้ป้ายภาษีใหม่ภายใน 7-14 วัน และ 2) การชำระภาษีล่วงหน้า 3 เดือน จะได้รับป้ายภาษีใหม่ทันที โดยสามารถเลือกต่อภาษีได้ในทุกช่องทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ทั้งการต่อภาษีรถแบบปกติหรือการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
ข้อควรระวังที่ต้องทราบในการต่อภาษีรถยนต์ คือ พ.ร.บ. ต้องยังไม่หมดอายุ หรือมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน หาก พ.ร.บ. มีอายุน้อยกว่า 90 วัน ต้องซื้อ พ.ร.บ.ใหม่ เพื่อประกอบการขอต่อภาษีรถยนต์ประจำปี
1.2 กรณีค้างชำระ
กรณีรถค้างชำระภาษีเกินกว่า 1 ปี หรือรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพรถกับสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ก่อนเริ่มดำเนินการชำระภาษีรถผ่านช่องทางต่างๆ โดยต้องชำระภาษีที่ค้างตามจริง อิงตามอัตราภาษีรถประจำปีของรถแต่ละประเภท พร้อมเสียภาษีเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือคิดเป็น 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือนจนถึงวันที่ชำระ
และมีค่าตรวจสภาพรถยนต์ราคาอยู่ที่ 150-200 บาท ตามประเภทเเละขนาดน้ำหนักของรถยนต์ มีรายละเอียดการดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ของรถที่ค้างค่าภาษีรถประจำปีดังนี้
- รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพที่ ตรอ. เท่านั้น
- รถยนต์ที่อายุการใช้งานยังไม่ครบ 7 ปี หรือครบกำหนดตรวจสภาพ และมีการค้างชำระภาษี ไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องนำรถไปตรวจสภาพ ทำเรื่องชำระภาษีเพียงอย่างเดียว
- รถยนต์ที่อายุการใช้งานยังไม่ครบ 7 ปี หรือครบกำหนดตรวจสภาพ และมีการค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สำนักงานขนส่ง หรือ ตรอ.
- กรณีค้างชำระภาษีเกิน 3 ปี ต้องตรวจสภาพรถและชำระภาษีที่สำนักงานขนส่งเท่านั้น
2. ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการต่อภาษีรถประจำปี?
- คู่มือจดทะเบียนรถ หรือสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ
- หลักฐานตาราง พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ/ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครอง
- ใบผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
- หนังสือรับรองการตรวจทดสอบกรณีรถติด LPG/CNG
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล อายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีเป็นนิติบุคคล)
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกดำเนินการ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
3. ต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง?
ปัจจุบันมีช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีให้เลือกได้ตามสะดวก หากไม่สะดวกไปต่อภาษีรถด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งในวันทำการตามปกติ สามารถเลือกจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปีได้ที่ไปรษณีย์ไทย ห้างสรรพสินค้า ช่องบริการแบบไดรฟ์ทรู แอปพลิเคชั่น Wallet แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax หรือเว็บไซต์ eservice.dlt.go.th โดยไม่ต้องเดินทางไปทำเรื่องที่สำนักงานขนส่งอีกต่อไป สามารถเลือกต่อภาษีรถยนต์ได้ตามสถานที่ดังนี้
3.1 สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ
- กรมการขนส่งทางบก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 (เขตบางขุนเทียน)
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 (เขตตลิ่งชัน)
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (เขตพระโขนง)
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (เขตหนองจอก)
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (เขตจตุจักร)
- สำนักงานขนส่งประจำจังหวัด
3.2 บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) คือ บริการการรับชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านช่องบริการแบบไดรฟ์ทรู (Drive Thru) โดยไม่ต้องลงจากรถที่กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครทั้ง 5 พื้นที่ และสำนักงานขนส่งประจำจังหวัดทั่วประเทศ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30-15.30 น.
การต่อภาษีรถยนต์แบบไดรฟ์ทรูนี้ สามารถต่อภาษีให้กับรถยนต์ที่จดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ได้ และเมื่อชำระเงินเงินเรียบร้อยเเล้วจะได้รับป้ายภาษีใหม่ทันที เเละต้องเตรียมหลักฐานนำมายื่นต่อภาษีรถกับบริการเลื่อนล้อต่อภาษีเหมือนกับการต่อภาษีรถยนต์ด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งตามปกติ
3.3 แอปพลิเคชัน Truemoney Wallet
สามารถต่อภาษีรถประจำปีผ่านแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ทได้โดยเมื่อเติมเงินเข้า Wallet เรียบร้อย ให้เลือกเมนู ‘Pay Bill’ จากนั้นเลือกจ่ายบิลในหมวดสาธารณูปโภค และเลือกจ่ายบิล ‘กรมการขนส่งทางบก’ กรอกรายละเอียดข้อมูลรถยนต์ ข้อมูล พ.ร.บ. และข้อมูลผู้เสียภาษีให้ครบถ้วน และเมื่อชำระเงินเรียบร้อย เอกสารต่อภาษีรถยนต์ประจำปีจะจัดส่งให้ภายใน 7 วัน
3.4 แอปพลิเคชัน mPAY
3.5 ที่ทำการไปรษณีย์ไทย (ปณท)
สามารถชำระภาษีรถประจำปีได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศที่ไม่ใช้ตัวแทน โดยต้องมีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถเล่มจริงไปแสดง และจะมีค่าธรรมเนียมไปรษณีย์ 40 บาท โดยจะได้รับใบเสร็จเพื่อเป็นหลักฐานทันทีหลังชำระเงินและมีอายุหลักฐาน 30 วัน
เมื่อจัดเตรียมและจัดส่งเอกสารทั้งหมดที่สำนักงานไปรษณีย์เรียบร้อยแล้ว ปณท จะนำส่งเงินค่าภาษีรถ ใบคู่มือจดทะเบียนรถเเละเอกสารอื่นๆ ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดส่งต่อไปยังสำนักงานขนส่งสาขาที่รถจดทะเบียนไว้ จากนั้นเมื่อต่อภาษีเรียบร้อยเเล้ว จะจัดส่งคืนใบคู่มือจดทะเบียนรถ แผ่นป้ายเครื่องหมายเเสดงการเสียภาษีรถและใบเสร็จรับเงินให้ผู้ใช้บริการทางไปรษณีย์ภายใน 10-15 วัน หรือประมาณ 2 สัปดาห์
3.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)
ผู้ที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ผ่าน ธ.ก.ส. ต้องสอบถามข้อมูลการให้บริการจากสาขาที่ต้องการเข้าใช้บริการล่วงหน้าก่อน เนื่องจากบริการต่อภาษีรถยนต์จะเปิดให้บริการเฉพาะบางสาขาเท่านั้น เนื่องจากบางสาขายังไม่ได้รับต่อภาษี แต่เป็นเพียงตัวแทนการรับชำระเท่านั้น
การต่อภาษีรถยนต์กับ ธ.ก.ส. อาจเป็นการบริการต่อภาษีพร้อมชำระค่าธรรมเนียมเบ็ดเสร็จที่สาขา หรืออาจต้องกรอกข้อมูลในระบบการต่อภาษีรถยนต์ในเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกให้เรียบร้อยแล้ว จากนั้นนำเอกสารที่มีแถบบาร์โค้ดมายื่นชำระค่าธรรมเนียมต่อภาษีรถยนต์ประจำปีไที่ ธ.ก.ส เเละมีค่าธรรมเนียม 60-90 บาท
3.7 เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11
3.8 ห้างสรรพสินค้า (โครงการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี : Shop Thru For Tax)
หน่วยให้บริการของกรมการขนส่งทางบกที่ออกตั้งจุดให้บริการรับชำระภาษีรถประจำปีที่ห้างสรรพสินค้าหรือแหล่งชุมชน ตามโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี : Shop Thru For Tax” ในทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ ตั้งเเต่เวลา 09.00-18.00 น.ได้แก่
- ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี จำนวน 11 สาขา (สาขาบางบอน บางปะกอก เพชรเกษม อ่อนนุช สุวิทวงศ์ รัชดาภิเษก สุขาภิบาล 3 ลาดพร้าว รามอินทรา สำโรง และสมุทรปราการ)
- ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค
- เซ็นทรัลศาลายา
- เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ
- เซ็นทรัล Westgate
- เซ็นทรัล รามอินทรา
- เซ็นทรัลเวิลด์
- เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม ณ เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
3.9 เว็บไซค์ eservice.dlt.go.th และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการขนส่งทางบกรองรับการต่อภาษีทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้ทุกอายุการใช้งาน แต่หากอายุเกินหรือครบกำหนดตรวจสภาพรถ ต้องผ่านการตรวจสภาพรถยนต์เรียบร้อยแล้ว สามารถชำระภาษีรถล่วงหน้าได้ภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ภาษีรถสิ้นอายุ และสามารถเลือกจ่ายแบบหักจากบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต/เดบิต หรือเคาท์เตอร์ธนาคารได้ตามสะดวก
ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมต่อประกันรถยนต์หรือเช็กระยะเวลาคุ้มครองของประกันรถยนต์ให้พร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องด้วย เพราะนอกจากประกันรถยนต์จะไม่มีค่าปรับหรือระเบียบบังคับให้ต้องคอยต่ออายุเหมือนกับภาษีรถยนต์ประจำปี หรือ พ.ร.บ. ที่ต้องต่ออายุอย่างต่อเนื่องทุกปีแล้ว อุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ และจะร้ายแรงมากขึ้นเมื่อไม่มีประกันรถ หรือประกันรถขาดพอดี
ลองให้ แรบบิท แคร์ ช่วยดูแลประกันรถยนต์ของคุณสิ! เพราะที่ แรบบิท แคร์ พร้อมส่งมอบทุกความแคร์ให้เฉพาะลูกค้า แรบบิท แคร์ อย่างคุณเท่านั้น! ไม่ว่าจะเป็นประกันรถตัวเด็ดจากทุกบริษัทชั้นนำที่มีให้เลือกครบเฉพาะที่นี้เท่านั้น โปรโมชั่นผ่อนประกันรถยนต์ดอกเบี้ยต่ำสุด 0% นานสูงสุด 3-10 เดือน พร้อมส่วนลดสูงสุดถึง 70% และบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางถนนเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย! รับสิทธิพิเศษเมื่อเลือกซื้อประกันรถกับ แรบบิท แคร์ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทักเลย!
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต