กระจกรถร้าว อันตรายไหม ระหว่างซ่อมกับเปลี่ยนใหม่ แบบไหนดีกว่า
โอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ โดยเฉพาะในเรื่องกระจกรถร้าว ที่เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวอย่างมาก แต่พอถึงเวลาจริง ก้อนหินเล็ก ๆ เพียงก้อนเดียวที่ดีดกระเด็นมาปะทะรถของเราตอนที่ทำความเร็วสูง อาจทำให้กระจกรถร้าวได้ตั้งแต่รอยเล็กถึงใหญ่ หากซ่อมได้คงถือว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ถ้าต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งบาน บอกเลยว่าหมดกันเกือบหมื่น
ฉะนั้นเพื่อให้ทุกคนสามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์กระจกรถร้าวได้มากที่สุด แรบบิท แคร์ ได้ลองเอาข้อมูลเกี่ยวกับกระจกรถร้าว เกิดจากอะไรได้บ้าง, กระจกรถร้าว อันตรายไหม ขับต่อได้หรือไม่, กระจกรถร้าว ซ่อมเองยากแค่ไหน และกระจกรถร้าว เคลมประกันต้องทำอย่างไร รวมถึงวิธีรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาอย่างกระทันหัน เพื่อให้ผู้ใช้งานรถยนต์ทุกคนจัดการปัญหาตรงนี้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
กระจกรถร้าวเกิดจากอะไรได้บ้าง
กระจกรถร้าวเกิดจากหลายสาเหตุ โดยสรุปคร่าว ๆ ได้ถึง 9 สาเหตุด้วยกัน คือ ก้อนหินดีด, กระจกไม่ได้คุณภาพ, การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน, อุบัติเหตุ, การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว, แสงแดด, ลูกเห็บที่ตกมาใส่ และกิ่งไม้จากต้นไม้ ซึ่งสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนมีโอกาสทำให้กระจกรถร้าวได้อย่างง่ายดายจากการใช้งานรถยนต์ในชีวิตประจำวัน ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุต่าง ๆ มีดังนี้
- ก้อนหินดีด ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการขับตามรถยนต์คันอื่นตามปกติ หรือรถบรรทุกที่ขนก้อนหินดินทรายแล้วดึดมาโดน มีโอกาสทำให้กระจกรถร้าวตั้งแต่รอยเล็กน้อย ไปจนถึงอาการร้าวที่แตกไปทั้งบานได้เช่นกัน
- กระจกไม่ได้คุณภาพ โดยเฉพาะใครที่ซื้อรถยนต์มือสอง หรือมีประวัติการเปลี่ยนกระจกมาก่อน หากเจอกระจกที่คุณภาพไม่ดี ไม่ทนต่อแรงกด แรงกระแทก หรือแรงบิดอย่างเหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดอาการกระจกรถร้าวขึ้นมาได้
- การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การติดตั้งที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เข้ากับโครงสร้างของรถ เป็นกระจกที่ไม่ตรงรุ่น เมื่อขับที่ความเร็วสูงจะทำให้เกิดอาการสั่น และบิดตัวของโครงสร้าง จนทำให้กระจกรถร้าวได้ง่าย
- อุบัติเหตุ มีวัสดุที่กระเด็นมาโดน หรือกระแทกใส่เข้าอย่างจัง ไปจนถึงการประสบอุบัติเหตุรถชนแต่กระจกได้รับแรงสะเทือน ส่งความเสียหายไปยังโครงสร้าง บิดตัวจนผิดรูปและแตกร้าวได้ในที่สุด
- การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว เหมือนกับการนำแก้วที่ร้อนจัดไปใส่น้ำเย็นในทันที จะเกิดอาการแตกร้าว กระจกก็เช่นกัน หากจอดตากแดดมาทั้งวันแล้ว ควรปล่อยให้อุณหภูมิลดลงตามปกติอย่างช้า ๆ ค่อยนำไปเจอกับน้ำเย็นในภายหลังจะดีกว่าการโดนทันที
- แสงแดด เพราะความร้อนสูงจุดจะทำให้เกิดการขยายตัว จนขอบกระจกขยายตัวเกินกว่าจุดศูนย์กลางและแตกออก
- ลูกเห็บที่ตกมาใส่ กรณีที่ขับรถด้วยความเร็วสูง บวกกับระยะทางที่ลูกเห็บตกลงมา ทำให้ความเร็วที่ปะทะกันกับขนาด และความหนาแน่นของลูกเห็บ สร้างความเสี่ยงที่จะทำให้กระจกรถร้าวได้ง่าย ๆ หากเจอสถานการณ์นั้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- กิ่งไม้จากต้นไม้ เวลาที่จอดใต้ต้นไม้ควรระวังให้ดี เพราะกิ่งไม้ที่แข็ง และมีขนาดใหญ่ตกลงมาในความสูงหลายเมตร มีความเสี่ยงทำให้กระจกรถร้าว หรือแตกยับได้ง่ายเหมือนกัน
กระจกรถร้าว อันตรายไหม ขับต่อได้หรือไม่
กระจกรถร้าว อันตรายไหม หากมีความจำเป็นต้องขับต่อ สามารถทำได้หรือไม่ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณารอยกระจกรถร้าวที่เกิดขึ้นตรงหน้า หากกระจกรถเป็นรอยเพียงเล็กน้อยเรายังสามารถขับต่อไปได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่รอยเล็ก ๆ จะขยายกว้างมากขึ้นจนร้าวทั้งบาน ฉะนั้นระหว่างที่ขับขี่ควรหาจุดซ่อมอย่างเร่งด่วน แต่กรณีที่กระจกรถร้าวหนักทั้งบาน ไม่ควรขับต่อ เนื่องจากมันมีโอกาสแตกออกเป็นเกร็ดละเอียดสูงมาก และอาจทำให้เศษกระจกเข้าตา กลายเป็นการบาดเจ็บใหญ่หลวง รวมถึงเสี่ยงอุบัติเหตุทางรถยนต์ตามมาอีกต่างหาก
กระจกรถร้าว ซ่อมเองยากแค่ไหน
กระจกรถร้าวซ่อมเองได้ เพียงแต่ว่าต้องมีอุปกรณ์ที่ครบถ้วน และความใจเย็นในระดับหนึ่ง ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในการซ่อมกระจกรถร้าว คือ ที่เป่าลม (จะเป็นไดร์เป่าผมก็ได้), กระดาษทรายเบอร์ 1000 และ 1500, แอลกอฮอล์, ผ้าสะอาด, เทปใส, กาวร้อน, คัตเตอร์ และน้ำยาขัดสีรถ หรือน้ำยาเช็ดกระจกรถ พอเตรียมอุปกรณ์สำหรับการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว สามารถทำตามขั้นตอนทั้งหมดดังรายต่อไปนี้ได้เลย
- ใช้ที่เป่าลมเป่าลมเข้าไปในบริเวณที่กระจกร้าว เพื่อไล่เศษฝุ่นออกไปให้หมด
- จากนั้นนำแอลกอฮอลมาเช็ดโดยรอบ เพื่อขจัดคราบมัน
- เอาเทปใสมาติดกันไว้รอบจุดที่มีรอยร้าว
- แล้วใช้กาวร้อนที่เราเลือกมาหยอดลงจุดที่มีรอยร้าว โดยหยอดให้ล้นออกมาเล็กน้อย และทิ้งไว้ให้แห้งสนิท
- ใช้คัตเตอร์ขูดเนื้อหาที่ล้นออกมาให้เรียบร้อย
- นำกระดาษทรายเบอร์ 1000 จุ้มน้ำแล้วทำการขัดบริเวณที่เป็นรอยร้าว เวลาขัดห้ามเลยขอบเทปกาวที่แปะเอาไว้ หลังจากนั้นใช้กระดาษทรายเบอร์ 1500 ขัดต่อ จนรู้สึกผิวกระจกที่ร้าวเริ่มเนียนเสมอกัน
- นำเทปกาวออก และใช้น้ำยาขัดสีรถ หรือน้ำยาเช็ดกระจกทำความสะอาดอีกครั้ง
วิธีรับมือเมื่อเจอกระจกรถร้าว
วิธีรับมือเมื่อเจอกระจกรถร้าว จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีย่อย คือ ร้าวเล็กน้อย กับร้าวหนักจนมองไม่เห็น ซึ่งเราต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไรบ้างนั้น เดี๋ยวมาเช็กรายละเอียดไปพร้อมกันจากเนื้อหาที่หัวข้อย่อยดังต่อไปนี้
กระจกรถร้าวเล็กน้อย
กรณีที่เกิดเหตุการณ์กระจกรถร้าวเล็กน้อย เราสามารถขับขี่ต่อไปได้ แต่ต้องระมัดระวังอย่างมากว่ากระจกที่ร้าวอยู่ อาจมีความเสี่ยงที่รอยร้าวจะขยายใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสิ่งแรกที่ควรทำ คือ ไม่ควรเปิดแอร์เย็นจัด หรือเป่าด้วยระดับลมที่แรงที่สุด เนื่องจากกระจกรถร้าวอยู่อาจไม่สามารถรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้มากเท่าไหร่นัก จะยิ่งทำให้รอยร้าวขยายตัวได้รวดเร็ว และเมื่อรู้ตัวแล้วว่ากระจกรถร้าว ควรตามหาอู่ หรือช่างผู้เชี่ยวชาญช่วยทำการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน
กระจรถร้าวจนมองไม่เห็น
กรณีที่กระจกรถร้าวจนมองไม่เห็น และไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องเอากระจกออก ต้องเริ่มต้นด้วยการหาผ้าขนาดใหญ่ มารองบริเวณพื้นรถ คอนโซล และบริเวณกระโปรงหน้ารถ เพื่อป้องกันเศษกระจกเป็นรอย และช่วยให้เก็บเศษที่กระเด็นออกได้ง่าย หลังจากนั้นใช้ไม้หรือวัสดุที่แข็งแรง ดันกระจกออกจากด้านนอกให้หมด หากมีเศษเล็กน้อยตกหล่น ใช้ผ้าชุบน้ำในการหยิบเศษกระจก จะลดโอกาสการบาดได้ดี ถ้าจำเป็นต้องขับต่อควรขับช้า ๆ ระมัดระวังเศษกระจกกระเด็นโดนตัวเราทำให้บาดเจ็บ รวมถึงการระมัดระวังเรื่องเศษฝุ่น เศษหินกระเด็นเข้ารถด้วย
กระจกรถร้าวเคลมประกันได้ไหม
กระจกรถร้าว เคลมประกันได้ในกรณีที่เป็นอุบัติเหตุ โดยเฉพาะประกันรถยนต์ชั้น 1 จะสามารถเคลมได้ทุกกรณี เช่น ชนยานพาหนะด้วยกันเอง, ชนเสาไฟ, โดนก้อนหินดีด หรือกิ่งไม้ตกใส่ อุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีที่ทำให้กระจกรถร้าวหรือแตก สามารถเคลมประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้อย่างสบายใจ แต่ถ้าเป็นประกันรถยนต์ประเภทอื่น จะไม่สามารถเคลมได้หากกระจกรถร้าวหรือแตกแบบไม่มีคู่กรณี
ดังนั้นแล้วการเลือกทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ดูจะเป็นอะไรที่ครอบคลุมที่สุดแล้วในการดูแลคุ้มครองรถยนต์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระจกรถร้าว แตก ไปจนถึงอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี ที่ทางประกันรถยนต์ชั้น 1 ดูแลคุ้มครองได้เพียงประเภทเดียว ประกันชั้นอื่นจะครอบคลุมน้อยกว่า หากใครมีคำถามสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อหา แรบบิท แคร์ เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติม หรือรับส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 70% ได้เช่นกั
สรุป
กระจกรถร้าวเกิดจากหลายสาเหตุ โดยสรุปคร่าว ๆ ได้ 9 สาเหตุ คือ ก้อนหินดีด, กระจกไม่ได้คุณภาพ, การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน, อุบัติเหตุ, การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว, แสงแดด, ลูกเห็บที่ตกมาใส่ และกิ่งไม้จากต้นไม้ ซึ่งสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนมีโอกาสทำให้กระจกรถร้าวได้อย่างง่ายดายจากการใช้งานรถยนต์ในชีวิตประจำวัน
ส่วนเรื่องการเคลมประกันรถนั้น จะเคลมค่าใช้จ่ายกระจกร้าวได้ต่อเมื่อเเป็นกรณีที่เป็นอุบัติเหตุ โดยเฉพาะประกันรถยนต์ชั้น 1 จะสามารถเคลมได้ทุกกรณี โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณีที่ทำให้กระจกรถร้าวหรือแตก แต่ถ้าเป็นประกันรถยนต์ประเภทอื่น จะไม่สามารถเคลมได้หากกระจกรถร้าวหรือแตกแบบไม่มีคู่กรณี
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology