Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Apr 09, 2024

ประกันไม่อนุมัติซ่อม เกิดจากอะไร ทำอย่างไรได้บ้าง

สำหรับใครที่เคยเคลมประกันรถยนต์ อาจเคยเจอปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม หรือปัญหาการเคลมประกันล่าช้า ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบายด้านการเดินทาง และเพิ่มระยะเวลาการรอที่เปล่าประโยชน์ ซึ่งสาเหตุที่ประกันไม่ยอมอนุมัติซ่อมนั้นก็มีหลากหลายเหตุผล แต่จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน

สาเหตุที่ประกันไม่จ่าย เกิดจากอะไรบ้าง

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม และปัญหาประกันทำเรื่องเคลมช้า จึงควรเลือกซื้อประกันกับบริษัทที่มีคุณภาพ ไว้ใจได้ และมีเงื่อนไขครบตามที่เราต้องการ แต่แม้ว่าประกันจะมีหน้าที่จ่ายเงินชดเชยให้กับเราในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ก็ยังมีสาเหตุที่ทำให้ประกันไม่จ่ายเงินชดเชย หรือไม่รับเคลม จากเหตุผลดังต่อไปนี้

  • ใช้รถผิดประเภท นำรถยนต์ส่วนตัวไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น ขนส่งสินค้า หรือรับส่งผู้โดยสาร
  • แจ้งเคลมประกันเท็จ เพื่อเลี่ยงการจ่ายเงินค่าซ่อมรถด้วยตัวเอง
  • เมาแล้วขับ เมื่อเกิดเหตุแล้วพบว่าผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มก. จะไม่สามารถเคลมประกันได้
  • ใช้รถทำสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ขนยาเสพติด หรือขนอาวุธเถื่อน
  • ขับรถยนต์ออกนอกเขตความคุ้มครอง เมื่อเกิดอุบัติเหตุนอกเหนือเขตพื้นที่ของประกัน เช่น ทำประกันรถยนต์ไว้ในเขตประเทศไทย แต่เกิดเหตุที่ต่างประเทศ จะไม่สามารถเคลมได้
  • ไม่มีใบขับขี่ หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่ หรือแม้แต่นำใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์มาใช้แทนรถยนต์ เมื่อเกิดเหตุก็จะไม่สามารถเคลมได้

อู่ซ่อมรถล่าช้า ประกันไม่อนุมัติซ่อม ทำอย่างไรได้บ้าง

เมื่อเกิดเหตุรถชนแล้วประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม อาจเกิดได้จากหลากหลายเหตุผล เช่น บริษัทประกันภัยยังไม่อนุมัติเคลมเนื่องจากผู้ขับรถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรือเกิดจากสาเหตุอื่น อย่างคิวในการเคลมที่ค่อนข้างยาว หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ของอู่ซ่อมรถ ที่ทำให้การซ่อมรถล่าช้า ฯลฯ

ซึ่งสิ่งที่เราทำได้ เมื่อประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม จนส่งผลให้อู่ซ่อมรถล่าช้า คือ การตามเรื่องจากประกันที่ทำอยู่ ให้อนุมัติโดยเร็วที่สุด หรืออีกวิธี คือ การยื่นเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพราะในกรณีที่ประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม อาจเข้าข่ายประวิงเวลาจ่ายค่าสินไหม

เคลมได้ไหม หากมีรอยเก่าที่ตัวรถ

ไม่ใช่แค่ปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม ที่สร้างความหนักใจให้กับผู้ทำประกันรถยนต์ แต่ยังมีปัญหาเรื่องการเคลมกับบริษัทประกันในกรณีที่รถเป็นรอยก่อนเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถเคลมและเรียกค่าเสียหายกับประกันได้ แต่หากมีเพียงรอยขูดขีดเล็ก ๆ หรือสีหลุดลอกเล็กน้อย อาจต่อรองกับบริษัทประกันได้ โดยอาจต้องรับผิดชอบค่าเสียหายกับประกัน 50:50 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทประกันแต่ละแห่ง และการเจรจากับบริษัท ซึ่งจะได้ผลลัพธ์แตกต่างกัน

แต่หากใกล้หมดสัญญากับประกันที่ทำอยู่ แล้วเกิดมีรอยถลอกที่ตัวรถเล็กน้อย อีกทั้งตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีประวัติแจ้งเคลมจากการเฉี่ยวชนเพราะตนเองเป็นฝ่ายผิด แนะนำว่าให้รอจนหมดสัญญากับประกันที่ทำอยู่เสียก่อน เพราะหากทิ้งระยะเวลาแล้วค่อยเคลมในปีถัดไป จะได้ส่วนลดประวัติดีจากประกัน แต่หากเคลมก่อนจะหมดสัญญารอบนี้ นอกจากจะทำให้ครั้งหน้าที่ต่อสัญญาใหม่ ไม่ได้รับส่วนลดแล้ว ค่าเบี้ยประกันยังอาจสูงขึ้นอีกด้วย

ค่าสินไหมทดแทน รถชน มีขั้นตอนเรียกร้องอย่างไรบ้าง

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม หรือปัญหาอู่ซ่อมรถล่าช้า ผู้ทำประกันสามารถนำรถไปซ่อมเองได้ และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับประกันในภายหลัง เพื่อจบปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม ซึ่งขั้นตอนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน รถชนจนได้รับความเสียหาย ทำได้ดังนี้

  • 1. แจ้งอุบัติเหตุ สามารถแจ้งได้ทั้งผ่านทางโทรศัพท์ หรือผ่านเว็บไซต์ หากไม่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ
  • 2. หากเจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ จะแบ่งความเสียหายและเงื่อนไขที่รับเคลมได้ดังนี้
    - กรณีที่มีความเสียหายเฉพาะรถคันที่เอาประกันภัย เจ้าหน้าที่จะออกใบเคลมเพื่อนำรถไปซ่อมที่อู่คู่สัญญา หรือให้ผู้ทำประกันนำรถไปซ่อมเอง
    - กรณีมีคู่กรณี หรือมีทรัพย์สินเสียหาย บริษัทประกันจะออกใบเคลมให้กับผู้เอาประกัน และทุกฝ่าย เพื่อนำรถไปซ่อม โดยสามารถนำไปซ่อมที่อู่คู่สัญญา หรือนำไปซ่อมเองก็ได้ และเรียกร้องสินไหมทดแทนกับทางบริษัทต่อไป ซึ่งหากต้องการลดปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม แนะนำให้เลือกนำรถไปซ่อมเองจะลดความเสี่ยงได้มากกว่า
    - กรณีมีความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย เช่น เสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บ และรถผู้เอาประกันเป็นฝ่ายประมาทเอง สามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลหากบาดเจ็บ โดยบริษัทประกันจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด หรือหากเสียชีวิต บริษัทก็จะออกค่าสินไหมทดแทนให้เช่นกัน
  • 3. ดำเนินการรับค่าสินไหมทดแทน โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
    - กรณีให้บริษัทประกันจัดซ่อมให้ ให้นำใบเคลมติดต่อไปยังอู่คู่สัญญาของบริษัทประกันเพื่อทำการซ่อมแซม หรือเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทประกัน โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
    - กรณีประสงค์นำรถไปซ่อมเอง หรือหาสถานพยาบาลเอง จะต้องใช้เอกสารเป็นจำนวนมากประกอบการพิจารณาเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งแม้ว่าจะยุ่งยากกว่าการนำรถเข้าซ่อมที่อู่คู่สัญญา แต่ก็นับว่าช่วยจบปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม ที่จะนำความยุ่งยากมาให้ภายหลังได้

หนังสือยินยอมชดใช้ค่าซ่อมรถ สำคัญแค่ไหน จำเป็นต้องมีไหม

หากรถชนแล้วคู่กรณีไม่มีประกัน หนังสือยินยอมชดใช้ค่าซ่อมรถนับเป็นสิ่งจำเป็นมาก หากคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด และยินยอมจะชดใช้ค่าเสียหายให้เราตามจริง แนะนำให้แจ้งความและลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และจัดทำหนังสือยินยอมชดใช้ค่าเสียหายไว้เป็นหลักฐานเพื่อฟ้องร้องในกรณีที่คู่กรณีผิดคำพูด ไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายให้ ซึ่งนอกจากเรื่องค่าซ่อมรถแล้ว การเลือกอู่ซ่อมรถก็สำคัญ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม จึงควรเลือกบริษัทประกัน และอู่ที่จะซ่อมให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนนำรถเข้าซ่อม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อมในภายหลัง

ระยะเวลาพิจารณาและชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กี่วันจึงได้เงินชดเชย

แม้ว่าอุบัติเหตุรถชน และปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม จะเป็นปัญหาที่ผู้ทำประกันทุกคนไม่อยากให้เกิด แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราก็ควรได้รับสิทธิคุ้มครองตามกรมธรรม์ ซึ่งสิทธิที่ผู้เอาประกันทุกคนควรได้จากประกันเมื่อเกิดเหตุรถชน ก็คือ ค่าสินไหมทดแทน ที่จำเป็นจะต้องได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

หากเป็นกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายใน 7 วัน แต่หากเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ จะจ่ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน และหากผู้เอาประกันต้องการให้บริษัทประกันทบทวนผลการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จะใช้เวลาดำเนินการภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องหรือได้รับเอกสารเพิ่มเติม

ข้อกฎหมายที่ควรรู้ เมื่อเกิดเหตุรถชน

  • หากเกิดอุบัติเหตุแล้วผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หลบหนี หรือไม่อยู่รอพบเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายจะสันนิษฐานว่าผู้ที่ไม่อยู่พบเจ้าพนักงานนั้นเป็นฝ่ายผิด
  • พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิคุมตัวผู้ขับขี่ไว้ หากไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต

ขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์ มือใหม่ต้องรู้!

การเคลมประกัน แบ่งออกได้ดังนี้

  • เคลมประกันแบบสด คือ การเคลมประกันทันทีในที่เกิดเหตุ โดยมีการเรียกพนักงานบริษัทประกันเข้าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ดูว่าใครเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ถ่ายรูปเก็บหลักฐาน และออกเอกสารเคลมให้
  • เคลมประกันแบบแห้ง หรือที่เรียกว่า เคลมประกันรอบคัน เป็นการเคลมที่ผู้เอาประกันไปเคลมด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่มักเป็นเหตุที่ไม่รุนแรงและไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนต้นไม้ หรือเสาไฟฟ้า ซึ่งควรจดข้อมูลวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุให้ชัดเจน
  • เคลมประกันแบบมีความเสียหายมาก เป็นการเคลมอุบัติเหตุที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือเกิดเหตุนานแล้วแต่มีความเสียหายมาก และเพิ่งมาแจ้งเคลมกับบริษัทประกัน

แต่ไม่ว่าจะเป็นการเคลมรูปแบบใด ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้น 1, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ชั้น 2, ประกัน 3+ หรือประกันรถยนต์ชั้น 3 การเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุเอาไว้ให้ได้มากที่สุดนับว่าสำคัญมาก ควรมีสติ และถ่ายรูป หรือขอข้อมูลคู่กรณีเอาไว้ หากสามารถทำได้ เพื่อให้การเคลมประกัน ตลอดจนการฟ้องร้องทำได้ง่ายขึ้น หรือหากรถของเราต้องเข้าอู่ซ่อม ก็ควรคุยรายละเอียดกับบริษัทประกันที่ทำอยู่ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม จนเกิดความวุ่นวายในภายหลัง ซึ่งหากได้บริษัทประกันรถยนต์ที่ไว้ใจได้อย่าง แรบบิท แคร์ ก็จะช่วยลดปัญหาประกัน ไม่ อนุมัติ ซ่อม ไปได้ เพราะเรามีศูนย์ซ่อมที่ได้มาตรฐานให้เลือกครอบคลุมทั่วไทย ไว้ใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา