ผู้มีเงินได้ต้องรู้ ภงด.91 คืออะไร? แตกต่างจาก ภงด.90 อย่างไร?
การเสียภาษีเงินได้ถือเป็นอีกหนึ่งหน้าที่ของผู้มีเงินได้ที่ต้องชำระ ใครได้รับเงินได้มารูปแบบไหนก็จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในทุก ๆ ปีภาษี ซึ่งภาษีเงินได้ก็มีหลากหลายหมวดหมู่ ทั้งภงด.91 ภงด.90 และอื่น ๆ ภงด.91 คืออะไร? แตกต่างจาก ภงด.90 หรือไม่ หาคำตอบที่แรบบิท แคร์
ภงด.91 คืออะไร?
ภงด.91 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้เงินได้ที่ได้รับเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียวกัน ซึ่งจะมีการกำหนดวันยื่นแบบตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป โดยเงินได้ประเภทที่ 1 หรือ มาตรา 40 (1) ได้แก่
- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
สำหรับนิติบุคคลจะเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด.91 สำหรับผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคล จ่ายเงินได้เป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า เป็นต้น ให้กับผู้เสียภาษีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้จ่ายเงินได้จะต้องเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
ภงด.91 ต่างจาก ภงด.90 อย่างไร?
ก่อนที่จะทราบความแตกต่างของ ภงด.91และภงด.90 ต้องทราบก่อนว่าทั้ง ภงด.91และ ภงด.90 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกันทั้งคู่ ซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในที่นี้ก็คือ ภาษีที่ถูกจัดเก็บจากบุคคลธรรมดาทั่วไปที่มีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยสามารถคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายได้ดังนี้
- เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน จากนั้นนำเงินได้สุทธิ มาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคิดจาก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
ใครบ้างที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91
- บุคคลธรรมดา ที่มีเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงานอย่างเดียว
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
ในส่วนของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้จะต้องยื่นแยกตามประเภทที่มาของรายได้ที่ได้รับ ตามแบบแสดงรายการภงด.91 หรือภงด.90 โดยสามารถแยกได้ดังนี้
ภงด.90
- สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท มาตรา 40 (1) - (8)
- เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (1) ได้แก่ สิ่งที่ได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง ฯลฯ
- เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (2) ได้แก่ เงินได้ที่ได้จากการรับจ้างทำงาน หรือค่าตอบแทนที่ผู้รับไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านาย-ลูกน้อง และไม่ได้เป็นวิชาชีพอิสระ เช่น ค่านายหน้า ค่าจ้างต่าง ๆ เป็นต้น
- เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (3) ได้แก่ เงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ ค่า Goodwill ที่ผู้ว่าจ้างตกลงให้ผู้รับเงินได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น ค่าจ้างจากการประพันธ์เพลง เป็นต้น, เงินได้จากการขายสินค้าดิจิทัลต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ เช่น รูปภาพ โปรแกรม ฯลฯ, การขายลิขสิทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น การขายแผ่นเสียง ขายแผ่นโปรแกรม เป็นต้น
- เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (4) ได้แก่ เงินได้จากดอกเบี้ยต่าง ๆ ยกเว้นดอกเบี้ยสลากออมสิน เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ
- เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (5) ได้แก่ เงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สินทุกประเภท ทั้งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ รวมถึงรายได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อหรือผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ที่ผู้รับเงินต้องเสียภาษี
- เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ 6 อาชีพ ดังนี้ การประกอบโรคศิลปะ (ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ), ทนายความ-นักกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชีและช่างประณีตศิลป์
- เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมา ที่มีการเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ กรณีที่มีการรับเหมาแต่ลูกค้าเป็นผู้ซื้อวัสดุเองจะถือเป็นการว่าจ้างธรรมดาแบบมาตรา 40 (2)
- เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (8) ได้แก่ เงินได้ที่ไม่จัดอยู่กลุ่มมาตรา 40 (1) - (7) เป็นเงินได้จากการทำธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร เป็นต้น เช่น นักร้อง-นักแสดง, เงินจากการขายของออนไลน์, เงินได้จากการทำสวน เป็นต้น
ภงด.91
- สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 หรือ มาตรา 40 (1) เป็นรายได้ทางเดียวเท่านั้น
สรุปแล้วความแตกต่างของการยื่นภาษี ภงด.90 และ ภงด.91 ก็คือ ที่มาของเงินได้พึงประเมินนั่นเอง หากคุณมีเงินได้พึงประเมินที่มาจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน เงินโบนัส ฯลฯ เพียงทางเดียวเท่านั้น ก็ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 แต่ถ้าหากมีเงินได้พึงประเมินหลายทางก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90
ยื่นภาษีออนไลน์ ภงด.91 ทำอย่างไร?
สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลภงด.90และภงด.91 จะมีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป ซึ่งสามารถยื่นภาษีออนไลน์ ภงด. 91 หรือ ภงด.90 ได้เช่นกัน โดยการยื่นภาษีออนไลน์สามารถทำตาม ขั้นตอนการยื่นแบบที่กรมสรรพากรแนะนำ ดังนี้
- เข้าเว็บไซต์การยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต กรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/rd-cms/
- เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)
- เลือกเมนูสำหรับการยื่นแบบ และเลือกแบบภาษีที่ต้องการยื่น ภงด.90 ภงด.91 เป็นต้น
- บันทึกข้อมูลหรืออัพโหลดไฟล์ข้อมูลแบบ
- ยืนยันการยื่นแบบ
สมัครทำบัตรเครดิต จากแรบบิท แคร์ ผ่อนชำระภาษี ภงด.91 0% ได้
หน้าที่ในการจ่ายภาษีเงินได้นั้นเป็นสิ่งที่ประชาชนผู้มีเงินได้ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งในบางปีภาษีคุณอาจจะต้องชำระภาษีเป็นจำนวนที่มาก การสมัครทำบัตรเครดิต จากแรบบิท แคร์ จึงเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้คุณสามารถรูดผ่อนชำระค่าภาษีได้ 0% นานถึง 3 เดือน ไม่จำเป็นต้องควักเงินสดที่มีจ่ายให้หมดภายในครั้งเดียว ทำให้คุณสามารถบริหารจัดการเงินสดที่คุณมีอยู่ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับเรื่องที่จำเป็นในชีวิตเรื่องอื่น ๆ และหากใครที่กำลังวางแผนสมัครบัตรเครดิตจากแรบบิท แคร์ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกทำบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำที่ไหนดี แรบบิท แคร์มีบริการค้นหาบัตรเครดิตสำหรับคุณเพื่อให้คุณได้บัตรเครดิตที่ตรงกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของคุณมากที่สุดสำหรับการนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้ารวมถึงชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 และอื่น ๆ
บัตรเครดิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ