"Stagflation" คืออะไร? ความน่ากลัวของสภาวะเศรษฐกิจที่คุณต้องรู้
เราเชื่อเหลือเกินว่าในสภาวะที่ข้าวของเครื่องใช้รอบ ๆ ตัว ปรับขึ้นราคา แต่!การจับจ่ายใช้สอยของผู้คนกลับสวนทางหรือมีสภาพคล่องต่ำ คงจะทำให้หลาย ๆ คน (โดยเฉพาะในวงการเศรษฐกิจ) มีความกังวลใจว่าจะเกิดสภาวะ Stagflation ในประเทศไทยหรือเปล่า? เพราะเมื่อไหร่ที่สภาวะ Stagflation เกิดขึ้นมา เราก็ขอบอกเลยว่าสภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยจะกลับมาสู่ความวุ่นวายเหมือนเดิมอย่างในช่วงวิกฤตโควิด-19 อย่างแน่นอน และสำหรับใครที่ยังสงสัยอยู่ว่าสภาวะ Stagflation คืออะไร? ทำไมหลาย ๆ คน ถึงไม่อยากให้เกิดขึ้น? ในบทความนี้ก็จะพาคุณไปทำความรู้จักกับคำว่า “Stagflation” กัน
Stagflation คืออะไร ?
Stagflation คือ สถานการณ์ที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะตกต่ำ มีอัตราการเติบโตของ GDP ที่ลดต่ำลง แต่! มีอัตราการว่างงานของประชาชนที่สูงขึ้น และราคาสินค้าต่าง ๆ ภายในประเทศก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกภาคส่วน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า "วิกฤตทางเศรษฐกิจหรือสถานการณ์เงินเฟ้อ" ทั้งนี้คำว่า Stagflation คือคำที่มาจาก Stagnation ที่มีความหมายว่า สภาวะหยุดนิ่ง และ Inflation มีความหมายว่า สภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วก็จะสะท้อนความหมายของคำว่า Stagflation ได้เป็นอย่างดีว่ามันคือ สถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อพุ่ง ราคาสินค้าแพงขึ้น แต่สภาวะเศรษฐกิจกลับเติบโตไม่ทัน จนทำให้มีการว่างงานสูงเพิ่มขึ้นนั่นเอง
สัญญาณเตือนที่อาจจะเกิด Stagflation ในประเทศไทย
หากถามว่าในประเทศไทยเคยเกิดสภาวะ Stagflation หรือไม่นั้น เราก็คงจะตอบได้เลยว่า “เคย” ซึ่งเกิดในช่วงปี 2523 โดยอัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยเคยแตะระดับไปสูงสุดเกือบถึง 20% แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพราะเศรษฐกิจไทยในช่วงนั้นย่ำแย่ติดต่อกันยาวนานถึง 5 ปี เพราะฉะนั้นเราจะขอกล่าวถึง 3 สัญญาณเตือนที่อาจจะเกิดในประเทศไทย โดยสัญญาณเตือนอย่างแรกเลยก็คือ
- สินค้ามีราคาแพงขึ้น
- มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น
- อัตราการเติบโตของ GDP ลดลงติดต่อกันหลายไตรมาส (หรือในบางกรณีอาจจะลดลงติดต่อกันหลายปี)
ความน่ากลัว Stagflation ที่คุณต้องรู้
ความน่ากลัวของ Stagflation คือ สินค้าอุปโภค-บริโภคปรับตัวแพงขึ้น ผู้คนตกงานกันเป็นจำนวนมาก ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างถึงขีดสุด ซึ่งสืบเนื่องมาจากสภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ผู้คนมีความสามารถในการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคต่าง ๆ ได้น้อยลง เช่น จากเงิน 100 เคยซื้อน้ำยาปรับผ้านุ่มได้ 4 ถุง แต่เมื่อเกิดสภาวะเงินเฟ้อทำให้สามารถซื้อน้ำยาปรับผ้านุ่มได้เพียงแค่ 2 ถุง และแน่นอนว่ามันจะส่งผลให้ธุรกิจเกิดการชะลอตัว กำไรในการประกอบกิจการลดลง จนต้องปลดพนักงานออกเพื่อพยุงธุรกิจ ซึ่งเมื่อพนักงานถูกปลดออก รายได้หาย ก็ทำให้ไม่มีกำลังในการใช้จ่าย และทำให้อัตราการเติบโตของ GPD ต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไข ก็ขอบอกเลยว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสภาวะ Stagflation เป็นอะไรที่ต้องใช้เวลาและยากมาก ๆ ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมหลาย ๆ คน ถึงไม่อยากจะให้เกิดขึ้นภายในประเทศ
แนวทางการลงทุนหากเกิด Stagflation
หากในอนาคตประเทศไทยของเรามีแนวโน้มที่จะเข้าสู่สภาวะ Stagflation หลาย ๆ คน ก็คงจะมีคำถามตามมาว่า หากไม่ต้องการรัดเข็มขัดและต้องการที่จะลงทุน เพราะมองว่าภายในสภาวะ Stagflation อาจจะมีโอกาสในการสร้างมูลค่าทางการเงินอยู่บ้าง เราก็ขอแนะนำ 3 แนวทางหากต้องการลงทุนในช่วงสภาวะ Stagflation ซึ่งประกอบไปด้วย
- กองรีท (REIT)
- ทองคำ
- ตราสารหนี้
ทั้งนี้ทุก ๆ การลงทุนในช่วง Stagflation ถือได้ว่ามีความเสี่ยงที่สูงมาก แต่แนวทางทั้ง 3 ข้อที่เราได้กล่าวไป ล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางที่นักเศรษฐกิจมืออาชีพมองว่าอาจจะสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในช่วงสภาวะ Stagflation (ควรศึกษารายละเอียดให้เข้าใจก่อนการลงทุนทุกๆ ครั้ง)
รับมือสถานการณ์การเงินที่ไม่คาดคิด จากภาวะ Stagflation ด้วยประกันออมทรัพย์ แรบบิท แคร์
คงต้องยอมรับอย่างตรงไปตรงมาเลยว่า ความน่ากลัวของสภาวะ “Stagflation” มันก็คือความวุ่นวายและความยากลำบากในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รวมไปถึงระยะเวลาในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ใช้เวลาในการฟื้นตัวนานมาก ๆ เพราะฉะนั้นแล้วการวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือกับสภาวะ Stagflation ที่อาจส่งผลกระทบกับสถานการณ์การเงินของเรา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้ว่าการเกิดสภาวะ Stagflation จะทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตช้าลง แต่ในวิกฤติก็ยังคงมีโอกาสให้เราได้ใช้มันให้เกิดประโยชน์อยู่เสมอ แม้ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำแต่กลุ่มบริษัทประเภทที่มีราคาเคลื่อนไหวไปตามราคาพลังงาน อย่างเช่น กลุ่มธุรกิจสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน ถ่านหิน ยางพารา ปาล์มและสินค้าเกษตรอื่น ๆ ยังคงเป็นกลุ่มธุรกิจที่รับประโยชน์จากเงินเฟ้อโดยตรง แน่นอนว่าถ้าหากคุณคือบุคคลหนึ่งที่ได้วางแผนการลงทุนหรือดำเนินธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้ว ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการลดความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดจากสภาวะ Stagflation กับคุณได้
และนอกจากกลุ่มบริษัทประเภทที่มีราคาเคลื่อนไหวไปตามราคาพลังงานที่จะได้รับประโยชน์แล้ว ก็ยังมีกลุ่มธุรกิจที่รายได้จะเพิ่มขึ้นตามภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น อย่างเช่น กลุ่มธนาคาร ธุรกิจการเงินและธุรกิจประกันภัย ที่จะได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าด้วย ดังนั้นการวางแผนรับมือสถานการณ์การเงินที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำด้วยการนำตัวเองเข้าไปอยู่ในกลุ่มธุรกิจประเภทนี้ อย่างเช่น ธุรกิจประกันภัย ที่คุณสามารถซื้อผลิตภัณฑ์จากกลุ่มธุรกิจประกันภัยเพื่อกระจายความเสี่ยงอย่างการซื้อประกันออมทรัพย์ที่มีการการันตีผลตอบแทนที่คุณจะได้รับในทุก ๆ ปีในรูปแบบเงินคืน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดวิกฤติทางการเงินของคุณได้อีกทาง และยังการันตีความคุ้มครองด้านชีวิตในกรณีเสียชีวิตด้วยทุนประกันอีกด้วย ช่วยลดความกังวลใจของคุณลงไปได้ว่าแม้คุณจะไม่ได้อยู่บนโลกใบนี้แล้ว คนข้างหลังที่คุณรักจะยังคงมีเงินจากทุนประกันชีวิตของคุณมาใช้ในการดำเนินชีวิตในวันที่เศรษฐกิจตกต่ำต่อไปได้ โดยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ซึ่งการวางแผนรับมือสถานการณ์การเงินด้วยการทำประกันก็ยังสามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาท ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของกรมสรรพากรได้อีกด้วย นั่นหมายความว่านอกจากธุรกิจประกันภัยจะช่วยกระจายความเสี่ยงทางการเงินของคุณได้แล้ว ยังช่วยทำให้จำนวนเงินที่จะต้องนำไปจ่ายเป็นค่าภาษีลดลงได้ด้วย
ต้องบอกว่าเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ในบางครั้งเราอาจจะไม่สามารถกำหนดให้มันไปในทิศทางที่ใจเราต้องการได้ทั้งหมด และในบางครั้งในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำสิ่งที่เราวางแผนมาก็อาจจะไม่ได้เป็นไปตามแผนที่เราวางไว้ แต่อย่างน้อยที่สุดการวางแผนรับมือก็เป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่มีแผนการใด ๆ สำรองเอาไว้รองรับสถานการณ์ไม่คาดคิดเลย แม้ว่าสภาวะ Stagflation จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากลัวและไม่มีใครต้องการให้สภาวะนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ถ้าคุณเตรียมตัววางแผนรับมือมาเป็นอย่างดีคุณก็จะสามารถผ่านเหตุการณ์ที่น่ากังวลเช่นนี้ไปได้อย่างแน่นอน
ประกันออมทรัพย์ที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ