เครื่องดีเลย์-ตกเครื่อง รวมวิธีรับมือกับปัญหาต่างๆ เมื่อต้องขึ้นเครื่องบิน
เครื่องดีเลย์ ตกเครื่องบิน โดนยกเลิกเที่ยวบิน ปัญหายอดฮิตที่นักเดินทางด้วยวิธีการเดินทางแสนสะดวกสบายช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางอย่างการโดยสารเครื่องบินต่างก็มีโอกาสพบเจอ แล้วเมื่อประสบกับสถานการณ์แบบนี้ควรทำอย่างไร? มีวิธีอะไรที่จะทำให้ความเลวร้ายของสถานการณ์เหล่านี้บรรเทาลง หรือได้รับการชดเชยต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไรได้บ้าง วันนี้ แรบบิท แคร์ นำวิธีการจัดการมาฝากทุกคน
วิธีรับมือเมื่อเครื่องดีเลย์
เครื่องดีเลย์หรือเครื่องบินดีเลย์ คือ การที่เที่ยวบินมีการเลื่อนเวลาในการบินให้ล่าช้าออกไป หลายครั้งส่งผลให้ต้องเสียเวลามากขึ้นหลายชั่วโมง และต้องเปลี่ยนแผนการเดินทางใหม่ ส่งกระทบมากมายจนอาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มได้ (เช่น ค่าที่พัก ,ค่าเสียโอกาสในการนัดหมาย) โดยวิธีในการรับมือหรือการจัดการกับการเลื่อนเวลาของเที่ยวบินนั้นจะขึ้นอยู่กับเหตุผลที่เครื่องดีเลย์ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรนั่นเอง
โดยปกติแล้วเครื่องดีเลย์อาจเกิดจากปัญหาหลักๆ คือ
- สภาพอากาศ : อาจมีสถานการณ์ที่มีพายุ, หิมะตก, ฝนตกหนัก, หมอกหนา และปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศสามารถก่อให้เกิดความล่าช้าในการบินได้
- เรื่องสุขภาพ : กรณีฉุกเฉินซึ่งมีการป่วยของผู้โดยสารหรือลูกเรือโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการบินได้
- ปัญหาทางเทคนิค : เช่น การตรวจสอบความปลอดภัย, การเติมเชื้อเพลิง, การแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครื่องบิน
- ปัญหาขัดข้องด้านเทคโนโลยี: เช่น อาจเกิดการขัดข้องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์บนเครื่องบิน อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการบิน
- การจัดการการบิน: เช่น การจัดการเชิงอุตสาหกรรม, การจัดสรรที่นั่ง, และการเชื่อมโยงเที่ยวบินอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการบินได้
โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์เครื่องดีเลย์เช่นนี้ ก็สามารถติดต่อสายการบินเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมถึงสาเหตุการล่าช้าของเที่ยวบิน และสอบถามเกี่ยวกับเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อการเดินทาง นอกจากนี้ผู้โดยสารยังสามารถสอบถามเกี่ยวกับการคืนเงินหรือการจัดการเพิ่มเติมเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ (ส่วนมากหากเครื่องดีเลย์เป็นระยะเวลาไม่นานสายการบินมักจะแจก Voucher สำหรับซื้อสินค้าหรือรับประทานอาหารภายในสนามบินเพื่อเป็นการดูแลลูกค้าระหว่างที่ต้องรอให้ถึงเวลาบินอีกครั้ง)
เมื่อเครื่องดีเลย์ สายการบินต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง?
ข้อมูลจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศ ได้ให้ข้อมูลว่า ในกรณีเครื่องดีเลย์หรือล่าช้า ผู้โดยสารสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบหลัก ๆ ได้ตามเกณฑ์ ดังนี้
เที่ยวบินล่าช้าเกินกว่า 2 – 3 ชั่วโมง
- ผู้โดยสารต้องได้รับการดูแลเรื่องอาหารและเครื่องดื่มจากสายการบินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามความเหมาะสมกับระยะเวลารอขึ้นเครื่อง
- สายการบินต้องเสนอตัวเลือกแก่ผู้โดยสาร ระหว่างรับเงินค่าโดยสารรวมถึงค่าธรรมเนียมซึ่งถูกเก็บสำหรับการเดินทางครั้งนี้คืน หรือในส่วนการเดินทางที่ยังไม่ได้ใช้บริการ
เที่ยวบินล่าช้าเกินกว่า 3 – 5 ชั่วโมง
- ผู้โดยสารต้องได้รับการดูแลเรื่องอาหารและเครื่องดื่มจากสายการบินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามความเหมาะสมกับระยะเวลารอขึ้นเครื่อง
- สายการบินต้องเสนอตัวเลือกแก่ผู้โดยสาร ระหว่างรับเงินค่าโดยสารรวมถึงค่าธรรมเนียมซึ่งถูกเก็บสำหรับการเดินทางครั้งนี้คืน หรือในส่วนการเดินทางที่ยังไม่ได้ใช้บริการ
- สายการบินต้องเปลี่ยนเที่ยวบินหรือหาวิธีการเดินทางอื่นแก่ผู้โดยสาร โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
เที่ยวบินล่าช้าเกินกว่า 5 – 6 ชั่วโมง
- ผู้โดยสารต้องได้รับการดูแลเรื่องอาหารและเครื่องดื่มจากสายการบินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามความเหมาะสมกับระยะเวลารอขึ้นเครื่อง
- สายการบินต้องเสนอตัวเลือกแก่ผู้โดยสาร ระหว่างรับเงินค่าโดยสารรวมถึงค่าธรรมเนียมซึ่งถูกเก็บสำหรับการเดินทางครั้งนี้คืน หรือในส่วนการเดินทางที่ยังไม่ได้ใช้บริการ
- สายการบินต้องเปลี่ยนเที่ยวบินหรือหาวิธีการเดินทางอื่นแก่ผู้โดยสาร โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
- สายการบินต้องจ่ายเงินค่าชดเชยแก่ผู้โดยสารเป็นจำนวนเงิน 600 บาท โดยทันที ยกเว้นในกรณีสภาพอากาศไม่ปลอดภัยต่อการบิน
ทำอย่างไรเมื่อโดนยกเลิกเที่ยวบิน?
เมื่อเที่ยวบินของคุณไม่เพียงประสบปัญหาแค่เครื่องดีเลย์เท่านั้น แต่โดนยกเลิกเที่ยวบิน ข้อแนะนำแรกที่คุณควรทำคือติดต่อสายการบินเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการยกเลิกเที่ยวบิน โดยสายการบินมักจะมีนโยบายการคืนเงินหรือการจัดเที่ยวเสริมเพื่อชดเชยให้กับผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกการเดินทางนั้น ๆ
และหากทางสายการบินไม่มีการแก้ไขปัญหานี้ ก็สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเหตุการณ์ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กองบินเครื่องใหญ่ ซึ่งอาจช่วยให้ได้รับการชดเชยอย่างเหมาะสม
ตกเครื่องบิน ต้องทำอย่างไร?
สำหรับเหตุการณ์ที่ใครต่างก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองอยากการตกเครื่องบินนั้นนับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีปัจจัยมาจากการจัดการของสายการบินเหมือนอย่างปัญหาเครื่องดีเลย์หรือการยกเลิกเที่ยวบิน ซึ่งการเผชิญหน้ากับการตกเครื่องบินที่เป็นเพราะเดินทางไปไม่ทันเวลาไม่ว่าจะจากเหตุสุดวิสัยใดก็ตามแต่นั้น ข้อแนะนำแรกที่คุณควรทำคือติดต่อสายการบินเพื่อสอบถามเกี่ยวกับตารางเที่ยวบินที่เหลืออยู่และวิธีการเดินทางเพื่อเข้าร่วมเที่ยวบินถัดไปให้เร็วที่สุดจะไม่พลาดธุระหรือโปรแกรมการเดินทางที่ได้วางแผนไว้แต่เดิม
ซึ่งหากไม่มีเที่ยวบินในรอบต่อไปที่เวลาไม่ต่างกันมากนักเมื่อตกเครื่องบินต้องไม่ลืมที่จะแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวให้แก่ผู้ที่คุณได้นัดหมายไว้ปลายทาง เพื่อให้อีกฝั่งได้ทราบสถานการณ์จากนั้นค่อยคิดปรับแผนต่าง ๆ เป็นลำดับถัดไป
วิธีป้องกันความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ เครื่องบิน
เหตุการณ์เลวร้ายที่สุดในการเดินทางด้วยการโดยสารเครื่องบินอย่างการเกิดอุบัติเหตุนั้นในบางครั้งก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตั้งแต่อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างกระเป๋าเดินทางเสียหาย ไปจนถึงอุบัติเหตุใหญ่กว่านั้น ซึ่งเมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ในหลาย ๆ ครั้งสิ่งที่จะช่วยรับมือเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ คือ สิทธิประโยชน์ที่พ่วงมากับบัตรเครดิตที่ใช้ในการซื้อเที่ยวบินดังกล่าว ซึ่งบัตรเครดิตหลายเจ้าก็ได้มีความคุ้มครองที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการในการเดินทางของลูกค้าที่แตกต่างกัน เช่น ประกันอุบัติเหตุ ประกันเดินทาง ค่าชดเชยกรณีกระเป๋าเดินทางเสียหาย เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบินก่อนตัดสินใจซื้อตั๋วก็ควรเลือกใช้บัตรเครดิตซึ่งมีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองตอบโจทย์ความต้องการในการเดินทางของเรา หรือเลือกซื้อประกันเดินทางกันไว้ ซึ่งที่ แรบบิท แคร์ มีให้เลือกมากมายเลยทีเดียว
สุดท้ายนี้ การเดินทางโดยเครื่องบินอาจเจอปัญหาต่างๆ เช่น เครื่องดีเลย์ โดนยกเลิกเที่ยวบิน หรือตกเครื่อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแผนการเดินทาง การตั้งสติยามเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาเพื่อให้แผนการเดินทางไม่รวนไปมากกว่าเดิม
บัตรเครดิต ที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ