Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Sep 01, 2023

ทำความรู้จักกับ ดุลการค้า ก่อนวางแผนลงทุน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบันคนรุ่นใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจของตัวเองกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นในธุรกิจขนาดเล็ก หรือลงทุนจำนวนมากเพื่อสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ ไปจนถึงการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งหลายๆ คนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ ดุลการค้า ก็จะสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด แต่สำหรับคนที่กำลังเริ่มต้น หรืออยู่ในขั้นของการวางแผน Balance of trade คือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ดุลการค้าระหว่างประเทศอยู่บ้างในระดับหนึ่ง เพื่อที่จะได้เริ่มต้นธุรกิจได้อย่างที่ต้องการ และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้

ดุลการค้า คือ

ดุลการค้า หรือที่หลายคนรู้จักกันในคำว่า Balance of trade และ Trade balance มีความหมายโดยรวมคือการเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าของสินค้าเข้าในประเทศ ตลอดระยะเวลา 1 ปี ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญด้านการกลยุทธ์และการเงินได้ให้ความหมายของดุลการค้า (Trade Balance) เอาไว้ว่าคือ หนึ่งบัญชีดุลการชำระเงิน (Balance of trade) ที่จะมีการแสดงอยู่ในส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัด เพื่อให้แสดงธุรกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยจะแสดงส่วนของเงินที่เข้าออกประเทศจากการส่งออก (Export) และ การนำเข้า (Import) ของสินค้าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งจะมีการคำนวณก็จะนำมาจากข้อมูลการนำเข้าส่งออกที่ขอมาจากทางกรมศุลกากร

อธิบายความหมายโดยสรุปจากข้อมูลของการค้าไทย จะเห็นได้ว่าดุลการค้า หรือ Trade Balance คือข้อมูลสถิติที่เป็นผลต่างสุทธิระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกที่สามารถทำเงินจากต่างประเทศได้ กับมูลค่าของสินค้านำเข้าที่ผู้นำเข้าจะต้องจ่ายเงินออกจากประเทศให้กับต้นทางที่นำเข้าสินค้าตลอดทั้งปีทั้งนี้เรื่องของ Balance of trade นั้นจะสามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะได้ดังนี้

1. ดุลการค้าสมดุล Balance of Trade

คือมูลค่าส่งออกที่เท่ากันกับมูลค่าของการนำเข้า ยกตัวอย่างเช่นในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าไปขายได้ทั้งหมด 1,000 ล้านบาท และในทางกลับกันการสั่งสินค้านำเข้ามาก็อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท เช่นนี้ก็เท่ากับว่าดุลการค้าระหว่างประเทศมีความสมดุลที่เท่ากันคือ 1,000 ล้านบาท นั่นเอง

2. ดุลการค้าขาดดุล

เมื่อมีการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ กรณีนี้ก็จะหมายถึงมีการค้าระหว่างประเทศมีความผันผวนเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ปีที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถส่งสินค้าออกไปขายได้ทั้งหมด 1,000 ล้านบาท ในขณะที่สินค้านำเข้านั้นมีมูลค่าทั้งหมดอยู่ที่ 3,500 ล้านบาท นั่นหมายความ Trade balance คืออยู่ในรูปดุลการค้าระหว่างประเทศที่ขาดดุลอยู่ที่ 2,500 ล้านบาท เป็นต้น

3. ดุลการค้าเกินดุล

กรณีนี้จะต่างจาก Balance of trade ขาดดุลอยู่ในทางตรงกันข้ามโดยจะเป็นมูลค่าของการส่งออกนั้นมีมากกว่ามูลค่าของการนำเข้า อาทิเช่น ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าไปขายได้ทั้งหมด 10,000 ล้านบาท แต่เมื่อตรวจสอบมูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามานั้นพบว่าอยู่ที่ 9,000 ล้านบาท นั่นจึงหมายความว่าประเทศไทยนั้นมีดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท นั่นเอง

ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้วประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ดุลการค้าระหว่างประเทศนั้นจะอยู่ในแบบขาดดุล เนื่องจากมีความแตกต่างในการส่งออกสินค้า เพราะ Balance of trade ส่วนใหญ่ของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาจะต้องสั่งซื้อเครื่องจักร และเหล่าเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าภายในประเทศเป็นหลัก ทำให้การส่งออกสินค้ายังคงต้องใช้เวลาในการพัฒนาและผลิตค่อนข้างนานกว่าประเทศที่มีความพัฒนาแล้ว

ดุลการค้าระหว่างประเทศ สามารถชี้วัดฐานะที่แท้จริงของประเทศได้หรือไม่?

แม้ว่า Trade balance นั้นคือสิ่งที่บ่งบอกถึงการค้าระหว่างประเทศได้ก็ตาม แต่ดุลการค้าเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะชี้วัดได้เลยว่าฐานะจริงๆ ของประเทศนั้นเป็นอย่างไร นั่นก็เพราะการค้าขายระหว่างประเทศที่มีความเสียเปรียบ หรือดุลการค้าระหว่างประเทศอยู่ในระดับขาดดุลอาจจะไม่ได้ส่งผลเสียใดๆ ให้กับประเทศนั้นๆ ก็เป็นได้ เนื่องจากดุลการค้าระหว่างประเทศที่มีการบันทึกนั้นจะมีการยกเว้นสินค้าบางประเภทเอาไว้ ที่ไม่ต้องชำระเงินตราต่างประเทศเนื่องจากมีการบริจาค หรือเป็นกรณีช่วยเหลือ

นอกจากนี้การนำเข้าสินค้านั้นยังมีการรวมมูลค่าสินค้า ค่าขนส่ง และการประกันภัยสินค้าเอาไว้ ต่างจากการส่งออกสินค้าที่ไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายเหล่านี้เอาไว้ นั่นทำให้สามารถหักลบมูลค่าตรงส่วนนี้ได้เช่นเดียวกัน รวมทั้งมูลค่าของการนำเข้าสินค้ากลุ่ม เครื่องจักรที่ใช้ในไลน์การผลิตสินค้านั้น ระยะยาวก็มีผลต่อการผลิตสินค้าส่งออกด้วยเหมือนกัน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าไม่สามารถตัดสินฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศจากดุลการค้าระหว่างประเทศ หรือ Balance of trade เพียงอย่างเดียว

ในทางกลับกันประเทศที่มี Balance of trade ได้เปรียบหรือดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุล ประเทศในกลุ่มนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่ในช่วงของเศรษฐกิจที่ดีเสมอไป เช่น เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศเข้ามาเป็นเงินในประเทศได้มากขึ้น หรือที่เรียกว่าเงินเฟ้อ รวมทั้งกรณีที่มี Balance of trade อยู่ในระดับเกินดุลกับอีกประเทศคู่ค้ามาเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อการชำระเงินในการซื้อสินค้าที่ต้องมีการค้างชำระได้ ซึ่งก็มีส่วนที่จะกระทบกับระบบอุตสาหกรรมภายในประเทศได้

ดังนั้นแล้วการชี้วัดฐานะในประเทศจึงไม่ควรมีการเปรียบเทียบเพียงแค่ดุลการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น เพราะ Trade balance คือตัวชี้วัดเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการวิเคราะห์เรื่องของการค้าระหว่างประเทศก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจ หรือจะมีโครงการธุรกิจอยู่แล้ว และต้องการขยับขยายการค้าขายให้ไกลออกไปถึงต่างประเทศ หรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ดำเนินกิจการต้องหมั่นศึกษา และตรวจสอบข้อมูลอยู่เสมอ

เพราะเหตุใดถึงควรศึกษาเรื่อง ดุลการค้า (Balance of trade) ก่อนเริ่มลงทุน

สำหรับธุรกิจที่เน้นการขายภายในประเทศนั้นอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาในเรื่องของ ดุลการค้าระหว่างประเทศ มากนัก เนื่องจากกลุ่มลูกค้าจะอิงกับกลุ่มเป้าหมายภายในประเทศ ไม่มีเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน หากแต่ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจที่มีการส่งออก กรณีนี้จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับดลุการค้า หรือ Balance of trade อยู่เสมอ นั่นก็เพราะ

  • เพื่อทำความเข้าใจถึงอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินก่อนที่จะเริ่มต้นในการลงทุน เพราะจะได้ทราบก่อนว่าจะค่าเงินในช่วงปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ก็จะทำให้มีการจัดสรรปันส่วนของการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
  • ดุลการค้าระหว่างประเทศจะช่วยให้รู้ว่าในปีที่ผ่านมาการนำเข้า และส่งออกสินค้าในประเทศไทยมีคุณภาพมากหรือน้อยเพียงใด ช่วยให้ประเมินความเสี่ยงได้ก่อนที่จะลงทุนด้วยจำนวนเงินมาก
  • ช่วยให้ทราบถึงการนำเข้าและส่งออกในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ก็จะช่วยให้วางแผนในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศเหล่านั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • การตรวจสอบ Balance of trade อยู่เสมอจะช่วยให้ทราบด้วยว่าในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าประเภทใดให้กับประเทศใดเป็นหลักสำคัญบ้าง อาทิเช่นการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปให้กับประเทศกัมพูชา หรือการส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ให้กับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นกลุ่มประเทศที่ไทยมีดุลการค้าเกินอยู่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาจาก Balance of trade ก็เป็นเพียงบางส่วนที่จะช่วยให้ทราบถึงเรื่องของการนำเข้า-ส่งออกสินค้าได้ดีที่สุด ทั้งนี้นอกจากการวิเคราะห์งบดุลการค้าระหว่างประเทศแล้วก็ต้องพิจารณาจากปัจจัยร่วมด้วยอื่นๆ อย่างถี่ถ้วนก่อนก็จะช่วยให้การเริ่มต้นลงทุนเป็นไปด้วยความราบรื่น และมีแผนสำรองที่เตรียมพร้อมไว้รับมือกับความผันผวนจากการส่งออกหรือนำเข้าสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น

เรียกได้ว่าเรื่องของดุลการค้าระหว่างประเทศ (trade balance) ก็คือเรื่องที่มีความสำคัญในระดับสูงโดยเฉพาะเรื่องของการทำธุรกิจที่ต้องบอกเลยว่า Balance of trade จะช่วยเข้าไปกำหนดการดำเนินธุรกิจได้ง่าย และมองเห็นภาพรวมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ไม่เพียงแค่เรื่องของดุลการค้าเท่านั้นที่สำคัญ ในการทำธุรกิจยังมีเรื่องของการอ่านงบการเงิน ที่จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจมองเห็นภาพธุรกิจที่มีความถูกต้องมากขึ้น เห็นปัจจุบันและมองอนาคตของธุรกิจ เพื่อที่จะได้จัดทำแผนธุรกิจต่อไปได้อย่างง่ายดาย โดยใช้ข้อมูลทั้งจากดุลการค้า และงบการเงินต่างๆ มาใช้สนับสนุนจัดทำข้อมูลต่อไป

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

UOB Xpress สินเชื่อส่วนบุคคลUOB Xpress

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% ต่อปี ตลอดสัญญา
  • วงเงิน 2,000,000 บาท
  • รวมหนี้ บัตรเครดิต ผ่อน 60 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท อายุงาน 4 เดือนขึ้นไป
  • เจ้าของกิจการ 25,000 บาท อายุ 3 ปี
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ผ่อนถึง 60 ปี
สินเชื่อส่วนบุคคลไทยเครดิตไทยเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยเริ่มต้น 9.99% ต่อปี
  • อนุมัติสูงสุด 2 ล้านบาท
  • จ่ายคืนขั้นต่ำ 3% หรือ 500 บาท
  • อายุ 20-60 ปี ชาติไทย
  • รวบหนี้บัตรเครดิตและเงินสด
  • ไม่ต้องค้ำประกัน
CardX SPEEDY LOANCardX SPEEDY LOAN

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อน 540 บาท/เดือน
  • รับเงินทันทีหลังอนุมัติ
  • ผ่อนสบายสูงสุด 72 เดือน
  • ฟรีประกันชีวิตวงเงินสินเชื่อ
  • รายได้ขั้นต่ำพนักงาน 30,000 บาท
  • ผ่านทดลองงาน อายุงาน 4 เดือนขึ้นไป
สินเชื่อเงินสดนาโนฟินนิกซ์นาโนฟินนิกซ์

สินเชื่อเงินสด

  • ยืม 10,000 บาท ดอกเบี้ยวันละ 9 บาท
  • อนุมัติเร็ว แจ้งผลใน 5 นาที
  • กู้ได้แม้รายได้ 8,000 บาท
  • วงเงิน 100,000 บาท ไม่ต้องค้ำ
  • สมัครได้ทุกอาชีพ รายได้ไม่แน่นอน
  • ใช้แค่บัตรประชาชนและสเตทเม้นท์

ธนาคารในประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา