Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบประกันชีวิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

ความสำคัญของเงินได้พึงประเมิน
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Dec 08, 2023

สรุปความสำคัญของเงินได้พึงประเมิน ตัวแปรในการลดหย่อนภาษี

สำหรับท่านใดที่อยู่ในช่วงทำงานหารายได้ และต้องมีการยื่นภาษีเงินได้เป็นประจำทุกปี คงจะคุ้นชินกับคำว่า "เงินได้พึงประเมิน" อยู่บ้าง เพราะข้อความดังกล่าวจะปรากฏให้คุณเห็นตอนยื่นภาษีออนไลน์ หรือปรากฏอยู่ในแอปพลิเคชันคำนวณภาษีต่าง ๆ ซึ่งหลายคนอาจงงว่าเงินได้พึงประเมินคืออะไร แตกต่างจากเงินรายรับจากค่าจ้างที่ได้อยู่ทุกวันหรือไม่ รายรับแบบไหนถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน และต้องใส่เงินได้เท่าใดตอนยื่นภาษี แรบบิท แคร์ จะมาอธิบายให้ทุกท่านได้กระจ่างดังนี้

เงินได้พึงประเมินคืออะไร?

"เงินได้พึงประเมิน" เป็นคำศัพท์ของการวางแผนการเงินและภาษีเงินได้บุคคล เงินได้พึงประเมินคือรายได้รายปีที่จะนำมาคำนวณการเสียภาษีนั่นเอง เงิน ทรัพย์สิน กำไร หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เรารวยขึ้นจะถูกนับเป็นรายได้พึ่งจะเมินทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น รายได้จากการทำงาน, ผลประโยชน์จากการลงทุน, กำไรจากการขายทรัพย์สิน, รายได้จากธุรกิจหรือการประกอบวิชาชีพ รวมถึงรายได้อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมาย

เงินได้พึงประเมินของคุณส่งผลต่อจำนวนภาษีที่คุณต้องจ่าย หากคุณมีรายได้มากก็มีแนวโน้มที่จะเสียมากขึ้น ยกเว้นคุณมีตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี

ทรัพย์สินแบบไหนที่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน?

ทุกอย่างที่ทำให้เรารวยจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

  • เงินสด
  • เงินในบัญชี
  • ทรัพย์สินที่สามารถนำมาตีราคาได้
  • สิทธิประโยชน์ที่สามารถนำมาตีราคาได้
  • เงินภาษีที่มีคนจ่ายแทนให้เรา
  • เครดิตภาษีเงินปันผล

ส่วนอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับการเงินของคุณ แต่ไม่ได้ทำให้คุณรวยขึ้นกว่าเดิม เช่น เงินกู้ ทรัพย์สินของคนอื่น ทรัพย์สินที่ยืมมาหรือเช่ามาใช้งาน หนี้สิน ฯลฯ จะไม่ถูกนับเป็นรายได้ถึงประเมิน

เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภทมีอะไรบ้าง?

ตามข้อกำหนดของประมวลรัษฏากร จะมีการแบ่งเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งจะจำแนกตามการประกอบอาชีพที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

เงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินได้มาตรา 40 (1)

หมายถึงเงินที่ได้จากการจ้างงานต่าง ๆ เป็นรายเดือน เช่น เงินเดือน โบนัส เงินโอที เบี้ยขยัน สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เป็นต้น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เงินได้ประเภทที่ 2 หรือเงินได้มาตรา 40 (2)

หมายถึงเงินได้จากการจ้างงานเป็นครั้งคราว เช่น ค่าจ้างทั่วไป การจ้างให้ทำงาน ค่าคอมมิชชัน ค่านายหน้า ค่าตอบแทนจากการเป็น MC ถ่ายโฆษณา นางแบบ ค่าตอบแทนจากการรีวิวสินค้า เบี้ยประชุม เป็นต้น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ถ้าคุณมีรายได้จากประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ให้นำมาคิดรวมกัน และหักค่าใช้จ่ายได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000

เงินได้ประเภทที่ 3 หรือเงินได้มาตรา 40 (3)

หมายถึงเงินได้ที่มาในรูปแบบของค่าลิขสิทธิ์ ค่าตอบแทนจากทรัพย์สินทางปัญญา ค่ากู๊ดวิล เช่น ค่าบทประพันธ์ งานเพลง การทำเว็บไซต์ ค่าเฟรนไชส์ ค่าสิทธิบัตร ค่าชื่อเสียงทางการค้า การเขียนโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์และเงินรายปีจากนิติกรรมหรือคำพิพากษาของศาล เช่น ค่าเลี้ยงดูจากการฟ้องหย่า เป็นต้น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เงินได้ประเภทที่ 4 หรือเงินได้มาตรา 40 (4)

หมายถึงเงินที่ได้มาในรูปแบบของดอกเบี้ย และเงินปันผล เช่น ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยกู้ยืมเงิน เป็นต้น แต่ทั้งนี้เงินได้ประเภทที่ 4 อาจมีรายละเอียดข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบางอย่าง ซึ่งคุณสามารถอ่านรายละเอียดได้จากคำประกาศของสรรพากร เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้

เงินได้ประเภทที่ 5 หรือเงินได้มาตรา 40 (5)

หมายถึงเงินได้ที่มาจากค่าเช่า รวมถึงเงินที่ได้มาจากการผิดสัญญาเช่าหรือสัญญาซื้อขาย เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าตึก ค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเช่าที่ดิน เป็นต้น เงินได้พึงประเมินประเภทนี้จะหักค่าใช้จ่ายได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ดังนี้

  • เงินค่าเช่าบ้าน อาคาร สิ่งก่อสร้าง แพ หักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินค่าเช่ายานพาหนะ หักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินค่าเช่าที่ดินที่ใช้ในการทำการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 20% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินค่าเช่าที่ดินที่ไม่ใช่เพื่อการทำการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 15% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินค่าเช่าทรัพย์สินอื่นๆ หักค่าใช้จ่ายได้ 10% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายเงินผ่อน หักค่าใช้จ่ายได้ 20% ของเงินได้หรือหักตามจริง

เงินได้ประเภทที่ 6 หรือเงินได้มาตรา 40 (6)

หมายถึงรายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งประกอบไปด้วยอาชีพโรคศิลปะ เช่น เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ ฯลฯ รวมถึงอาชีพนักกฎหมาย วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์ เงินได้พึงประเมินประเภทนี้สามารถหักค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กำหนดดังนี้

  • การประกอบโรคศิลปะ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้หรือหักตามจริง
  • กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 30% ของรายได้หรือหักตามจริง

เงินได้ประเภทที่ 7 หรือเงินได้มาตรา 40 (7)

หมายถึงรายได้ที่มาในรูปแบบของค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ เช่น รับเหมาะก่อสร้าง การรับผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าแบบสั่งทำเฉพาะพิเศษ เป็นต้น รายได้ประเภทนี้สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของเงินได้ หรือหักตามค่าใช้จ่ายจริง

เงินได้ประเภทที่ 8 หรือเงินได้มาตรา 40 (8)

หมายถึงเงินได้ที่ไม่อยู่ในกลุ่มเงินได้พึงประเมินประเภท 1-7 และเป็นรายได้ที่ไม่ได้รับการงดเว้นภาษี เช่น เงินได้จากการขายของออนไลน์ รายได้จากการเปิดร้านอาหาร/คาเฟ่ รายได้จากการเป็นอินฟูลเลนเซอร์ รายได้จากการขายอสังหาฯ เป็นต้น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ 40%-60% ของเงินได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง

เงินได้พึงประเมินมีส่วนต่อการยื่นภาษีอย่างไร?

เงินได้พึงประเมินเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องคำนวณ เพื่อที่จะยื่นหักภาษีได้อย่างถูกต้อง เพื่อที่จะนำไปหักลบกับค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อให้ได้เงินได้สุทธิมาก่อนที่จะนำรายได้สุทธิไปคิดอัตราลดหย่อนภาษีแบบขั้นบันไดอีกที ตามสูตรคำนวณดังนี้

เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีขั้นบันได = เงินภาษีที่คุณต้องจ่าย

สรุปก็คือหากคุณต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเองและยื่นภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คุณต้องเข้าใจว่าเงินได้พึงประเมินของคุณอยู่ในประเภทใดนั่นเอง

สุดท้ายนี้น้องแคร์ อยากจะเตือนทุกคนว่าการคำนวณภาษีนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยที่ต้องจ่าย แต่ถ้าคุณคิดว่าในแต่ละปีนั้นคุณจ่ายภาษีเงินได้เยอะเกินไป คุณสามารถเลือกตัวช่วยลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้เพียงซื้อประกันชีวิต ซึ่งจะลดหย่อนสูงได้ 100,000 บาท เลยทีเดียว เช็กความคุ้มครองประกันชีวิตกับเราแรบบิท แคร์ กันได้เลย

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Gen Life Plus 10 GeneraliGen Life Plus 10

Generali

  • คุ้มครอง 20 ปี จ่ายเบี้ย 10 ปี
  • เสียชีวิต รับเงิน 270% มีชีวิต 310%
  • รับเงินคืน 3% ทุกปี ตลอดสัญญา
  • ลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • ค่าเบี้ยคงที่ ไม่ปรับตามอายุ
  • สมัครได้ทุกอาชีพ ตอบโจทย์ทุกวัย
ทรัพย์ปันผล 85/10ทรัพย์ปันผล 85/10

ไทยประกันชีวิต

  • 10 ปี เบี้ย คุ้มครอง 85 ปี
  • รับเงิน 110% ครบสัญญา คุ้มครอง 85 ปี
  • รับปันผล 1% ปีละ บำนาญ 100%
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 60 ปี
  • เบี้ยประกันรายปี, 6 เดือน, 3 เดือน, เดือน
  • ทุกอาชีพสมัครได้ ตอบโจทย์ทุกวัย
มันนี่ เซฟวิ่ง ไทยประกันชีวิตมันนี่ เซฟวิ่ง

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ย 6 ปี คุ้มครอง 14 ปี
  • รับเงินคืน 10% ปี 2-13
  • สูงสุด 666% ตลอดสัญญา
  • ลดภาษี 100,000 บาท
  • อายุ 1 เดือน - 65 ปี สมัคร
  • รับ 2% - 600% เป็นขั้นบันได
  • เบี้ยประกันไม่เกิน 2,250 บาท/เดือน
ประกันบำนาญ 90/2 ทิพยประกันชีวิตประกันบำนาญ 90/2

ทิพยประกันชีวิต

  • บำนาญรวม สูงสุด 465%
  • ชำระเบี้ย 2 ปี รับบำนาญ 31 ปี
  • เบี้ยเริ่มต้นเบา จ่าย 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัคร 20-54 ปี
  • ชดเชยรายได้ รพ. รับบำเหน็จ
  • จ่ายเบี้ยสั้น รับบำนาญนาน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา