Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Apr 04, 2023

การจอดรถริมฟุตบาทแบบที่ไม่ผิดกฎจราจร จะต้องจอดแบบไหน?

เมื่อมีรถแล้วก็จะต้องมีการทำความรู้จักกับกฎจราจร ซึ่งแน่นอนว่าผู้ขับขี่จะต้องมีการสอบใบขับขี่มาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เพราะว่ากฎจราจรนั้นถือว่าเป็นการจัดระเบียบทางสังคมรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถริมฟุตบาท การเดินรถ การหยุดรถ ก็ล้วนแล้วแต่ที่จะต้องปฏิบัติให้อยู่ภายใต้กฎจราจรทั้งสิ้น โดยเฉพาะการจอดรถริมถนน

การจอดรถริมฟุตบาท ที่จะต้องทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับความหมายของแถบสีต่าง ๆ ที่ทาอยู่บริเวณริมฟุตบาท ไม่ว่าจะเป็นริมฟุตบาทสีขาวเหลือง ริมฟุตบาทสีขาวแดง หรือริมฟุตบาทสีขาวดำ ซึ่งริมฟุตบาทในแต่ละสีนี้ก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป และก็จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเรานั้นจะสามารถจอดรถริมฟุตบาทได้หรือไม่ แล้วริมฟุตบาทจะต้องเป็นสีอะไรเราถึงจะจอดได้ หรือริมฟุตบาทจะต้องเป็นสีอะไรเราถึงจะจอดไม่ได้ ริมฟุตบาทขาวเหลืองจอดได้ไหม ริมฟุตบาทขาวแดงจอดได้ไหม และริมฟุตบาทขาวดำจอดได้ไหม

จอดรถริมฟุตบาทผิดกฎจราจรไหม?

การจอดรถริมฟุตบาทนั้นจะต้องคำนึงถึงกฎจราจรด้วย นั่นก็คือแถบสีที่ใช้ทาบริเวณริมฟุตบาท เพราะหลายคนมักจะมีคำถามว่าริมฟุตบาทขาวเหลืองจอดได้ไหม ขาวแดงจอดได้ไหม และขาวดำจอดได้ไหม ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับแถบสีเหล่านี้เหมือนกัน ซึ่งโดยปกติแล้วทางผู้ขับขี่นั้นจะต้องมีการผ่านการอบรมและสอบทำใบขับขี่มาอยู่แล้ว

ดังนั้นจึงควรที่จะต้องระมัดระวังและหมั่นสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเอาไว้ รวมไปถึงเครื่องหมายจราจรอื่น ๆ หรือแม้แต่สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะบ่งบอกว่าพื้นที่บริเวณนั้น ๆ สามารถที่จะจอดรถได้ไหม เพื่อไม่ให้เป็นการทำผิดกฎจราจร อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาจราจรและยังช่วยสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคมได้อีกด้วย

ริมฟุตบาทเป็นเส้นขาวเหลืองจอดได้ไหม?

สำหรับแถบสีขาวเหลืองที่ทาบริเวณริมฟุตบาทนี้ หมายถึง สามารถจอดรถริมฟุตบาทเพื่อรับ-ส่งคนหรือจอดรถได้เพียงชั่วคราวในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น และห้ามจอดรถหรือยานพาหนะใด ๆ ทุกชนิดที่ริมฟุตบาทแถบสีนี้ ดังนั้นจากคำถามที่ว่า “ขาวเหลืองจอดได้ไหม?” ก็จะมีคำตอบคือสามารถจอดได้ แต่จะต้องจอดเพียงชั่วคราวและภายในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น โดยส่วนมากเรามักจะพบเห็นได้ตามริมฟุตบาทที่ป้ายรถเมล์

ริมฟุตบาทเป็นเส้นขาวแดงจอดได้ไหม?

จากคำถามที่ว่าขาวเหลืองจอดได้ไหม เราก็ได้คำตอบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าสามารถที่จะจอดริมฟุตบาทได้ แต่จะต้องเป็นการจอดภายในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น ต่อมาก็จะมีคำถามว่าแล้วขาวแดงจอดได้ไหม สำหรับแถบสีขาวแดงที่ทาบริเวณริมฟุตบาทนี้ หมายถึง ห้ามหยุดรถ ห้ามจอดรถ หรือห้ามหยุดเพื่อรับ-ส่งคนเพียงชั่วคราวก็ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถสาธารณะก็ไม่สามารถที่จะจอดได้เลย เพราะในพื้นที่บริเวณริมฟุตบาทสีนี้มักจะอยู่ใกล้กับทางแยก หรือในพื้นที่บริเวณริมฟุตบาทนี้มักจะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจะได้รับอันตรายจากการจอดรถหรือการหยุดรถ ดังนั้นจากคำถามที่ว่า “ขาวแดงจอดได้ไหม?” ก็จะมีคำตอบคือไม่สามารถที่จะจอดได้นั่นเอง

ริมฟุตบาทเป็นเส้นขาวดำจอดได้ไหม?

จากคำถามข้างต้นที่ว่าขาวเหลืองจอดได้ไหม ขาวแดงจอดได้ไหม เราก็ได้รับคำตอบกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็จะเป็นคำถามที่ว่า แล้วแถบสีที่ริมฟุตบาทเป็นเส้นขาวดำจอดได้ไหม?

สำหรับแถบสีขาวดำที่ทาบริเวณริมฟุตบาทนี้ หมายถึง การแสดงขอบเขตของสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคบนท้องถนน ซึ่งก็จะหมายถึงฟุตบาทนั่นเอง เพื่อที่จะได้ให้ผู้ขับขี่ทั้งหลายนั้นสามารถที่จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยที่แถบสีขาวดำริมฟุตบาทนี้จะสามารถหยุดรถหรือจอดรถได้ แต่ก็จะต้องไม่ใช่พื้นที่ที่กฎหมายนั้นห้ามเอาไว้ เช่น บริเวณท่อดับเพลิง บริเวณหน้าตู้ไปรษณีย์ เป็นต้น

พื้นที่ที่ห้ามจอดรถ จอดแล้วผิดกฎหมายมีบริเวณไหนบ้าง?

การจอดรถในพื้นที่ที่ห้ามจอดหรือการจอดที่ผิดกฎหมายนั้นมักจะพบได้บ่อย และจะถือว่ามีความผิดตามมาตรา ม.54 ม.55 ม.57 หรือ ม.148 ของพ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2538 ซึ่งจะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท และทางเจ้าหน้าที่จะสามารถเคลื่อนย้ายรถหรือใส่ที่ล็อกล้อได้ จนกว่าทางเจ้าของรถหรือว่าทางผู้ขับขี่นั้นจะมีการชำระค่าปรับเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยจะเป็นการจอดรถที่ผิดกฎหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

  • การจอดรถบนทางฟุตบาท
  • การจอดรถบนสะพานหรืออุโมงค์
  • การจอดรถในระยะ 3 เมตร จากท่อดับเพลิง
  • การจอดรถในระยะ 15 เมตร จากทางที่รถไฟวิ่งผ่าน
  • การจอดรถในที่คับขัน
  • การจอดรถในระยะ 3 เมตร จากตู้ไปรษณีย์
  • การหยุดหรือการจอดรถที่เป็นการกีดขวางทางจราจร
  • การจอดรถที่ไม่ขนานกับขอบทางฟุตบาทหรือไหล่ทางฟุตบาท
  • การจอดรถในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก
  • การจอดรถที่ห่างจากขอบทางฟุตบาทหรือไหล่ทางเกิน 25 เซนติเมตร
  • การจอดรถในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตร จากทางข้าม
  • การจอดรถในระยะ 10 เมตร จากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
  • การจอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอด
  • การจอดรถซ้อนคันกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อนหน้าแล้ว
  • การจอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
  • การจอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางหรือจอดรถในระยะที่เลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
  • สำหรับคำถามที่ว่าขาวเหลืองจอดได้ไหม คำตอบคือสามารถจอดได้ แต่จะต้องจอดเพียงชั่วคราวและภายในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น

วิธีการจอดรถที่ถูกต้องตามกฎหมายมีอะไรบ้าง?

1. การจอดรถในช่องจอดรถ และควรเลื่อนเกียร์ไปไว้ที่ตำแหน่ง P เพื่อไม่ให้รถเลื่อน และควรจะจอดขนานกับเส้นที่กำหนดไว้ พร้อมกับพับกระจกข้างเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ให้กับรถคันอื่นให้สามารถที่จะขับผ่านหรือเข้าจอดได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
2. สำหรับการจอดขวางช่องจอดรถหรือการจอดรถซ้อนคัน ให้เราทำการปลดเกียร์ว่างและเลื่อนคันเกียร์ไปไว้ที่ตำแหน่ง N และห้ามดึงเบรกมือขึ้นโดยเด็ดขาด เพื่อที่จะได้ให้คนอื่นนั้นสามารถเข็นรถของเราออกได้ รวมไปถึงการจอดรถในบริเวณหัวมุม ทางโค้ง หรือทางแคบ เพราะว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่จำกัด ดังนั้นรถของเราอาจจะไปกีดขวางช่องทางการจราจรจนทำให้รถคันอื่นขับผ่านไม่สะดวก และอาจจะส่งผลก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
3. การจอดรถบนช่องทางเดินรถ เช่น ริมฟุตบาท ควรที่จะจอดรถบริเวณด้านซ้ายของทางเดินรถเสมอ โดยการจอดรถให้ชิดและขนานกับขอบทางฟุตบาทหรือไหล่ทางฟุตบาท ในระยะที่ไม่เกิน 25 เซนติเมตร และไม่ควรที่จะจอดรถในบริเวณที่ห้ามจอดด้วย เช่น บนฟุตบาท บนสะพาน ในอุโมงค์ หรือบริเวณทางร่วมทางแยก เป็นต้น
4. สำหรับในกรณีที่รถจอดเสียอยู่บนทางเดินรถ เราควรที่จะเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน และหาวัสดุที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและสะดุดตามาวางไว้ โดยจะวางให้ห่างจากรถในระยะที่ไม่ต่ำกว่า 50 เมตร เพื่อเป็นการเตือนให้ผู้ขับขี่คันอื่นมองเห็นและรับรู้ได้ว่ามีรถจอดเสียอยู่ข้างหน้า จะได้มีเวลาเปลี่ยนช่องทางการเดินรถและเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้น จากนั้นให้พยายามนำรถออกจากช่องทางเดินรถให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในภายหลัง
5. การจอดรถบนทางลาดชัน ควรที่จะจอดรถให้ชิดกับขอบทาง ขอบฟุตบาท หรือชิดกำแพงให้มากที่สุด โดยการหมุนพวงมาลัยให้ล้อหน้าเลี้ยวไปทางขอบทาง เพื่อป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่และป้องกันไม่ให้รถไหลไปกีดขวางช่องทางจราจร แต่ถ้าหากว่าเป็นทางลาดชันที่ไม่มีขอบทาง ก็ควรที่จะหมุนพวงมาลัยให้ล้อหน้าเลี้ยวไปทางด้านตรงข้ามกับถนน จากนั้นให้ดึงเบรกมือขึ้นและเลื่อนเกียร์ไปยังตำแหน่งถอยหลังสำหรับรถเกียร์ธรรมดา หรือเลื่อนเกียร์ไปยังตำแหน่ง P สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนตัว รวมไปถึงการนำก้อนหินหรือขอนไม้มาวางรองล้อรถเอาไว้ จะได้เป็นการเพิ่มความปลอดภัยขึ้นอีกด้วย
6. สำหรับแถบสีบริเวณริมฟุตบาท ไม่ว่าจะเป็นสีขาวแดง สีขาวดำหรือสีขาวเหลืองจอดได้ไหม สรุปคือ ริมฟุตบาทสีขาวแดงห้ามจอด ริมฟุตบาทสีขาวดำจอดได้ และริมฟุตบาทสีขาวเหลืองจอดได้ไหม คำตอบคือสามารถจอดรถเพื่อหยุดรับ-ส่งคนเพียงชั่วคราวได้ และจะต้องใช้เวลาไม่นานนั่นเอง

ถ้าหากว่าจอดรถอยู่ริมฟุตบาทแล้วมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น แบบนี้ประกันภัยจะรับเคลมไหม?

ถ้าหากว่าเป็นประกันภัยชั้น 1 ก็จะสามารถเคลมได้ ถึงแม้ว่าเราจะจอดรถอยู่ริมฟุตบาทในแถบสีอะไร ทางประกันภัยรถยนต์ก็จะรับเคลมทั้งสิ้น และเนื่องจากเหตุผลหลักคือเป็นความเสียหายที่มาจากการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นจึงไว้วางใจได้เลยว่าทางบริษัทประกันภัยจะรับเคลมแน่นอน ส่วนในเรื่องที่ไปจอดรถริมฟุตบาทนั้น อันนี้ก็จะต้องว่ากันไปตามกฎหมายจราจรเช่นเดียวกัน

จอดบริเวณที่ห้ามจอดรถ หมายถึงตรงไหนบ้าง

นอกจากการจอดยานพาหนะในพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีรั้วรอบขอบชิดเพื่อความถูกต้องแล้ว ตามกฎหมาย ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิ์จอดรถในพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่เอกชนโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากอาจมีความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55 ซึ่งระบุไว้ในหมวด 4 เกี่ยวกับการหยุดและจอดรถ โดยข้อบังคับนี้ห้ามไม่ให้ผู้ขับขี่หยุดรถใน 7 บริเวณดังนี้<

  1. ในช่องเดินรถ ยกเว้น หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
  2. บนทางเท้า
  3. บนสะพานหรือในอุโมงค์
  4. ในทางร่วมทางแยก
  5. ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
  6. ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
  7. ในเขตปลอดภัย

พฤติกรรมการจอดรถที่ไม่ควรทำ

การจอดรถในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมไม่เพียงแต่สร้างความไม่สะดวกให้กับผู้ใช้ถนนคนอื่น แต่ยังเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจร ซึ่งอาจนำไปสู่อุบัติเหตุและความไม่พอใจจากผู้คนรอบข้าง ตัวอย่างที่พบบ่อยมีดังนี้

  1. จอดรถในทางโค้ง ทางเลี้ยว หรือหัวมุมถนน : บริเวณเหล่านี้ถือเป็นจุดอันตรายและมักจะห้ามจอด เนื่องจากทำให้รถคันอื่นผ่านไปได้ยาก เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนและยังฝ่าฝืนกฎจราจรอีกด้วย
  2. จอดรถริมถนนและกินเลน : การจอดรถโดยไม่คำนึงถึงรถที่ขับตามมาอาจก่อให้เกิดการกีดขวางช่องทางจราจร ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การจราจรติดขัด
  3. จอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านผู้อื่น : การจอดรถขวางหน้าบ้านของผู้อื่นเป็นการก่อความเดือดร้อน หากการจอดนั้นกระทบต่อผู้อื่น เช่น ทำให้ไปทำงานล่าช้า หรือต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เจ้าของบ้านมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง
  4. จอดรถซ้อนคันและดึงเบรกมือ : การจอดรถซ้อนคันโดยดึงเบรกมือและไม่ปลดเกียร์ว่างจะทำให้รถที่ถูกขวางไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และทำให้ผู้อื่นต้องรออย่างไม่มีจุดหมาย หากจำเป็นต้องจอดรถซ้อนคันควรตั้งล้อตรง เข้าเกียร์ว่าง (N) และหลีกเลี่ยงการดึงเบรกมือเพื่อให้รถคันอื่นสามารถเคลื่อนย้ายได้

จอดรถที่ห้ามจอด ปรับเท่าไหร่

การจอดรถในที่ห้ามจอดในประเทศไทยถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจราจร โดยตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 การกระทำดังกล่าวมีโทษปรับ ซึ่งในปัจจุบันอัตราค่าปรับสำหรับการจอดรถในที่ห้ามจอดอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ตำรวจและข้อบังคับในพื้นที่นั้น ๆ

จอดรถในที่ห้ามจอด แล้วโดนชน ใครผิด

หากคุณจอดรถในที่ห้ามจอดแล้วถูกชน การพิจารณาความผิดจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่โดยทั่วไปมีข้อสังเกตดังนี้

  1. ผู้จอดรถในที่ห้ามจอด : การจอดรถในที่ห้ามจอดถือเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจร คุณอาจถูกปรับหรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจราจร แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นฝ่ายชน แต่การจอดในที่ห้ามจอดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น คุณอาจมีส่วนผิดในกรณีนี้
  2. ผู้ขับขี่รถที่ชน : ผู้ขับขี่รถที่ชนรถของคุณจะต้องรับผิดชอบในส่วนของการไม่ระมัดระวังในการขับขี่ แม้ว่ารถจะจอดอยู่ในที่ห้ามจอด แต่ผู้ขับขี่ยังคงต้องมีความรับผิดชอบในการควบคุมรถไม่ให้ชนสิ่งกีดขวางหรือรถที่จอดอยู่

ในการพิจารณาความผิดมักจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น สภาพถนน ป้ายจราจร และพฤติกรรมการขับขี่ของทั้งสองฝ่าย อาจมีการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างผู้จอดรถและผู้ขับขี่รถที่ชน

จอดรถในที่ห้ามจอด แล้วโดนชน ประกันจ่ายไหม

ในกรณีที่คุณจอดรถในที่ห้ามจอดแล้วถูกชน การที่ประกันจะจ่ายหรือไม่จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับรายละเอียดของกรมธรรม์และประเภทของประกันที่คุณทำไว้

  • ประกันภัยชั้น 1 : ประกันภัยชั้น 1 มักครอบคลุมความเสียหายของรถไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ ดังนั้น หากคุณจอดรถในที่ห้ามจอดแล้วถูกชน ประกันชั้น 1 จะจ่ายค่าซ่อมให้รถของคุณ อย่างไรก็ตาม บริษัทประกันอาจเรียกเก็บ "ค่าเสียหายส่วนแรก" (Excess) หรือปรับเบี้ยประกันในปีถัดไป เนื่องจากคุณมีส่วนในการทำผิดกฎจราจร
  • ประกันภัยชั้น 2+ และ 3+ : ประกันภัยชั้น 2+ และ 3+ มักจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากการชนกับยานพาหนะเท่านั้น และในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด เช่น จอดในที่ห้ามจอด อาจมีข้อจำกัดในการเคลม ดังนั้น การจ่ายค่าซ่อมจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์
  • ประกันภัยชั้น 2 และ 3 : ประกันภัยชั้น 2 และ 3 มักจะไม่คุ้มครองความเสียหายของรถคุณในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด (เช่น การจอดในที่ห้ามจอด) แต่จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถของคู่กรณีและความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก


ดังนั้น แม้ว่าประกันจะคุ้มครองในบางกรณี แต่คุณอาจต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายบางส่วน โดยเฉพาะในกรณีที่คุณทำผิดกฎจราจร เช่น การจอดในที่ห้ามจอด นั่นเอง

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

อยากทำประกันภัยรถยนต์ ควรจะเลือกทำประกันชั้นไหนดี?

แนะนำว่าควรที่จะเลือกทำเป็นประกันภัยชั้น 1 เพราะด้วยความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด ถึงแม้เบี้ยประกันจะแพงกว่าประเภทอื่น แต่ก็ให้ความคุ้มค่า และความอุ่นใจได้มากที่สุดเช่นเดียวกัน ดังนั้นการเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

สำหรับประกันภัยรถยนต์นั้นจะมีแผนกรมธรรม์และราคาที่แตกต่างกันออกไปโดยจะขึ้นอยู่กับความคุ้มครองเป็นหลัก แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบความคุ้มครองกับราคาของเบี้ยประกันภัยรถยนต์แล้ว แน่นอนว่าที่แรบบิท แคร์ เราให้ความคุ้มค่าได้เป็นอย่างมาก เพราะเรามีระบบเปรียบเทียบให้ดู และสามารถเลือกสรรแผนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จากบริษัทประกันภัยชั้นนำต่าง ๆ ที่ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบได้เลยทันที เช็กง่าย สะดวกสบาย รวดเร็วทันใจ และปลอดภัยแน่นอน สามารถคลิกดูข้อเสนอสุดพิเศษและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แรบบิท แคร์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา