Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Invalid_MOBILE.png
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Mar 30, 2023

โมฆะ และ โมฆียะ คืออะไร? มีความเกี่ยวข้องกันทางกฎหมายอย่างไร?

ทำความรู้จักคำศัพท์ที่ใช้ในทางกฎหมาย ในการทำสัญญาธุรกรรมต่าง ๆ คำว่าโมฆะ และโมฆียะ มีความหมายในทางกฎหมายว่าอย่างไร? สัญญาที่ถูกโมฆะหรือโมฆียะจะมีผลอย่างไร? ติดตามได้ที่แรบบิท แคร์

โมฆะ โมฆียะ คืออะไร?

โมฆะและโมฆียะเป็นคำศัพท์ที่คนส่วนใหญ่อาจจะคุ้น ๆ เคยได้ยินมาบ้าง และก็มีอีกหลายคนที่อาจจะไม่เคยรู้จักคนนี้มาก่อน หากจะพูดถึงความหมายของคำ 2 คำนี้ในทางกฎหมายแล้ว คำว่า "โมฆะ" ก็จะหมายถึง สิ่งที่ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสัญญา เมื่อกล่าวถึงคำว่า "โมฆะ" ก็จะหมายถึง สัญญาที่ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่เสียเปล่าเสมือนไม่เคยเกิดนิติกรรมนั้นมาก่อน

ส่วนคำว่า “โมฆียะ” นั้นจะหมายถึง สิ่งที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง นิติกรรมใดก็ตามหากมีการบอกล้างนิติกรรมนั้น ๆ ก็จะถือเป็นโมฆะ แม้นิติกรรมนั้น ๆ จะสมบูรณ์มีการบังคับใช้ตามกฎหมายมาก่อนตั้งแต่ตอนทำนิติกรรม แต่เมื่อมีการบอกล้างก็จะทำให้นิติกรรมนั้น ๆ เป็นโมฆะทันทีย้อนไปถึงขณะเริ่มทำนิติกรรม ซึ่งคำศัพท์นี้จะได้ยินและถูกนำมาใช้กันบ่อยในธุรกิจประกันภัย เนื่องจากการสมัครทำประกันภัยทุกประเภท คือการทำข้อสัญญาร่วมกันระหว่างผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) และผู้เอาประกันภัย (บุคคลที่สมัครทำประกัน) ว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่บริษัทประกันภัยระบุไว้ ซึ่งหากผู้เอาประกันภัยมีการละเมิดข้อตกลงตามเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ บริษัทประกันภัยจะถือว่าสัญญากรมธรรม์ประกันภัยฉบับนั้น ๆ เป็นโมฆียะ สามารถบองล้างสัญญาทำให้สัญญาฉบับนั้น ๆ เป็นโมฆะทันที

การโมฆะ และการโมฆียะ สามารถทำได้จากสาเหตุใดบ้าง?

ในทางกฎหมายแล้วกรณีจะเกิดการโมฆะหรือโมฆียะนั้น มักจะมีสาเหตุแห่งการเกิด โดยสามารถแบ่งออกเป็นกรณีต่าง ๆ โดยมีสาเหตุ

สาเหตุแห่งการโมฆะ



• ขัดต่อกฎหมาย

เมื่อกระทำการที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามหลักการทางกฎหมาย เช่น การละเมิดสัญญาหรือการกระทำผิดกฎหมายอื่น ๆ ที่มีผลทำให้สัญญาหรือนิติกรรมไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย สามารถเป็นเหตุแห่งการโมฆะได้

• วัตถุประสงค์ของนิติกรรมไม่สุจริต

เป็นการกระทำนิติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ไม่สมเหตุสมผลตามหลักการและกฎหมาย อย่างเช่น นิติกรรมนั้นมีวัตภุประสงค์ในการหลอกลวง ฉ้อโกง ละเมิดสิทธิ์ เป็นต้น

• สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม

หากการกระทำในนิติกรรมนั้น ๆ บ่งบอกถึงการละเมิดหรือฝ่าฝืนสาระสำคัญของกฎหมายที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อระบบกฎหมายโดยตรงในด้านต่าง ๆ ของสังคมและความเป็นธรรม นิติกรรมนั้น ๆ สามารถเกิดการโมฆะได้

สาเหตุของการโมฆียะ


• บุคคลในนิติกรรมนั้น ๆ มีความบกพร่องเรื่องความสามารถ

เป็นสภาวะที่ผู้กระทำนิติกรรมไม่มีความสามารถหรือความสามารถจำกัดในการกระทำนิติกรรมตามกฎหมายหรือตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ความบกพร่องดังกล่าวก็อย่างเช่น ความเป็นผู้เยาว์ ซึ่งจะเป็นเสมือนบุคคลไร้ความสามารถในทางกฎหมาย เป็นเหตุแห่งการบอกล้างนิติกรรมหรือโมฆียะได้

• ความบกพร่องในการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด

การกระทำนิติกรรมใด ๆ ที่มีความผิดหลักธรรมาภิบาลหรือความไม่ถูกต้องในการแสดงเจตนาหรือปฏิบัติตามกฎหมายที่สำคัญ อย่างเช่น มีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายข้อบังคับ การให้ข้อมูลเท็จซ่อนความจริง หรือการฉ้อฉล เป็นต้น เข้าข่ายสาเหตุแห่งการบอกล้างนิติกรรมหรือโมฆียะได้ทั้งสิ้น

โดยในการบอกล้างโมฆียกรรมนั้นจะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งต่อคู่สัญญา โดยสามารถบอกล้างได้ทั้งทางวาจาและการทำเป็นหนังสือ ซึ่งจะต้องมีการบอกล้างภายใน 1 ปี นับจากระยะเวลา ดังนี้

  • นับจากระยะเวลาการพ้นจากการเป็นผู้เยาว์ การเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลลวิกลจริต
  • นับจากระยะเวลาที่รู้ถึงสาเหตุสำคัญผิด การฉ้อฉล หรือพ้นจากการข่มขู่
  • นับจากระยะเวลาที่ผู้แทนโดยชอบธรรมรู้ถึงนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆียะนั้น ๆ
  • นับจากระยะเวลาที่ผู้ทำนิติกรรมสิ้นสภาพบุคคล ทายาทของผู้ทำนิติกรรมมีสิทธิ์ในการบอกล้างแทนได้(โมฆียกรรมที่ทำขึ้นถึง 10 ปี ไม่สามารถบอกล้างได้)

นิติกรรมในข้อใดมีผลเป็นโมฆียะ โมฆะ?


ก่อนที่จะทราบว่านิติกรรมในข้อใดมีผลเป็นโมฆียะนั้น จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจลักษณะของนิติกรรมโดยทั่วไปของทั้งนิติกรรมแบบฝ่ายเดียใและนิติกรรมแบบหลายฝ่ายก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนิติกรรมจะต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ต้องมีการกระทำโดยแสดงเจตนาให้ผู้อื่นทราบถึงเจตนานั้นว่าประสงค์จะให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างไร
  • ต้องเป็นการแสดงเจตนาโดยชอบด้วยกฎหมาย กระทำอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
  • ต้องแสดงเจตนาโดยสมัครใจ
  • ต้องมีเจตนามุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ต้องการให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างแท้จริง
  • ต้องก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เกิดสิทธิ การเปลี่ยนแปลงสิทธิ การโอนสิทธิ การสงวนสิทธิและการระงับสิทธิ

หากนิติกรรมใดก็ตามไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่เป็นไปตามลักษณะโดยทั่วไปของนิติกรรมในข้อใด สามารถทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์มีผลเป็นโมฆียะหรือโมฆะได้

ผลทางกฎหมายเมื่อมีการโมฆะ หรือโมฆียะเป็นอย่างไร?


ในทางกฎหมายนั้นเมื่อเกิดการโมฆะหรือโมฆียะขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อนิติกรรมนั้น ๆ ให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยหากนิติกรรมใด ๆ ถูกทำให้ไม่สมบูรณ์โดยการโมฆะกรรมนิติกรรมนั้นก็จะไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่สามารถใช้กระทำการใด ๆ ต่อไปได้ในทางกฎหมาย มีผลเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ไม่ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ กรณีนิติกรรมนั้น ๆ มีเรื่องของทรัพย์สินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เมื่อเกิดการโมฆะกรรมแล้วจะต้องมีการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากการโมฆะกรรมด้วย

ส่วนการโมฆียกรรมนั้น จะเป็นการแสดงเจตนาให้โมฆียกรรมตกเป็นโมฆะไม่ว่าจะด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร นิติกรรมนั้น ๆ จะยังคงความสมบูรณ์ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกล้างเรียบร้อย เมื่อถูกบอกล้างโดยโมฆียกรรมแล้วก็จะไม่มีผลบังคับหรือข้อผูกพันตามกฎหมายเช่นเดียวกัน ทั้งนี้นิติกรรมที่จะสามารถทำให้เกิดโมฆะหรือโมฆียะได้จะต้องมีสาเหตุที่ทำได้ตามที่กล่าวข้างต้น

สัญญาที่เป็นโมฆะ ตัวอย่างเป็นอย่างไร?

คำว่าสัญญาที่เป็นโมฆะ และสัญญาที่เป็นโมฆียะนั้น สามารถใช้แทนกันได้ทั้งสิ้น แต่ในทางกฎหมายแล้วจะมีลักษษณะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะไม่สามารถบังคับใช้ตามกฎหมายได้เช่นกัน แต่สัญญาที่เป็นโมฆะนั้นถือเป็นข้อตกลงที่ถูกต้อง ที่ผู้ตกลงทำสัญญาทั้ง 2 ฝ่าย สามารถที่จะยกเลิกสัญญาได้ตลอด โดยมีขั้นตอนในการทำให้สัญญานั้น ๆ เป็นโมฆะได้ ดังนี้

  • พิจารณาว่ามีส่วนขององค์ประกอบใดในสัญญาที่อาจทำให้เป็นโมฆะได้
  • ระบุให้ชัดเจนว่ามีกฎหมายและเหตุผลใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาที่เป็นโมฆะ
  • ตรวจสอบให้ดีว่ามีการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ผ่านการสื่อสารทางวาจาหรือผ่านสื่อที่เป็นลายลักษณ์อักษรครบถ้วน
  • พิจารณาว่าสามารถที่จะดำเนินการร่างสัญญาฉบับใหม่ได้หรือไม่หรือควรยกเลิกข้อตกลงทั้งหมดให้เป็นโมฆะ
  • ดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อประเมินสถานการณ์และพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวต้องตกไปเป็นโมฆะหรือไม่

สัญญาที่เป็นโมฆะ ตัวอย่าง


สำหรับสัญญาที่เป็นโมฆะ ตัวอย่าง เช่น นาย A มีการทำข้อตกลงการกู้ยืมเงินจากนาย B ว่าจะมีการชำระหนี้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 80 จากการโน้มน้าวของนาย B เพราะเห็นว่าในขณะที่มีการทำข้อตกลงนี้นาย A ได้อยู่ในอาการมึนเมาอย่างหนัก เนื่องจากเป็นการนัดทำข้อตกลงที่สถานบันเทิง ด้วยเหตุนี้สัญญาฉบับนี้สามารถถือว่าเป็นโมฆะได้เนื่องด้วยข้อเท็จจริงที่ว่านาย A เป็นบุคคลไร้ความสามารถ ณ ขณะเวลาที่ตกลงทำสัญญา หรือในอีกกรณีที่คล้ายคลึงกัน หากนาย A ยังมีอายุเป็นผู้เยาว์แม้จะไม่ได้มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนมึนเมา สัญญาฉบับนี้ก็ถือเป็นโมฆะ เนื่องด้วยความเป็นผู้เยาว์ของนาย A ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลไร้ความสามารถเช่นกันนั่นเอง นาย A มีสิทธิ์ที่จะมีสิทธิ์ในการรักษาหรือยกเลิกสัญญาได้ตลอดเวลา

ต้องการกู้ยืมเงินที่มีการทำสัญญาเป็นธรรม สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นทางเลือกที่ดี!

การกู้ยืมเงินนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องดำเนินด้วยความรอบครอบและระมัดระวัง โดยเฉพาะการทำสัญญาในการกู้ยืมเงิน คุณจะต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ ในการกู้ยืมเงินทุกประการ เพื่อให้การกู้ยืมของคุณเป็นธรรมและยุติธรรม แน่นอนว่าการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินในรูปแบบสินเชื่อส่วนบุคคลก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่ดีสำหรับการเพิ่มเงินในกระเป๋าเงินของคุณ โดยที่คุณสามารถไว้ใจและเชื่อถือได้ว่าจะได้รับข้อตกลงที่เป็นธรรมในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกำหนดตามกฎหมาย

สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นการกู้ยืมที่จากสถาบันการเงินที่จะมอบเงินกู้แก่บุคคลโดยหลายแห่งไม่จำเป็นจะต้องมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ซึ่งมีความยืดหยุ่นสำหรับผู้มาขอกู้ยืมมาก แต่ทั้งนี้การกู้ยืมเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ก็ควรจะอยู่ภายใต้การวางแผนการเงินที่ดี ตรวจสอบดอกเบี้ย ระยะเวลาการคืนเงิน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนที่ตัดสินใจทำสัญญาให้ดี เพราะทุกข้อความในสัญญานั้นมีผลต่อคุณแน่นอน ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนลงนามทุกครั้ง

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

สินเชื่อส่วนบุคคล Happy CashHappy Cash

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 9.99% นาน 5 เดือน
  • วงเงินสูงสุด 1.5 ล้าน
  • ผ่อนนาน 60 เดือน ไม่ต้องค้ำ
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ผ่อนชำระไม่เกิน 60 ปี
  • พนักงาน 15,000 บาท+, เจ้าของกิจการ 50,000 บาท+
  • อายุงานประจำ 6 เดือน+, เจ้าของกิจการ 3 ปี
CardX SPEEDY LOANCardX SPEEDY LOAN

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยลดต้น 25% ต่อปี ผ่อน 540 บาท
  • เงินเข้าบัญชีใน 1 วัน
  • ผ่อนนานสูงสุด 72 เดือน
  • คุ้มครองฟรีประกันชีวิตวงเงิน
  • รายได้ขั้นต่ำ 30,000 บาท (พนักงาน)
  • อายุงาน 4 เดือนหลังทดลองงาน
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินถึง 1,000,000 บาท
  • อนุมัติเร็วที่สุดใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.08% ต่อเดือน
  • วงเงินหมุนเวียน ผ่อนเริ่ม 200 บาท/เดือน
  • เงินเข้าบัญชีครั้งเดียว ผ่อน 60 เดือน
  • ไม่มีหลักทรัพย์หรือผู้ค้ำ
LINE BKLINE BK

สินเชื่อเงินสด

  • ยืมได้ด้วยรายได้ 5,000 บาท
  • ใช้ได้ทันทีหลังอนุมัติ
  • ดอกเบี้ยสูงสุด 25% วงเงิน 8 แสน
  • อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 33% วงเงิน 100,000 บาท
  • วงเงินสูงสุด 8 แสน บาท
  • สมัครได้ง่ายใน LINE ด้วยบัญชี LINE BK

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา