Minor Change คือ อะไร และมีความแตกต่างจาก All New ตรงไหน
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวงการตลาดรถยนต์หรือไม่ก็ตาม คำว่า Minor Change หรือคำว่า All New มักจะวนเวียนเข้ามาให้คุณได้ยินตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งมันอาจทำให้เกิดความสงสัยอย่างมาก ถึงความหมายของแต่ละคำเรียก และความแตกต่างที่เกิดขึ้นมาระหว่าง Minor Change vs All New ยิ่งไปกว่านั้นทำไมต้องมีคำเรียกหลายประเภท ทำไมกลยุทธ์การตลาดอย่าง Minor Change ถึงได้ผลกับวงการรถยนต์อย่างมาก
ถ้าต้องการคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ แรบบิท แคร์ จัดเต็มข้อมูลมาให้ชนิดที่ว่าอ่านบทความเดียว รู้เรื่องเกี่ยวกับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงในวงการรถยนต์ ได้ครบเครื่องเป็นอย่างดีแน่นอน
Minor Change คือ อะไร
Minor Change คือ การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรถยนต์เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะไม่มีการยุ่งเกี่ยวใด ๆ กับดีไซน์ตัวถังหรือโครงเดิมของตัวรถยนต์เลย เวลาที่ได้รับการปรับโฉม Minor Change มักจะได้รับการเปลี่ยนเพียงแค่ ไฟหน้า ไฟท้าย กระจังหน้า เครื่องยนต์ และระบบเกียร์ภายในรถยนต์ ในบางกรณีของรถยนต์ฝั่นยุโรป อาจมีการใช้คำศัพท์ว่า Facelift ในการเรียกแทน Minor Change ด้วย ดังนั้นก่อนที่จะทำการซื้อรถยนต์รุ่นใดก็ตาม หากมีความสนใจในรถยนต์ญี่ปุ่น หรือรถยุโรป ลองเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนได้รับการแปลงโฉมให้ดี เพื่อเช็กภาพรวมให้ตรงต่อความต้องการมากที่สุด
ตัวอย่างการ Minor Change
ตัวอย่างการ Minor Change ที่ค่อนข้างชัดเจนอย่างมาก เช่น Toyota Yaris GR 2024 ซึ่งมีรุ่นย่อยออกมาถึง 2 รุ่นด้วยกัน คือ Toyota Yaris GR RC และ Toyota Yaris GRMN ที่มีการทำ Minor Change เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ พร้อมกับพัฒนาให้เป็นไปตามนวัตกรรมที่ปัจจุบันมากขึ้น อย่างการเปลี่ยนแปลงขุมกำลังเครื่องยนต์ภายใน ให้กลายเป็นเครื่องยนต์ 3 สูบ 1.6 TURBO ทำให้เจ้า Yaris GR มีแรงม้าที่เพิ่มขึ้นเป็น 304 แรงม้า มีระบบ GR-Four ช่วยในการขับเคลื่อนสี่ล้อ พร้อมกับเพิ่มเติมตัวเลือกเกียร์อัตโนมัติแบบ 8 สปีดมาให้เลือก โดยก่อนหน้าจะมีเพียงแค่เกียร์ธรรมดา 6 สปีดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
นอกเหนือจากนั้นเจ้า Toyota Yaris GR 2024 ที่ได้รับการ Minor Change ยังเปลี่ยนไฟหน้า ไฟท้าย กระจังหน้า รวมถึงดีไซน์ภายในเพิ่มเติมตามนวัตกรรมที่ทาง Toyota อยากนำเสนอมากที่สุด โดยตัวถังยังคงรูปทรงแบบเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับโมเดลรุ่นก่อนหน้า
All New คือ อะไร
All New คือ การปรับเปลี่ยนรถยนต์ให้กลายเป็นโฉมใหม่ทั้งคัน ไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์เพื่อออกแบบตัวถัง รวมถึงวัสดุด้านในและคอนโซลที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง หรือบางกรณีจะใช้คำว่า Model Change แทน ซึ่งตามระยะเวลาของการผลิตรถยนต์ออกมาสู่ท้องตลาด จะใช้เวลาประมาณ 7-10 ปีเพื่อทำการเปลี่ยนโมเดลใหม่จนสามารถออกรุ่น All New ขึ้นมาได้ ถ้าหากรถยนต์ที่มีการเปิดตัวใหม่ แม้จะใช้ชื่อรุ่นเดิม แต่ได้รับการติดคำว่า All New หรือ Model Change เข้าไป มั่นใจได้เลยว่าคุณจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ทั้งหมดกับรถยนต์ซีรีส์นั้น ซึ่งแตกต่างจากการ Minor Change ที่เปลี่ยนเพียงบางส่วนตามที่กล่าวมาด้านบน
ตัวอย่าง All New
ตัวอย่างการ All New ที่ชัดเจนที่สุดคงต้องขอพูดถึง Honda Civic ที่มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานหลาย 10 ปี ซึ่งการปรับเปลี่ยนจนกลายเป็น All New หรือ Model Change ของรถยนต์รุ่นดังกล่าว มักสร้างความตื่นเต้นให้วงการตลาดรถยนต์ญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยอ้างอิงจากรุ่นแรกในอดีต ที่เน้นเหลี่ยมมุมเพื่อให้เห็นเค้าโครงความสวยงามของตัวรถ ก่อนจะพัฒนากลายเป็นรุ่นที่เน้นสัดส่วนโค้งมน หรือที่นิยมเรียกกันว่ารุ่นเตารีด พร้อมกับการพัฒนาเพิ่มความหรูหรา ควบคู่กับนวัตกรรมใหม่ ๆ จนมีความโฉบเฉี่ยวมากขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ส่วนในปัจจุบันจะมีความสปอร์ตมากขึ้น เพื่อเอาใจลูกค้า Generation ใหม่ให้มากกว่าเดิม
ทำความรู้จักเพิ่มเติมกับ Model Year และ Design Change
นอกเหนือจากการ Minor Change กับ All New แล้ว ยังมีคำศัพท์การเปลี่ยนแปลงของรถยนต์ที่ควรรู้เพิ่มเติมอยู่อีก 2 คำด้วยกัน คือ Model Year และ Design Change ซึ่งจะมีความหมายเพิ่มเติมมากขึ้นไปอีก เพื่อให้เราทำความเข้าใจได้อย่างครอบคลุม ถึงการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาของตลาดรถยนต์ เพิ่มโอกาสในการตัดสินใจที่เหมาะสมได้มากขึ้น ต้องอ่านข้อมูล รับสาระความรู้ให้มากที่สุดเช่นเดียวกัน
Model Year
Model Year หมายถึง การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ประจำปี ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงจากโมเดลเดิมเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจจะน้อยกว่า Minor Change มากเลยด้วย เพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะถูกเปลี่ยนแปลงเพียงแค่การเพิ่มเติมฟังก์ชันเสริมเข้าไปให้กับตัวรถยนต์ที่ได้รับ Model Year เช่น Mazda 2 ปี 2015 ไม่มีไฟ Day Time Running Light แต่ Mazda 2 2016 ที่เป็น Model Year ตัวใหม่หน้าตาเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่มี Day Time Running Light มาให้ด้วยนั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้นวิธีการเรียกรุ่นรถยนต์เวลาจะเรียกเป็นเลขปี ธรรมเนียมมาตรฐานของวงการตลาดรถยนต์ระดับโลก มักจะ +1 ปีตามระยะเวลาที่เปิดตัวเสมอ เช่น มีการเปิดตัวรถยนต์ในปี 2024 มักถูกเรียกว่า Model Year 2025 ส่วนจะมีการ Minor Change กี่ครั้งระหว่างปี ก็ยังคงเป็นรุ่นปีเดิมอยู่
Design Change
Design Change หรือ Engineering – Design Change หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านวิศวกรรมและการออกแบบ จะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ถึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบนี้สักครั้งหนึ่ง ถ้ารถยนต์รุ่นไหนได้รับการเปลี่ยนแปลงในระดับนี้ มีกมีผลดีขึ้นมากกว่าเดิม เนื่องจากได้รับการพัฒนาในด้านเครื่องยนต์, ระบบส่งกำลัง, ระบบกันสะเทือน หรือการวางโครงสร้างใหม่ ขึ้นอยู่กับแนวทางของวิศวกรบริษัทรถยนต์ในเวลานั้น ซึ่งแตกต่างจากการทำ Minor Change ที่มีขึ้นบ่อยมากกว่า
เจาะกลยุทธ์ Minor Change
เจาะกลยุทธ์ Minor Change กับเหตุผลว่าทำไมการตลาดถึงเลือกใช้งานวิธีนี้ค่อนข้างบ่อย อันดับแรก เป็นเรื่องของการประหยัดต้นทุนการผลิต ที่สามารถนำสิ้นค้ารูปแบบเดิมมาพัฒนาจุดที่บกพร่อง หรือเพิ่มเติมฟังก์ชันที่ดีเข้าไป ให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงเวลามากขึ้น โดยในวงการถยนต์เราเห็นได้ชัดเจนอย่างมากว่าการ Minor Change แต่ละครั้ง มักอัปเดตตัวรถในด้านการออกให้ทันสมัย ตามช่วงเวลา ตามกระแสที่คนนิยม หรือการเพิ่มเติมเทคโนโลยีเข้ามาใหม่ เป็นต้น พอเห็นแบบนี้คงเข้าใจได้ทันทีว่า ผลิตรถยนต์คันเดิม แต่เพิ่มเติมสิ่งใหม่ อาจขายในราคาเท่าเดิม แพงขึ้น หรือถูกลง ขึ้นอยู่กับการวางแผนในการ Minor Change แต่ละครั้ง แต่อย่างน้อยมันช่วยกระตุ้นการขาย พร้อมเพิ่มความสนใจได้มากขึ้นแน่นอน
สรุปความแตกต่างระหว่าง Minor Change vs All New
สรุปความแตกต่างระหว่าง Minor Change vs All New เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจภาพรวมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรถยนต์ทั้ง 2 คำได้อย่างชัดเจน พร้อมกับนำไปตัดสินใจในการเลือกซื้อรถยนต์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของตัวเองมากที่สุด ว่าจะเลือกแบบไหน ว่าแล้วลองมาดูสรุป Minor Change vs All New ที่ตารางด้านล่างกันได้เลย
Minor Change | All New |
เน้นเปลี่ยนแปลงเพียงแค่บางจุด เช่น ไฟหน้า ไฟท้าย กระจังหน้า | มีการเปลี่ยนแปลงโมเดลตัวถังจากเดิม ไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า “โฉมใหม่” |
ราคารถยนต์สามารถปรับได้หลายทิศทาง | โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการปรับราคาใหม่ |
Minor Change อาจเป็นการเพิ่มรุ่นย่อยขึ้นมาจากเดิม หรือแทนที่รุ่นก่อนหน้าไปเลย | จะเป็นการขึ้นรุ่นใหม่ของซีรีส์รถนั้น ๆ |
ประกันรถยนต์ชั้นไหนบ้างที่เหมาะกับรถรุ่น Minor Change
สำหรับรถยนต์รุ่น Minor Change ซึ่งหมายถึงรถที่มีการปรับปรุงหรืออัปเดตรุ่นเพียงเล็กน้อย โดยทั่วไปแล้วอาจเป็นรถรุ่นที่มีการใช้งานมาสักระยะ แต่ยังอยู่ในสภาพที่ดีหรือมีมูลค่าค่อนข้างสูง การเลือกประกันที่เหมาะสมสำหรับรถรุ่นนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือสภาพรถและงบประมาณของเจ้าของรถ โดยแต่ละประกันมีความเหมาะสมที่ต่างกันดังนี้
1. ประกันรถยนต์ชั้น 1
- ความเหมาะสม: ประกันชั้น 1 ให้ความคุ้มครองสูงสุด ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุที่มีหรือไม่มีคู่กรณี การสูญหาย ไฟไหม้ และภัยธรรมชาติ ทำให้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับรถรุ่น Minor Change ที่ยังมีมูลค่าค่อนข้างสูง หรือเจ้าของรถต้องการความมั่นใจว่ารถจะได้รับการคุ้มครองครบทุกด้าน
- ข้อดี: เหมาะสำหรับรถที่อายุไม่เกิน 7-10 ปี และยังมีสภาพดี ประกันชั้นนี้จะช่วยให้เจ้าของรถสามารถดูแลและรักษาสภาพรถให้คงความปลอดภัยและมีความพร้อมใช้งาน
- ข้อจำกัด: มีค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่าชั้นอื่น ๆ แต่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมที่สุด
2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+
- ความเหมาะสม: ประกันชั้น 2+ เหมาะสำหรับรถรุ่น Minor Change ที่ยังมีสภาพดี แต่เจ้าของรถอาจไม่ต้องการจ่ายค่าเบี้ยประกันที่สูงเช่นชั้น 1 ประกันชั้นนี้คุ้มครองกรณีที่รถชนกับยานพาหนะที่มีคู่กรณี รวมถึงการคุ้มครองกรณีไฟไหม้และการสูญหายด้วย
- ข้อดี: ให้ความคุ้มครองมากในราคาที่ถูกลงกว่า โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการคุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้
- ข้อจำกัด: ประกันชั้นนี้ไม่คุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น รถเฉี่ยวชนขอบถนนโดยไม่มีคู่กรณี อาจไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองในทุกสถานการณ์
3. ประกันชั้น 3+ ราคาย่อมเยาว์
- ความเหมาะสม: เหมาะสำหรับรถรุ่น Minor Change ที่อายุการใช้งานนานขึ้นและมูลค่าลดลง ประกันชั้นนี้คุ้มครองเฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี และไม่รวมการคุ้มครองกรณีสูญหายหรือไฟไหม้ ซึ่งช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันได้มาก
- ข้อดี: เบี้ยประกันต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้รถน้อยหรือใช้ระยะทางไม่ไกลมากนัก
- ข้อจำกัด: ไม่ครอบคลุมกรณีการสูญหาย ไฟไหม้ และอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี ทำให้การคุ้มครองมีข้อจำกัดมากกว่า
- ความเหมาะสม: เหมาะสำหรับรถรุ่น Minor Change ที่อายุการใช้งานนานขึ้นและมูลค่าลดลง ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ รวมถึงความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ทำให้เหมาะกับรถที่เจ้าของยังต้องการคุ้มครองในกรณีที่รถสูญหายหรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรง
- ข้อดี: เบี้ยประกันของชั้น 2 ต่ำกว่าชั้น 1 ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเจ้าของรถรุ่น Minorchange ที่ต้องการคุ้มครองพื้นฐานในงบประมาณที่ไม่สูงมาก
- ข้อจำกัด: ไม่มีคุ้มครองอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณีและกรณีภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม เป็นต้น ทำให้การคุ้มครองมีข้อจำกัดมากกว่าชั้น 1 หรือ 2+
- ความเหมาะสม: เหมาะกับรถรุ่น Minor Change ที่มีอายุมากกว่า 10 ปีหรือรถที่มีมูลค่าต่ำลงไป โดยเน้นคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อบุคคลภายนอกเป็นหลัก
- ข้อดี: ค่าเบี้ยต่ำสุด เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุกับตัวรถของตนเอง
- ข้อจำกัด: ไม่คุ้มครองตัวรถของผู้เอาประกัน ไม่รวมความเสียหายจากไฟไหม้หรือการสูญหาย
เท่านี้ทุกคนก็สามารถแยกแยะได้แล้วว่าระหว่าง Minor Change กับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอื่นเป็นอย่างไร ใครที่กำลังเล็งรถยนต์รุ่นไหนอยู่ หากเพิ่งมีการเปิดตัวมาได้ไม่นาน แต่กลับได้รับการ Minor Change จนฟังก์ชัน หน้าตารถยนต์กลับดูดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บวกกับราคาที่เอื้อมถึงไม่เกินงบประมาณ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีอย่างมากที่จะเข้าซื้อเพื่อเป็นเจ้าของ พอได้รถยนต์คันใหม่สุดรักมาแล้ว
อย่าลืมพิจารณา เลือกซื้อประกันรถยนต์เพิ่มเติม เพื่อช่วยดูแลคุ้มครองตลอดเวลาที่ขับขี่ ไม่ว่าจะการดูแลในด้านอุบัติเหตุ การซ่อมแซม ดูแลค่ารักษาพยาบาลผู้ขับขี่และผู้โดยสารอย่างครบวงจร หากสนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกับ แรบบิท แคร์ ได้ที่เบอร์ 1438 (โทรได้ทุกเวลา) ตัดสินใจเลือกซื้อประกันรถยนต์จากเรา รับส่วนลดพิเศษสูงสุด 70% ได้อีกต่างหาก!
สรุป
Minor Change คือ การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรถยนต์เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะไม่มีการยุ่งเกี่ยวใด ๆ กับดีไซน์ตัวถังหรือโครงเดิมของตัวรถยนต์เลย
All New คือ การปรับเปลี่ยนรถยนต์ให้กลายเป็นโฉมใหม่ทั้งคัน ไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์เพื่อออกแบบตัวถัง รวมถึงวัสดุด้านในและคอนโซลที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
ใครที่กำลังเล็งรถยนต์รุ่นไหนอยู่ คำศัพท์เหล่านี้จะช่วยให้คุณเลือกรุ่นรถยนต์ได้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้ตอบโจทย์การซื้อรถยนตืได้เป็นอย่างดี!
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology