Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Suspend debt payment_MOBILE.png
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Jul 13, 2023

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ พักชำระหนี้

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงไม่อยากที่จะเป็นหนี้กันอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะต้องใช้ชีวิตโดยปราศจากภาระที่มาจากค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการใช้บัตรเครดิต การซื้อบ้าน รถยนต์ หรือแม้แต่การกู้สินเชื่อเพื่อที่จะต้องนำเงินมาหมุนใช้เป็นการด่วนในยามจำเป็น ซึ่งนั่นก็ทำให้การเป็นหนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และนำมาซึ่งการขอพักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย เนื่องจากการผ่อนจ่ายไม่ไหว

แต่ถึงแม้จะชื่อว่าการ ขอพักชำระหนี้ หรือพักหนี้ธนาคาร ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย หรือเป็นเรื่องที่ทำได้โดยไม่ต้องทราบข้อมูล รายละเอียดเชิงลึก ซึ่งในบทความนี้เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของวิธีพักชำระหนี้ และข้อมูลที่ควรทราบของการขอพักชำระหนี้มาบอกกัน

การ “ขอพักชำระหนี้” คืออะไร?

การขอพักชำระหนี้ คืองวดที่ทำการขอพักชำระหนี้ผู้ที่เป็นหนี้จะไม่ต้องจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ก็ไม่ได้หมายความจะยกหนี้ในงวดนั้นออกไป เพราะธนาคารหรือสถาบันการเงินจะยังคงมีการคิดดอกเบี้ยในแต่ละงวดต่อไปอยู่เช่นเดิม เพียงแต่จะมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยในงวดที่ทำการพักชำระหนี้ไปในภายหลังโดยที่ส่วนใหญ่แล้วทางธนาคารมักจะให้พักชำระหนี้ได้ในระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจว่าการขอพักชำระหนี้ หรือวิธีพักชำระหนี้นั้นเหมือนกันกับการพักหนี้ธนาคาร หรือการพักหนี้ 2 เดือน ซึ่งก็ต้องบอกตรงนี้ว่า การ “พักชำระหนี้” กับ “พักหนี้” นั้นต่างกัน เพราะการพักชำระหนี้จะมีการนำเอาดอกเบี้ยของสองเดือนที่พักชำระมาคิดเพิ่มในภายหลัง แต่การพักหนี้ 2 เดือน ทางธนาคารจะให้ผู้ที่ต้องจ่ายหยุดการชำระได้เลยเป็นเวลา 2 เดือน และไม่มีการนำดอกเบี้ยของสองเดือนที่พักหนี้ธนาคารมาคิดเพิ่มในภายหลังด้วย

จะเห็นได้ว่า แม้เป็นเรื่องของการพักชำระเป็นเวลา 2 เดือนเหมือนกัน แต่ปลายทางในการเก็บดอกเบี้ยไม่เหมือนกัน ซึ่งก็ทำให้ผู้ที่ต้องผ่อนจ่ายพิจารณากันให้ดีในการขอปรับโครงสร้างการจ่ายเงินสำหรับการพักชำระหนี้ สำหรับใครที่ยังไม่เห็นภาพของความแตกต่างจากการพักชำระหนี้ และการพักหนี้ ลองมาตัวอย่างของทั้งสองแบบนี้กัน

ตัวอย่างของการพักชำระหนี้

สำหรับการพักชำระหนี้คือการพักจ่ายเงินทั้งต้นและดอกระยะเวลา 2 เดือน เช่น ขอกู้ธนาคารไป 1,000,000 บาท และผ่อนเดือนละ 10,000 บาทเป็นเงินต้น 6,000 บาท ดอกเบี้ย 4,000 บาท เมื่อขอพักชำระหนี้ไป 2 เดือน หลังจากครบระยะเวลา 2 เดือนที่พักชำระแล้ว จะต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยของเดือนที่พักชำระเป็นเวลา 2 เดือน คือจากเดิมที่จ่ายเดือนละ 10,000 บาท ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 4,000 บาท เป็น 14,000 บาท ระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งการจ่ายแบบนี้จะเกิดขึ้นทันทีหลังครบ 2 เดือนที่พักชำระหนี้ก็ได้ หรือหลังจากที่ผ่อนครบงวดสุดท้ายเรียบร้อยแล้วก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร

ตัวอย่างการพักหนี้ธนาคาร

สำหรับการพักหนี้ธนาคารนั้นจะเป็นการพักหนี้ให้ 2 เดือน โดยไม่ต้องชำระเงินให้ทางธนาคารเลย เช่น ตามปกติผ่อนจ่ายให้ธนาคารอยู่ที่เดือนละ 10,000 บาท และเมื่อขอพักหนี้ 2 เดือน ทางธนาคารก็จะไม่มีการเก็บเงินทั้งต้น และดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 เดือนทันที และหลังจากครบ 2 เดือน แล้วก็จะไม่มีการเก็บดอกเบี้ยเพิ่มเติมใด ๆ ทำให้ในเดือนต่อไปสามารถผ่อนในจำนวนเงิน 10,000 บาท ตามเดิมได้จนครบกำหนดชำระ

วิธีพักชำระหนี้ ทำได้อย่างไร?

มาถึงตรงนี้หลายคนเริ่มที่จะสนใจอยากพักชำระหนี้ หรือขอพักหนี้ธนาคารกันบ้างแล้ว เพราะอย่างน้อย ๆ แม้ว่าจะเป็นระยะเวลา 2 เดือน แต่ก็ช่วยให้รายจ่ายไม่ตึงมือจนเกินไปในยามวิกฤติของเศรษฐกิจ ซึ่งวิธีพักชำระหนี้นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร หรือสถาบันทางการเงิน แต่โดยทั่วไปแล้วการขอปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้นั้นจะสามารถติดต่อกับทางธนาคารได้ทันที และส่วนมากจะมีระยะเวลาพักหนี้ 2 เดือน ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้ว่าการพักชำระหนี้ หรือวิธีพักชำระหนี้จะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยให้มีสภาพคล่องทางการเงินได้นะระยะเวลาหนึ่งก็ตาม แต่ผู้ที่คิดจะปรับโครงสร้างหนี้ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องจำนวนเงิน และระยะเวลา กันด้วย โดยนอกจากการพักชำระหนี้นั้นยังมีอีก 3 วิธีในการปรับโครงสร้างหนี้ที่ทำได้ ดังนี้

1. จ่ายไหวแต่อยากลดดอกเบี้ย

หากยังจ่ายไหว แต่ต้องการปรับลดจำนวนดอกเบี้ยลงไปบ้างก็มีวิธีในการเลือกปรับโครงสร้างหนี้ได้ด้วยการรีไฟแนนซ์ ซึ่งก็ทำได้ทั้งการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด รวมทั้งการรีไฟแนนซ์บ้าน นอกจากนี้ยังมีวิธีการเปลี่ยนประเภทหนี้ ที่จะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงไปกว่าเดิมได้ด้วย

2. รายรับลดลงและอยากจ่ายบางส่วน

สำหรับใครที่รายรับลดลงและรู้สึกว่าการจ่ายหนี้เริ่มเป็นภาระ ก็สามารถของพักชำระหนี้ได้ด้วยการขอจ่ายบางส่วนได้ เช่น ขอลดอัตราดอกเบี้ย กรณีนี้ดอกเบี้ยจะถูกปรับลดลงในจำนวนหนึ่ง และลดลงในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพื่อที่ว่าเมื่อรายรับกลับมาเท่าเดิม หรือใกล้เคียงเดิมก็จะสามารถจ่ายหนี้ได้ตามเดิม หรืออีกวิธีก็เป็นการพักชำระหนี้ด้วยการพักจ่ายเงินต้น โดยจะเป็นพักชำระเงินต้นในระยเวลาสั้น ๆ เช่นเดียวกัน

3. ลดหนี้ด้วยการจ่ายเงินก้อน

กรณีนี้เป็นการจ่ายหนี้ให้จบด้วยการจ่ายเงินก้อน โดยมีการต่อรองกับทางธนาคาร หรือสถาบันทางการเงินให้ลดดอกเบี้ยคงค้างในช่วงใกล้จบภาระการผ่อนชำระหนี้ได้ เช่น ได้รับเงินก้อนมาจำนวน 200,000 บาท และมีหนี้คงค้างอยู่ที่ 210,000 บาท กรณีนี้สามารถขอเจรจาในการจ่ายจำนวน 200,000 บาท เพื่อขอปิดบัญชีได้ทันที ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงินด้วย

เห็นได้ว่าการพักชำระหนี้นั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ และสามารถทำได้หลายวิธี แต่สำหรับวิธีที่ทางธนาคาร และสถาบันการเงินแนะนำมากที่สุดก็คือการพักชำระหนี้ 2 เดือน หรือการขอพักหนี้ธนาคาร ซึ่งก็เป็นวิธีที่ง่ายต่อการอนุมัติ ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่ต้องผ่อนชำระว่าสะดวกแบบไหน และวิธีใดช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการใช้จ่ายได้ดีที่สุด

สรุป ข้อดีของการขอพักชำระหนี้

สำหรับการพักชำระหนี้ ก็เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ในวิกฤติทางการเงินได้ง่ายที่สุด ซึ่งเราได้สรุปข้อดีของการพักชำระหนี้มาด้วยกัน 3 ข้อ ดังนี้

  • เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินในการใช้จ่ายรายเดือน แม้ว่าจะมีรายได้ลดลงแต่ก็ยังมีโอกาสที่จะมีเงินในค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
  • ช่วยให้วางแผนในการใช้จ่ายเงินในช่วงเวลาพักชำระหนี้ได้มากขึ้น เนื่องจากมีช่วงที่การเงินไม่ตึงมือจนเกินไป หลายคนจะพบอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ในช่วงเวลานี้ เพราะมีเงินหมุนในการลงทุนมากขึ้น
  • หากเป็นการพักหนี้ธนาคารจะไม่ต้องทำการจ่ายดอกเบี้ยในภายหลัง ซึ่งทำให้ช่วงพักหนี้ไม่ต้องมีความกังวลในค่าใช้จ่าย

การพักชำระหนี้ก็นับเป็นหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้สำหรับคนยุคนี้ โดยเฉพาะใครที่กำลังมองหาสมัครสินเชื่อสำหรับค่าใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินแบบนี้ ก็จะได้ไม่เป็นกังวลกันจนเกินไปว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่ตึงมือจนเกินไป เพราะยังมีวิธีพักชำระหนี้ หรือขอพักหนี้กับทางธนาคารได้ด้วย แม้แต่ผู้ที่สนใจอยากสมัครบัตรเครดิตสักใบเพื่อติดกระเป๋าเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น หากต้องมีช่วงเวลาที่รายได้ลดลง ทำให้รายจ่ายในส่วนของบัตรเครดิตที่ต้องมีดอกเบี้ยกลายเป็นเรื่องยาก ก็ยังมีโอกาสที่จะขอพักชำระหนี้เพื่อแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายได้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีช่วงเวลาที่พักเรื่องดอกเบี้ย หรือพักเงินต้นในการผ่อนชำระได้บ้างก็ตาม แต่สิ่งสำคัญที่สุดของเรื่องการเงินก็คือ การวางแผนค่าใช้จ่ายให้กับตัวเอง และการมีวินัยในการเก็บออม ซึ่งวิธีเหล่านี้จะช่วยให้คุณปลอดภัยจากวิกฤติทางเศรษฐกิจได้ดีที่สุด และไม่ต้องกังวลเรื่องรายจ่ายที่ตึงมืออีกด้วย

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

สินเชื่อส่วนบุคคล Happy CashHappy Cash

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยพิเศษ 9.99% นาน 5 เดือน
  • วงเงินสูงสุด 1.5 ล้าน
  • ผ่อน 60 เดือน ไม่ต้องค้ำ
  • อายุ 20+ ปี ผ่อนรวมไม่เกิน 60 ปี
  • พนักงานประจำ 15,000 บาท+, เจ้าของกิจการ 50,000 บาท+
  • อายุงาน 6 เดือน+, เจ้าของกิจการ 3 ปี+
CardX SPEEDY LOANCardX SPEEDY LOAN

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อน 540 บาท
  • เงินเข้าบัญชีใน 24 ชม.
  • ผ่อนนานสูงสุด 72 เดือน
  • คุ้มครองฟรีประกันชีวิตวงเงิน
  • รายได้ 30,000 บาท พนักงาน
  • ผ่านทดลองงาน อายุงานขั้นต่ำ 4 เดือน
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท
  • อนุมัติใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.08% ต่อเดือน
  • วงเงินหมุนเวียน ผ่อนขั้นต่ำเริ่ม 200 บาท
  • รับเงินเต็มจำนวน แบ่งจ่าย 60 เดือน
  • ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือผู้ค้ำ
สินเชื่อเงินสดนาโนฟินนิกซ์นาโนฟินนิกซ์

สินเชื่อเงินสด

  • ยืมหมื่น ดอกเบี้ย 9 บาท/วัน
  • ผลอนุมัติไว 5 นาที
  • รายได้ 8,000 บาท ก็กู้ได้
  • วงเงินสูงสุด 100,000 บาท ใช้ได้ไม่ต้องค้ำ
  • สมัครง่าย ทุกอาชีพ ไม่มีสลิปเงินเดือน
  • ไม่มีสเตทเม้นท์ ใช้บัตรประชาชนและบัญชีรับเงิน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา