10+1 แนวทางออมเงินยุคใหม่ที่นำไปปรับใช้ได้ง่ายไม่ลำบากเงินในกระเป๋า
ในยุคที่การออมเงินเริ่มกลับมามีบทบาทสำคัญต่อทุกคนอย่างมาก เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะยังไม่ฟื้นตัวมากเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อที่เราต้องพยายามเอาชนะผ่านวิธีออมเงินต่าง ๆ ให้รอบคอบ และรัดกุมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินในสไตล์เดิม การออมเงินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือการค้นหาวิธีใหม่ มุมมองใหม่ ให้วิธีเงินออมไม่ได้เป็นเพียงแค่การฝากเงินไว้เฉย ๆ แต่เงินที่ฝากต้องเติบโตขึ้นด้วย ซึ่งบทความนี้ แรบบิท แคร์ ได้ลองลิสต์มาให้ทุกคนเลือกนำไปปรับใช้ตามทั้งหมดกว่า 10 ข้อดังนี้
1. วิธีออมเงินด้วยการฝากประจำผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร
จากการพัฒนาแอปพลิเคชันของแต่ละธนาคาร รวมถึงการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้แต่ละธนาคารพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการออมเงินขึ้นมาจำนวนมาก พร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ยกตัวอย่างเช่น
• LHB B-You
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 6% จ่ายปีละ 2 ครั้ง (เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 6% ต้องฝากเงินไม่เกิน 10,000 บาท)
• Dime! Save
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 3% จ่ายปีละ 2 ครั้ง (เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 3% ต้องฝากเงินไม่เกิน 30,000 บาท)
• KKP Start Saving
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 2% จ่ายปีละ 2 ครั้ง (เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 2% ต้องฝากเงินไม่เกิน 50,000 บาท)
• Chill D by CIMB Thai:
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 2% จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน (เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 2% ต้องฝากเงิน 50,000 – 100,000 บาท)
• ttb ME Save:
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 2% จ่ายปีละ 2 ครั้ง (เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 2% ต้องฝากเงินไม่เกิน 100,000 บาท)
2. เก็บเงินเดือนทันที 10% วิธีออมเงินที่มนุษย์เงินเดือนต้องใช้
การออมเงินรูปแบบถัดมาเป็นวิธีออมเงินที่มนุษย์เงินเดือน ควรนำไปใช้งานอย่างมาก ด้วยการเริ่มต้นหักเงิน 10% ออกจากเงินเดือนทันที เช่น เงินเดือน 20,000 บาท ก็ทำการหักออกมาเก็บไว้เลยที่ 2,000 บาท ทำแบบนี้ทุกเดือน จะช่วยให้เรามีเงินเก็บได้อย่างแน่นอน
3. วิธีออมเงินผ่านตารางเร่งด่วนในเวลา 2 เดือน
วิธีออมเงินผ่านตารางเร่งด่วน ค่อนข้างเหมาะกับคนที่อยากออมเงินแบบชิว ๆ แต่ผลลัพธ์มีเงินเก็บตามเป้าได้ไม่ยาก เช่น วางแผนว่าจะมีเงินเก็บ 2,000 บาท เราสามารถเริ่มแผนการได้ดังนี้
- วันที่ 1-10 เริ่มออมเงินวันละ 50 บาท = ผลลัพธ์ 500 บาท
- วันที่ 11-20 เริ่มออมเงินวันละ 30 บาท = ผลลัพธ์ 300 บาท
- วันที่ 21-30 เริ่มออมเงินวันละ 20 บาท = ผลลัพธ์ 200 บาท
- วันที่ 31-40 เริ่มออมเงินวันละ 50 บาท = ผลลัพธ์ 500 บาท
- วันที่ 41-50 เริ่มออมเงินวันละ 30 บาท = ผลลัพธ์ 300 บาท
- วันที่ 51-60 เริ่มออมเงินวันละ 20 บาท = ผลลัพธ์ 200 บาท
4. วิธีออมเงินแบบมีเงื่อนไขเฉพาะ
แนวทางออมเงินแบบมีเงื่อนไข สามารถนำไปเป็นวิธีออมเงินได้เกือบทุกสถานการณ์ เช่น หากเราตื่นสาย 10 นาที จะออมเงิน 100 บาท หรือถ้าหากน้ำหนักขึ้นมา 1 กิโลกรัม จะออมเงินเพิ่มอีก 1,000 บาท โดยเงื่อนไขที่จะทำให้เราเก็บเงิน สามารถกำหนดได้เองตามความเหมาะสมกับการใช้ชีวิต
5. วิธีออมเงินมนุษย์เงินเดือนที่ชอบซื้อหวย เก็บตามเลขท้าย 3 ตัวไปเลย
เชื่อว่าการออมเงินในหัวข้อนี้ จะต้องเป็นวิธีออมเงินที่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ ถูกใจมากอย่างแน่นอน ซึ่งเราจะเริ่มเก็บเงินด้วยการอ้างอิงจากเลขท้าย 3 ตัวในแต่ละงวด ถ้ายิ่งซื้อหวยไม่ถูกแล้วอาจจะยิ่งมีไฟในการตามเก็บออมกันทุกงวด จากที่เสียงวดละ 80-100 บาท เราก็จะได้เงินออมกลับมาแทนเช่นกัน
6. วิธีออมเงินจากการจำกัดการถอนเงิน
การจำกัดการถอนเงิน จะช่วยให้เราสามารถออมเงินได้อย่างรัดกุม เช่น ถอนเงินออกมาภายใน 1 หรือ 2 ครั้ง แล้วจากนั้นเราค่อยมาบริหารจัดการเงินก้อนที่ถอน เพื่อแบ่งใช้รายวันอย่างเหมาะสมแทน เพราะถ้าเรามีโอกาสกดเงินออกบ่อยครั้ง ต่อให้มีวิธีออมเงินที่ดีแค่ไหน อาจถูกความอยากได้บางสิ่งครอบงำ จนกดเงินเกินออกมาอยู่ดี โดยเฉพาะในยุคที่มี Mobile Banking โอนจ่ายแสนสะดวกสบาย ยิ่งทำให้เราใช้จ่ายง่ายขึ้นด้วย
7. ออมเงินแบบใช้เท่าไหร่ เก็บเท่านั้น
เมื่อไหร่ที่เราเริ่มใช้เงินเพื่อตอบสนองความต้องการนอกเหนือจากแผนการใช้เงิน ให้เราออมเงินทันทีที่มีโอกาส ซึ่งจะต้องเก็บออมในจำนวนเงินเท่ากับที่ใช้งานไป ถือเป็นวิธีออมเงินฉบับรวบรัด แต่ได้ผลทันตาเห็น
8. เงินเหลือสิ้นเดือนเท่ากับเงินออมทันที
สมมติว่าเราใช้ชีวิตมาจนถึงสิ้นเดือน เตรียมรับเงินเดือนในรอบถัดไป หากในบัญชีเหลือเงินอยู่เท่าไหร่ ให้ตัดยอดทั้งหมดเพื่อออมเงินทันที อย่างน้อยในทุกเดือนเราจะมีเงินออมได้ไม่ยาก สะสมนาน ๆ เข้าก็จะถึงเป้าในสักวันอย่างแน่นอน ใครยังไม่มีวิธีออมเงินง่าย ๆ ไว้ใช้ประจำทุกเดือน ขอแนะนำวิธีนี้ห้ามพลาดเด็ดขาด
9. แบงก์ 50 เจอเมื่อไหร่เก็บอย่างเดียว
แบงก์สุดแรร์ที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เจอบ่อยนักสำหรับช่วงเวลาของการใช้เงินสด ดังนั้นกำหนดไว้เลยว่าถ้าเมื่อไหร่ที่เราจับจ่ายใช้สอย แล้วได้เงินทอนกลับมาเป็นแบงก์ 50 ให้นำไปเป็นเงินออมทันที วิธีออมเงินแบบนี้อาจดูเหมือนจะได้ผลช้า แต่ถ้าเราเก็บไปเรื่อย ๆ รับรองว่าการออมเงินวิธีนี้นอกจากง่าย ยังให้ผลลัพธ์เงินเก็บที่สูงมากเลยทีเดียว
10. ตั้งเป้าหมายการออมเงินให้ชัดเจน
สุดท้ายการออมเงินจะสำเร็จลุล่วงได้ เราต้องอาศัยความจริงจังหรือตั้งเป้าหมายในออมเงินให้ชัดเจนมากที่สุด เช่น เริ่มต้นตั้งเป้าในการออมเงินว่าต้องการมีเงินเก็บ 100,000 บาท, มีช่องทางการเก็บเงินอย่างเหมาะสม, มีวิธีออมเงินเพื่อช่วยให้ถึงเป้าหมาย, เป้าหมายที่ตั้งมีโอกาสเป็นไปได้ และมีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน หากเราตั้งใจตอบโจทย์ได้ครบถ้วน ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ประมาณหนึ่งแล้วว่าเราต้องการออมเงินให้ถึงเป้าจริง
10+1 ออมเงินผ่านประกันออมทรัพย์
หนึ่งในรูปแบบของความคุ้มครองจากประกันชีวิต แต่เน้นผลประโยชน์ในด้านการออมเงินที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี และมีความเสี่ยงที่ต่ำมาก โดยมีรายละเอียดข้อดีขั้นพื้นฐานดังนี้
• ด้านความคุ้มครองชีวิต
จะได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมจากการออมเงิน คือ การคุ้มครองชีวิตที่บริษัทประกันการันตีได้ว่าหากเกิดเหตุกับคุณ คนในครอบครัวจะยังมีความมั่นคงทางการเงิน ได้รับเงินก้อนจากบริษัทประกันสำหรับดำเนินชีวิตต่อไป
• ด้านผลตอบแทน
ประกันออมทรัพย์จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่แน่นอน ไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงเหมือนการลงทุนอื่น และยังช่วยสร้างวินัยการออมเงินได้อย่างดีเยี่ยม เพราะคุณสามารถเลือกระยะเวลาชำระเบี้ยประกันและผลประโยชน์ที่ต้องการได้
• ด้านความมั่นคงทางการเงิน
กรณีที่คุณเสียชีวิต ครอบครัวจะได้รับเงินก้อนจากบริษัทประกันชีวิตอย่างครบถ้วน หรือถ้าเป็นกรณีที่อยู่ครบกำหนดอายุสัญญากรรมธรรม์ คุณจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินก้อน โดยไม่ถูกจัดเก็บภาษีเหมือนดอกเบี้ยธนาคารบัญชีออมทรัพย์
• ด้านภาษี
ค่าเบี้ยประกันออมทรัพย์สามารถนำไปลดหย่อยภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท/ปี
ได้รับผลประโยชน์ครอบคลุมถึง 4 ด้านขนาดนี้ หากใครอยากออมเงินอย่างจริงจัง รวมถึงสร้างความมั่นคงในชีวิต และได้ประโยชน์ทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถลองเข้ามาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือเปรียบเทียบประกันออมทรัพย์จากบริษัทชั้นนำในประเทศไทยไปพร้อมกับ แรบบิท แคร์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ