Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

อากรแสตมป์
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Jul 19, 2023

อากรแสตมป์คืออะไร ไปทำความรู้จักกับภาษีประเภทนี้ให้มากขึ้น

อากรแสตมป์เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดาไปจนถึงเจ้าของกิจการร้านค้าต่าง ๆ เรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ควรรู้จักเอาไว้ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจเคยได้ใช้กันมาบ้างแล้วแต่ยังอาจไม่รู้จักสิ่งนี้เท่าที่ควร โดยที่ในวันนี้น้องแคร์จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาษีชนิดนี้กันให้มากขึ้น ไปดูกันว่าอากรแสตมป์ คืออะไร? อะไรคืออากรแสตมป์ สัญญาเช่า?ค่าใช่จ่ายอากรแสตมป์มีอัตราเท่าไหร่กันบ้าง? และอีกหลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจที่รับรองเลยว่าเมื่อทุกคนได้อ่านบทความนี้ไปแล้วจะรู้จักและเข้าใจกับสิ่งนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน

อากรแสตมป์ คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรบ้าง?

อากรแสตมป์ คือภาษีอีกประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นภาษีที่ถูกจัดเก็บจากการกระทำตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่ถูกกำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยกรมสรรพากร

อากรแสตมป์หรือ Stamp Duty จะมีลักษณะความคล้ายคลึงกับตราไปรษณียากรหรือว่าแสตมป์ไปรษณีย์ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งจะมีจุดแตกต่างกันตรงที่จะไม่มีตราประทับ แต่จะใช้การขีดฆ่าแสดงการใช้งานแทน โดยผู้ที่ขีดฆ่าอากรได้ต้องเป็นไปตามกำหนดของประมวลรัษฎากร โดยลักษณะของตัวอากรเองจะมีลวดลาย รอยปรุและราคากำกับไว้ โดยจะต้องชำระค่าอากรภายใน 15 วัน หลังจากกระทำตราสารเสร็จสมบูรณ์

บัญชีอัตราอากรแสตมป์และค่าอากรแสตมป์

จากที่น้องแคร์ได้กล่าวไว้ว่าอากรแสตมป์คือภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร 28 ลักษณะ โดยที่กรมสรรพากรได้ระบุรายละเอียดของทั้ง 28 รายการ มีรายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงค่าอากรแสตมป์ที่ต้องจัดเก็บไว้ โดยเราได้ทำการสรุปข้อมูลไว้เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ

เสียภาษีอากรแสตมป์ : อากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ให้เช่า
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้เช่า
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร : การเช่าทรัพย์สินใช้ทำนา ทำไร่ และสวนไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ สัญญาเช่า
หมายเหตุ :

  • อากรแสตมป์ สัญญาเช่า ในกรณีสัญญาเช่าไม่มีอายุ ให้กำหนดอายุของสัญญาเช่าเป็น 3 ปี
  • เมื่อครบกำหนดสัญญาในข้างต้น แล้วผู้เช่ายังถือทรัพย์สินนี้อยู่ ให้เริ่มสัญญาใหม่และต้องเสียอากรแสตมป์ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มทำสัญญาใหม่

2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก

ค่าอากรแสตมป์ : อากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้โอน
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับโอน
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร :

  • การโอนพันธบัตรของรัฐบาลไทย
  • การโอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ และใบรับรองหนี้ที่สหกรณ์หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) เป็นผู้ออก

3. เช่าซื้อทรัพย์สิน

เสียภาษีอากรแสตมป์ : 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ให้เช่า
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้เช่า
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร : การเช่าทำนา ทำไร่ ทำสวน

4. จ้างทำของ

เสียภาษีอากรแสตมป์ : อากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้รับจ้าง
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับจ้าง
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร : สัญญาที่ทำจากต่างประเทศ
หมายเหตุ :

  • หากไม่ทราบจำนวนค่าจ้างที่แน่นอน ให้ประมาณความตามเหมาะสมเพื่อเสียอากรแสตมป์
  • กรณีรับเงินค่าจ้างเป็นครั้งคราว และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบจำนวนค่าจ้าง ให้เสียอากรแสตมป์เพิ่มเติมทุกครั้งหลังจากได้รับเงินค่าจ้างนั้น
  • หากเสียอากรแสตมป์เกินค่าจ้าง สามารถขอคืนภาษีตามมาตรา 122

5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร

เสียภาษีอากรแสตมป์ : ค่าอากร 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท หากคำนวณแล้วค่าอากรเกิน 10,000 บาท ให้เสียอากรที่ 10,000 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ให้กู้
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้กู้
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร : สมาชิกกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ หรือสหกรณ์กู้ยืมจากสหกรณ์ หรือกู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

6. กรมธรรม์ประกันภัย

ค่าอากรแสตมป์ :

  • กรมธรรม์วินาศภัย - เสียอากรแสตมป์ 1 บาททุกจำนวนเงิน 250 บาท หรือเศษของเงิน 250 บาท
  • กรมธรรม์ประกันชีวิต - เสียอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท
  • กรมธรรม์ประกันภัยอื่น - เสีย 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท
  • กรมธรรม์เงินปี - เสีย 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท
  • กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไปให้ผู้อื่นประกันอีกต่อหนึ่ง - เสีย 1 บาท
  • บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม - กึ่งอัตราซึ่งเรียกเก็บสำหรับกรมธรรม์เดิม

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้รับประกันภัย
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับประกันภัย
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร :

  • ประกันภัยสัตว์พาหนะใช้ในเกษตรกรรม
  • บันทึกประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราว ซึ่งรับรองจะออกกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริง แต่ถ้าผู้ทรงจะเรียกร้องเอาสิทธิอย่างอื่น นอกจากให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงแล้วต้องปิดแสตมป์เช่นเดียวกับที่จะต้องปิดสำหรับประกันภัยตัวจริง

7. การประกันภัยสัตว์พาหนะซึ่งใช้ในการเกษตรกรรมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์

ใบแต่งตั้งตัวแทนที่ไม่ได้กระทำในลักษณะตราสารสัญญา รวมถึงใบตั้งอนุญาโตตุลาการ
เสียภาษีอากรแสตมป์ :

  • อากรแสตมป์ 10 บาท กรณีมอบอำนาจให้คนเดียวหรือหลายบุคคลทำการครั้งเดียว
  • อากรแสตมป์ 30 บาท กรณีมอบอำนาจให้คนเดียวหรือหลายบุคคลทำการหลายครั้ง
  • อากรแสตมป์ 30 บาท กรณีมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ โดยคิดตามรายตัวบุคคล

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้มอบอำนาจ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับมอบอำนาจ
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร :

  • ใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่งทนายความให้แก่เสมียน เพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล
  • ใบมอบอำนาจให้ โอนหรือให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับสัตว์พาหนะ
  • ใบมอบอำนาจให้รับเงินหรือสิ่งของแทน
  • ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบและใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์

8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท

ค่าอากรแสตมป์ :
เสียอากร 20 บาทกับการมอบฉันทะสำหรับการประชุมครั้งเดียว
เสียอาการ 100 บาทกับมอบฉันทะสำหรับการประชุมหลายครั้ง
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้มอบฉันทะ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้มอบฉันทะ


9. ตั๋วแลกเงิน / ตั๋วสัญญาใช้เงิน

ค่าอากรแสตมป์ :

  • ฉบับละ 3 บาทต่อตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน
  • ฉบับละ 3 บาทต่อตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้สั่งจ่าย / ผู้ออกตั๋ว
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้สั่งจ่าย / ผู้ออกตั๋ว
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร : ถ้าตั๋วออกเป็นสำรับและฉบับแรกในสำรับนั้นปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ฉบับอื่น ไม่ต้องปิดอีก แต่ตัองสลักหลังฉบับนั้น ๆ ว่าได้เสียอากรแล้ว

10. บิลออฟเลดิง

เสียภาษีอากรแสตมป์ : ฉบับละ 2 บาท ถ้าออกเป็นสำรับต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับ
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้กระทำตราสาร
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้กระทำตราสาร

11. ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใดๆ

ค่าอากรแสตมป์ :

  • ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ - 5 บาท
  • พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในไทย - 10 บาท สำหรับทุกจำนวนเงิน 100 บาท หรือเศษของ 100 บาท
  • ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร : ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของสหกรณ์

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ทรงตราสาร
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ทรงตราสาร

12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค

ค่าอากรแสตมป์ : ฉบับละ 3 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้สั่งจ่าย
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้สั่งจ่าย

13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย

เสียภาษีอากรแสตมป์ : ฉบับละ 5 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้รับฝาก
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับฝาก

14. เลตเตอร์ออฟเครดิต

ค่าอากรแสตมป์ :
เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกในประเทศ

  • ต่ำกว่า 10,000 บาท เสียภาษีอากรแสตมป์ 20 บาท
  • ตั้งแต่ 10,000 บาทขั้นไป เสียภาษีอากรแสตมป์ 30 บาท

เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกในต่างประเทศและชำระเงินในประเทศไทย

  • ภาษีอากรแสตมป์ 20 บาท

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกตราสาร / ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกตราสาร / ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย

15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง

เสียภาษีอากรแสตมป์ : ฉบับละ 3 บาท ทั้งในกรณีออกในประเทศและกรณีออกต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกเช็ค / ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกเช็ค / ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย

16. ใบรับของซึ่งออกให้เนื่องในกิจการรับขนสินค้าโดยทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ คือตราสารซึ่งลงลายมือชื่อพนักงานหรือนายสินค้าของยานพาหนะรับขนส่ง ซึ่งออกรับของดังระบุไว้ในใบรับนั้น เมื่อไม่ได้ออกบิลออฟเลดิง

ค่าอากรแสตมป์ : ฉบับละ 1 บาท ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกใบรับ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกใบรับ

17. ค้ำประกัน

ค่าอากรแสตมป์ :

  • เสียภาษีอากรแสตมป์ 10 บาท กรณีที่ไม่ได้จำกัดจำนวนเงิน
  • เสียภาษีอากรแสตมป์ 1 บาท กรณีจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท
  • เสียภาษีอากรแสตมป์ 5 บาท กรณีจำนวนเงินเกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
  • เสียภาษีอากรแสตมป์ 10 บาท กรณีจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ค้ำประกัน
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ค้ำประกัน
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร :

  • การค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่รัฐบาลให้กู้ยืมหรือยืมเพื่อการบริโภคหรือการเกษตรกรรม
  • การค้ำประกันหนี้จากการที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืม

18. จำนำ

เสียภาษีอากรแสตมป์ :

  • 1 บาท ทุกจำนวนหนี้ 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท
  • 1บาท ในกรณีไม่ได้จำกัดจำนวนหนี้ไว้

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้รับจำนำ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับจำนำ
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร :

  • ตั๋วจำนำจากโรงรับจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎ
  • การจำนำที่เกี่ยวกับการกู้ยืม ที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วตามข้อ 5

19. ใบรับของคลังสินค้า

ค่าอากรแสตมป์ : 1 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : นายคลังสินค้า
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : นายคลังสินค้า

20. คำสั่งให้ส่งมอบของ

คือ ตราสารซึ่งบุคคลผู้ปรากฏชื่อในตราสารนั้น หรือซึ่งบุคคลผู้นั้นตราชื่อไว้ หรือผู้ทรงมีสิทธิที่จะรับมอบสินค้าอันอยู่ในอู่ หรือเมืองท่า หรือคลังสินค้าซึ่งรับเก็บหรือรับฝากโดยเรียกเก็บค่าเช่าหรือรับสินค้าอันอยู่ที่ท่าสินค้าโดยที่เจ้าของลงลายมือชื่อ หรือมีผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนในเมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินอันปรากฎในตราสารนั้น
เสียภาษีอากรแสตมป์ : อากรแสตมป์ 1 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกคำสั่ง
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกคำสั่ง

21. ตัวแทน

ค่าอากรแสตมป์ :

  • 10 บาท กรณีมอบอำนาจเฉพาะการ
  • 30 บาท กรณีมอบอำนาจทั่วไป

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ตัวการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ตัวการ
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร : กรณีตั้งตัวแทนสหกรณ์เป็นตัวการ

22. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

เสียภาษีอากรแสตมป์ :

  • 1 บาท กรณีพิพาทกันด้วยจำนวนเงินหรือราคาทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
  • 10 บาท ในกรณีอื่นที่ไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเงินหรือราคา

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : อนุญาโตตุลาการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : อนุญาโตตุลาการ

23. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร

เสียภาษีอากรแสตมป์ :

  • คู่ฉบับเสียอากร 1 บาท ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท
  • คู่ฉบับเสียอากร 5 บาท ถ้าต้นฉบับเกิน 5 บาท

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร :

  • กรณีไม่มีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาคนที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับเป็นผู้เสีย
  • กรณีมีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งนั้นต้องเป็นผู้เสียอากร

ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : คนเดียวกับผู้ขีดฆ่าต้นฉบับ
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร : ฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์

24. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน

เสียภาษีอากรแสตมป์ : เสียฉบับละ 200 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้เริ่มก่อการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้เริ่มก่อการ

25. ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน

ค่าอากรแสตมป์ : เสียฉบับละ 200 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : กรรมการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : กรรมการ

26. ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน

เสียภาษีอากรแสตมป์ : เสียฉบับละ 50 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : กรรมการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : กรรมการ

27. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน

เสียภาษีอากรแสตมป์ :

  • เสีย 100 บาท กรณีหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
  • เสีย 50 บาท กรณีหนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้เป็นหุ้นส่วน
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้เป็นหุ้นส่วน

28. ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้

  • ใบบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล
  • ใบรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
  • ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ เฉพาะยางพาหนะที่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ
  • ถ้าใบรับตาม 3 ข้อข้างต้น มีจำนวนเงินตั้งแต่ 200 บาท ขึ้นไปทุก 200 บาทหรือเศษของ 200 บาท

เสียภาษีอากรแสตมป์ : 1 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกใบรับ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกใบรับ
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร : กรณีใบรับ สำหรับจำนวนเงินที่ผู้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ

สถานที่จำหน่ายอากรแสตมป์

สำหรับเพื่อน ๆ หรือใครก็ตามที่มีความจำเป็นจะต้องใช้อากรแสตมป์ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ สามารถหาซื้ออากรแสตมป์ได้ที่สำนักงานสรรพากรในพื้นที่หรือสาขาที่ใกล้บ้าน ซึ่งจะเป็นที่ที่มีการขายอย่างแน่นอน โดยนอกจากนี้ยังมีอีกหลายแห่งที่มีการจำหน่ายไม่ว่าจะเป็น

  • ร้านสะดวกซื้อ
  • ร้านเครื่องเขียน
  • สถานที่ราชการ
  • ร้านค้าออนไลน์เช่น Shopee หรือ Lazada

วิธีการซื้ออากรแสตมป์ ออนไลน์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

e-Stamp หรือ ระบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ คือ อากรแสตมป์ ออนไลน์ที่เกิดขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเพื่อหาซื้ออากรแสตมป์ ซึ่งสามารถเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงินผ่านระบบออนไลน์ได้

โดยผู้ที่ต้องการเสียอากรต้องยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชำระค่าอากรก่อนกระทำตราสารหรือภายใน 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันกระทำตราสาร โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ สามารถยื่นผ่านเว็ปไซต์https://www.rd.go.th หรือจะเป็น Application Programming Interface (API) ของสรรพากรก็ได้

ขั้นตอนการใช้งานผ่านเว็ปไซต์

  • เข้าไปที่เว็บไซต์
  • เลือก “e-Stamp Duty ชำระอากรแสมป์”
  • ทำการเข้าไปที่ “ขอเสียอากรแสมป์”
  • กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย

ผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์

  • บุคคลที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ช่องที่ 3 หรือก็คือผู้ที่ต้องเสียอากร ได้แก่ ผู้ให้เช่า ผู้รับจ้าง ผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย เป็นต้น
  • สำหรับตราสารถูกทำขึ้นนอกประเทศไทย ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศเป็ผู้เสียอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งต้องเสียอากรแล้วจึงยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอนหรือถือเอาประโยชน์ได้ ผู้ทรงตราสารคนใด ได้ตราสารตามความข้างต้นไว้ในครอบครองก่อนพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียอากรก็ได้โดยมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อนๆ
  • ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วต้องชำระอากรและใช้สิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้
  • ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้ เว้นแต่กรณีตราสารถูกทำขึ้นนอกประเทศไทยจากด้านต้น

ข้อเสียของไม่ติดอาการแสตมป์หรือตราสารที่ไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์

หากตราสารไม่ได้ติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมายจะส่งผลเสียนั่นก็คือทำให้ไม่สามารถนำตราสารนั้นไปใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีเพ่งได้ จนกว่าจะได้เสียอากรครบตามจำนวนระบุตามอัตราในบัญชีท้าย หมวดอากรแสตมป์ และขีดฆ่าแล้ว

นอกจากนี้สำหรับตัวตราสารที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้อง กฎหมายยังห้ามเจ้าพนักงานให้ทำหรือบันทึกสิ่งใด ๆ ก็ตามลงในตราสาร จนกว่าจะได้มีการเสียอากรให้ครบถ้วนตามกฎหมายระบุไว้ให้

จะเห็นได้ว่าอากรแสตมป์เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการกู้ยืมเงิน เพราะว่าทุกการขอกู้สินเชื่อไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ทุกครั้ง เพื่อความรวดเร็วและให้การทำธุรกรรมเป็นไปได้อย่างไม่ติดขัดการเตรียมอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม สำหรับใครที่กำลังมองหาสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อช่วยให้สภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น สามารถมาดูรายละเอียดพร้อมกับสมัครได้ที่ แรบบิม แคร์ กันได้เลย เพราะที่นี้มีหลากหลายสินเชื่อส่วนบุคคลให้ได้เลือกสรรค์ โดยมาพร้อมกับเครื่องมือเปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคลเฉพาะที่แรบบิท แคร์ซึ่งจะช่วยให้การเปรียบเทียบเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่มีคนค้ำประกัน
  • รับเงินภายใน 24 ชม. หลังอนุมัติ
  • ระยะเวลาผ่อน: 12-72 เดือน
  • ผ่อนแสนละ 80 บาท/วัน
  • เอกสารสลิปเงินเดือน อายุงาน 4 เดือน
  • รายได้ 30,000 บาท/เดือน
สินเชื่อส่วนบุคคลไทยเครดิตไทยเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยเริ่มที่ 9.99% ต่อปี
  • อนุมัติวงเงิน 2 ล้าน
  • ชำระขั้นต่ำ 3% หรือ 500 บาท
  • อายุ 20-60 ปี สัญชาติไทย
  • รวมหนี้บัตรและเงินสด
  • ไม่ต้องใช้คนค้ำ
สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสพรอมิส

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป อนุมัติสูงสุด 5 เท่า
  • สูงสุด 5 เท่าของรายได้ หรือ 300,000 บาท
  • ดอกเบี้ย 15-25%, ค่าธรรมเนียม 0-10% ต่อปี
  • อนุมัติไว 1 ชั่วโมง หากเอกสารครบ
  • สมัครง่าย รายได้เริ่มต้น 8,000 บาท
  • ชำระขั้นต่ำ 3% ของยอดคงเหลือ หรือ 300 บาท
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • อนุมัติวงเงินสูงสุด 1 ล้าน
  • อนุมัติภายใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยต่ำ 2.08% ต่อเดือน
  • รับวงเงินหมุนเวียน ผ่อนขั้นต่ำ 200 บาท
  • รับเงินเต็มจำนวน แบ่งจ่าย 60 เดือน
  • ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือค้ำประกัน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา