แคร์รถยนต์

การปะยางที่ถูกต้องทำให้ยางกลับมาใช้งานได้ 100%

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
แก้ไขโดย : Natthamon
Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
 
Published: October 20,2020
  
Last edited: August 11, 2024
ปะยาง

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

สวัสดีครับ วันนี้คิมไทร์บิดกลับมาอีกครั้งครับ มีเพื่อนๆหลายคนถามคิมว่าถ้าเราปะยางแล้ว ยางรถของเราจะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ 100% เหมือนเดิมไหม คิมต้องบอกว่าถ้าเราปะยางอย่างถูกวิธีการใช้งานจะกลับมา 100% แน่นอนครับ แต่ว่าก็มีหลายๆกรณีโดยคิมจะจำแนกไว้ตามนี้เลยครับ

เรามาจำแนกก่อนเลยครับ ว่าบริเวณไหนที่เราสามารถปะซ่อมได้ และปะซ่อมไม่ได้ บริเวณที่ปะซ่อมยางได้จะเป็นบริเวณหน้ายางครับบริเวณที่แข็งแรงที่สุดโดยเป็นบริเวณที่มีเข็มขัดรัดหน้ายางครับ ส่วนบริเวณที่ปะซ่อมได้แต่ปะซ่อมได้ยากก็จะเป็นบริเวณไหล่ยางที่เป็นส่วนลอยต่อระหว่างหน้ายางกับแก้มยาง ซึ่งบริเวณนี้ถ้าแผ่นปะสามารถติดได้เต็มแผ่นโดยไม่ไปแปะบริเวณที่ติดกับแก้มยางนั้นก็ยังสามารถปะได้อยู่ครับ เพราะบริเวณนี้ยังมีการขยับตัวที่เยอะและไม่มีโครงสร้างรองรับให้มีความแข็งแรงเหมือนเดิม และบริเวณที่ปะซ่อมไม่ได้แน่นอนก็คือบริเวณแก้มยางครับผม ซึ่งเหตุผลที่ไม่สามารถปะซ่อมได้ก็เพราะว่าบริเวณแก้มยางนั้นไม่มีโครงสร้างที่แข็งแรงประกอบกับมีการยืดหดตัวตลอดเวลาทำให้การปะนั้นจะปะไม่อยู่ และจะส่งผลให้แผลรั่วหรือรอยบาดนั้นกว้างขึ้นเรื่อยๆครับ 

เรามาจำแนกต่อว่าวิธีการปะในบ้านเราปัจจุบันมีการซ่อมกี่แบบ ถ้าเพื่อนๆรู้จักกันก็จะมี 4 แบบหลักๆ แทงใยไหม ปะสตรีมร้อน ปะสตรีมเย็น ปะดอกเห็ด ซึ่งการปะแต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อไม่ดีแตกต่างกันไป เดี๋ยวคิมไทร์บิดจะอธิบายเป็นแต่ละอย่างเลยว่าข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไรบ้าง

ปะยาง-ยางรถยนต์

วิธีปะยางให้ยางกลับมาใช้ได้ดี

แทงใยไหม

แทงใยไหมเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดครับ ไม่ต้องยางออกจากล้อแค่เอาใยไหมเสียบลงไปบริเวณที่รั่วแล้วปล่อยคาไว้ถือว่าจบ ข้อดี ก็คือรวดเร็ว ใช้ได้สำหรับรูรั่วเล็กๆ ข้อเสียคือ มีโอกาสเสี่ยงที่ปะไม่อยู่บ่อย มีโอกาสทำให้แผลหรือรูรั่วมีรูที่ใหญ่ขึ้น จึงเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับชั่วคราวเท่านั้น

ข้อดี ปะสตรีมร้อน

ปะสตรีมร้อน

ปะสตรีมร้อนเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในบ้านเราครับ ไปร้านไหนๆก็จะปะสตรีมร้อนให้เพราะว่าเป็นวิธีที่ปะได้อยู่ที่สุดเพราะการปะสตรีมร้อนจะทำให้ยางที่นำไปปะกับเนื้อยางเก่าติดกันแน่นที่สุด แต่ไม่ถึงกับเป็นยางชิ้นเดียวกันนะครับ แต่ข้อเสียก็ยังมีอยู่ครับเพราะว่ากรณีที่ปะสตรีมร้อนจะทำให้ยางบริเวณนั้นอาจมีโอกาสเสียหายได้หรือทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มสมรรถนะ 100% ครับ

ข้อดี ปะยาง : ปะสตรีมเย็น

ปะสตรีมเย็น

ปะสตรีมเย็น จะมีสองรูปแบบโดยเป็นการใช้แค่แผ่นปะกับการใช้วัสดุที่ชื่อว่าดอกเห็ด (การแปะแบบ PRP) ซึ่งการปะสตรีมเย็นในแบบแผ่นปะนั่นดีในแง่ของทำให้โครงยางไม่เสียครับ แต่ว่ารูด้านนอกที่ไม่ได้ปะนั่นเป็นข้อเสียของการเฉพาะแผ่นปะด้านในเพราะความชื้นจะเข้าไปในรูดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้โครงยางนั้นเกิดสนิมและอาจทำให้ยางบวมได้ ส่วนการปะแบบดอกเห็ดหรือ PRP นั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะว่าทำให้โครงยางนั่นไม่เสียหายและยังมีเดือยที่มาปิดบริเวณรูรั่วซึ่งทำให้ไม่มีความชื้นเข้าในโครงยางไม่ส่งผลเสียต่อยาง ซึ่งจะส่งผลให้ยางนั้นกลับมาใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ 100% 

เพราะฉะนั้น บริเวณที่สามารถปะได้ กับ การปะที่ดีที่สุดนั่นมีส่วนสำคัญที่ทำให้ยางนั้นกลับมาใช้งานได้ 100% เหมือนเดิมครับ ปะยางบริเวณหน้ายาง และ ปะแบบดอกเห็ดนั้นยางกลับมาได้ 100%  ประยางบริเวณไหล่ยางและปะแบบดอกเห็ดยางอาจกลับมาใช้ได้ 50-80% (ขึ้นอยู่กับความใกล้ของแก้มยาง หรือถ้าไม่อยากจะเปลี่ยนยางใหม่แล้วนำไปปะสตรีมร้อนอาจจะเป็นวิธีที่สุดที่ให้ยางใช้ได้ต่อแต่ว่าอาจมีโอกาสเสี่ยงในการที่ปะไม่อยู่หรือว่ายางบวมได้)

แถมให้อีกนิดครับสำหรับยางรันแฟลตนั้น จะสามารถปะซ่อมได้ครั้งเดียวเพราะว่ายางประเภทรันแฟลตนี้ นั้นต้องการความแข็งแรงของโครงยางมากที่สุด ถ้ามีการปะซ่อมบ่อยๆโอกาสทำให้โครงยางรันแฟลตนั้นไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งหากเกิดการยางระเบิดหรือรั่วโครงยางรันแฟลตอาจจะใช้งานไม่ได้ก็อาจเป็นได้ แต่ถ้าเป็นยางธรรมดาก็ไม่ควรปะซ่อมเกิน 3 แผล และเป็นแผลที่ต้องไปใกล้กัน 

แถมสุดท้าย จริงๆแล้วรูรั่วนั้นก็มีผลต่อการใช้งาน ถ้ารูรั่วใหญ่เกินกว่า 6 มม. ก็จะส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงยาง และ ถ้าใหญ่กว่ากว่า 1 เซนติเมตรก็ไม่แนะนำให้ปะซ่อม (ถึงแม้ปะซ่อมได้แต่ก็อาจทำให้ยางไม่แข็งแรงเหมือนเดิมมีโอกาสยางเสียหายได้ง่ายกว่าปกติ) เพราะก่อนที่จะปะซ่อมเราต้องประเมินก่อนว่ารูรั่วของเราเป็นไซส์ขนาดความกว้างเท่าไหร่ครับ หากเพื่อนๆมีข้อสงสัยเรื่องยางหรือต้องการคำปรึกษาเรื่องยางติดต่อเลย Line Official : @tiresbid และสามารถอ่านบทความรู้ไทร์บิดได้ที่ www.tiresbid.com หรือโทรเลย 090-986-8762 วันนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆมากครับ

บทความเกี่ยวกับยางรถยนต์อื่นๆ


 

บทความแคร์รถยนต์

Rabbit Care Blog Image 96528

แคร์รถยนต์

น้ำหยดใต้ท้องรถ เกิดจากอะไร? แบบไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ

เคยสังเกตกันไหมว่าเวลาที่เราจอดรถยนต์นิ่งสนิท บางครั้งจะมีน้ำหยดใต้ท้องรถลงมาด้วย ซึ่งจะมากหรือน้อยเราไม่อาจคาดเดาได้เลยหากไม่ทำความเข้าใจ
Natthamon
19/11/2024
Rabbit Care Blog Image 97244

แคร์รถยนต์

เอารถเข้าศูนย์ เช็คระยะ ทำยังไง ต้องจองล่วงหน้าไหม ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเท่าไหร่

หลังจากที่ออกรถมาใหม่ เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการเอารถเข้าศูนย์ เพื่อเช็กระยะตามที่ทางศูนย์ได้กำหนดเอาไว้
Natthamon
11/11/2024
Rabbit Care Blog Image 96140

แคร์รถยนต์

กุญแจรถแบตหมดกระทันหัน แก้ไขปัญหาได้ด้วยวิธีไหน

กลัวไหมกับการที่กุญแจรถแบตหมดแบบกระทันหัน โดยที่เราไม่ได้ตั้งตัว จนเกิดความกังวลว่ามันจะทำให้เราไม่สามารถเปิดรถได้ตามปกติ หรือสตาร์ทรถไปไหนไม่ได้เลย
Natthamon
29/10/2024