ประกันภัยความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง
ประกันภัยความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก เป็นประกันที่คุ้มครองค่าเสียหายที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายให้กับบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นการรับผิดตามกฎหมายต่อความบาดเจ็บทางร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน ทั้งยังครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายทางด้านกฎหมายในกรณีที่มีการดำเนินคดีในอุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วย
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก คุ้มครองอะไรบ้าง
ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก ในประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก คุ้มครองครอบคลุมทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก อันเกิดจากอุบัติเหตุที่ผู้เอาประกันเป็นผู้ก่อขึ้น โดยจะคุ้มครอง และชดเชยค่าเสียหายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย รวมทั้งความเจ็บป่วยของบุคคลภายนอก การสูญเสีย หรือความเสียหายในทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกัน หรือเกิดจากธุรกิจของผู้เอาประกัน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ซึ่งความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกจะครอบคลุมความเสียหายดังที่กล่าวมาข้างต้น
ประกันภัยบุคคลที่ 3 คืออะไร ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก เป็นประกันที่เหมาะกับใครบ้าง
ประกันภัยความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ประกันภัยบุคคลที่ 3 เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองบุคคลที่ 3 ซึ่งไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันได้ทำไว้ หมายความว่า ประกันประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เอาประกัน และผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์
โดยส่วนใหญ่แล้ว ประกันทั่วไปจะไม่มีการระบุผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ยกเว้นประกันชีวิต ที่จำเป็นต้องระบุผู้รับผลประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต ซึ่งผู้รับผลประโยชน์จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเป็นจำนวนเงินตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
สำหรับประกันภัยความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก เป็นประกันที่เหมาะกับสถานประกอบการ ธุรกิจ หรือโรงงาน ซึ่งหากทำประกันความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเรียบร้อยแล้ว ผู้เอาประกันจะได้รับความช่วยเหลือในเรื่องเงินชดเชยจากบริษัทประกัน โดยไม่ต้องรับผิดชอบเอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
ประกันรถยนต์ ความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก สำคัญอย่างไร ทำไมจึงต้องมี
เมื่อกล่าวถึงประกันรถยนต์ ในส่วนของประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก นับว่าสำคัญมาก เพราะในทุกการขับขี่นั้นมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุกับบุคคลภายนอก แต่ผู้ทำประกันรถยนต์ส่วนใหญ่เลือกที่จะมองข้ามเงื่อนไขความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก หรือความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แล้วไปให้ความสำคัญกับส่วนอื่น ๆ ในกรมธรรม์แทน
ทั้งที่ความจริงแล้ว ประกันความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก เป็นสิ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชน และผู้เอาประกันเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบค่าเสียหายให้กับคู่กรณี ซึ่งหากรถของคู่กรณีมีราคาสูง ค่าซ่อมก็จะต้องสูงตามไปด้วย ยิ่งในกรณีที่เป็นอุบัติเหตุร้ายแรง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถก็จะยิ่งสูงมากขึ้น ซึ่งอาจสูงเกินกว่าหลักล้าน และหากทุนประกันความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก นั้นน้อยกว่าจำนวนเงินที่ต้องชดเชยให้กับคู่กรณี ส่วนต่างที่เกินมานั้น ผู้เอาประกันจะต้องเป็นฝ่ายชดเชยให้กับคู่กรณีด้วยตัวเอง ซึ่งหากมีเงินไม่เพียงพอ ก็จะต้องขึ้นศาลเพื่อไกล่เกลี่ย จนอาจถูกยึดทรัพย์ หรือฟ้องล้มละลายก็เป็นได้ ทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับเงินทุนประกันความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกไม่แพ้ทุนประกันทั้งหมดในกรมธรรม์
บุคคลภายนอก ตามกฎหมาย คือใคร ได้รับสิทธิคุ้มครองอะไรบ้าง
บุคคลภายนอก ตามกฎหมาย คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ไม่ใช่บุคคลที่อยู่กับผู้เอาประกัน ไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือโดยอ้อมกับกิจการของผู้เอาประกัน รวมทั้งจะต้องไม่ใช่ลูกจ้างหรือบุคคลที่อยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานให้กับผู้เอาประกัน
ซึ่งแม้ว่าประกันจะระบุความหมายของบุคคลที่ 3 หรือบุคคลภายนอกเอาไว้ แต่ก็มีหลายกรณีที่ประกันยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลที่ 3 เอาไว้
อย่างไรก็ตาม หากเป็นบุคคลภายนอกตามกฎหมายก็จะได้รับสิทธิคุ้มครองตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
ประกันค้ำจุน คืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท
ประกันค้ำจุน คือ ประกันความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก เป็นอีกชื่อหนึ่งที่มักจะไม่ค่อยมีคนรู้จัก ซึ่งความคุ้มครองตามกรมธรรม์นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันทำผิดพลาดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน โดยบริษัทประกันจะต้องยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้เอาประกัน
ประกันภัยความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ประกันภัยความรับผิดชอบของบุคคลต่อบุคคลอื่น
บริษัทประกันจะชดใช้ค่าเสียหายที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกที่มีอาการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งยังต้องชดเชยความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดในสถานที่ของผู้เอาประกัน โดยเรียกว่า ประกันภัยความรับผิดชอบส่วนบุคคล
2. ประกันภัยความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะต่อบุคคลอื่น
เป็นการประกันความรับผิดทางแพ่งต่อความสูญเสีย หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการวิชาชีพเฉพาะด้าน เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร ฯลฯ ซึ่งเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากอาชีพดังกล่าว
3. การประกันภัยความรับผิดชอบของธุรกิจต่อบุคคลอื่น แบ่งออกเป็น
- ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก คุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่เกิดจากความประมาทของผู้ประกอบการ
- ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 เช่น สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากความบกพร่องในฐานะของผู้ตรวจสอบอาคาร โดยรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดกับร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เกิดจากอุบัติเหตุขณะที่ผู้เอาประกันตรวจสอบอาคาร
- ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก เมื่อผู้ประกอบการขนส่งวัตถุอันตรายและก่อให้เกิดความสูญเสียและเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินต่อบุคคลภายนอก
ทรัพย์สินบุคคลภายนอก ที่ประกันรถยนต์ไม่คุ้มครอง มีอะไรบ้าง
ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก มีทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น ดังนี้
- ทรัพย์สินนั้นเป็นของคู่สมรส บิดา มารดา หรือบุตรของผู้เอาประกันหรือผู้ขับขี่
- สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน ฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำหนักรถยนต์
- ทรัพย์สินที่อยู่ในรถยนต์จะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่หากทรัพย์สินเหล่านั้นทำให้บุคคลภายนอกบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือทำให้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเสียหาย ก็จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกัน
- ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากการรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตรายภายในรถยนต์ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง เว้นแต่ว่าการรั่วไหลนั้นจะเกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ ก็จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอก
- บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันให้แก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายโดยตรง
- การจ่ายค่าสินไหมทดแทนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นเป็นอุบัติเหตุไม่คาดคิด ไม่ได้เกิดขึ้นโดยเจตนา แต่เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้เอาประกัน
- บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินตามที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดตามกฎหมาย แต่หากเป็นความผิดอื่นที่ไม่มีกฎหมายรองรับ บริษัทประกันจะไม่ชดเชยให้
- บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ หรือที่เรียกว่า “จำนวนเงินจำกัดความรับผิด”
ขั้นตอนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ทำได้อย่างไรบ้าง
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ทำได้ดังนี้
แจ้งอุบัติเหตุกับบริษัทประกัน โดยต้องแจ้งรายละเอียดของอุบัติเหตุให้ครบถ้วน เช่น ชื่อผู้เอาประกัน เลขที่กรมธรรม์ วันเวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ ทรัพย์สินที่เสียหาย และประมาณการความเสียหาย ฯลฯ โดยหลังจากที่แจ้งเหตุแล้ว บริษัทประกันจะเดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุทันทีเพื่อตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ ประเมินความเสียหาย เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนต่อไป
ประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก เป็นประกันที่ช่วยลดภาระการชดเชยค่าเสียหายให้กับเจ้าของรถได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายนั้นได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต อีกทั้งเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับรถยนต์ของผู้เสียหาย ก็จะช่วยให้ผู้เอาประกันไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยด้วยตัวเอง
ซึ่งหากทำประกันกับ แรบบิท แคร์ จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าทุกอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่จากเจ้าหน้าที่ของเรา ทั้งยังได้รับความคุ้มค่าในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าเบี้ยประกันที่เราพร้อมนำเสนอให้ในราคาสุดคุ้มเมื่อเทียบกับเจ้าอื่น บริการช่วยเหลือ 24 ชม. บริการศูนย์ซ่อมครอบคลุม และยังช่วยให้คุณประหยัดค่าเบี้ยได้สูงสุด 70% เมื่อไม่มีเคลม หรือหากติดขัดเรื่องการซื้อประกัน เราก็มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาฟรีตลอดการซื้อกรมธรรม์ ซื้อประกันกับ แรบบิท แคร์ จึงมั่นใจได้ทุกการขับขี่
ความคุ้มครองประกันรถยนต์