Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

ไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากในรถยนต์ใช้งานตอนไหน และมีความสำคัญอย่างไร?

ไฟฉุกเฉินรถยนต์หรือไฟผ่าหมาก คืออะไร?

ไฟฉุกเฉินรถยนต์ (Hazard Lights) หรือไฟผ่าหมากที่นิยมเรียกกัน จะเป็นเครื่องมือที่ถูกติดตั้งในรถยนต์มาจากโรงงานอยู่แล้ว โดยจะเป็นสวิตช์ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปสามเหลี่ยมสีแดงอยู่ตรงกลางระหว่างช่องแอร์ของทั้ง 2 ฝั่ง เพราะฉะนั้นไฟฉุกเฉินรถยนต์จึงมีไว้เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินตามชื่อเลย และไม่ควรจะ เปิดไฟฉุกเฉินเมื่อไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ เนื่องจากไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากนั้นจะแสดงในตำแหน่งเดียวกันกับไฟเลี้ยวของรถยนต์ ซึ่งอาจจะทำให้รถคันอื่น ๆ เกิดเข้าใจผิดว่าเกิดอุบัติเหตุข้างหน้า จนเกิดเป็นอุบัติเหตุรถชนกันเกิดขึ้นในที่สุด

ไฟฉุกเฉินใช้ตอนไหน หรือไฟผ่าหมากใช้ตอนไหน?

ควรจะเปิดใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น เช่น รถเกิดเหตุขัดข้องจึงเปิดใช้งานไฟผ่าหมากหรือไฟฉุกเฉินรถยนต์ เพื่อให้รถคันอื่นรับรู้ว่ารถของคุณเกิดเหตุฉุกเฉินอยู่ จะได้พยายามขับรถออกห่างและชะลอความเร็วลงเมื่อใกล้กับจุดเกิดเหตุ เพื่อที่จะได้ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุรถชนหลังกันขึ้นมา และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนในเวลาที่ไล่เลี่ยกันนั่นเอง

ไฟฉุกเฉินรถยนต์ควรใช้ตอนไหน?

  1. เมื่อเกิดเหตุรถเสียกะทันหัน ซึ่งในทางกฎหมายจะอนุญาตให้เปิดใช้งานไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากได้ เพื่อส่งสัญญาณให้รถคันอื่น ๆ รับทราบและหลีกทางให้ ช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้
  2. เมื่อเจอสิ่งกีดขวางหรืออุบัติเหตุข้างหน้า ซึ่งในกรณีนี้กฎหมายจะอนุญาตให้เปิดใช้งานไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้รถคันอื่นชะลอความเร็ว และขับผ่านไปได้โดยที่ไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นมา

กฎหมายการใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์มีอะไรบ้าง?

จากข้อมูลใน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตราที่ 11 และมาตราที่ 56 ของเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ระบุข้อมูลไว้ว่า

  • มาตรา 11 “ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ จนมองไม่เห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวางใด ๆ ภายในระยะที่ไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ผู้ขับขี่จะต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง” หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 500 บาท
  • มาตรา 56 ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์นั้นเกิดขัดข้อง จนต้องทำให้ จอดรถในทางเดินรถ ทางผู้ขับขี่จะต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด และในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าจำเป็นที่จะต้องจอดรถไว้อยู่ในทางเดินรถ ทางผู้ขับขี่จะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางทางจราจร จะต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินหรือแสดงเครื่องหมายสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง” หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 1,000 บาท

และข้อมูล กฎกระทรวง กำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ข้อ 3 (จ) จากเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก ได้ระบุไว้ดังนี้

  • ข้อ 3 (28) (จ) รถยนต์ทุกประเภทจะต้องมีอุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณ เตือนอันตราย รวมทั้งระบบควบคุมที่แยกจากโคมไฟเลี้ยว และเมื่อให้สัญญาณ เตือนอันตรายเมื่อไหร่ โคมไฟเลี้ยวจะต้องกะพริบพร้อมกันทุกดวง

เมื่อไหร่ที่ไม่ควรใช้ไฟผ่าหมากหรือไฟฉุกเฉินรถยนต์?

  1. เมื่อฝนตกหนัก เพราะจะทำให้มีทัศนวิสัยที่ไม่ดี และอาจจะส่งผลทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้ อีกทั้งรถคันที่ตามหลังเรามาอาจจะสับสนและไม่แน่ใจว่ารถเราเสียหรือเกิดเหตุขัดข้องอะไรหรือไม่
  2. เมื่อกำลังจะขับรถข้ามทางแยก เพราะจะทำให้รถคันข้างหลังเกิดเข้าใจผิดคิดว่าว่าคุณจะเลี้ยวรถ และอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการเฉี่ยวชนขึ้นมาได้
  3. ในขณะที่กำลังขับรถอยู่ตามปกติ เพราะจะทำให้รถคันที่ตามมาข้างหลังเกิดความสับสน และไม่สามารถรู้ได้ว่ารถยนต์ของเรานั้นจะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาหรือไม่
  4. เมื่อจอดทำธุระที่ข้างถนน เช่น จอดรถเพื่อคุยโทรศัพท์ จอดรถเพื่อหาของที่หล่นหาย หรือจอดซื้อของ เป็นต้น ดังนั้นถ้าเกิดว่ามีธุระขึ้นมาแบบนี้ ก็จะแนะนำให้ไปจอดทำธุระดังกล่าวในปั๊มน้ำมัน ลานจอดรถ หรือบริเวณที่สามารถจอดได้แทน
  5. เมื่อต้องการที่จะเปลี่ยนทางเดินรถหรือเปลี่ยนเลน เนื่องจากว่าเราสามารถใช้สัญญาณไฟเลี้ยวได้ตามปกติอยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฉุกเฉินโดยไม่จำเป็น เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของรถคันข้างหลังที่ตามมานั่นเอง

ใช้ไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากตอนฝนตกได้ไหม?

คำตอบคือ “ไม่ใช้จะดีที่สุด” เพราะตอนฝนตกจะทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นนั้นไม่ค่อยดีนัก จึงอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้นั่นเอง และเนื่องจากไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากนั้นอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับไฟเลี้ยว ก็อาจจะทำให้รถที่ขับตามมาทางด้านหลังนั้นเกิดความสับสนขึ้นมาได้ และจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้อีกด้วย

ใช้ไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากตรงทางข้ามแยกได้ไหม?

เนื่องจากทางข้ามแยกนั้นเป็นเส้นทางจราจรที่ควรระมัดระวังในการขับขี่ ดังนั้นจึงไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นจะดีที่สุด เพราะรถคันอื่นจะสับสนในวิถีการเดินรถของเรา และอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุประสานงาขึ้นมาได้ อีกทั้งยังทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถ และเสียทรัพย์สินโดยที่ไม่จำเป็นอีกด้วย

หากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ไฟฉุกเฉินในทางที่ผิด แบบนี้ทางบริษัทประกันภัยจะรับเคลมไหม?

หากกระทำผิดกฎหมายโดยการเปิดใช้ไฟฉุกเฉินในทางที่ผิดแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา แบบนี้ทางประกันภัยจะรับเคลมให้เฉพาะความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น ส่วนในเรื่องของกฎหมายก็จะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามปกติ ดังนั้นทุกการขับขี่ไม่ควรที่จะประมาท เพราะในท้องถนนไม่ได้มีเพียงแค่เราเท่านั้น แต่ยังมีเพื่อนร่วมทางอีกมากมาย หากต้องการประกันภัยที่จะให้ความคุ้มครองแบบครอบคลุมมากที่สุด ก็จะแนะนำว่าให้ทำเป็นประกันภัยชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะว่าจะได้รับความคุ้มครองทั้งแบบที่ไม่มีคู่กรณีและมีคู่กรณี ไม่ว่าจะเป็นค่าเสียหายหรือค่ารักษาพยาบาลก็ตาม สามารถดูแผนประกันภัยรถยนต์เพิ่มเติมได้ที่ ประกันภัยรถยนต์

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
    <div class="row4 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_cash_car_ed.png" class="pic-icon" title="ชนแบบมีคู่กรณี" alt="ชนแบบมีคู่กรณี"  width="36px" height="36px" loading="lazy">ชนแบบมีคู่กรณี</div>
        <div class="row4c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row4c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row4c4 row-cdet">x</div><div class="row4c5 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row4c6 row-cdet">x</div>
    <div class="row5 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_cash_no_third_party.png" title="ชนแบบไม่มีคู่กรณี"  alt="ชนแบบไม่มีคู่กรณี" class="pic-icon"  width="36px" height="36px" loading="lazy">ชนแบบไม่มีคู่กรณี</div>
        <div class="row5c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row5c3 row-cdet">x</div><div class="row5c4 row-cdet">x</div><div class="row5c5 row-cdet">x</div><div class="row5c6 row-cdet">x</div> 
    <div class="row6 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_fire.png" title="ไฟไหม้" alt="ไฟไหม้" class="pic-icon"  width="36px" height="36px" loading="lazy">ไฟไหม้</div>
        <div class="row6c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row6c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row6c4 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row6c5 row-cdet">x</div><div class="row6c6 row-cdet">x</div>    
    <div class="row7 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/lost_car.png" class="pic-icon" title="รถหาย" alt="รถหาย"  width="36px" height="36px" loading="lazy">รถหาย</div>
        <div class="row7c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row7c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row7c4 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row7c5 row-cdet">x</div><div class="row7c6 row-cdet">x</div>    
    <div class="row8 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_flood.png" alt="ภัยธรรมชาติ" title="ภัยธรรมชาติ"  class="pic-icon"  width="36px" height="36px" loading="lazy">ภัยธรรมชาติ</div>
        <div class="row8c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row8c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row8c4 row-cdet">x</div><div class="row8c5 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row8c6 row-cdet">x</div>        
    <div class="row9 row-det"><img src="https://adbblog.wpengine.com/wp-content/uploads/2023/09/car_emergency_help.png" title="ช่วยเหลือ 24 ชม. " alt="ช่วยเหลือ 24 ชม. " class="pic-icon"  width="36px" height="36px" loading="lazy">ช่วยเหลือ 24 ชม. </div>        
        <div class="row9c2 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row9c3 row-cdet"><i class="fa-regular fa-circle-check"></i></div><div class="row9c4 row-cdet">x</div><div class="row9c5 row-cdet">x</div><div class="row9c6 row-cdet">x</div>     

    <div class="row10 row-det" style="text-align: center!important; justify-content:center!important; padding:3px; font-weight: 700;">ซื้อประกันรถยนต์ &nbsp;&nbsp;<i class="fa-sharp fa-regular fa-circle-right fa-beat" style="font-size: 18px!important; martin-top:2px;"></i></div>        
        <div class="row10c2 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type1?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-one-button&utm_term=table')">คลิก</div>
        <div class="row10c3 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type2-plus?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-twoplus-button&utm_term=table')">คลิก</i></div>
        <div class="row10c4 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type2?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-two-button&utm_term=table')">คลิก</div>
        <div class="row10c5 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type3-plus?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-threeplus-button&utm_term=table')">คลิก</div>
        <div class="row10c6 row10 btn" onclick="go_page('https://rabbitcare.com/car-insurance/type3?utm_source=other_display&utm_medium=article&utm_campaign=table-car-insurance-by-type&utm_content=money-page-type-three-button&utm_term=table')">คลิก</div>                
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

แนะนำว่าควรทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะถึงแม้ว่าราคาจะแพงเป็นอันดับต้นในบรรดาประกันภัยทุกชั้น แต่ในเรื่องของความคุ้มครองที่จะได้รับนั้นก็สามารถมั่นใจได้เลย 100% ว่าคุ้มค่า คุ้มราคาแน่นอน เพราะถือว่าเป็นประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นในกรณีรถหาย รถไฟไหม้ หรือรถน้ำท่วม ก็รับเคลมทั้งสิ้น อีกทั้งประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 นอกจากจะให้ความคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของคู่กรณีและคู่โดยสารเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนแล้ว ก็จะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับคู่กรณีอีกด้วย แม้กระทั่งค่าศัลยกรรมจากการเกิดอุบัติเหตุก็มีการจ่ายให้ เป็นต้น และยังคุ้มครองทั้งในแบบที่มีคู่กรณีหรือไม่มีคู่กรณี รถยนต์สูญหาย รถยนต์ไฟไหม้ รถยนต์น้ำท่วม หรืออะไรก็ตาม ก็จะได้รับความคุ้มครองทุกกรณีแบบครอบคลุมทั้งหมด เรียกได้ว่าคุ้มค่า คุ้มราคากับเงินที่เสียไปอย่างแน่นอน

ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

นอกจาก แรบบิท แคร์ จะมีระบบเปรียบเทียบราคาแผนประกันภัยรถยนต์ให้คุณได้ใช้ง่ายแล้ว ก็ยังมีช่องทางในการชำระเงินมากมายอีก ทั้งยังสามารถผ่อน 0% นานถึง 1 เดือนได้อีกด้วย และนอกจากนี้ยังมีบริการหลังการขายสุดพิเศษ ที่จะคอยช่วยอำนวยความสะดวกสบายหลังการขายให้กับลูกค้าแบบ Exclusive ทั้งในเรื่องของบริการหลังการขายตลอด 24 ชั่วโมง และพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างคุณในทุกความกังวล ซึ่งรับรองได้เลยว่าการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์กับแรบบิท แคร์ นั้นจะคุ้มค่าแน่นอน ทั้งซื้อง่าย ได้กรมธรรม์เร็ว มีส่วนลดพิเศษต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งยังช่วยติดตามประสานงานเคลมของคุณให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  เพราะฉะนั้นลูกค้าจึงสามารถที่จะมั่นใจได้เลยว่าจะไม่ผิดหวัง ถ้าหากเลือกทำประกันภัยรถยนต์กับแรบบิท แคร์

 

อีกทั้งลูกค้าสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับสิทธิพิเศษตั้งแต่เริ่มวางแผนซื้อประกันภัยกับทางแรบบิท แคร์ เพราะว่าแรบบิท แคร์ นั้นจะมีระบบเปรียบเทียบแผนประกันออนไลน์ที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ก็จะสามารถรู้ราคาของประกันภัยรถยนต์ในแต่ละบริษัทประกันภัยชั้นนำทั่วประเทศได้เลย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกสรรแผนประกันที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาได้มาก และนอกจากนี้แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษอื่น ๆ ที่ลูกค้าจะได้รับหากซื้อประกันรถยนต์กับเรา ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา