Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Sep 19, 2024

นั่งเบาะหลังแต่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยมีความผิดหรือไม่ มีข้อยกเว้นอะไรบ้าง?

เข็มขัดนิรภัยอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยชิ้นสำคัญที่ถูกติดตั้งมากับรถยนต์ทุกคัน ถ้าเป็นเมื่อก่อนผู้ที่คาดเข็มขัดนีรภัยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารเบาะหน้า แต่ในปัจจุบัน มีกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้โดยสารเบาะหลังออกมา ไปดูกันว่าถ้านั่งเบาะหลังแต่ไม่ได้คาดเข็มนิรภัยจะมีความผิดหรือไม่?

นั่งเบาะหลังแต่ไม่ได้คาดเข็มนิรภัยมีความผิดหรือไม่?

คำตอบนี้สามารถตอบได้โดยไม่ต้องคิดเลยทีเดียว คือมีความผิดอย่างแน่นอน เพราะกฎหมายเกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารเบาะหลัง ถูกบังคับใช้ไปตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ว่าด้วย พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับที่ 13 มาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับรถยนต์ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่นั่งแถวตอนหน้า รวมถึงที่นั่งแถวตอนอื่น จะต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่โดยสารรถยนต์ เว้นแต่มีเหตุผลด้านสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งได้ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท

ไม่ว่าจะนั่งส่วนไหนของรถยนต์ ก็ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเพราะนอกจากจะป้องกันการโดนปรับแล้ว ยังช่วยป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุได้ด้วย จากผลการวิจัยการใช้เข็มขัดนิรภัยในประเทศไทย พบว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ถึง 34% เลยทีเดียว โดยผู้ที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยมีโอกาสได้รับบาดเจ็บมากกว่าผู้ที่คาดเข็มขัดนิรภัยถึง 8 เท่า

ข้อยกเว้น ที่ไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย มีอะไรบ้าง?

อย่างที่บอกว่าสำนักงานตำรวจ ได้มีการบังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนีรภัยของผู้โดยสารที่นั่งเบาะหลัง แต่ก็มีรถยนต์บางประเภทที่ได้รับการยกเว้น นั่นก็คือ รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีการจดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2531 เป็นรถเก่าที่ไม่มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย หรือไม่สามารถติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ รวมไปถึงรถกระบะที่ที่มีการจดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2537 ก็ได้รับการยกเว้นเช่นเดียวกัน

นั่งเบาะหลัง ควรคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างไร?

ส่วนใหญ่เข็มขัดนิรภัยที่ถูกติดตั้งไว้ที่เบาะหลัง จะเป็นเป็นแบบ 3 จุด 3 ตำแหน่ง ซึ่งสำหรับผู้โดยสารที่นั่งเบาะหลัง สามารถคาดเข็มขัดนิรภัยได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอนดังนี้

  • จับหัวเข็มขัดนิรภัยออกมา ซึ่งส่วนใหญ่ เข็มขัดนิรภัยของเบาะหลังจะอยู่บนเพดานรถเยื่องไปทางด้านหลังฝั่งซ้าย หรือขวาขึ้นอยู่กับรถแต่ละรุ่น
  • ดึงหัวเข็มขับนิรภัยเข้าหาตัว จะเห็นว่าหัวของเข็มขัดนิรภัยจะสามารถแบ่งออกได้ 2 ตัว
  • ให้ทำการแยกหัวเข็มขัดนิรภัยออกจากกันเป็น 2 ฝั่งด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วกางออกให้เท่ากับความกว้างของลำตัว
  • นำหัวเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ด้านซ้าย เสียบเข้ากับหัวรับเข็มขัดนิรภัยทางซ้ายของสะโพก และนำหัวเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ด้านขวาเสียบเข้ากับหัวรับเข็มขัดนิรภัยทางขวาของสะโพก
  • จัดสายเข็มขัดนิรภัยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และไม่รัดแน่นจนเกินไป เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว

นั่งแค็บกระบะต้องคาดเข็มขัดไหม?

ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การยกเว้นให้คนโดยสารไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยในรถบางประเภท พ.ศ. 2566 กำหนดว่าส่วนของแค็บ หรือนั่งท้ายกระบะ จัดอยู่ในเงื่อนไขของรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยแต่ต้องมีผู้โดยสารไม่เกินจำนวนที่กำหนด โดยสารในลักษณะที่ปลอดภัย และขับขี่ตามความเร็วตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

นั่งสองแถวต้องคาดเข็มขัดนิรภัยหรือไม่?

ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การยกเว้นให้คนโดยสารไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยในรถบางประเภท พ.ศ. 2566 กำหนดว่า รถโดยสารขนาดเล็กที่มีการจัดที่นั่งตามความยาวของรถกระบะ รถกึ่งกระบะ หากได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (จำนวนการบรรทุกคนโดยสาร, ไม่มีการโดยสารในลักษณะที่เป็นการเสี่ยงภัย, ใช้อัตราความเร็วตามกำหนด) ให้คนโดยสารที่อยู่ในรถยนต์นั้น นอกจากคนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้า ได้รับยกเว้นไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

เด็กเล็กต้องคาดเข็มขัดนิรภัยหรือไม่?

ผู้โดยสารรถยนต์ที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี และมีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือ "คาร์ซีต" (Car Seat) ทุกครั้ง ไม่ว่าจะนั่งอยู่แถวหรือ ตอนใดของรถ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคาดเข็มขัดนิรภัย

กฎข้อบังคับที่เกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารทั้งตอนหน้าและตอนหลังที่ควรต้องรู้ คือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ได้กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยภายในรถไว้เพิ่มเติมเกี่ยวข้องทั้งในส่วนของการใช้งาน คาร์ซีทสำหรับเด็กและการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารตอนหลัง โดยผู้ที่อยู่ภายในรถทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัยโดยไม่มีข้อยกเว้นจึงควรติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเพิ่ม เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถยนต์ มีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์
  • ผู้โดยสาร ที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์
  • ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
  • ผู้โดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

รวมถึงมีตัวอย่างการกำหนดค่าปรับกรณีผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารที่ไม่คาดเข็มขัด ดังนี้

  • 1) ผู้ขับขี่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
  • 2) ผู้โดยสารตอนหน้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
  • 3) ผู้ขับขี่ไม่จัดให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัย เสียค่าปรับเพิ่มอีก 500 บาท และ
  • 4) ผู้โดยสารตอนหลังไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท

คาดเข็มขัดนิรภัยช่วยป้องกันอะไรได้บ้าง?

การคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนได้ เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยถูกออกแบบมาให้คาดผ่านส่วนที่แข็งแรงที่สุดของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพกและหัวไหล่ ทำให้เข็มขัดนิรภัยสามารถต้านแรงกระชากและช่วยประคองร่างกายได้ในขณะเกิดอุบัติเหตุ โดยเข็มขัดนิรภัยมีประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้

  • ป้องกันไม่ให้กระเด็นออกนอกตัวรถจากแรงกระแทกหรือแรงเหวี่ยง
  • กระจายแรงกระแทกเมื่อเกิดการกระทบกระเทือนอวัยวะในร่างกาย และตัวรถ
  • จำกัดการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหันจากแรงกระแทก

คาดเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้องต้องคาดอย่างไร?

การคาดเข็มขัดนิรภัยอาจช่วยลดโอกาสเสียชีวิตหรืออาการบาดเจ็บเมื่อเกิดแรงกระชากหรือแรงเหวี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุได้ แต่กรณีที่คาดเข็มขัดนิรภัยไม่ถูกต้อง อาจทำให้ไม่สามารถช่วยป้องกันแรงเหวี่ยงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย มีวิธีการคาดเข็มขัดนิรภัยที่ถูกต้องดังนี้

  • คาดเข็มขัดนิรภัยเส้นบนพาดผ่านไหล่ ไม่คาดผ่านคอ
  • คาดเข็มขัดนิรภัยเส้นล่างพาดผ่านหน้าขา ไม่คาดผ่านหน้าท้อง
  • คาดเข็มขัดนิรภัยตลอดการโดยสารรถยนต์
  • ผู้โดยสารทุกคน ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยก่อนเดินทางทุกครั้ง
  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้อวนั่งในคาร์ซีทหรือนั่งที่เบาะหลัง
  • ห้ามใช้เข็มขัดนิรภัยร่วมกัน

ต้องบอกเลยว่าเข็มขัดนิรภัย ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและมีผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่เป็นอย่างมาก ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุเข็มขัดนิรภัยช่วยได้จริงๆ อย่างน้อยก็จะช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บได้ในระดับหนึ่ง แต่นอกจากจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อขึ้นรถ ก็ควรทำประกันรถยนต์เอาไว้ด้วย เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา

ทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ อย่างไรก็อุ่นใจกว่า สนใจทำประกันรถยนต์ออนไลน์ เลือกแรบบิท แคร์ เพราะเราเป็นโบรกเกอร์ตัวจริงเรื่องประกันภัย มีบริษัทประกันภัยให้เลือกหลากหลาย ครบทุกประเภท และยังมีสิทธิพิเศษเพิ่มเติมให้อีกแน่นๆ ทั้งบริการผ่อน 0% นาน สูงสุด 10 เดือน บริการเช่ารถสำรอง 3 วัน เมื่อรถเข้าศูนย์จากอุบัติเหตุ แล มีชดเชยค่าเดินทางให้ระหว่างรถยนต์เข้าอู่ซ่อม คุ้มค่ากว่านี้ไม่มีอีกแล้ว สะดวก รวดเร็ว ในราคาสบายกระเป๋า

ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ประกันรถยนต์คุ้มครองหรือไม่

การคุ้มครองของประกันรถยนต์ต่อผู้โดยสารที่นั่งในแคปของรถกระบะ (พื้นที่ที่อยู่หลังเบาะคนขับแต่ไม่ใช่ห้องโดยสารที่ถูกออกแบบให้เป็นที่นั่งโดยสาร) จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงประเภทของประกันและข้อกำหนดทางกฎหมาย ดังนี้

1. ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

ประกันภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. มีไว้เพื่อคุ้มครองผู้ขับขี่และผู้โดยสารทุกคนในรถยนต์ รวมถึงบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะนั่งอยู่ในตำแหน่งไหนของรถ หากเกิดอุบัติเหตุและผู้โดยสารที่นั่งในแคปได้รับบาดเจ็บ พ.ร.บ. จะยังคงให้ความคุ้มครองในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

อย่างไรก็ตาม การนั่งในแคปของรถกระบะที่ไม่ได้ออกแบบให้เป็นที่นั่งโดยสารอาจถือว่า ไม่ปลอดภัย และกฎหมายหลายแห่งกำหนดให้การโดยสารในพื้นที่ดังกล่าวผิดกฎหมาย ซึ่งอาจส่งผลต่อการคุ้มครองจากประกันในบางกรณี

2. ประกันภาคสมัครใจ

สำหรับ ประกันภาคสมัครใจ เช่น ประกันชั้น 1, 2+, 3+, 2 หรือ 3 การคุ้มครองต่อผู้โดยสารที่นั่งในแคปกระบะจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์โดยทั่วไป

  • หากเกิดอุบัติเหตุและมีผู้โดยสารในแคปได้รับบาดเจ็บ ประกันอาจไม่คุ้มครองผู้โดยสารที่นั่งในตำแหน่งที่ไม่ปลอดภัย หรือผิดกฎหมาย
  • หากกรมธรรม์มีการกำหนดจำนวนผู้โดยสารหรือพื้นที่ที่ประกันจะคุ้มครองอย่างชัดเจน เช่น คุ้มครองเฉพาะที่นั่งในห้องโดยสารด้านหน้า ประกันอาจปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้โดยสารที่นั่งในแคปกระบะ

ทั้งนี้บริษัทประกันบางแห่งอาจพิจารณาตามสถานการณ์และข้อกำหนดของกรมธรรม์เป็นหลัก และความสามารถในการเรียกร้องสิทธิ์ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดทางกฎหมายในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย

3. กฎหมายและข้อบังคับท้องถิ่น

การนั่งในแคปกระบะอาจถือว่าผิดกฎหมายในบางประเทศหรือบางพื้นที่ เนื่องจากไม่ได้ออกแบบให้มีความปลอดภัยสำหรับการโดยสาร หากเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่ามีการโดยสารในพื้นที่นี้ และเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้โดยสารในแคปอาจถือว่าฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้บริษัทประกันสามารถปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้

4. ข้อควรระวังในการนั่งแคปกระบะ

การนั่งในแคปกระบะเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะ

  • พื้นที่ดังกล่าวไม่มีอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น เข็มขัดนิรภัย
  • การป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่ำกว่าห้องโดยสารหลัก

สรุปแล้ว พ.ร.บ. จะยังคงคุ้มครองผู้โดยสารที่นั่งในแคปกระบะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและมีการบาดเจ็บ แต่ควรทราบว่า อาจมีกฎหมายที่ห้ามการโดยสารในพื้นที่ดังกล่าว ในสำหรับประกันภาคสมัครใจ การคุ้มครองอาจมีการจำกัดและขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย หากเป็นพื้นที่ที่ห้ามการนั่งในแคป ประกันอาจไม่คุ้มครอง

ทั้งนี้ การโดยสารในแคปกระบะถือว่ามีความเสี่ยงและอาจถูกปฏิเสธการคุ้มครองจากประกันในบางกรณี ควรตรวจสอบกฎระเบียบและข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยก่อน

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา