Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info
🎵 เดือน 10 นี้!! Rabbit Care แจกลำโพง Marshall Emberton 2 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 13,490 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

เปรียบเทียบประกันออมทรัพย์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

กองทุนส่วนบุคคล
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Sep 05, 2024
มารู้จักอีกหนึ่งทางเลือกของนักลงทุน กับ กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)

การลงทุนในกองทุนต่างๆ มีมากหมายหลายแบบ ทั้งกองทุนรวม (Mutual fund) และกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) นักลงทุนหลายๆ คนอาจจะคุ้นเคย หรือได้ยินในเรื่องของกองทุนรวมบ่อยๆ แต่อาจจะไม่คุ้นชินกับกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้นวันนี้จะชวนให้มารู้จักอีกหนึ่งทางเลือกของนักลงทุน กับ กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ว่าแตกต่างจากกองทุนทั่วไป หรือกองทุนรวม (Mutual fund) อย่างไร และมีอะไรน่าสนใจ บ้าง โดยสามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้

คำจำกัดความของ กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) คืออะไร?

กองทุนส่วนบุคคล หรือ Private Fund คือกองทุนที่มีหน้าที่ในการบริหาร และจัดการเงินของผู้ลงทุน โดยที่ผู้ลงทุนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางหรือนโยบาย และรายละเอียดในการลงทุนได้ เพื่อให้ตอบโจทย์จุดประสงค์ในการลงทุน หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็น “การลงทุนแบบตามใจฉัน” แต่จะต้องอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด มีความอิสระและยืดหยุ่นสูง แต่จะยังอยู่ภายในกรอบที่ตั้งไว้ระหว่างบริษัท และผู้ลงทุนนั่นเอง

ความแตกต่างระหว่างกองทุนรวม (Mutual fund) และกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)

สำหรับกองทุนรวม (Mutual fund) คือกองทุนที่รวบรวมเงินจากหลายๆ ท่าน เพื่อไปบริหารจัดการต่อให้ได้ผลตอบแทน โดยอยู่ภายใต้กรอบนโยบายของกองทุนนั้น และจะได้กำไรตามจำนวนหน่วยลงทุน ซึ่งก็ต้องเลือกลงทุนในกองทุนที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด ส่วน กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) คือกำหนดนโยบายเองได้นั่นเอง

ประเภทสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนใน กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)

สำหรับกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ผู้ลงทุนจะสามารถพิจารณาลงทุนใน สินทรัพย์ต่างๆ โดยไม่ได้มีข้อกำหนดว่าจะต้องลงทุนเฉพาะ 1 ในประเภทนี้ หรือได้แค่ในประเทศ แต่สามารถเลือกลงทุนได้ทั้งสิ้น โดยที่กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ต่างๆ จะเป็นของผู้ลงทุน สินทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้มีดังนี้

  • เงินฝากธนาคาร
  • ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล
  • หุ้นกู้ภาคเอกชน
  • ตราสารทุน
  • หน่วยลงทุนของกองทุนรวม
  • ตราสารอนุพันธ์
  • สินทรัพย์ทางเลือกทั้งใน และต่างประเทศ

การลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) เหมาะกับใคร?

สำหรับการลงทุนในกองทุนรวม (Mutual fund) นั้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการแค่ลงเงินอย่างเดียว ที่เหลือให้ผู้เชี่ยวชาญจัดการ ตรงกันข้ามกับ กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ที่จะเหมาะกับนักลงทุนประเภทดังต่อไปนี้

  • นักลงทุนที่มีนแนวในในการลงทุนชัดเจน
  • นักลงทุนที่อยากได้การบริหารการลงทุน หรือนโยบายเฉพาะตัว
  • นักลงทุนที่มีกำลังทรัพย์สูง แต่อาจจะไม่ได้มีเวลาติดตามหรือบริหารกองทุนมากนัก
  • นักลงทุนที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการบริหารกองทุนมาช่วยดูแล

จำนวนเงินขั้นต่ำในการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)

สำหรับกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) นั้น จะใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเริ่มที่หลัก 10 ล้านบาท ขึ้นไป โดยบางองค์กรจะสามารถเริ่มขั้นต่ำได้ที่ 1 ล้านบาท ดังนั้นส่วนมากกองทุนส่วนบุคคลจะลงทุนกันเฉพาะนักลงทุนที่มีเงินจำนวนมาก ส่วนกองทุนรวมนั้นจำนวนเงินขั้นต่ำสุดจะอยู่ที่ 1 บาท แต่โดยทั่วไปคือแล้วแต่กองทุนนั้นๆ กำหนดในส่วนของเงินขั้นต่ำ

ค่าธรรมเนียมในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)

ในการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) นั้นสามารถปรับทุกอย่างให้ไปตามความต้องการของเราได้ โดยค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับมูลค่าเงินลงทุน และนโยบายที่จะลงทุนด้วยเช่นกัน ในส่วนของค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) มีดังต่อไปนี้

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการช่วยบริหารกองทุนส่วนบุคคล (Management Fee)
  • ค่าธรรมเนียมสำหรับผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian Fee)
  • ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในการจัดการกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์, ค่าผู้ตรวจสอบบัญชี และ ค่าอากรแสตมป์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ทั้งกองทุนรวม (Mutual fund) และกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ก็ถือว่ามีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งก็คือการลงทุนเพื่อแสวงหากำไร แต่จะแตกต่างกันตรงวิธีการในการลงทุน ที่กองทุนรวมคือการเลือกลงทุนตามนโยบายบริษัทที่เราสนใจ ส่วนกองทุนส่วนบุคคลคือการลงทุนไปตามนโยบายตามความต้องการของตนเอง ซึ่งมีความอิสระ และยืดหยุ่นในเรื่องนี้มากกว่ากองทุนรวมนั่นเอง แต่ทั้งสองกองทุนนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยแนะนำในเรื่องของนโยบายและการจัดการบริหาร

นอกจากกองทุนส่วนบุคคลแล้ว อยากแนะนำให้คุณรู้จักกับประกันชีวิตออมทรัพย์ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเกี่ยวกับการออม เรียกได้ว่าเป็นการทำประกันชีวิตร่วมกับการสะสมทรัพย์ไปในตัวโดยประกันชีวิตออมทรัพย์เป็นหนึ่งในรูปแบบของประกันแต่มีส่วนของการออมเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันคุณก็จะได้รับความคุ้มครองไปด้วย มีลักษณะคล้ายกับประกันชีวิตเพราะหากคุณเสียชีวิต บริษัทประกันก็จะจ่ายผลประโยชน์ให้กับผู้รับผลประโยชน์ที่มีการระบุไว้ในกรมธรรม์ ก่อนการตัดสินใจซื้อ น้องแคร์อยากให้คุณศึกษาข้อดีของประกันสะสมทรัพย์ก่อน ดังนี้

  1. เนื่องจากคุณต้องส่งค่าเบี้ยเป็นประจำ และสม่ำเสมอตามสัญญา ดังนั้นการซื้อประกันออมทรัพย์จะช่วยให้คุณสร้างวินัยในการเก็บออมเงิน รู้จักบริหารรายรับและรายจ่ายให้สมดุลกัน
  2. การีซื้อประกันออมทรัพย์ ถือเป็นการวางแผนการเงิน เพราะหากคุณเป็นเสาหลักของบ้าน การทำประกันออมทรัพย์เอาไงว้ จะช่วยให้ครอบครัวของคุณมีเงินก้อนเมื่อคุณเสียชีวิตๆไปแล้ว
  3. สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

ทุก ๆ การลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ และการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ก่อนการตัดสินใจในการลงทุน น้องแคร์มีอีกหนึ่งตัวเลือกมาแนะนำ นั่นคือ การซื้อประกันชีวิตออมทรัพย์ กับ แรบบิท แคร์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการออม ความเสี่ยงต่ำ แต่ได้ผลตอบแทนที่มั่นคงและแน่นอน ได้ทราบถึงจำนวนเงินที่แน่ชัด ปราศจากความเสี่ยง คุณจะได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง หากคุณส่งเบี้ยครบตามอายุสัญญา คุณจะได้รับเงินก้อนเพื่อไว้ใช้จ่ายในอนาคต หากกำลังลังเลว่าจะซื้อประกันออมทรัพย์แบบไหน ให้แรบบิท แคร์ ช่วยคุณเอง เรามีแผนประกันออมทรัพย์ที่หลากหลาย สนใจโทรเลย 1438

ประกันออมทรัพย์ที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ
 แฮปปี้มีเงินใช้ แฮปปี้มีเงินใช้

ไทยประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 15 ปี
  • รับเงินคืน 521% ตลอดสัญญา
  • การันตีเงินคืน 3% ทุก 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • ชำระเบี้ยได้ รายเดือน, 3 เดือน, ปี
  • สมัครได้ทุกอาชีพ อายุผู้สมัคร
Gen Life Plus 10 GeneraliGen Life Plus 10

Generali

  • คุ้มครองยาว 20 ปี เบี้ย 10 ปี
  • เสียชีวิต 270% มีชีวิต 310%
  • การันตีเงินคืน 3% ทุกปี
  • สิทธิลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท
  • อายุ 1 เดือน ถึง 65 ปี สมัครได้
  • จ่ายเบี้ยคงที่ ไม่เพิ่มตามอายุ
  • ทุกอาชีพสมัครได้ ตอบโจทย์ทุกวัย
ประกันบำนาญ 90/2 ทิพยประกันชีวิตประกันบำนาญ 90/2

ทิพยประกันชีวิต

  • รับบำนาญ สูงสุด 465%
  • จ่ายเบี้ย 2 ปี รับบำนาญ 31 ปี
  • ค่าเบี้ยเริ่มต้นต่ำ จ่าย 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี 300,000 บาท/ปี
  • อายุ 20-54 ปี สมัครได้
  • ชดเชยรายได้ รพ. เลือกรับบำเหน็จ
  • เบี้ยสั้น รับเงินนาน
ฟอร์ เพนชัน 85/7 เอฟดับบลิวดีฟอร์ เพนชัน 85/7

เอฟดับบลิวดี

  • วางแผนเกษียณ จ่ายเบี้ย 7 ปี คุ้มครองถึง 85 ปี
  • รับบำนาญเพิ่มตามอายุ สูงสุด 24%
  • เสียชีวิตรับเงินก้อน 110%
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัครได้ 20-52 ปี จ่ายเบี้ย 7 ปี
  • ทุนประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • บำนาญตั้งแต่อายุ 60 ปี ถึง 85 ปี
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา