Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

registering-company_MOBILE.png
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Aug 04, 2023

เจาะลึกทุกขั้น จดทะเบียนบริษัท ก่อนเริ่มธุรกิจในฝัน

จะเริ่มต้นธุรกิจซักอย่างไม่ใช่เรื่องง่าย ไหนจะต้องจัดการเรื่องการเงิน การตลาด มีหลากหลายสิ่งที่เราต้องใส่ใจ หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญสุด ๆ สำหรับนักธุรกิจมือใหม่ แต่มักจะถูกมองข้าม นั่นก็คือการจดทะเบียนบริษัท สำหรับคน หรือกลุ่มคนที่มีเจตจำนงในการเริ่มต้นธุรกิจอย่างเป็นทางการ ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่นักธุรกิจทุกคนต้องรู้ ก่อนตัดสินใจลงมือ ลงแรง สร้างธุรกิจในฝันของตนเอง !

จดทะเบียนบริษัทได้กี่ประเภท ?

การจดทะเบียบริษัทมีด้วยกัน 2 ประเภท แบ่งออกเป็นรูปแบบธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียน ได้แก่ การจดทะเบียนแบบทะเบียนพาณิชย์ หรือยังมีชื่อบริษัทเป็นบุคคลธรรมดา และจดทะเบียนแบบนิติบุคคล

โดยเหตุผลที่ควรจดทะเบียนบริษัทคือหากรายได้เยอะขึ้น เช่นรายได้ต่อปีเกิน 750,000 บาทต่อปี หากจะต้องเสียภาษีบุคคลแบบที่เป็นขั้นบันได จะต้องจ่ายภาษีสูงถึง 35% แต่หากเป็นภาษีในฐานะบริษัทจะจ่ายแบบภาษีคงที่ อยู่ที่ 20% นอกจากนั้นการขยายธุรกิจ ขอเงินกู้ ขอสินเชื่อ หากเป็นไปในนามของบริษัท ก็จะมีเครดิตที่ดี และน่าเชื่อถือกว่า โดยเฉพาะบริษัทที่อาจยังไม่มีรายได้ที่เยอะ แต่มีสินทรัพย์เยอะ ก็สามารถกู้ยืมได้วงเงินที่สูงกว่าการกู้ยืมส่วนบุคคล เป็นต้น

จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) คือ

การจดทะเบียนบริษัทพาณิชย์ คือการลงชื่อบริษัทในฐานะบุคคล นั่นก็คือเป็นกิจการที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว จขึงมีสิทธิ์เสียงในบริษัททั้งหมด 100% เป็นธุรกิจที่คิดเอง ทำเอง มีอิสระและสามารถตัดสินใจทุกอย่างเกี่ยวกับกิจการได้เต็ม ฉะนั้นการจดทะเบียนบริษัทแบบพาณิชย์ จึงเหมาะสำหรับการจดทะเบียนบริษัทขนาดเล็กที่ขายสินค้าหรือบริการง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก เช่นผู้ที่ทำงานฟรีแลนซ์และมีรายได้สูงสามารถจัดการขึ้นทะเบียนปฎิบัติ การของตนเองเป็นบริษัทพาณิชย์เป็นต้น

ข้อดีการจดทะเบียนพาณิชย์


  • ผู้ประกอบการจะได้รับกำไรเต็ม ๆ
  • ไม่ต้องมีชื่อคณะกรรมการหลายคน ดำเนินการง่าย

ข้อเสียการจดทะเบียนพาณิชย์

  • ถ้ากิจการขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบทุกอย่างรวมถึงหนี้สินแบบไม่จำกัดเช่นกัน
  • หากธุรกิจเริ่มได้รายได้เยอะ จะต้องจ่ายภาษีเยอะขึ้น
  • ต้องจดรายรับรายจ่าย เงินเข้า เงินออกโดยละเอียดเพื่อใช้ในการยื่นภาษี
  • หากเจ้าของธุรกิจเครดิตไม่ดีอาจขอความช่วยเหลือทางการเงิน (เงินกู้ สินเชื่อ) จากสถาบันการเงินไม่ได้

จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล คือ

ทะเบียนนิติบุคคลคือการจดทะเบียนบริษัทในกรณีที่สำหรับกิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยการจดทะเบียนนิติบุคคลแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ (1) ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ (2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ (3) บริษัทจำกัดลงทุน

ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่างกันอย่างไร ?


ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญจะต้องมีผู้ร่วมลงทุน หรือ หุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คน โดยหุ้นส่วนทุกคนเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ แต่หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องมีผู้ร่วมลงทุน หรือ หุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คน และมีหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ และหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ อย่างน้อยประเภทละ 1 คน

บริษัทจำกัด คือ


บริษัทจำกัด คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการ 2 คนขึ้นไป ต้องมีกรรมการบริษัทลงชื่ออยู่ในใบจดทะเบียนบริษัทด้วย ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีประเภทเดียว คือ ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ "จำกัด" ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งกิจการแบบนี้ต้องมีภาพลักษณ์ดี มีการวางแผนกิจการรัดกุม และมีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริษัท เพื่อทำให้กิจการเกิดความน่าเชื่อถือ

ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ำ

หากเป็นบริษัทที่จดทะเบียนพาณิชย์ หรือเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จะไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ แต่หากเป็นบริษัทจำกัด ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 15 บาท อ้างอิงจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ก็จะมีเงื่อนไขและข้อปฎิบัติที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการลดเงินทุนในการจดทะเบียนบริษัท จึงต้องใส่ใจในเรื่องอนาคตของบริษัท รวมไปถึงการประกอบการของบริษัทต่อ ๆ ไปด้วย

ทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัด


แม้จะระบุว่าขั้นต่ำคือ 10 บาทตามข้อกำหนดที่ว่าหุ้นบริษัทจะต้องมีราคาไม่น้อยกว่าหุ้นละ 5 บาท ต่อ 1 หุ้น และหุ้นจดทะเบียนอย่างน้อยต้องมี 2 คน ดังนั้น ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสุดของบริษัทก็คือ 10 บาท แต่หากคำนึงถึงหลักความน่าเชื่อถือของบริษัท บริษัทต่าง ๆ จึงนิยมใช้เงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 100,000 - 1,000,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าตั้งต้นของบริษัทก่อนที่จะสร้างรายได้และกำไร ซึ่งจะนับรวมกับการประเมิลมูลค่าของบริษัทในครั้งต่อ ๆ ปี

ผนวกกับลักษณะธุรกิจแต่ละประเภท ซึ่งกฎหมายสามารถกำหนดไว้ด้วยว่าจะต้องมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ เช่นหากเป็นธุรกิจนำเข้าสุรา ธุรกิจผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เงินทุนจดทะเบียก็ต้องสูงตามที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นจะโดนค่าปรับย้อนหลังได้

ทุนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน


ทางกฎหมายไม่ได้กำหนดทุนขั้นต่ำสำหรับห้างหุ้นส่วน ฉะนั้นจึงสามารถตั้งทุนจดทะเบียนเท่าไรก็ได้ ซึ่งอาจลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สินและแรงงานเป็นทุนจดทะเบียน โดยหากเป็นหุ้นส่วนที่ลงทุนแบบไม่จำกัด สามารถลงทุนได้ทั้ง 3 รูปแบบ กล่าวคืออาจเป็นหุ้นส่วน แต่ไม่ลงเงิน แต่ทำงาน บริหารบริษัทก็ได้ แต่ถ้าเป็นหุ่นส่วนแบบจำกัดความรับผิดชอบ ต้องลงทุนด้วยเงินและทรัพย์สินเท่านั้น โดยรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตนเองได้ลงทุนไป

วิธีการจดทะเบียนบริษัท

1. ตรวจและจองชื่อบริษัท


ต้องจับจองชื่อบริษัทของเราก่อน โดยสามารถทำได้ออนไลน์กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ https://www.dbd.go.th/index.php โดยจะสามารถจองชื่อได้ 3 ชื่อ เพื่อที่จะนำไปเป็นชื่อของธุรกิจตนเอง และตรวจสอบก่อนว่าจะไม่ใช้ชื่อซ้ำกับบริษัทอื่นที่ได้จดทะเบียนไปแล้ว

2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ


หนังสือคณห์สนธิคือหนังสือแสดงเจตจำนงในการตั้งบริษัท ซึ่งสามารถยื่นได้หลังจากนายทะเบียนกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายืนยันให้สามารถใช้ชื่อธุรกิจได้ภายใน 30 วัน โดยสิ่งที่จะต้องยื่นคือ

  • ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัท
  • ชื่อของบริษัท (ตามที่ได้จองชื่อไว้)
  • ที่ตั้งสํานักงานใหญ่ / สาขา
  • วัตถุประสงค์ของบริษัท
  • ทุนจดทะเบียน
  • ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
  • ข้อบังคับ (ถ้ามี)
  • จํานวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชําระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25% ของทุนจดทะเบียน
  • ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
  • รายชื่อหรือจํานวนกรรมการที่มีอํานาจลงชื่อแทนบริษัท (อํานาจกรรมการ)
  • ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
  • ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ และจํานวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน

3. รอนายทะเบียนตรวจสอบเอกสาร


เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเอกสารจดทะเบียนบริษัท ซึ่งหากมีข้อผิดพลาดใด ๆ จะต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะดำเนินการต่อ โดยระยะเวลาการรอคอยจะขึ้นอยู่กับความครบถ้วนของเอกสารที่เราส่งไปในคราวแรก

4. เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อใช้จดทะเบียนบริษัท


หลังจากนายทะเบียนตรวจสอบเอกสารเรียบร้อย จึงถึงขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทตามรูปแบบที่ต้องการ โดยสามารถระบุได้ว่าต้องการจดทะเบียนบริษัทรูปแบบใด ซึ่งจะต้องมีการเซ็นเอกสารโดยชื่อประธาน หรือคณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย โดยเอกสารหลัก ๆ ที่ต้องใช้ คือ

  • แบบจองชื่อนิติบุคคล
  • สําเนาบัตรประจําตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
  • สําเนาหลักฐานการรับชําระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป

5. ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท


ยื่นคำขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ใกล้บ้านผู้ประกอบการทุกจังหวัดทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 87 แห่ง เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรอง ก็แสดงว่าผู้ประกอบการเป็นเจ้าของบริษัทที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนนิติบุคคล

อย่าลืมว่าการจดทะเบียนบริษัท ก็เป็นหนึ่งในบริการของส่วนภาครัฐ และสถาบันการเงิน ฉะนั้นจะต้องคิดเผื่อในส่วนของค่าธรรมเนียนในการรจดทะเบียนบริษัทด้วย

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทจำกัด


  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทจำกัด : 5,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ : 500 บาท
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน : 100 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ : 200 บาท
  • ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท : 200 บาท
    รวมแล้วค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนบริษัทจำกัดคือ : 6,000 บาท

ค่าธรรมเนียนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด : 1,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท : 200 บาท
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน : 100 บาท
    รวมแล้วค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนห้างหุ่นส่วนจำกัดคือ : 1,300 บาท

จดทะเบียนบริษัท กี่คน

  • จดทะเบียนพาณิชย์ : 1 คน (หากเกิน 1 คนจะต้องเปลี่ยนเป็นการจดทะเบียนบริษัทห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด)
  • จดทะเบียนบริษัทห้างหุ้นส่วน : 2 คนขึ้นไป
  • จดทะเบียนบริษัทจำกัด : 2 คนขึ้นไป
    จำนวนคนในการจดทะเบียนบริษัทขึ้นอยู่กับรูปแบบการจดทะเบียนตามประเภทบริษัท ซึ่งหากเป็นบริษัทจำกัดสามารถลงชื่อกรรมการได้มากกว่า 1 คน โดยผู้ที่มีชื่อว่ากรรมการ สามารถเซ็นเอกสารทดแทนเจ้าของบริษัทได้

จดทะเบียน บริษัท 2 คน ได้ ไหม ?

สามารถจดทะเบียนบริษัทด้วยชื่อ 2 คนได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2566 ได้มีการออกกฎหมายใหม่ เปลี่ยนข้อกำหนดว่าหากต้องการจดทะเบียนบริษัทจำกัด ต้องมีเจ้าของ และคณะกรรมการขั้นต่ำ 2 ท่าน รวมแล้วต้องมีชื่อ 3 ชื่อ หากแต่ตอนนี้เราสามารถจดทะเบียนบริษัทจำกัดได้อย่างถูกกฎหมายด้วยชื่อ 2 ท่านแล้ว

เท่านั้นก็ถือว่าครบถ้วนแล้ว สำหรับใคร ๆ ที่คิดอยากจะเริ่มต้นธุรกิจ จดทะเบียนบริษัทตามรูปแบบที่เราต้องการ แต่ยังขาดทุนทรัพย์ แรบบิท แคร์ มีสินเชื่อเงินด่วน มาแนะนำ ของ่าย วงเงินเยอะ ไม่ต้องค้ำประกัน คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมกันได้เลย

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรีสินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 14.99% ปี, 6-12 เดือน พนักงาน 5 ปี+
  • ดอกเบี้ย 17.99% ปี, 6-12 เดือน ธุรกิจ 10 ปี+
  • ผ่อน 60 เดือน แสนละ 2,2XX บาท
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน บาท หรือ 5 เท่าของรายได้
  • สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองจากบริษัท
  • พนักงาน 20,000 บาท/เดือน, เจ้าของกิจการ 200,000 บาท
KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่มีคนค้ำประกัน
  • รับเงินภายใน 24 ชม. หลังอนุมัติ
  • ระยะเวลาผ่อน: 12-72 เดือน
  • ผ่อนแสนละ 80 บาท/วัน
  • เอกสารสลิปเงินเดือน อายุงาน 4 เดือน
  • รายได้ 30,000 บาท/เดือน
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy CashHappy Cash

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% นาน 5 เดือน
  • สูงสุด 1.5 ล้านบาท
  • ผ่อน 60 เดือน ไม่ต้องมีค้ำ
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป รวมอายุผ่อนไม่เกิน 60 ปี
  • พนักงาน 15,000 บาท+, เจ้าของกิจการ 50,000 บาท
  • อายุงาน 6 เดือน+, เจ้าของธุรกิจ 3 ปี+
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • อนุมัติวงเงินสูงสุด 1 ล้าน
  • อนุมัติภายใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยต่ำ 2.08% ต่อเดือน
  • รับวงเงินหมุนเวียน ผ่อนขั้นต่ำ 200 บาท
  • รับเงินเต็มจำนวน แบ่งจ่าย 60 เดือน
  • ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือค้ำประกัน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา