เช็กสัญญาณ อาการแบบนี้บ่งบอกว่าปั้มเบรครถยนต์มีปัญหา
หากคุณใช้งานรถยนต์แล้วประสบปัญหาเบรคไม่อยู่ เหยียบเบรคแล้วมีการตอบสนองช้า อาจเป็นไปได้สูงที่ปั้มเบรครถยนต์ของคุณเสีย ถ้าหากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อความปลอดภัยขณะขับขี่อย่างแน่นอน ในบทความนี้เราจะมาอธิบายให้ทุกท่านทราบถึงความสำคัญของปั้มเบรครถยนต์ และสัญญาณบ่งบอกว่าระบบเบรคของคุณมีปัญหา
ปั้มเบรครถยนต์คืออะไร?
ปั้มเบรครถยนต์หรือแม่ปั๊มเบรค เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ชุดเบรคที่ติดตั้งอยู่ในจานเบรค ซึ่งจะทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันเบรคผ่านวาล์วปรับแรงดันไปยังเบรคหน้าและเบรคหลังอย่างเหมาะสม โดยเป็นการสร้างแรงบีบให้ผ้าเบรคเสียดสีกับจานเบรคทำให้ล้อของรถยนต์ชะลอความเร็วหรือทำให้ล้อหยุดหมุน หากอุปกรณ์แม่ปั๊มเบรคเสียหายการอัดน้ำมันเบรคเพื่อสร้างแรงบีบก็จะชะงักทำให้ต้องเหยียบเบรคย้ำ ๆ เพื่อให้รถชะลอตัวลง
อธิบายการทำงานของปั้มเบรคหน้าและปั้มเบรคหลัง
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่าระบบเบรคนั้นประกอบด้วยอุปกรณ์หลายตัวที่ต้องทำงานร่วมกัน ได้แก่ แม่ปั๊มเบรค แป้นเบรค หม้อลมเบรค วาล์วสุญญากาศ น้ำมันเบรค ท่อน้ำมันเบรค สายเบรคอ่อน คาลิปเปอร์เบรค จานเบรค และผ้าเบรค จึงจะทำให้รถชะลอความเร็วได้ ส่วนการทำงานของปั้มเบรคหน้าและปั้มเบรคหลังนั้นจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ขับเหยียบเบรค โดยปั้มเบรครถยนต์จะทำหน้าที่อัดแรงดันไปยังปั๊มที่อยู่บนล้อรถยนต์ให้เบรคทำงาน ซึ่งจะมีอยู่สองประเภทดังนี้
การทำงานของปั้มเบรครถยนต์ลูกสูบเดียว
ปั้มเบรครถยนต์ประเภทนี้จะมีลูกสูบเพียงชุดเดียว เมื่อผู้ขับเหยียบเบรคตัวแกนจากแป้นเหยียบเบรคจะดันให้ลูกสูบภายในปั้มดันน้ำมันในเรือนให้เกิดแรงดันส่งไปยัง คาลิปเปอร์ให้บีบจานเบรคของล้อรถยนต์ทั้งสี่ล้อให้หยุดหมุน โดยแรงบีบจะขึ้นกับน้ำหนักที่เท้าของเรากดไปยังแป้นเบรค และเมื่อผู้ขับขี่ถอนเบรคออกจากแป้นสปริงภายในก็จะดันกลับให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับมาตำแหน่งเดิม ซึ่งจะดันน้ำมันเบรคกลับมาที่เดิม การบีบคาลิปเปอร์ก็จะคลายออกจากจานเบรค ปั้มเบรครถยนต์แบบนี้มักไม่นิยมใช้ในปัจจุบันแล้ว เนื่องจากหากส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบผิดพลาด เบรคก็จะไม่ทำงานทั้งสี่ล้อ จึงส่งผลโดยตรงในเรื่องความปลอดภัย
การทำงานของปั้มเบรครถยนต์ลูกสูบคู่
มีหลักการทำงานคล้ายปั้มเบรครถยนต์ลูกสูบเดี่ยวแต่ภายในปั้มเบรคจะมีลูกสูบสองอัน เมื่อผู้ขับเหยียบที่แป้นเบรคตัวก้านเบรคก็จะไปสร้างแรงดันภายใน โดยลูกสูบตัวแรกจะทำหน้าที่อัดแรงดันน้ำมันเบรคไปยังคาลิปเปอร์ล้อคู่หน้าให้บีบตัวจานเบรคจนล้อหยุดหมุน ส่วนลูกสูบตัวที่สองก็จำจะทำหน้าที่เหมือนกันคือสร้างแรงดันไปในส่วนล้อคู่หลัง ทั้งสองลูกสูบรับผิดชอบสร้างแรงดันไปยังคู่ล้อที่ต่างกันอย่างอิสระ ทำให้ระบบเบรคของล้อคู่ใดคู่หนึ่งจะยังคงใช้งานได้หากลูกสูบชำรุด เมื่อผู้ขับถอนแป้นเบรคตัวลูกสูบทั้งสองก็จะสปริงตัวกลับทำให้ความดันน้ำมันเบรคกลับมาอยู่ในจุดเดิม ภายในกระบอกสูบของปั้มเบรครถยนต์แบบนี้จะมีตัวสกรูล็อคเพื่อกันไม่ให้ลูกสูบทั้งสองเลื่อนออกจากตำแหน่งที่กำหนดเมื่อถอนเบรค เพื่อป้องกันลูกสูบภายในแม่ปั๊มเบรคชนกัน ระบบปั้มเบรคลูกสูบคู่ออกแบบมาเพื่อยกระดับความปลอดภัยขณะเบรคให้มากขึ้นจากระบบลูกสูบเดี่ยว จึงทำให้รถรุ่นใหม่ ๆ ใช้ระบบปั้มเบรครถยนต์ลูกสูบคู่กันแทบทั้งหมด
การทำงานของระบบดิสเบรคและดรัมเบรค
ปัจจุบันนี้จะมีจานเบรคอยู่สองแบบคือดิสเบรคและดรัมเบรค โดยดิสเบรคมักใช้งานคู่กับปั้มเบรคหน้า โดยระบบจะทำงานเมื่อได้รับแรงดันจากปั้มเบรครถยนต์ซึ่งจะดันตัวคาลิปเปอร์ให้ไปกดผ้าเบรคเสียดสีกับจานเบรค เมื่อผ้าเบรคทั้งสองข้างบีบเข้าหากันก็จะเกิดแรงเสียดสีให้ล้อหยุดหมุน ส่วนดรัมเบรคมักจะใช้งานคู่กับปั้มเบรคหลัง หลักการทำงานก็จะใช้แรงดันจากน้ำมันในปั้มเบรครถยนต์เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่แรงดันจะทำให้แกนถ่างออกแทนการบีบ ทำให้ผ้าเบรคไปเสียดสีกับตัวขอบดรัมให้เกิดแรงเสียดทานจนล้อหยุดหมุน
ถ้าปั้มเบรครถยนต์มีปัญหาจะมีอาการอย่างไร?
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าปั้มเบรครถยนต์นั้นมีความสำคัญต่อระบบเบรคของล้อทั้ง 4 ข้าง เนื่องจากเป็นตัวสร้างแรงดันให้น้ำมันเบรควิ่งผ่านสายไปยังส่วนประกอบของเบรคในแต่ละล้อทำงาน โดยปกติแล้วแม่ปั๊มเบรคนั้นจะได้รับการออกแบบให้มีความทนทาน แต่ถ้าขาดการดูแลบ่อย ๆ หรือเมื่อใช้รถยนต์ไปนาน ปั้มเบรครถยนต์ก็อาจเสื่อมสภาพได้
- แป้นเบรคนิ่ม ยวบ ไม่มีแรงปะทะขณะเหยียบ หรืออาจจมมิดสุดแป้น เนื่องจากภายในปั้มเบรครถยนต์อาจมีรอยรั่วทำให้ไม่มีแรงดันภายใน ทำให้น้ำมันเบรคไม่สามารถสร้างแรงดันให้คาลิปเปอร์ทำการบีบจานเบรคได้
- น้ำมันเบรครั่ว สังเกตได้จากรอยหยดน้ำมันเบรคที่อยู่บนพื้นตรงที่คุณจอดรถ ซึ่งเกิดจากซีลเสื่อมสภาพ ทำให้น้ำมันเบรคไหลออกมา เมื่อไม่มีน้ำมันเบรคแรงดันจากการเหยียบเบรคก็จะไม่เกิดขึ้น
- ตรวจสอบสภาพของน้ำมันเบรค หากพบว่าน้ำมันในปั้มเบรครถยนต์มีสีเข้ม อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าซีลยางของแม่ปั๊มเบรคแตก จนทำให้ของเหลวอื่น ๆ มาปนเปื้อน
- สังเกตจากไฟแจ้งเตือนสถานะบนหน้าคอนโซลรถยนต์ ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันจะถูกติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับน้ำมันเบรค หากระบบตรวจพบว่าความดันของน้ำมันเบรคในปั้มเบรครถยนต์อยู่ในระดับผิดปกติ ก็จะมีไฟแจ้งเตือนให้คุณรับทราบ
การเลือกปั้มเบรครถยนต์ให้เหมาะกับการใช้งาน
เพื่อความปลอดภัยเราจึงแนะนำให้คุณเลือกใช้งานปั้มเบรครถยนต์ลูกสูบคู่ ซึ่งจะทำให้ระบบเบรคคู่ล้อใดคู่หนึ่งทำงานได้หากมีปัญหา แต่ทั้งนี้ปั้มเบรคเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งมาจากโรงงานมาอยู่แล้ว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่คุณไม่สามารถเลือกแต่งหรือ Custom ได้ ซึ่งรถรุ่นใหม่ ๆ ก็จะใช้ระบบลูกสูบคู่ทั้งสิ้น ดังนั้นสิ่งที่คุณควรกระทำก็คือหมั่นตรวจสอบสภาพปั้มเบรครถยนต์อยู่เสมอ และหากพบว่ามีการเสื่อมสภาพก็ให้รีบเข้าอู่เปลี่ยนโดยทันที
ปั้มเบรครถยนต์เสื่อมสภาพสามารถเคลมประกันภัยได้หรือไม่?
ปั้มเบรครถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งมาจากโรงงานผลิตดั้งเดิม หากเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ เช่น รถชนแล้วเกิดความเสียหาย คุณสามารถเคลมค่าซ่อมกับบริษัทประกันภัยได้
- ประกันภัยชั้น 1 สามารถเคลมการเปลี่ยนหรือซ่อมปั้มเบรครถยนต์ได้ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทั้งแบบมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี ไปจนถึงกรณีรถยนต์ไฟไหม้ น้ำท่วม และความเสียหายจากธรรมชาติ
- ประกันภัยชั้น 2+ สามารถเคลมการเปลี่ยนหรือซ่อมแม่ปั๊มเบรคได้ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุที่สามารถระบุคู่กรณีได้ ไปจนถึงกรณีรถยนต์ไฟไหม้ น้ำท่วม และความเสียหายจากธรรมชาติ
- ประกันภัยชั้น 3+ สามารถเคลมการเปลี่ยนหรือซ่อมปั้มเบรครถยนต์ได้ในกรณีได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุที่สามารถระบุคู่กรณีได้ แต่จะไม่ได้รับความคุ้มครองหากรถของคุณไฟไหม้ หรือความเสียหายจากธรรมชาติ
- ส่วนประกันภัยชั้น 2 และ ชั้น 3 ธรรมดาจะไม่สามารถเคลมค่าซ่อมปั้มเบรครถยนต์ของคุณได้ เพราะประกันจะให้ค่าซ่อมกับรถยนต์ของคู่กรณีเท่านั้น
จะเห็นได้ว่าการทำประกันภัยรถยนต์นั้นมีความสำคัญ เพราะจะได้ค่าซ่อมปั้มเบรครถยนต์รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ จากอุบัติเหตุ ยอมจ่ายค่าเบี้ยประกันเพียงน้อยนิดแต่ได้รับความคุ้มครองครบทุกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ หากเบี้ยประกันคุณหมดหรือยังไม่ได้ทำประกันภัย เราแนะนำให้ติดต่อมาหาแรบบิท แคร์ได้เลย เพราะเรามีประกันรถยนต์มากมายจากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ ให้คุณได้รับความคุ้มครองอย่างครอบคลุมแต่จ่ายเบี้ยประกันถูกกว่าเจ้าอื่น นอกจากนี้เรายังมีบริการความแคร์ให้กับคุณตั้งแต่การให้คำปรึกษา การช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ไปจนถึง Care Center ที่จะคอยตอบคำถามให้กับคุณในทุกข้อสงสัย
ความคุ้มครองประกันรถยนต์