NFC คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร?
ในปัจจุบันถือว่าเป็นโลกแห่งเทคโนโลยีที่มีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยจะมีนวัตกรรมอยู่หลากหลายประเภทที่เราคุ้นเคย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ NFC ที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์เป็นอย่างมาก และยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายบริการอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การชำระค่าสินค้าและบริการ ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS หรือตามห้างสรรพสินค้า เป็นต้น และนอกจากนี้ NFC ยังอยู่ในสมาร์ตโฟนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการ Android หรือ WindowsPhone ก็สามารถเปลี่ยนสมาร์ตโฟนให้กลายมาเป็นตัวแทนของกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (ElectronicWallet) ได้เช่นเดียวกัน
NFC คืออะไร?
NFC (Near Field Communication) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระยะใกล้ (Short-Range Wireless Technology) ซึ่งจะสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะที่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร อีกทั้งยังมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 424 กิโลบิตต่อวินาที และมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำกว่า 0.1 วินาที โดยการใช้คลื่นความถี่ 13.56 เมกะเฮิรตซ์ บนมาตรฐาน ISO14443 (Philips MIFARE and Sony’s FeliCa) ดังนั้น NFC จึงจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเนื้อหาดิจิทัล หรือการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับการนำมาใช้ส่งข้อมูลในปริมาณที่น้อย ๆ เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระยะใกล้อีกด้วย เช่น การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโทรศัพท์ ป้ายติดราคา IC อุปกรณ์จ่ายเงิน รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องเสียงภายในบ้าน เป็นต้น
NFC แตกต่างจาก EMV อย่างไร?
คนส่วนมากมักจะจำสับสนกันระหว่างบัตร EMV และ NFC เนื่องจากว่ามีการใช้งานผ่านการแตะเหมือนกัน แต่จริง ๆ EMV กับ NFC นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยบัตร EMV นั้นจะเป็นเทคโนโลยีในการชำระเงินที่เข้ารหัสและโทเค็นข้อมูล สำหรับการทำธุรกรรมที่ปลอดภัย ส่วน NFC จะเป็นเทคโนโลยีในการสื่อสารที่จะช่วยส่งข้อมูลถึงกันได้ภายในระยะสั้น โดยที่ไม่ต้องมีการติดต่อใด ๆ
EMV | NFC |
เทคโนโลยีเกี่ยวกับการชำระเงินที่ปลอดภัย | เทคโนโลยีการสื่อสาร |
Europay, MasterCard, VISA | การสื่อสารระยะใกล้ |
ทำธุรกรรมระหว่างการ์ดแบบมีชิป และ PIN | ส่งข้อมูลระยะสั้นแบบไร้การสัมผัส ระหว่างอุปกรณ์ที่รองรับ |
ประโยชน์ของ NFC มีอะไรบ้าง?
- ใช้ส่งข้อมูล (Pair the Device) เพียงแค่นำโทรศัพท์หรือ Smart Label มาแตะกัน ก็จะสามารถส่งข้อมูลระหว่างเครื่องได้เลยทันที
- ใช้จ่ายเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) เพียงแค่นำโทรศัพท์มือถือหรือบัตรเดบิตไปแตะกับเครื่องจ่ายเงิน ก็สามารถจ่ายเงินได้เลย
- ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ (Send Information) ซึ่งจะเหมือนกับการส่งข้อมูลเลย เพียงแค่นำโทรศัพท์ไปแตะกับอุปกรณ์ ก็จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อได้เลยทันที
- ใช้เพื่อรักษาความปลอดภัย (Secure) เช่น การนำ NFC ไปประยุกต์ใช้กับบัตรคีย์การ์ด (Secure Keycards) เพื่อแตะเข้าออกในสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น
NFC มีรูปแบบในการใช้งานทั้งหมดกี่โหมด?
จากข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้พูดถึงรูปแบบในการใช้งานของ NFC ไว้ว่า จะมีรูปแบบการใช้งานทั้งหมด 3 โหมด ได้แก่
1. Card Emulation Mode
เป็นโหมดที่จะทำให้อุปกรณ์ที่รองรับ NFC อย่างสมาร์ตโฟนนั้นทำงานเหมือนกับเป็นบัตรประจำตัวที่จะใช้แตะกับอุปกรณ์อ่านข้อมูล โดยที่ไม่ต้องมีการสัมผัสกับเครื่องอ่านข้อมูลโดยตรง (Contactless)
2. Peer-to-Peer Mode
เป็นโหมดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่รองรับ NFC ด้วยกัน ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกันกับ Bluetooth โดยการจับคู่ (Pair) แล้วจึงรับส่งข้อมูลกันโดยที่ไม่ต้องใช้สายเชื่อมต่อ เพียงแต่ว่า NFC จะไม่มีขั้นตอนในการจับคู่ แล้วจึงนำอุปกรณ์ที่รองรับ NFC มาแตะกัน ก็จะเป็นการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องได้เลยทันที
3. Reader / WriterMode
เป็นโหมดที่อุปกรณ์ NFC นั้นเสมือนกับเป็นเครื่องอ่านข้อมูล NFC ด้วยกันเอง ซึ่งจะสามารถอ่านข้อมูลได้จากชิปพิเศษที่ติดอยู่ในจุดบริการข้อมูลสาธารณะนั่นเอง
RFID คืออะไร?
สำหรับ RFID (Radio Frequency Identification) จะเป็นระบบเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มความสามารถในการคำนวณและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ และมีการนำคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะ เพื่อที่จะส่งกำลังไปโดยคลื่นแม่เหล็กหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแทนการแตะ ดังนั้นเราจึงจะสามารถพบเห็น RFID ได้ในป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag)
องค์ประกอบของ RFID มีอะไรบ้าง?
1. ป้าย (RFID Tag, Transponder-Responder)
ซึ่งจะประกอบไปด้วยเสาอากาศ และตัวไมโครชิป โดยที่เสาอากาศนั้นจะทำหน้าที่ในการรับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุระหว่างป้ายกับเครื่องอ่าน ยกตัวอย่างเช่น ป้ายกันขโมยในห้างสรรพสินค้า หรือตั๋วรถไฟฟ้าที่เป็นเหรียญวงกลมสีดำ เป็นต้น
2. เครื่องอ่านป้าย (Reader, Interrogator)
จะมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับป้าย เพื่อทำการอ่านหรือเขียนข้อมูลโดยใช้สัญญาณวิทยุ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องอ่าน Barcode เครื่องอ่านป้ายทะเบียนรถ เครื่องอ่านบัตรเวลาสแกนเข้าทำงาน เป็นต้น
3. ระบบที่ใช้ประมวลผล (Hardware)
จะทำหน้าที่คอยประมวลผลข้อมูลที่ได้มาจากป้าย และใช้เป็นที่เก็บระบบฐานข้อมูล โดยระบบนี้จะนิยมถูกใช้ในการจัดการฟาร์มปศุสัตว์ ระบบการบริหารจัดการทรัพยากร ระบบคลังสินค้า ระบบขนส่ง เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่าง NFC กับ RFID มีอะไรบ้าง?
NFC | RFID |
ความถี่ในการทำงานของ NFC คือ 13.56MHz | ความถี่ในการทำงานของ RFID คือ ความถี่ต่ำ ความถี่สูง (13.56 MHz) และความถี่สูงพิเศษ |
ระยะการทำงานของ NFC คือ 0-10 เซนติเมตร | ระยะการทำงานของ RFID มีตั้งแต่หลายเซนติเมตรไปจนถึงหลายสิบเมตร อันเนื่องมาจากความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นระยะการทำงานจึงแตกต่างกันด้วย |
NFC จะทำงานโดยการควบคุมการเข้าถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ | RFID จะใช้ในการผลิตโลจิสติกส์ และการจัดการสินทรัพย์ |
NFC จะรองรับทั้งโหมดอ่านเขียนและโหมดการ์ด | RFID จะถูกฝังอยู่ในอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยสิ้นเชิง และจะทำงานเฉพาะอย่างเท่านั้น |
ข้อควรระวังในการใช้ NFC มีอะไรบ้าง?
- ควรตั้งรหัสผ่านในโทรศัพท์เอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกโจรกรรมข้อมูลภายในโทรศัพท์
- ควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าไม่มีอุปกรณ์แปลกปลอมติดตั้งซ้อนกันอยู่ หากจะนำโทรศัพท์ไปแตะบนอุปกรณ์ต่าง ๆ
- ไม่ควรนำโทรศัพท์ไปแตะกับตัวรับสัญญาณอื่น ๆ หรืออุปกรณ์ที่น่าสงสัย
- เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรปิดการเชื่อมต่อ NFC ด้วยทุกครั้ง
บัตรเครดิตที่มีสัญลักษณ์ Contactless ถือว่าเป็น NFC หรือไม่?
สำหรับบัตรเครดิตที่มีสัญลักษณ์ Contactless ถือว่าเป็นเทคโนโลยี NFC เพราะว่าสามารถชำระเงินแบบไร้การสัมผัสได้ เพียงแค่นำบัตรเครดิตไปแตะที่เครื่องรับชำระเงินที่รองรับ ก็จะสามารถชำระสินค้าและบริการได้เลยทันที โดยที่ไม่ต้องมีการรูดบัตรหรือเสียบบัตรเครดิต ซึ่งเราจะสามารถสังเกตบัตรเครดิตประเภทนี้ได้จากสัญลักษณ์ Contactless ที่ปรากฏอยู่บนบัตรเครดิต ซึ่งจะเป็นรูปคลื่น 4 ขีด อยู่ในลักษณะแนวนอน (คล้ายกันกับสัญลักษณ์ของสัญญาณ WiFi)
เปรียบเทียบบัตรเครดิตกับแรบบิท แคร์ ดีอย่างไร?
ที่แรบบิท แคร์ เรามีข้อเสนอและสิทธิพิเศษให้คุณได้เลือกสรรมากมายจากหลากหลายธนาคารชั้นนำของประเทศไทย โดยคุณสามารถเข้าไปดูข้อมูลและเปรียบเทียบบัตรเครดิตในเว็บไซต์ของแรบบิท แคร์ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลภายใน 30 วินาที ซึ่งถ้าหากถูกใจข้อเสนอรูปแบบใด ก็สามารถที่จะสมัครบัตรเครดิตออนไลน์ได้ทันที และนอกจากนี้แรบบิท แคร์ ยังมีบริการให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ และช่วยประสานงานยื่นเรื่องสมัครบัตรให้กับคุณตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนั้นคุณจึงสามารถไว้วางใจให้แรบบิท แคร์ เป็นผู้ช่วยทางการเงินได้อย่างเต็มที่
สมัครบัตรเครดิตผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
ลูกค้าสามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้เลย เนื่องจากแรบบิท แคร์ มีการเชื่อมต่อระบบกับทางธนาคารโดยตรง จึงทำให้ในทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความปลอดภัยและประหยัดเวลา อีกทั้งยังสามารถติดตามสถานะได้ตลอด และนอกจากนี้แรบบิท แคร์ ยังมีบริการให้คำปรึกษา เพื่อที่คุณจะได้เตรียมเอกสารประกอบการสมัครบัตรเครดิตออนไลน์ได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลทำให้ทางธนาคารอนุมัติได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ดังนั้นลูกค้าจึงสามารถไว้วางใจได้เลยว่าจะได้รับการอนุมัติที่ไวแน่นอน อีกทั้งยังจะได้วงเงินบัตรเครดิตที่สูงอีกด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์
ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
บัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม วีซ่า
KTC / VISA
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- ปลอดภัยกว่า ช้อปออนไลน์มั่นใจขั้นสุดด้วย Dynamic CVV รหัสหลังบัตรที่เปลี่ยนทุกครั้งที่ขอ
- สบายใจกว่า เมื่อใช้จ่ายที่ร้านค้าทั่วไป ด้วย Numberless Physical Credit Card บัตรพลาสติกไร้หมายเลขที่สามารถขอได้ผ่านแอป KTC Mobile
- รับส่วนลดตลอดปีที่ห้องอาหารในโรงแรมชั้นนำทั่วไทย และใช้ง่ายสะดวกรอบโลก
บัตรเครดิต เคทีซี วีซ่า แพลตทินั่ม
KTC / VISA
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- ผ่อนชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.74%
- ประกันการเดินทาง 8 ล้านบาท
- รับส่วนลดตลอดปีที่ห้องอาหารในโรงแรมชั้นนำทั่วไทย และใช้ง่ายสะดวกรอบโลก
บัตรเครดิต เคทีซี บางจาก แพลตทินั่ม
KTC / Mastercard
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- รับเครดิตเงินคืน 1% เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊มบางจาก
- ประกันการเดินทาง 8 ล้านบาท
- รับส่วนลดร้านค้าออนไลน์ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิพิเศษที่ร้านอาหารหรูในไทยตลอดปี
บัตรเครดิต เคทีซี แคชแบ็ค แพลตทินัม มาสเตอร์การ์ด
KTC / Mastercard
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 0.8%
- ประกันการเดินทาง 8 ล้านบาท
- รับส่วนลดร้านค้าออนไลน์ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิพิเศษที่ร้านอาหารหรูในไทยตลอดปี
บัตรเครดิต เคทีซี อโกด้า แพลทินัม มาสเตอร์การ์ด
KTC / Mastercard
- รับสิทธิ์ AgodaVIP Platinum
- รับเพิ่ม 250 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายที่ Agoda ตามกำหนด
- ใช้คะแนนน้อยกว่า 800 คะแนน KTC FOREVER แลกได้ 100 บาท AgodaCash
- รับส่วนลดร้านค้าออนไลน์ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิพิเศษที่ร้านอาหารหรูในไทยตลอดปี
บัตรเครดิต ยูโอบี เลดี้ แพลตทินัม
UOB / Mastercard
- รับคะแนนสะสม 10 บาท = 1 คะแนน
- แลกรับเครดิตเงินคืน 15% เพียงใช้คะแนนสะสมเท่ายอดซื้อที่ EVEANDBOY, Cental&Zen, The mall, Paragon, Emporium, EmQuartier, Blueport และ Robinson
- แลกรับเครดิตเงินคืน 15% เมื่อใช้คะแนนสะสม ยูโอบี รีวอร์ด พลัส เท่ากับยอดใช้จ่ายในหมวดร้านอาหาร
- รับเครดิตเงินคืน 3% เมื่อชำระค่าเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทุก 800 บาท/เซลล์สลิป
บัตรเครดิต ยูโอบี โยโล่ แพลตทินั่ม
UOB / VISA
- รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% เมื่อใช้จ่ายที่รถไฟฟ้า BTS MRT 7-11, All Online by 7-Eleven ร้านบูทส์ ร้านวัตสัน ร้านมัตสึโมโตะ คิโยชิ เบอร์เกอร์ คิง, Shopee, Grab และ Atome
- แบ่งชำระ 0% นาน 3 เดือน เมื่อมียอดใช้จ่ายในหมวดท่องเที่ยวและออนไลน์
- 1 ฟรี 1 เมื่อซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในเครือ SF
- เครดิตเงินคืน 3% เมื่อชำระค่าเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทุก 800 บาท/เซลล์สลิป เฉพาะสถานีที่ร่วมรายการ
บัตรเครดิตไทเทเนียม โรงพยาบาลรามาธิปดี
BBL / Mastercard
- รับเงินคืนสูงสุด 2% ทุกรอบบัญชี
- บริจาคสมทบ 0.2% ทุกยอดใช้จ่าย
- ให้แก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
- เอกสิทธิ์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี
บัตรเครดิต แอร์เอเชีย
BBL / Mastercard
- บริการเลือกที่นั่ง Hot Seat ฟรี
- บริการฝากสัมภาระใต้ท้องเครื่อง ฟรี
- บริการเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นบนเครื่อง ฟรี
- รูดช้อปรับคะแนน BIG Points สูงสุด 3 เท่า
- แบ่งชำระสบายๆ 0% หรือ 0.79% นานสูงสุดถึง 10 เดือน
บัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัม
BBL / VISA
- รับคะแนนสะสมทุกการใช้จ่าย 25 บาท รับคะแนนสะสม 1 คะแนน ทั้งในและต่างประเทศ
- สะสมไมล์เดินทางคะแนนสะสมสามารถแลกเป็นไมล์เดินทางจากสายการบินชั้นนำ
บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ชิลล์
TTB / VISA
- ผ่อน 0% 3 เดือน
- ฟรีค่าธรรมเนียมทุกการกดเงินสด 3%
- ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี
- รับดอกเบี้ยพิเศษ 3 รอบบัญชีแรก