Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

🎵 โปร 11.11 Rabbit Care แจกหูฟัง Marshall Minor 4 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 10,990 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

เปรียบเทียบประกันออมทรัพย์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที  กับ  

Rabbit Care

mutual-fund.png
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Oct 04, 2022

รู้จักกับ กองทุนรวม อีกหนึ่งก้าวสำหรับนักลงทุนมือใหม่

สำหรับผู้ที่สนใจในการลงทุน อาจจะคุ้นเคยมาบ้าง สรุปแล้วกองทุนรวมคืออะไร? มีแบบไหนบ้าง? มีหลักการได้ผลตอบแทนอย่างไร ซื้อได้ที่ไหน วันนี้ แรบบิท แคร์ จะชวนคุณไปรู้จักเกี่ยวกับเรื่อบงของกองทุนให้มากขึ้น ไปดูกันเลย!

กองทุนรวมคืออะไร? ทำไมถึงน่าสนใจ?

กองทุนรวม หรือ Mutual Fund คือ การนำเอาเงินของผู้ลงทุนรายย่อย มากองรวมกันให้เป็นเงินก้อนใหญ่ แล้วนำไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล แล้วจากนั้นก็นำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ ตามนโยบาลการลงทุนที่ระบุไว้ โดยที่ผู้ลงทุนแต่ละรายจะได้รับ “หน่วยลงทุน (Unit Trust) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ลงทุนไป โดยมี บลจ. เป็นผู้จัดตั้งและทำหน้าที่บริหารให้ได้ผลตอบแทน แล้วนำมาเฉลี่ยคืนกับผู้ลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้

โดยทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้สรุปหลักเกณฑ์การตั้งกองทุนรวมไว้ว่า บริษัทหลักทรัพย์จะจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้ เมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ล.ต. (ม.117) โดยหากได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้ว ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ม.122) ที่ต้องเป็นธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ ก.ล.ต. กำหนดด้วย (ม.121)

สามารถเปรียบได้ว่า กองทุนรวม คือหนึ่งในเครื่องมือลงทุน เหมาะสำหรับผู้ลงทุนรายย่อยที่ต้องการจะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน แต่ติดขัดด้วยอุปสรรคหลายประการที่ทำให้การลงทุนด้วยตนเองไม่สามารถได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น

  • มีทุนทรัพย์จำนวนจำกัด ทำให้ไม่สามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเภทได้มากพอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน
  • ไม่มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในการลงทุน
  • ไม่มีเวลาจะศึกษา ค้นหา และติดตามข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจการลงทุน
  • มีภาระหน้าที่ในชีวิตประจำวันมาก

กองทุนรวมจึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมาย ให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีสุด ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้

กองทุนรวม มีอะไรบ้าง?

ซึ่งกองทุนนั้นเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีความหลากหลาย และสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภท ดังนี้

แบ่งตามประเภทของการขายคืนหน่วยลงทุน



กองทุนรวมสามารถแบ่งตามลักษณะในการจัดจำหน่ายและไถ่ถอนคืนหน่วยลงทุนได้เป็น 2 ประเภท คือ

- กองทุนเปิด (Opened - End Fund)

กองทุนรวมแบบที่อาจมีการกำหนดอายุโครงการหรือไม่ก็ได้ แต่มีข้อสำคัญอยู่ที่ บลจ. สามารถที่จะขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมและต่อเนื่องได้ หลังจากที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนในครั้งแรกไปแล้ว รวมถึงสามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ลงทุนเมื่อใดก็ได้ตลอดเวลา และเนื่องจากขนาดของกองทุนที่ยังสามารถขยายหรือลดลงได้ จึงทำให้กองทุนประเภทนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

- กองทุนปิด(Closed - End Fund)

กองทุนรวมแบบที่ บลจ. ไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยจะมีการกำหนดอายุโครงการอย่างชัดเจนแน่นอนและเปิดให้มีการจองซื้อหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวเมื่อเริ่มต้นโครงการ หลังจากนั้นจะไม่มีการออกขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมแต่อย่างใด และก่อนที่ผู้ลงทุนจะตัดสินใจลงทุนในกองทุนปิดนี้ ต้องคำนึงถึงระยะเวลาการลงทุนในกองทุนนั้นมีความสอดคล้องเหมาะสมกับระยะเวลาที่ผู้ลงทุนต้องการจะใช้เงินในอนาคตหรือไม่ เพราะการลงทุนในกองทุนปิดนี้ถือเป็นการลงทุนในระยะยาวและมีสภาพการซื้อขายน้อย



อย่างไรก็ตาม ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการสภาพคล่องของผู้ลงทุนแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นแบบระยะยาวหรือต้องการความคล่องตัว และสามารถถอนตัวจากการลงทุนได้ทันที

แบ่งตามนโยบายการลงทุน


ซึ่งแบ่งได้ตามมาตรฐานของสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น

- กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)

เหมาะสำหรับการลงทุนระยะสั้นของผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยง เพราะเป็นกองทุนรวมที่กำหนดการดำรงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนไว้ (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 3 เดือน

- กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)

เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อย เช่น พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, ตั๋วเงินคลัง หรือหุ้นกู้ของภาคเอกชน เป็นต้น โดยอาจแบ่งออกได้เป็น กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-Term Fixed-Income Fund) และ กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว (Long-Term Fixed-Income Fund)

- กองทุนรวมผสม (Balanced Fund)

เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง เช่น เงินฝาก, ตราสารหนี้, ตราสารทุน หรือตราสารอื่น ๆ โดยการตัดสินใจของบริษัทจัดการกองทุนตามความเหมาะสม

- กองทุนรวมผสมยืดหยุ่น (Flexible Portfolio Fund)

เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องสักส่วนการลงทุนในตราสารทุน โดยการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับผู้จัดการกองทุน ณ ณะนั้น

- กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds)

เป็นกองทุนที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่ำ มีความกระจายความเสี่ยงมากกว่ากองทุนประเภทอื่น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน แต่มีค่าธรรมเนียมในการจัดการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ซ้ำซ้อน

- กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund)

เหมาะกับผู้ลงทุนที่ยอมรับกับความเสี่ยงได้สูง เพราะมีการลงทุนใน หุ้นสามัญ, ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ในการซื้อหลักทรัพย์ รวมถึงลงทุนของกองทุนอื่น ๆ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

- กองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant Fund)

มีนโยบายการลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น, หุ้นกู้, หน่วยลงทุน หรือหุ้นเพิ่มทุน โดยเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทำให้กองทุนประเภทนี้จะมีความเสี่ยงสูงมาก

- กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ (Sector Fund)

กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกันเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ กองทุนประเภทนี้จะมีความเสี่ยงสูงมาก เช่น ลงทุนเฉพาะกลุ่มธุรกิจ อย่าง กลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร

- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund)

มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมเงินระยะยาวไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (Government Pension Fund) และมีเงื่อนไขในด้านการลงทุนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี

- กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund)

เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อมาทดแทน LTF มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงน้อย และผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทำงานมีการออมระยะยาวมากขึ้นและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่



ปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2566 จะมีกองทุนรวมดั่งกล่าว และอาจมีกองทุนรวมบางชนิดที่เปลี่ยนแปลงได้อีกในอนาคต เช่น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ปัจจุบันได้มีการยกเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้น นอกจากนี้ แม้จะเป็นกองทุนด้วยกันเอง แต่ก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป และยังมีพวกกองทุนพิเศษอื่น ๆ อีกมากมายหลายแบบให้คุณได้ศึกษาเพื่อเลือกลงทุนเพิ่มเติมอีก เช่น กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund), กองทุนแบบมีประกัน (Guarantee Fund), กองทุนหมวดอุตสาหกรรม (Sector Fund) หรือกองทุนรวม ETF (Exchange Traded Fund) เป็นต้น

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมหรือลงทุนด้วยการซื้อหุ้น จำเป็นจะต้องศึกษาให้ละเอียดรอบคอบเสมอก่อนการลงทุนทุกครั้ง รวมถึงประเมินและกระจายความเสี่ยงด้วย

กองทุนรวม ได้ผลตอบแทนอย่างไรบ้าง?

สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ คือ

- ส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล (Dividend)

เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมนั้นมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ซึ่งแต่ละกองทุนจะมีนโยบายการจ่ายผลตอบแทนในรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป

- กำไรส่วนเกินมูลค่าหน่วยลงทุน (Capital Gain)

จะได้รับเมื่อผู้ลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนให้กับบริษัทจัดการลงทุนในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมาในตอนแรก

โดยกองทุนรวมที่จะได้รับยกเว้นการเสียภาษีนั้น คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่มีเงินได้ประเภทบุคคลธรรมดา โดยเงินได้ (เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง) ทุกประเภทสามารถนำมาลงทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้

และสำหรับใครที่สนใจอยากจะซื้อกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี อาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ดีเสียก่อน เพราะการลดหย่อนภาษีด้วยวิธีนี้ จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแต่ไม่อยากจ่ายหรืออยากขอเงินคืนภาษี แต่อยากลงทุนในระยะยาว หรืออาจมีรายได้ที่ต้องจ่ายฐานภาษีสูงถึง 20%

นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ในระดับกลางถึงสูงได้ รวมถึงต้องการเตรียมความพร้อมด้านการเงินก่อนเกษียณอายุจากการทำงาน เนื่องจากกองทุนรวมบางประเภทจะมีเงื่อนไขในการถอนกองทุนรวมคืนด้วย

กองทุนรวม ถอนได้ตอนไหน?

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น กองทุนรวมแต่ละแห่งนั้นสามารถถอดทุน หรือขายกองทุนรวมได้ แต่งินดั่งกล่าวจะไม่กลับเข้ามาในบัญชีเงินของเราทันที ยังมีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลาดำเนินการเช่นเดียวกับตอนที่เราซื้อหน่วยลงทุนมาเกี่ยวข้องและบางแห่ง ยังมีข้อกำหนดในการถือหน่วยกองทุนรวมจึงจะขายได้ด้วย

เบื้องต้น หากเราอยากรู้ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืนของกองทุน สามารถดูข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนการลงทุน หรือ Fund Fact Sheet ซึ่งจะระบุระยะเวลาเอาไว้ เช่น T+4 หรือ T+5 ซึ่ง T จะหมายถึงวันที่เราทำรายการก่อนเวลาปิดรับคำสั่งซื้อ-ขาย ส่วน + คือจำนวนวันทำการนับจากวันที่ทำรายการ

เช่น T+4 ก็คือจะได้รับเงินคืน 4 วัน นับจากวันทำรายการ แต่หากระหว่างนั้นติดวันหยุด ระยะเวลาก็จะเลื่อนออกไป หากเราทำรายการในวันศุกร์ ก็จะได้รับเงินค่าขายคืนในวันพฤหัสบดี เนื่องจากไม่นับวันหยุดนั่นเอง

หรืออีกตัวอย่าง กองทุนรวม RMF มีเงื่อนไขว่า ต้องลงทุนและถือหน่วยลงทุนจนกระทั่งอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ รวมทั้งต้องลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก เช่น หากซื้อตอนอายุ 45 ปี หมายความว่าคุณจะต้องจ่ายเงินลงทุนต่อเนื่องจนครบ 5 ปี หรือ ก็คือต้องจ่ายเงินลงทุนต่อจนกว่าจะอายุ 50 ปี ถึงจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่ผิดกฎ เป็นต้น

ดังนั้น หากให้ แรบบิท แคร์ แนะนำ ผู้ซื้อควรศึกษาก่อนเสมอว่า ในกองทุนนั้น ๆ มีการกำหนดเงื่อนไขด้านระยะเวลาการลงทุนหรือไม่ หากผิดกฎจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะบางแห่งอาจมีการเรียกย้อนภาษีคืน หรือหักกำไรต่าง ๆ ลง

กองทุนรวม ซื้อที่ไหน? ซื้อยังไง?

ในปัจจุบันนั้น การจะซื้อกองทุนรวมสามารถทำได้ง่าย และสะดวกมาก ไม่ซับซ้อนเหมือนในอดีต โดยการเปิดกองทุนรวมจะใช้เอกสารเพียงแค่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ที่ต้องการหักเงินเพื่อซื้อหน่วยลงทุนก็สามารถเปิดบัญชีได้แล้ว ซึ่งหลังจากที่เตรียมเอกสารครบแล้ว ก็สามารถเดินทางไปเปิดบัญชีกองทุนรวมได้ ทั้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่เป็นผู้ออกกองทุนรวมโดยตรง

หรือหากไม่สะดวก ผู้ที่ต้องการซื้อ สามารถไปเปิดบัญชีได้ที่ ธนาคารพาณิชย์, บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และ บริษัทนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นตัวแทนซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้อีกช่องทาง โดยก่อนการเปิดบัญชีเพื่อซื้อกองทุนรวม จะมีการให้ที่สนใจทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน พร้อมกับอาจมีการเสนอกองทุนที่เหมาะสมให้เลือกลงทุนด้วย

นอกจากนี้ บางแห่งอาจแจ้งว่าสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวการลงทุนกองทุนรวมได้ผ่านแอปพลิเคชั่นของธนาคารนั้น ๆ เพียงแจ้งดความประสงค์กับเจ้าหน้าที่เพื่อขอทำการซื้อขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมบนสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ ผ่านแอปพลิเคชั่นซื้อขายหน่วยลงทุน

บางแห่งอาจมีระบบให้ผู้ลงทุนแจ้งตัดบัญชีอัตโนมัติ เพื่อซื้อหน่วยลงทุน โดยสามารถเลือกจำนวนเงินที่ต้องการตัด และวันที่ต้องการให้ผู้ขายตัดบัญชีในแต่ละเดือนได้อีกด้วย เช่น ต้องการลงทุนในกองทุน RMF และกองทุนรวม SSF เป็นประจำ ก็แจ้งความประสงค์ในการให้บัญชีตัดเงินอัตโนมัติได้เมื่อถึงกำหนด เป็นต้น

หากใครที่ต้องการจะลงทุน ก่อนอื่นต้องศึกษาสไตล์ของตัวเองก่อนว่า คุณนั้นเหมาะกับการลงทุนแบบไหน และการลงทุนนั้นก็ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียเหมาะอย่างไรกับคุณบ้างเสมอ

แต่สำหรับที่ไม่อยากเสี่ยงในการซื้อกองทุนรวม แต่อยากเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณในช่วงบั้นปลายชีวิต การเลือกซื้อประกันออมทรัพย์ หรือประกันเพื่อการเกษียณเอาไว้ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะใช้ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกับกองทุนรวมแล้ว ยังช่วยคุ้มครองได้เหมือนประกันชีวิตอีกด้วย หรือใครที่ซื้ออยู่แล้ว แต่อยากกระจายความเสี่ยง ประกันออมทรัพย์ และ ประกันเพื่อการเกษียณเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

สำหรับใครที่สนใจ คลิกเลย กับ แรบบิท แคร์ ที่นี้นอกจากจะมี ประกันออมทรัพย์ และประกันเพื่อการเกษียณ ให้คุณได้เลือกหลากหลายตามไลฟ์สไตล์แล้ว ค่าเบี้ยประกันยังจับต้องได้ เลือกได้หลากหลายความคุ้มครองอีกด้วย คลิกเลย!

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

 แฮปปี้มีเงินใช้แฮปปี้มีเงินใช้

ไทยประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 15 ปี
  • รับเงินคืน 521% ตลอดสัญญา
  • การันตีเงินคืน 3% ทุก 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • ชำระเบี้ยได้ รายเดือน, 3 เดือน, ปี
  • สมัครได้ทุกอาชีพ อายุผู้สมัคร
ประกันบำนาญ 90/2 ทิพยประกันชีวิตประกันบำนาญ 90/2

ทิพยประกันชีวิต

  • บำนาญรวม สูงสุด 465%
  • จ่ายเบี้ย 2 ปี รับบำนาญสูงสุด 31 ปี
  • เบี้ยเบา จ่าย 2 ปี
  • สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 300,000 บาท
  • สมัคร 20-54 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • รับเงินชดเชย รพ. เลือกบำเหน็จ
  • จ่ายเบี้ยสั้น รับเงินนาน
ฟอร์ เพนชัน 85/7 เอฟดับบลิวดีฟอร์ เพนชัน 85/7

เอฟดับบลิวดี

  • เกษียณง่าย จ่ายเบี้ย 7 ปี คุ้มครองถึง 85 ปี
  • บำนาญเพิ่มตามอายุ สูงสุด 24%
  • รับเงินก้อน 110% กรณีเสียชีวิต
  • สิทธิลดหย่อนภาษี 300,000 บาท
  • สมัคร 20-52 ปี เบี้ยสั้น 7 ปี
  • เลือกทุนประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • รับบำนาญ 60-85 ปี
GEN Senior So Good GeneraliGEN Senior So Good

Generali

  • จ่ายเพียง 15 บาท/วัน
  • ค่าเบี้ยคงที่ เท่าเดิม จนอายุ 90 ปี
  • รับเงิน 450,000 บาท สูงสุด 150% คุ้มครอง
  • แบ่งจ่ายรายเดือน สูงสุด 12 เดือน
  • สมัครได้ อายุ 55-70 ปี
  • สมัครง่าย จบภายใน 15 นาที
  • รายปีถูกกว่า รับส่วนลด 8%

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา