Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Sep 14, 2023

เจาะข้อมูลสำคัญว่าแท้ที่จริงแล้วนโยบาย “QT คืออะไร”

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในวงการนักลงทุนที่คุ้นเคยกับความผกผันของสภาวะเศรษฐกิจ คงจะต้องรู้จักกับคำว่า QT (Quantitative Tightening) กันเป็นอย่างดี แต่ก็ปฏิเสธอีกไม่ได้เช่นกันว่าหลายๆ คน ก็ยังไม่รู้ว่า QT คืออะไร ? เนื่องจากการที่ทางธนาคารกลางหรือเฟดจะประกาศใช้นโยบาย QT มันไม่ได้เกิดขึ้นมาบ่อยครั้ง ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณไปเจาะลึกข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ QT กัน ว่าแท้ที่จริงแล้ว QT คืออะไร ? มีกลไกในการทำงานอย่างไร ? ซึ่งเราขอรับประกันเลยว่าคุณจะรู้จักและเข้าใจในบริบทของคำๆ นี้เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

QT คืออะไร?

สำหรับคำถามที่ว่า QT คืออะไร เราจะขออธิบายให้คุณได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นดังนี้ QT ย่อมาจาก Quantitative Tightening ซึ่ง QT เป็นเครื่องมือหนึ่งของธนาคารกลางในการดำเนินนโยบายทางการเงิน ที่จะทำการดึงเงินออกจากระบบ เพื่อป้องกันเงินเฟ้อหรือลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางจะออกพันธบัตรมาขายธนาคารพาณิชย์เพื่อที่จะทำการดูดซับเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศนั้นๆ ถือครองอยู่ หรือพูดง่ายๆ ว่า การลดปริมาณเงินที่อยู่ในระบบ หรืออีกหนึ่งกรณีคือปล่อยให้พันธบัตรที่รัฐบาลซื้อมาถือหมดอายุลง แล้วหลังจากนั้นก็จะไม่ทำการซื้อเพิ่ม มันจึงส่งผลให้ภาครัฐมีเงินในคงคลังน้อยลงและที่สำคัญคือช่วยลดสภาวะเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งเมื่อสภาพคล่องทางการเงินในระบบลดลง ก็จะส่งผลให้มีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ภาคธุรกิจต่างๆ และผู้คนที่จะกู้ยืมเงินไปเพื่อลงทุน/ใช้จ่าย ก็จะต้องคิดหนักหรือหยุดพักไว้ก่อน ซึ่งแน่นอนว่ามันจะทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวนั่นเอง ทั้งนี้ QT จะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ QE(Quantitative Easing) แต่จะเกี่ยวข้องอย่างไร เราไปอ่านต่อที่ย่อหน้าถัดไปกันเลย

ทำความรู้จัก QE คู่ซี้ต่างขั้วของ QT

เมื่อเราได้รู้ความหมายไปแล้วว่า QT คืออะไร ลำดับต่อมาเราจะขอพาคุณไปทำความรู้จักกับ QE หรือ Quantitative Easing กัน เพราะ QE จะช่วยทำให้คุณได้รู้จักและเข้าใจในบริบทของ QT เพิ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่ง QE คือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายที่ทางธนาคารกลางจะเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้(เพื่อหวังผลให้มีการนำสภาพคล่องไปปล่อยกู้ยืม) โดยธนาคารกลางจะพิมพ์เงินขึ้นมาใหม่แล้วนำไปซื้อพันธบัตรจากธนาคารพาณิชย์เพื่อลดอัตราผลตอบแทนระยะยาว (อัตราดอกเบี้ย) ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มสภาพคล่องเข้าระบบทางการเงินผ่านทางธนาคารพาณิชย์ และส่วนใหญ่แล้วทางธนาคารมักจะหวังว่าธนาคารพาณิชย์จะนำเงินที่ได้มาไปปล่อยกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศนั่นเอง หรือหากจะเรียกง่ายๆ เลยก็คือ “QE คือนโยบายการเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบทางการเงิน” และกลับกัน “QT คือนโยบายการดึงเงินออกจากระบบทำให้สภาพคล่องลดลง เหตุผลก็คือชะลอเศรษฐกิจลงและหยุดเงินเฟ้อ”

การประกาศใช้นโยบาย QT เกิดขึ้นบ่อยหรือไม่?

หากถามว่าธนาคารกลางประกาศใช้นโยบาย QT บ่อยหรือไม่นั้น คำตอบก็คือ “ไม่บ่อย” เพราะนโยบาย QE มีการประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อ 20 ปี ก่อน ส่งผลให้การใช้นโยบาย QT จึงไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก โดยตามข้อมูลที่เราได้มานั้น ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศใช้นโยบาย QT ในช่วงปี 2006 – 2007 ธนาคารกลางยุโรปประกาศใช้นโนบาย QT ในช่วงปี 2013 – 2014 และธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศใช้นโนบาย QT ในปี 2018-2019 ส่วนในประเทศไทยของเรานั้นยังไม่เคยมีการประกาศใช้ทั้งนโยบาย QE และ QT เนื่องจากประเทศไทยของเรามีโครงสร้างเศรษฐกิจที่แตกต่างไปจากประเทศที่เราได้กล่าวไปเมื่อข้างต้น หรือพูดง่ายๆ ว่า ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป นักลงทุน นักธุรกิจ ฯลฯ ยังคงกู้ยืมเงินผ่านทางธนาคารพาณิชย์ โดยที่ไม่ได้กู้ผ่านตลาดตราสารหนี้นั่นเอง

จากข้อมูลที่เราได้กล่าวไปเมื่อข้างต้นก็คงพอจะทำให้คุณได้รู้จักว่า QT คืออะไร ? และกลไกในการทำงานของนโยบาย QT เป็นแบบไหน ? เพราะฉะนั้นแล้วใครที่กำลังศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศหรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง บทความนี้ก็คงจะกลายเป็นประโยชน์ให้กับคุณได้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน!

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

UOB Xpress สินเชื่อส่วนบุคคลUOB Xpress

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน
  • รวมหนี้บัตรเครดิต ผ่อน 60 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท อายุงาน 4 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท กิจการ 3 ปี
  • อายุ 20-60 ปี รวมอายุผ่อน
KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่มีความต้องการคนค้ำ
  • เงินเข้าภายใน 1 วัน หลังอนุมัติ
  • ระยะผ่อน 12-72 เดือน
  • แสนละ 80 บาท/วัน ผ่อนสบาย
  • มีเอกสารเงินเดือนและอายุงาน 4 เดือน
  • ต้องมีรายได้ 30,000 บาท/เดือน
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท
  • อนุมัติใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.08% ต่อเดือน
  • วงเงินหมุนเวียน ผ่อนขั้นต่ำเริ่ม 200 บาท
  • รับเงินเต็มจำนวน แบ่งจ่าย 60 เดือน
  • ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือผู้ค้ำ
สินเชื่อเงินสดนาโนฟินนิกซ์นาโนฟินนิกซ์

สินเชื่อเงินสด

  • ยืมหมื่น ดอกเบี้ยวันละ 9 บาท
  • อนุมัติไว แจ้งผลใน 5 นาที
  • รายได้หลักพันก็ยืมได้
  • วงเงินสูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครง่าย ทุกอาชีพ
  • สเตทเม้นท์ไม่ดี ไม่มีปัญหา

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา