Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

กรดไหลย้อน อาการเป็นอย่างไร ต้องรักษาอย่างไร ?
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 28, 2024

งูสวัดคืออะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง?

งูสวัดเกิดจากอะไร?

จากข้อมูลในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ ได้พูดถึงความหมายของโรคงูสวัดไว้ว่า โรคงูสวัด (Herpes Zoster หรือ Shingles) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส varicella virus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคงูสวัดจึงจะพบได้ในผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน โดยที่โรคงูสวัดนี้จะแสดงอาการออกมาเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติ เนื่องจากว่าเมื่อเชื้อไวรัสชนิดนี้เริ่มเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะมาจากการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรงก็ตาม เชื้อก็จะยังคงหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะซ่อนอยู่เป็นเวลานานหลายปีโดยที่ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แสดงออกมา แต่เมื่อใดที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เชื้อไวรัสที่ซ่อนอยู่นี้ก็จะเริ่มแบ่งตัวและส่งผลทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดเป็นอาการของโรคงูสวัดขึ้นมาได้นั่นเอง ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดนั้นก็จะพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มผู้ป่วย HIV กลุ่มของผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีโรคประจำตัว ยกตัวอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอสแอลอี (SLE) โรคมะเร็ง หรือผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ โดยโรคงูสวัดนั้นถือว่าเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศและทุกวัย

งูสวัด เป็นโรคติดต่อไหม?

โรคงูสวัดนั้นสามารถติดต่อไปยังผู้ที่ไม่เคยมีประวัติในการเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนได้ ดังนั้นใครที่ได้มีการสัมผัสกับตุ่มน้ำใสที่มีเชื้อไวรัส varicella zoster และเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดขึ้นมาได้ รวมไปถึงผู้ที่สัมผัสกับเชื้อโรคงูสวัดแบบแพร่กระจายผ่านการหายใจเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงควรแยกผู้ป่วยโรคงูสวัดออกจากผู้ที่ไม่เคยเป็นโรค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หรือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น

งูสวัด กี่วันหาย?

โรคงูสวัดนั้นไม่ถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรง และสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หากมีร่างกายแข็งแรง ซึ่งการรักษานั้นจะเป็นการช่วยบรรเทาตามอาการที่เกิด โดยจะมีทั้งยากินแก้ปวด ยาแก้ติดเชื้อแบคทีเรียสำหรับในกรณีที่เป็นหนองลุกลาม หรือยาทาแก้ผดผื่น แก้อาการปวดแสบปวดร้อนในผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น

งูสวัด ติดต่อทางไหนบ้าง?

  • ติดต่อผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำ หรือแผลของผู้ป่วยงูสวัด ดังนั้นควรแยกข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า ที่นอน หรือผ้าเช็ดตัวของผู้ป่วยโรคงูสวัด
  • ในบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเป็นโรคงูสวัดแบบแพร่กระจาย จะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ดังนั้นควรแยกผู้ป่วยไม่ให้ใกล้ชิดกับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคมาก่อน ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หรือหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น

แนวทางปฎิบัติเมื่อเป็นงูสวัด

งูสวัด อาการมีอะไรบ้าง?

  • 1. มีอาการปวดหัว มีไข้ อ่อนเพลีย หรือตาสู้แสงไม่ได้
  • 2. มีอาการคันและปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนัง ประมาณ 1-3 วันก่อนที่จะมีผื่นสีแดงขึ้นมาในบริเวณที่ปวด
  • 3. ผื่นสีแดงที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสในลักษณะเป็นแนวยาว ซึ่งตุ่มที่เกิดขึ้นนั้นมักเรียงตัวกันเป็นกลุ่มหรือตามแนวของเส้นประสาท ไม่ได้กระจายตัวอยู่ทั่วไปเหมือนอย่างในผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส
  • 4. รู้สึกเจ็บมากในบริเวณผิวหนังที่เป็นผื่น ถึงแม้ว่าจะถูกสัมผัสเพียงเล็กน้อยก็ตาม
  • 5. ต่อมาผื่นนั้นจะแตกออกและกลายเป็นแผลตกสะเก็ด โดยจะหลุดออกจากผิวหนังตามธรรมชาติใน 7-10 วัน
  • 6. หลังจากที่ผื่นหายแล้ว ก็อาจจะยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลงเหลืออยู่
  • 7. ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการงูสวัดแบบหลบใน นั่นก็คือจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนังตามแนวเส้นประสาท แต่ว่าไม่มีผื่นขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม และได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด

งูสวัด รักษายังไง?

สำหรับการรักษาโรคงูสวัดนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผื่นแสดงอาการออกมา หากมีการปรากฏตัวของผื่นน้อยกว่า 3 วัน แพทย์ก็จะมีการให้ยาต้านไวรัส (Antivirus) ตามปกติ เช่น ให้ยา Acyclovir ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังจากที่เกิดอาการ เพื่อช่วยบรรเทาการอักเสบ เจ็บปวด และช่วยให้ผื่นคันนั้นยุบตัวลงเร็วขึ้น รวมไปถึงการช่วยทำให้ร่างกายนั้นฟื้นตัวจากโรคงูสวัด และลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวเนื่องจากโรคงูสวัดได้ ยกตัวอย่างเช่น อาการปวดปลายประสาทหลังจากที่เป็นโรคงูสวัด (Postherpetic neuralgia) แต่ถ้าหากว่าผู้ป่วยมีผื่นของโรคงูสวัดนานเกินกว่า 3 วัน ทางแพทย์ก็จะพิจารณาให้ยารักษาโรคชนิดอื่น ๆ ร่วมกับยาต้านไวรัสด้วย ได้แก่

  • ยาพาราเซตามอล หรือปฏิชีวนะชนิดรับประทาน หรือยาชนิดทาเพื่อบรรเทาอาการคันและบรรเทาอาการเจ็บปวด รวมไปถึงการป้องกันการติดเชื้อด้วย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพร ยาพ่น หรือยาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยาตามที่แพทย์สั่ง เพราะว่าอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มมากขึ้น และส่งผลทำให้แผลหายช้า หรือกลายเป็นแผลเป็นไปในที่สุด
  • ไม่ควรเกาบริเวณผื่นคัน เพื่อลดการสะสมของเชื้อ ดังนั้นหากมีเล็บยาว ก็ควรตัดเล็บมือและเล็บเท้าให้สะอาด จะได้ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนนั่นเอง
  • หากมีแผลเปิด ให้ทำการปิดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ และรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

งูสวัด ห้ามกินอะไรบ้าง?

  • อาหารที่มีสารอาร์จีนีนมาก เนื่องจากสารอาร์จีนิน (Arginine) นั้นเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งจะมีส่วนทำให้เซลล์เชื้อไวรัส Varicella Zoster นั้นแบ่งตัวและลุกลามออกไปได้มากขึ้น โดยอาหารที่พบสารอาร์จีนีนในปริมาณมาก ได้แก่ บลูเบอร์รี ช็อกโกแลต กะหล่ำปลีเล็ก ถั่ว เมล็ดพืช ทูน่ากระป๋อง องุ่น มะเขือเทศ จมูกข้าวสาลี เป็นต้น
  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง เนื่องจากน้ำตาลนั้นเป็นสารอาหารที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพลง อีกทั้งไปยับยั้งการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อไวรัสให้ออกไปจากร่างกายอีกด้วย
  • คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี (Refined Carbohydrates) เนื่องจากว่ามีส่วนที่ทำให้ดัชนีมวลน้ำตาลในร่างกายนั้นสูงขึ้น และจะทำให้ระบบย่อยอาหารนั้นทำงานเร็วกว่าเดิม จึงส่งผลทำให้ร่างกายมีพลังงานไปขับเคลื่อนภูมิคุ้มกันร่างกายได้น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น ขนมปังขาว มักกะโรนี ข้าวขาว เส้นพาสต้า มันฝรั่งขาว เป็นต้น
  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เนื่องจากว่าจะเป็นการไปสร้างไขมันส่วนเกินเพิ่มขึ้น และจะเป็นตัวการทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานถือว่ากลุ่มผู้ป่วยที่จะมีอาการของโรคงูสวัดร้ายแรงมากกว่าปกติ ยกตัวอย่างเช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด ขนมปังที่มีเนย นม ครีม ชีส แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า ซุปครีม ไอศกรีม เป็นต้น
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะเป็นตัวไปขัดขวางการฟื้นตัวของร่างกายในขณะที่กำลังรักษาโรคงูสวัดอยู่ อีกทั้งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นทำงานได้ช้าลง จึงส่งผลทำให้โรคงูสวัดหายช้านั่นเอง

แนวทางป้องกันโรคงูสวัด มีอะไรบ้าง?

โรคงูสวัดนั้นเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนโรคงูสวัด ดังนี้

  1. วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Chickenpox vaccine) ฉีดในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 12-18 เดือนขึ้นไป
  2. วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดสำหรับผู้ใหญ่ (Zoster vaccine/Shingles vaccine) จะมีทั้งหมด 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
  • วัคซีน Zostavax (1 เข็ม) เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live attenuated vaccine) สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อโรคงูสวัดในผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ได้มากถึง 69.8%
  • วัคซีน Shingrix (2 เข็ม) เป็นวัคซีนชนิดไกลโคโปรตีน (glycoprotein subunit vaccine) ควรเว้นระยะห่างในการฉีด 2-6 เดือน โดยจะสามารถลดโอกาสในการติดเชื้อโรคงูสวัดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ได้มากถึง 90-97%

ควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

ไม่ว่าเรื่องของสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันให้เป็นไปอย่างปกติ และถึงแม้ว่าในบางครั้งเราจะดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังมีตัวปัจจัยภายนอกหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้นั้นก็มีอยู่เยอะเช่นเดียวกัน ดังนั้นการใช้ชีวิตแบบไม่ประมาทและมีการวางแผนเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าหากว่าเรามีการวางแผนทำประกันสุขภาพ ไว้ก็จะสามารถช่วยลดความกังวลใจและค่าใช้จ่ายที่อาจจะต้องเสียขึ้นมาได้ในอนาคตอยู่พอสมควร เพราะเราจะได้รับความคุ้มครองทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุและภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

ซื้อประกันสุขภาพผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

แรบบิท แคร์ นั้นมีแผนความคุ้มครองดี ๆ ที่มาพร้อมกับเบี้ยประกันราคาไม่แพงในทุกรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ในทุกความต้องการได้ทันที เพราะแรบบิท แคร์ เรามีบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพจากบริษัทประกันชั้นนำทั่วประเทศมากมายให้คุณได้เลือกแผนประกันที่ตรงตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นทั้งในแบบปกติและในแบบเหมาจ่าย ที่จะช่วยทำให้คุณประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเลือกแผนความคุ้มครองที่คุณนั้นสามารถสมัครและขอรับความคุ้มครองได้เองเลยผ่านทางเว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์ โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

PRUHealthcare Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายPRUHealthcare Plus

เหมาจ่าย

  • เบี้ยฯ คุ้มค่า 20 บาท/วัน คุ้มครองสุขภาพ
  • เจ็บป่วย คุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท
  • ค่าห้องผู้ป่วยใน 5,000 บาท/วัน สูงสุด 365 วัน
  • สมัครอายุ 20-60 ปี ต่ออายุได้ถึง 64 ปี
  • เจอ จ่าย จบ มะเร็งทุกระยะ คุ้มครอง 1 ล้าน
  • คุ้มครองชีวิตทุกกรณี สูงสุด 100,000 บาท
  • คุ้มครอง ICU เพิ่ม 2 เท่า สูงสุด 10,000 บาท
วิริยะ คลาสสิค บาย บีดีเอ็มเอส ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุวิริยะ คลาสสิค บาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • เหมาจ่ายค่ารักษา ไม่จำกัดครั้ง นอนรพ.
  • มะเร็งทุกระยะ คุ้มครองเคมีบำบัด 50,000 บาท/ปี
  • ค่าห้อง รพ. คุ้มครองสูงสุด 6,500 บาท/วัน
  • อายุ 15 วัน - 65 ปี สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • คุ้มครองสูงสุด 800,000 บาท/ปี สำหรับผู้ป่วยใน
  • OPD คุ้มครองสูงสุด 2,500 บาท/วัน
  • เบี้ยประกันถูก ไม่ต้องสำรองจ่าย รพ. BDMS
Health Lump SumHealth Lump Sum

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • แคร์รายได้ ชดเชยสูงสุด 500 บาท/วัน
  • แคร์ค่ารักษา เหมาจ่ายสูงสุด 5 แสน/ปี
  • แคร์ตามจริง ค่ารักษาสูงสุด 75,000 บาท
  • แคร์ครอบคลุม สมัครได้ 16-60 ปี ไม่ต้องสำรองจ่าย
  • แคร์ค่าห้อง จ่ายตามจริง สูงสุด 365 วัน
  • แคร์อุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 150,000 บาท
  • ค่ารักษาอุบัติเหตุ 5,000 บาท ภายใน 24 ชม.
ประกันสุขภาพ ผู้สูงอายุGEN Senior Extra 7

ผู้สูงอายุ

  • อายุ 41-70 ปี สมัครประกันได้ คุ้มครองถึง 85 ปี
  • สุขภาพหลักล้าน คุ้มครองสูงสุด 1,000,000 บาท
  • ค่าห้อง รพ. คุ้มครองสูงสุด 6,000 บาท/วัน
  • คุ้มครองรักษาที่บ้าน สูงสุด 60,000 บาท
  • คุ้มครอง CT Scan ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • คุ้มครองค่าตรวจแพทย์ สูงสุด 12,000 บาท
  • สิทธิลดหย่อนภาษี รับสูงสุด 25,000 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา