รถน้ำท่วม ถ้าเกิดความเสียหาย จะมีค่าซ่อมเท่าไหร่ในแต่ละระดับความรุนแรง
เวลาที่ฤดูฝนเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว พื้นที่บางส่วนอาจกลายเป็นโซนรับน้ำ จนมีความเสี่ยงรถน้ำท่วมมากกว่าปกติ ด้วยความเสี่ยงที่ต้องเผชิญหน้ากับมวลน้ำที่อาจคาดเดาไม่ได้ในแต่ละวัน ดังนั้นสิ่งที่ผู้ใช้งานรถ ใช้งานถนนในช่วงเวลาที่ฝนตกหนักมีน้ำท่วม ควรรู้ คือ ความเสียในแต่ละระดับเมื่อรถน้ำท่วม และเมื่อเกิดความเสียหายจะมีค่าซ่อมเท่าไหร่ ถ้าหากต้องเตรียมตัวขับรถลุยน้ำท่วมทำอย่างไรถึงจะสามารถฝ่าได้ปลอดภัย สุดท้ายประกันรถยนต์ดูแลครอบคลุมรถน้ำท่วมมากน้อยแค่ไหน กรณีไหนเคลมได้ไม่ได้บ้าง
ความเสีย 3 ระดับเมื่อรถน้ำท่วม
สำหรับความเสียหายเมื่อรถน้ำท่วมจะแบ่งย่อยออกมาได้ 3 ระดับ คือ ระดับ 1 ถึง 3 ซึ่งในแต่ละระดับจะมีการประเมินระดับน้ำที่ท่วมรถแตกต่างกันออกไป รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวรถด้วย ฉะนั้นการศึกษาเพิ่มเติมความรู้ เกี่ยวกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรถน้ำท่วม โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงในพื้นที่ระดับน้ำสูง ควรติดตามอ่านข้อมูลในหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้
รถน้ำท่วมความเสียหายระดับ 1
รถน้ำท่วมระดับ 1 ความเสียหายที่น้ำท่วมถึงพื้นรถยนต์ แต่ยังไม่ขึ้นไปถึงเบาะที่นั่ง จะมีโอกาสการสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ภายในอยู่ 3 ส่วน
- ระบบเบรก ผ้าเบรกทั้ง 4 ล้อ
- ห้องเครื่องยนต์ คลัทช์คอมแอร์ สายพานแอร์ ไดสตาร์ท
- พรมที่อยู่ภายในรถ
หากรถน้ำท่วมหรือจอดแช่น้ำอยู่นาน อาจทำให้เกิดสนิมบริเวณใต้ท้องรถ ส่งผลต่อระบบที่กล่าวมาทั้งหมด จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อเช็กว่ามีชิ้นส่วนใดเสียหายหรือไม่ ส่วนเรื่องพรมภายในสามารถซักตากให้แห้งได้ เป็นอุปกรณ์ที่ดูแลได้ง่ายที่สุดแล้ว
รถน้ำท่วมระดับ 1 ควรตรวจเช็กหรือปฏิบัติอย่างไร
การที่ล้อและอุปกรณ์ช่วงล่างถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดสนิมใต้ท้องรถ รวมถึงระบบเบรกทั้ง 4 ล้อและผ้าเบรกที่ควรตรวจสอบให้เรียบร้อย นอกจากนี้อย่าลืมตรวจสอบไดสตาร์ทว่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใด แม้ว่าไดสตาร์ทจะถูกออกแบบมาให้ทนทาน แต่หากได้รับความเสียหายจากน้ำอาจส่งผลกระทบต่อรถในระยะยาวได้
หากพื้นพรมรถมีความชื้นแสดงว่าน้ำได้ซึมเข้ามาภายในรถ ควรถอดพรมไปซักและตากแดดเพื่อป้องกันกลิ่นอับชื้น และอย่าลืมทำความสะอาดภายนอกรถให้สะอาด โดยเฉพาะใต้ท้องรถและซุ้มล้อต่างๆ เพื่อขจัดคราบโคลนและสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ครับ
รถน้ำท่วมความเสียหายระดับ 2
รถน้ำท่วมระดับ 2 ความเสียหายที่น้ำท่วมเริ่มขึ้นมาถึงระดับเบาะที่นั่ง ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง เพราะหากเทียบด้วยระดับสายตาจากภายนอก ก็แช่น้ำไปเกือบครึ่งคันแล้ว จึงมีอุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อความเสียหายอยู่ประมาณ 6 ส่วน
- ระบบห้องเครื่อง ECU แบตเตอร์รี่ พัดลมระบายความร้อน เครื่องยนต์ น้ำมันเครื่อง ระบบเกียร์ น้ำมันเกียร์ ขั้วสายไฟต่างๆ พวงมาลัยไฟฟ้า EPS
- ไฟรถทั้งด้านหน้าและท้าย
- เบาะรถยนต์
- ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประตูทุกฝั่ง
- ตู้แอร์
- ช่วงเก็บสัมภาระด้านท้าย
จากภาพรวมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในรถน้ำท่วมระดับนี้ เมื่อน้ำลดลงไปแล้ว ห้ามสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือบิดกุญแจไปที่ ON อย่างเด็ดขาด เนื่องจากน้ำอาจเข้าไปทำความเสียหายภายในเครื่องยนต์แล้ว รวมถึงต้องรีบถอดขั้วแบตเตอร์รี่ออกทันที หลังจากนั้นต้องทำการตรวจสอบว่าระบบระบายความร้อน หรือระบบของเหลวทั้งหมดภายในรถยนต์ได้รับความเสียหายขนาดไหน ควรต้องมีการไล่ความชื้น และทำการซ่อมแซมโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ
รถน้ำท่วมระดับ 2 ควรตรวจเช็กหรือปฏิบัติอย่างไร
ในกรณีที่น้ำท่วมสูงถึงเบาะนั่ง เมื่อได้นำรถขึ้นจากน้ำแล้ว ห้ามสตาร์ทรถหรือบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง ON ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะระดับน้ำที่สูงอาจทำให้เกิดความเสียหายภายในห้องเครื่องยนต์ ดังนั้นควรถอดแบตเตอรี่ทันที และตรวจสอบอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น พัดลมระบายความร้อนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการถ่ายเทความร้อนของห้องเครื่อง หรือกล่อง ECU ที่เป็นสมองกลไฟฟ้าควบคุมเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับระบบเกียร์ ระบบของเหลว และระบบหล่อลื่นต่าง ๆ ของรถด้วย และควรทำการไล่ความชื้นออกจากตัวรถให้เสร็จสิ้น
รถน้ำท่วมความเสียหายระดับ 3
รถน้ำท่วมระดับ 3 ความเสียหายในจุดนี้ถือว่าสูงสุด เพราะถูกน้ำท่วมขึ้นมาจนถึงคอนโซลหน้า หรือโดนท่วมจนมิดหลังคา ไม่ว่าจะภายนอก หรือภายใน จะเกิดความเสียหายทั่วทั้งคันรถ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถูกน้ำท่วมว่านานหรือไม่ แต่อุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียหาย จะมีอยู่มากถึง 8 ส่วน
- ห้องเครื่องยนต์ ที่กรองอากาศ ไดชาร์จ ชุดหัวเทียน มอเตอร์ปัดน้ำฝน แผงคอนเดนเซอร์แอร์ หม้อน้ำ
- ไฟรถทั้งด้านหน้าและท้าย
- ระบบของเหลวภายใน เช่น มันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรก และน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
- มอเตอร์พัดลมแอร์
- หน้าปัดเรือนไมล์ภายใน ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อก หรือดิจิทัล
- ขอบยางรอบด้านประตูรถยนต์
- อุปกรณ์ทั้งหมดภายในห้องโดยสาร เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟฟ้า หน้าจอควบคุม ระบบถุงลมนิรภัย, ซันรูฟ และอื่น ๆ
- ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสีรอบตัวถังรถยนต์
หากรถน้ำท่วมเจอความเสียหายในระดับนี้ มีข้อควรระวังขั้นต้นเหมือนกับความเสียหายระดับ 2 ห้ามสตาร์ตรถอย่างเด็ดขาด ห้ามบิดกุญแจไปที่ ON ควรถอดแบตเตอร์รี่ออกทันที พร้อมกับติดต่อหาช่างซ่อมรถยนต์จากศูนย์บริการ หรืออู่ที่ไว้ใจได้ในใกล้เคียง เนื่องจากต้องมีรถลากหรือรถยกเข้ามานำรถที่ถูกน้ำท่วมออกไปซ่อมแซมโดยละเอียดใหม่ทุกระบบ
รถน้ำท่วมระดับ 3 ควรตรวจเช็กหรือปฏิบัติอย่างไร
ระดับที่ 3 เป็นระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เมื่อนำรถขึ้นจากน้ำแล้วต้องห้ามสตาร์ทรถหรือบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง ON โดยเด็ดขาดเช่นเดียวกับระดับที่ 2 เนื่องจากอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายอย่างหนักและระบบไฟฟ้าลัดวงจรได้ ควรถอดแบตเตอรี่ทันที หากพบว่า น้ำเข้า ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่
หลังจากนั้นควรนำรถไปให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบของเหลวทุกประเภทภายในรถ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรก และน้ำหล่อเย็นหรือสารหล่อลื่นอย่างจาระบี อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่แผงหน้าปัทม์และคอนโซลควรถอดออกมาทำความสะอาดและเป่าให้แห้งทั้งหมด โดยช่างผู้เชี่ยวชาญที่สามารถดำเนินการได้
รถน้ำท่วม ค่าซ่อมเท่าไหร่
- รถน้ำท่วม ค่าซ่อมระดับ A ประเมินไว้ที่ 8,000 – 10,000 บาท การซ่อมแซม คือ ตรวจสอบแบตเตอรี่, ทำความสะอาดตัวรถ, ถอดเบาะ, ถอดคอนโซลกลาง, ถอดพรม, ถอดคันเร่ง, ถอดลูกยางอุดรู, ล้างทำความสะอาดห้องเครื่อง, ทำความสะอาดระบบเบรกและล้อรถ, ทำความสะอาดสายไฟ และตรวจสอบท่อไอเสียทั้งหมด
- รถน้ำท่วม ค่าซ่อมระดับ B ประเมินไว้ที่ 15,000 – 20,000 บาท การซ่อมแซมเพิ่มเติมจากระดับ A คือ การถ่ายน้ำมันเครื่อง เกียร์ เฟืองท้าย, ระบบกรองทั้งหมด, ตรวจระบบจุดระเบิด, ตรวจสอบชุดเพลาขับ, ทำความสะอาดแผงประตู, ตรวจชุดสวิตช์สตาร์ท กล่องควบคุมไฟ กล่องฟิวส์, ทำความสะอาดไล่ความชื้นระบบเข็มขัดนิรภัย, ทำความสะอาดชุดมอเตอร์ยกกระจกไฟฟ้า และทำความสะอาดไดร์สตาร์ทและไดร์ชาร์จ
- รถน้ำท่วม ค่าซ่อมระดับ C ประเมินไว้ที่ 25,000 – 30,000 บาท การซ่อมแซมเพิ่มเติมจากระดับ A และ B คือ ตรวจสอบชุดอิมโมบิไลเซอร์, ไล่น้ำออกจากเครื่องยนต์ ท่อไอดี ห้องเผาไหม้, ตรวจสอบลูกปืนไดชาร์จ ลูกรอก, ทำความสะอาดระบบไฟส่องสว่าง, เช็กระบบขับเลี้ยวไฟฟ้า, ตรวจเช็กตู้แอร์ มอเตอร์ โบเวอร์ เซ็นเซอร์, ถอดหน้าปัดเรือนไมล์, เช็กระบบไฟฟ้าและสายไฟ, เช็กระบบเครื่องเสียง วิทยุ แอมป์ ลำโพง, เช็กระบบเบรก, ตรวจชุดหม้อลมเบรก แม่ปั๊ม และตรวจสอบลูกปืนล้อ ลูกหมาก ลูกยางต่าง ๆ ผ้าหลังคา ไปจนถึงแมกกาไลต์
- รถน้ำท่วม ค่าซ่อมระดับ D ประเมินไว้ที่ 30,000 บาทขึ้นไป จะมีการซ่อมแซมเพิ่มขึ้นจากระดับ A B และ C คือ การทำสีตัวถังใหม่ (กรณีนี้มีโอกาสที่บริษัทประกันภัยอาจตัดสินใจคืนทุนได้เช่นกัน)
- รถน้ำท่วม ค่าซ่อมระดับ E บริษัทอาจต้องประเมินคืนทุนประกันทั้งหมด
สิ่งที่ควรรู้ก่อนขับรถลุยน้ำ
สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่ต้องขับรถลุยน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รถน้ำท่วม คือ ประเมินระดับน้ำที่ต้องขับผ่านไป โดยเทียบจากระดับสายตาของรถยนต์คันด้านหน้าที่กำลังผ่านไป, หากต้องขับลุย ควรลดระดับความเร็ว ปิดแอร์ ไม่ให้พัดลมทำงาน ป้องกันความเสียหายระบบไฟฟ้า, ตรวจสอบสภาพเบื้องต้นโดยรอบรถยนต์หลังลุยน้ำ และสุดท้ายทำการไล่ความชื้นภายในส่วนของห้องเครื่องด้วยเครื่องเป่าลม พร้อมกับนำรถยนต์ไปจอดตากแดดเอาไว้พักหนึ่ง ให้มั่นใจว่าน้ำที่ตกค้างบางส่วนแห้งไปจนหมด
รถถูกน้ำท่วม ควรขับอย่างไรเพื่อความปลอดภัยและเครื่องไม่ดับ
ปัญหาสำคัญในการขับรถในช่วงฝนตกหนักคือ การที่รถอาจดับกลางทาง ซึ่งทำให้ไม่แน่ใจว่าจะสตาร์ทใหม่ได้หรือไม่ หรือจะต้องหาวิธีแก้ไขการขับรถในน้ำท่วมอย่างไร นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเมื่อจำเป็นต้องขับผ่านน้ำท่วมและฝนตกหนักอีกด้วย ดังนั้นวิธีดูแลรถในช่วงหน้าฝนที่ทำได้ง่ายๆ จึงขอแยกออกเป็นหลายกรณีดังนี้
1. ลดความเร็วก่อนถึงบริเวณน้ำท่วม
เมื่อขับรถในขณะฝนตกและเห็นว่าข้างหน้ามีจุดน้ำท่วมขัง ควรลดความเร็วของรถยนต์ทันที การขับขี่ด้วยความเร็วสูงเข้าสู่น้ำท่วมอาจทำให้สูญเสียการควบคุมรถ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นการชะลอความเร็วจึงควรทำล่วงหน้าก่อนถึงจุดที่น้ำท่วมขัง เพื่อให้การควบคุมรถเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ควรประเมินสถานการณ์ในเส้นทางที่จะเดินทางให้ดีก่อนว่ามีความเสี่ยงที่จะมีน้ำท่วมสูงหรือมีการก่อสร้างในเส้นทางหรือไม่ด้วย
2. หยุดการทำงานของแอร์รถยนต์เมื่อถึงจุดที่น้ำท่วม
การเปิดแอร์จะทำให้พัดลมระบายความร้อนของหม้อน้ำทำงาน และหากน้ำท่วมสูงก็มีความเสี่ยงที่พัดลมจะพัดน้ำเข้าสู่ห้องเครื่อง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้รถดับได้ นอกจากนี้ หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฮบริด ก็อาจเกิดไฟฟ้าช็อตและความเสียหายได้เช่นกัน ดังนั้น การปิดแอร์จึงสามารถช่วยลดความเสียหายในส่วนนี้ได้
3. การใช้เกียร์ต่ำ
เมื่อขับรถในช่วงที่มีฝนตกหนัก การเลือกใช้เกียร์ต่ำจะช่วยลดโอกาสในการดับของเครื่องยนต์ลง สำหรับรถยนต์ที่ใช้เกียร์ธรรมดา ควรใช้ประมาณเกียร์ 1 หรือ 2 ในขณะที่รถที่ใช้เกียร์ออโต้ควรเลือกที่เกียร์ L
4. รักษาระยะเบรกให้มากกว่าปกติ 2-3 เท่า
การขับขี่รถยนต์ในช่วงที่มีฝนนั้นมีความเสี่ยงต่อการเผชิญกับถนนที่เปียกชื้น ซึ่งอาจทำให้ถนนลื่นกว่าปกติ ดังนั้นการรักษาระยะเบรกที่มากกว่าปกติจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าถนนจะลื่น แต่เราก็ยังสามารถรักษาระยะในการเบรกได้อย่างปลอดภัย
5. ลดความเร็วเมื่อขับรถสวนทางกัน
เมื่อขับรถในขณะที่ฝนตกและน้ำท่วมขัง การชะลอความเร็วเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะเมื่อขับบนถนนที่มีรถสวนทางกัน เช่น ถนนสองเลน ผู้ขับขี่ควรลดความเร็วเมื่อมองเห็นรถยนต์ที่วิ่งสวนทางมา เพื่อหลีกเลี่ยงการสาดน้ำและลดความเสี่ยงในการเสียหลักอีกด้วย
6. ขับรถตามรถคันใหญ่ที่มีล้อยกสูง
สำหรับผู้ที่ขับรถเล็กหรือรถที่มีระยะต่ำ หากต้องขับผ่านจุดที่มีน้ำท่วมขัง ควรพยายามติดตามรถคันใหญ่ที่มีล้อยกสูง เนื่องจากกระแสน้ำจะถูกพัดออกจากห้องเครื่อง และช่วยให้เส้นทางปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ อย่าลืมเว้นระยะห่างที่เหมาะสมด้วย
7. ควรทำการย้ำเบรกหรือคลัตช์เพื่อไล่น้ำ
สำหรับการดูแลรถในฤดูฝนให้ปลอดภัยและพร้อมใช้งานอีกหนึ่งวิธีคือการย้ำเบรกหรือคลัตช์ เพื่อช่วยในการไล่น้ำออก โดยจะแบ่งเป็นสองกรณี คือ ในกรณีของรถยนต์ที่ใช้เกียร์ธรรมดา ควรย้ำคลัตช์เพื่อป้องกันอาการคลัตช์ลื่น ในขณะที่รถยนต์ที่มีระบบเกียร์อัตโนมัติ การย้ำเบรกจะช่วยไล่น้ำออกจากระบบเบรก ทำให้เพิ่มความเสถียรในการเบรกมากยิ่งขึ้น
8. หากเครื่องยนต์ดับในขณะขับรถ ควรหลีกเลี่ยงการสตาร์ทรถใหม่
หลายคนไม่อยากประสบกับสถานการณ์ที่ขับรถเจอลมฝนแล้วเครื่องยนต์ดับ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องเข็นรถไปข้างทางและไม่ควรพยายามสตาร์ทรถอีกครั้ง เพราะการสตาร์ทใหม่อาจทำให้น้ำไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ง่าย และอาจทำให้เกิดความเสียหายตามมา
9. หลีกเลี่ยงการดับเครื่องยนต์ทันทีเมื่อถึงจุดหมาย
เมื่อขับรถผ่านพ้นจุดน้ำท่วมขังแล้ว สิ่งที่ควรทำคือควบคุมความเร็วให้อยู่ในระดับต่ำ และย้ำเบรกหรือคลัตช์เป็นระยะ เพื่อไล่ความชื้นออกจากเครื่องยนต์ นอกจากนี้ไม่ควรดับเครื่องยนต์ทันทีหลังจากลุยน้ำท่วม เนื่องจากยังมีน้ำค้างในท่อไอเสียที่อาจไหลย้อนกลับเข้ามาได้ สำหรับการดูแลเครื่องยนต์หลังจากขับรถลุยน้ำท่วม รถกระบะจะมีความเสี่ยงต่อความเสียหายน้อยกว่า เพราะถูกออกแบบให้เป็นรถยกสูงที่สามารถขับลุยได้ แตกต่างจากรถเก๋งที่ต้องประเมินความเสียหายของเครื่องยนต์และใส่ใจในการดูแลมากกว่า
ขั้นตอนการดูแลรถกรณีรถน้ำท่วม
- ถอดขั้วแบตเตอรี่ทันทีเมื่อรถเข้าอู่
- เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรก และน้ำมันพาวเวอร์ทันที
- ทำความสะอาดภายในห้องเครื่องทั้งหมด
- ถอดกรองอากาศออกมาตรวจสอบว่า มีน้ำหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าอาจมีน้ำเข้าไปยังชุดท่อรวมไอดี ไม่ควรทำการสตาร์ทเครื่องยนต์เพราะอาจมีน้ำเข้าไปในห้องเผาไหม้และอาจทำให้ก้านสูบคดได้
- ขอให้ถอดหัวเทียน (สำหรับเครื่องเบนซิน) หรือหัวฉีด (สำหรับเครื่องดีเซล) ออกมาทุกสูบ เพื่อทำการสตาร์ทไล่น้ำออกจากห้องเผาไหม้
- ถอดล้างทำความสะอาดกล่องฟิวส์ กล่องควบคุมเครื่อง (ECU) กล่อง Air Bag กล่องเกียร์ (ถ้ามี) และให้ถอดปลั๊กไฟออกมาฉีดน้ำยาไล่ความชื้นตามขั้วปลั๊กทั้งหมด
- ทำความสะอาดภายในรถ ทำความสะอาดเบาะแล้วตากในร่ม (ห้ามตากแดด)
- ถอดทำความสะอาดตู้แอร์ คอยล์เย็นแอร์ และถอดทำความสะอาดแผงนวมหน้าปัทม์มาตรวัดต่างๆ ในเรือนไมล์
- ทำความสะอาดและตรวจสอบไดชาร์จและมอเตอร์สตาร์ท
- ถอดทำความสะอาดและตรวจสอบชุดลูกรอกสายพานไทม์มิ่งต่างๆ
- ถอดทำความสะอาดฝ้าหลังคา
- ถอดทำความสะอาดและตรวจสอบระบบเบรกทั้ง 4 ล้อ
กรณีที่เป็นรถเกียร์ออโต้
ตรวจสอบน้ำมันเกียร์เพื่อดูว่ามีน้ำปะปนในน้ำมันหรือไม่ หากน้ำมันเกียร์มีน้ำจะมีลักษณะคล้ายโยเกิร์ตสตรอเบอร์รี่ เมื่อพบปัญหานี้ให้อู่ดำเนินการถอดเกียร์ออกจากเครื่อง จากนั้นให้คว่ำทอร์คคอนเวเตอร์และล้างโดยการเติมน้ำมันเบนซินเข้าไปแล้วหมุนทอร์คตามเข็มนาฬิกาประมาณ 2-3 ครั้ง สำหรับตัวเกียร์ให้ทำการผ่า ล้างทำความสะอาด และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายให้เรียบร้อย
กรณีที่เป็นรถเกียร์ธรรมดา
ถอดหัวหมูออกแล้วทำความสะอาดชุดคลัทช์ พร้อมทั้งเปลี่ยนน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้าย นอกจากนี้ ในกรณีที่รถโดนน้ำท่วม เราจำเป็นต้องตรวจสอบระดับน้ำสูงสุดที่ท่วมตัวรถ เนื่องจากระดับน้ำที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อชิ้นส่วนที่ต้องมีการตรวจสอบและทำความสะอาดด้วย
รถน้ำท่วม เคลมประกันได้ไหม
รถน้ำท่วมหรือประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ถูกระบุเอาไว้ในเงื่อนไขของประกันรถยนต์อยู่แล้ว เพียงแต่จะมีการแบ่งความเสียหายจากน้ำท่วมเป็น 2 ประเภท คือ ความเสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วน ซึ่งจะมีแนวทางการดูแลคุ้มครองของประกันรถยนต์ที่แตกต่างกันออกไป
- ความเสียหายโดยสิ้นเชิง: เป็นความเสียหายรถน้ำท่วมแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ เนื่องจากมีความเสียหายหนัก เพราะรถถูกน้ำท่วมจนมิดคัน บริษัทประกันอาจมีการเสนอคืนทุนประกันให้ 70-80%
- ความเสียหายบางส่วน: กรณีที่บริษัทประกันภัยประเมินแล้วว่า ยังสามารถซ่อมแซมให้รถยนต์กลับมามีสภาพเดิมได้ จะมีการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมให้ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์
รถน้ำท่วม ประกันแต่ละชั้นจะคุ้มครองอย่างไร
เมื่อเกิดเหตุการณ์ รถน้ำท่วม การคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์จะแตกต่างกันตามประเภทของประกันที่คุณทำไว้ โดยมีรายละเอียดการคุ้มครองของประกันแต่ละชั้น ดังนี้:
1. ประกันรถยนต์ชั้น 1 – คุ้มครองเต็มรูปแบบ
- ประกันชั้น 1 คุ้มครอง ความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม ทั้งในกรณีที่รถจอดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม หรือขับรถผ่านพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมแล้วได้รับความเสียหาย
- ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทั้งระบบเครื่องยนต์ แบตเตอรี่ ระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในรถที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม
- หากรถเสียหายอย่างหนักจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ บริษัทประกันอาจพิจารณาจ่ายเงินชดเชยตามมูลค่ารถในกรณีรถเสียหายทั้งคัน (Total Loss)
2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+ – คุ้มครองในกรณีภัยพิเศษ
- ประกันชั้น 2+ จะคุ้มครอง ความเสียหายจากภัยพิเศษ เช่น รถหาย ไฟไหม้ และ น้ำท่วม ด้วย
- ความคุ้มครองจากน้ำท่วมจะคล้ายกับประกันชั้น 1 คือ ครอบคลุมการซ่อมแซมความเสียหายจากน้ำท่วม รวมถึงระบบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่าง ๆ
- อย่างไรก็ตาม ประกันชั้น 2+ จะไม่ครอบคลุมกรณีเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น การขับชนสิ่งของ หรือการเสียหายอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับภัยพิเศษ
3. ประกันรถยนต์ชั้น 2 – คุ้มครองเฉพาะรถหายและไฟไหม้
- ประกันรถชั้น2 ไม่คุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วม โดยจะคุ้มครองเฉพาะกรณีรถหายหรือไฟไหม้เท่านั้น
- หากรถได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเอง
4. ประกันรถยนต์ชั้น 3+ – ไม่คุ้มครองกรณีน้ำท่วม
- ประกันภัยรถยนต์ 3+ คุ้มครองกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะ แต่ ไม่คุ้มครองกรณีภัยพิเศษ เช่น น้ำท่วม รถหาย หรือไฟไหม้
- หากรถได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเอง
5. ประกันรถยนต์ 3 – ไม่คุ้มครองกรณีน้ำท่วม
- ประกันรถยนต์ 3 คุ้มครองเฉพาะความเสียหายของคู่กรณีในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่คุณเป็นฝ่ายผิดเท่านั้น ไม่คุ้มครองรถของผู้เอาประกันในทุกกรณี รวมถึงน้ำท่วม
- ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทั้งหมดหากรถได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม
ดังนั้น หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมสูง การเลือกทำ ประกันชั้น 1 หรือชั้น 2+ จะเหมาะสมที่สุดในการรับความคุ้มครองกรณีน้ำท่วม
พอใกล้ถึงช่วงฤดูฝนขึ้นมา คนที่ใช้งานรถยนต์ต่างกังวลเรื่องรถน้ำท่วมกันในหลาย ๆ ส่วน เนื่องจากบางฤดูกาลเราไม่อาจคาดเดาได้เลย ว่าปีไหนฝนจะตกหนักมากหรือน้อย จนเกิดอาการน้ำท่วมขังแบบที่ไม่มีใครรู้มาก่อน ฉะนั้นการเลือกทำประกันรถยนต์เผื่อเอาไว้ คงเป็นสิ่งที่คนรักรถควรตัดสินใจพิจารณาประกันรถยนต์ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งานไว้ด้วยจะดีที่สุด
โดย แรบบิท แคร์ สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างละเอียด และครบถ้วนมากที่สุด รวมถึงการนำเสนอส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 70% สำหรับลูกค้าของเรา และยังให้คุณเลือกผ่อน 0% ได้นานถึง 10 เดือนเช่นกัน หากสนใจติดต่อเข้ามาได้เลยที่เบอร์ 1438 (ติดต่อได้ 24 ชั่วโมง)
สรุป
สำหรับความเสียหายเมื่อรถน้ำท่วมจะแบ่งย่อยออกมาได้ 3 ระดับ ซึ่งในแต่ละระดับจะมีการประเมินระดับน้ำที่ท่วมรถแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- รถน้ำท่วมความเสียหายระดับ 1 จะมีโอกาสการสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ภายในอยู่ 3 ส่วน เช่น ระบบเบรก ผ้าเบรกทั้ง 4 ล้อ, ห้องเครื่องยนต์ คลัทช์คอมแอร์ สายพานแอร์ ไดสตาร์ท, พรมที่อยู่ภายในรถ
- รถน้ำท่วมความเสียหายระดับ 2 มีอุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อความเสียหายอยู่ประมาณ 6 ส่วน เช่น ระบบห้องเครื่อง ECU, ไฟรถทั้งด้านหน้าและท้าย, เบาะรถยนต์, ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประตูทุกฝั่ง, ตู้แอร์ รวมถึง ช่วงเก็บสัมภาระด้านท้าย
- รถน้ำท่วมความเสียหายระดับ 3 อุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียหาย จะมีอยู่มากถึง 8 ส่วน หากรถน้ำท่วมเจอความเสียหายในระดับนี้ ห้ามสตาร์ตรถอย่างเด็ดขาด ควรถอดแบตเตอร์รี่ออกทันที พร้อมกับติดต่อหาช่างซ่อมทันที
โดยค่าซ่อมรถน้ำท่วมจะประเมินราคาเริ่มต้นที่ 8,000 ไปจนถึง 30,000 บาท ขึ้นไป และในกรณีที่รถน้ำท่วมมากจนซ่อมไม่ได้ ทางประกันรถฯจะต้องประเมินคืนทุนประกันทั้งหมด
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology