Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

หนังสือมอบอำนาจโอนรถคืออะไร? และมีความสำคัญอย่างไร?

สำหรับการโอนรถนั้นจะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของรถยนต์จากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขสถานะในการเป็นเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว และเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของรถคันใหม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ทางผู้รับสิทธิก็จะกลายเป็นเจ้าของรถยนต์คันนั้นตามกฎหมายโดยทันที และก็จะมีการถูกบันทึกลงในทะเบียนรถยนต์คันใหม่ด้วย และการเปลี่ยนเจ้าของรถหรือการโอนรถนั้นก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะถ้าหากว่ามีการซื้อขายหรือมีการเปลี่ยนเจ้าของรถโดยที่ไม่ได้มีการโอนรถให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงและปัญหาอื่น ๆ ตามมาในภายหลังได้เช่นกัน

ดังนั้นจึงควรที่จะทำตามขั้นตอนในการโอนรถให้ถูกต้องและเสร็จสมบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน เพื่อความถูกต้องและความสบายใจของทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าหากว่าทางเจ้าของรถหรือเจ้าของเดิมนั้นเกิดติดธุระหรือติดภารกิจที่ส่งผลทำให้เจ้าตัวนั้นไม่สามารถไปดำเนินการโอนรถที่สำนักงานขนส่งได้ด้วยตนเอง กรณีแบบนี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะว่าเราสามารถใช้หนังสือมอบอำนาจโอนรถได้ นั่นก็คือเป็นการมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่เราไว้ใจไปดำเนินการแทนนั่นเอง โดยหนังสือมอบอำนาจโอนรถนี้เป็นสิ่งสำคัญมากถ้าเราไม่ได้ไปดำเนินการได้ด้วยตนเอง

หนังสือมอบอำนาจโอนรถคืออะไร และจะหาได้จากที่ไหน?

สำหรับหนังสือมอบอำนาจโอนรถนั้นจะใช้เฉพาะในกรณีที่เจ้าของรถนั้นไม่สามารถไปดำเนินการแจ้งเรื่องกับทางสำนักงานขนส่งได้ด้วยตนเอง เช่น การไปแจ้งโอนรถ การไปแจ้งย้ายรถ การไปแจ้งใส่หลังคา การไปแจ้งเสริมกระบะข้าง เป็นต้น โดยหนังสือมอบอำนาจโอนรถนี้จะสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่ง และหนังสือมอบอำนาจโอนรถนั้นจะต้องเป็นแบบฟอร์มของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

และนอกจากนี้ก็ยังสามารถหาซื้อได้ที่สำนักงานขนส่ง ร้านศึกษาภัณฑ์ หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งโดยปกติแล้วตัวหนังสือมอบอำนาจรถยนต์นี้จะใช้ได้ในทุกกรณี ทั้งที่เป็นการโอนรถยนต์แบบโอนตรงกับสำนักงานขนส่ง การโอนรถยนต์แบบโอนลอย และการโอนรถยนต์แบบมรดกตกทอด อีกทั้งการโอนรถนั้นก็จะต้องมีการตรวจสภาพให้เรียบร้อยก่อนด้วยถึงจะดำเนินการทำเรื่องโอนรถได้ โดยจะต้องแจ้งภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มเซ็นเอกสารในการโอนรถ เพราะถ้าหากว่าเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้จะต้องมีโทษปรับ 2,000 บาท

หนังสือมอบอำนาจโอนรถ ตัวอย่างหน้าตาเป็นอย่างไร?

สำหรับการกรอกรายละเอียดลงในหนังสือมอบอำนาจโอนรถนั้นจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้อง โดยจะเริ่มจากการติดอากรแสตมป์ที่บริเวณมุมขวาด้านบนของหนังสือมอบอำนาจโอนรถ จากนั้นให้กรอกข้อมูลว่าหนังสือมอบอำนาจโอนรถฉบับนี้นั้นเขียนที่ไหน โดยการเขียนเลขที่ หมู่ ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ ตามลำดับ

จากนั้นให้เขียนวันที่ที่เราจะทำการยื่นหนังสือมอบอำนาจโอนรถนี้ต่อเจ้าหน้าที่เท่านั้น ต่อมาให้กรอกรายละเอียดตามตัวอย่างด้านล่างนี้ได้เลย โดยจะแบ่งเป็นช่องของผู้ที่ต้องการจะมอบอำนาจ นิติบุคคล และผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจ ซึ่งในช่องสีเหลืองของนิติบุคคลนี้ ถ้าหากเราไม่มีก็ไม่ต้องกรอก ให้ทำการเว้นว่างเอาไว้ จากนั้นให้กรอกความประสงค์ในแต่ละข้อได้เลย โดยหนังสือมอบอำนาจโอนรถหนึ่งใบจะสามารถเขียนความประสงค์ได้มากกว่าหนึ่งอย่าง โดยให้เราเขียนรายละเอียดให้ชัดเจนและครบถ้วน แล้วจึงลงลายมือชื่อหรือลายเซ็นของทั้งตัวผู้มอบอำนาจและตัวผู้รับมอบอำนาจ

และที่สำคัญคือจะต้องมีลายมือชื่อหรือลายเซ็นของพยานทั้ง 2 คนด้วย หนังสือมอบอำนาจโอนรถจึงจะครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนในช่องสี่เหลี่ยมด้านล่างซ้ายมือให้กรอกข้อมูลเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน วันที่ออกบัตร และวันหมดอายุของบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่มอบอำนาจ ถ้าหากว่าบัตรประจำตัวประชาชนนั้นหมดอายุก็ให้รีบไปต่อบัตรให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงค่อยมากรอกข้อมูลให้เรียบร้อย

รายการเอกสารอื่น ๆ ที่จะต้องเตรียม

กรณีที่เป็นพ่อ แม่ ลูก

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของเดิม(ผู้โอน) พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของเดิม(ผู้โอน) พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของใหม่(ผู้รับโอน) พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของใหม่(ผู้รับโอน) พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • หนังสือแบบคำขอโอนและรับโอนที่กรอกรายละเอียดข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง
  • หนังสือมอบอำนาจโอนรถที่กรอกรายละเอียดข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง(ใช้เฉพาะในกรณีที่เจ้าของไม่สามารถไปดำเนินการได้ด้วยตนเองที่สำนักงานขนส่ง)
  • สำเนาใบสูติบัตรที่มีชื่อของบิดาและมารดาผู้ให้กำเนิด เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นพ่อ แม่ ลูกกันจริง

กรณีที่เป็นบุคคลอื่น

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของเดิม(ผู้โอน/ผู้ขาย) พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของเดิม(ผู้โอน/ผู้ขาย) พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของใหม่(ผู้รับโอน/ผู้ซื้อ) พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของใหม่(ผู้รับโอน/ผู้ซื้อ) พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • หนังสือแบบคำขอโอนและรับโอนที่กรอกรายละเอียดข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง
  • หนังสือมอบอำนาจโอนรถที่กรอกรายละเอียดข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง(ใช้เฉพาะในกรณีที่เจ้าของไม่สามารถไปดำเนินการได้ด้วยตนเองที่สำนักงานขนส่ง)
  • สำเนาสัญญาการซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าว

ตัวอย่างเอกสารแบบคำขอโอนและรับโอน

เอกสารแบบคำขอโอนและรับโอนจะมีทั้งหมด 2 หน้าด้วยกัน ดังนี้

ข้อควรระวังของหนังสือมอบอำนาจโอนรถ

  1. การดำเนินการที่เกี่ยวกับเรื่องของทะเบียนรถ ถ้าหากว่าเจ้าของรถไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง ก็จะต้องใช้หนังสือมอบอำนาจโอนรถประกอบด้วย โดยจะต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจโอนรถแยกต่างหากจากหนังสือคำขอด้วยทุกครั้ง
  2. ผู้ที่มอบอำนาจหรือเจ้าของนั้นจะต้องรับผิดชอบทุกอย่างที่ผู้รับมอบอำนาจนั้นได้กระทำไปตามหนังสือมอบอำนาจโอนรถที่ได้เขียนไว้
  3. ผู้มอบอำนาจและผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจะต้องมีการลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโอนรถต่อหน้าพยานด้วย
  4. ผู้มอบอำนาจและผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจะต้องแนบสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วยทุกครั้ง โดยจะต้องถือมาพร้อมกับหนังสือมอบอำนาจโอนรถ
  5. ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจะต้องกระทำการด้วยตนเองเสมอ จะไปมอบอำนาจให้ผู้อื่นต่อไม่ได้อีก
  6. ถ้าหากว่าหนังสือมอบอำนาจโอนรถนั้นมีรอยขีดฆ่า รอยขูด รอยแก้ไขหรือมีรอยลบ ก็จะถือว่าหนังสือมอบอำนาจโอนรถฉบับนั้นใช้ไม่ได้
  7. หนังสือมอบอำนาจโอนรถนั้นจะต้องมีการติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องเรียบร้อยด้วย

หนังสือมอบอํานาจโอนรถ ติดอากรแสตมป์กี่บาท?

สำหรับการติดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจโอนรถนั้น จะต้องมีการติดอากรแสตมป์ด้วย 30 บาท เพราะว่าเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้กระทำการหลายครั้ง โดยจะสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ ร้านถ่ายเอกสาร หรือที่สำนักงานขนส่งก็มีจำหน่ายอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน หากวันไหนที่จะต้องมีเข้าไปโอนรถที่สำนักงานขนส่งก็สามารถที่จะหาซื้อได้เลย โดยตัวอากรแสตมป์จะแบ่งเป็น 1 บาท 5 บาท 10 บาท

มีรถยนต์แล้ว ควรจะเลือกทำประกันภัยชั้นไหนดี?

แนะนำว่าให้เลือกทำเป็น ประกันภัยชั้น 1 ให้กับรถยนต์ เพราะว่านอกจากจะเป็นแผนประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองสูงสุดแล้ว ทางผู้ขับเองก็ยังสามารถที่จะอุ่นใจและยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในทุกการขับขี่ได้ในทุกกรณีอีกด้วย เพราะว่าอุบัติเหตุนั้นสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และยิ่งถ้าเป็นรถมือหนึ่งหรือรถที่เพิ่งซื้อมาใหม่แล้ว ก็เหมาะมาก ๆ เลยสำหรับมือใหม่หัดขับหรือผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูงสุด

โอนรถเปลี่ยนเจ้าของ ประกันรถยนต์ยังคุ้มครองหรือไม่

การโอนรถและเปลี่ยนเจ้าของรถยนต์จะมีผลต่อการคุ้มครองของประกันรถยนต์ โดยปกติแล้ว ประกันรถยนต์จะ ไม่สามารถถ่ายโอนความคุ้มครองไปยังเจ้าของใหม่ได้โดยอัตโนมัติ หลังจากการโอนรถ ทั้งนี้มีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

1. ประกันรถยนต์คงอยู่กับเจ้าของเดิม

เมื่อมีการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของรถยนต์ ประกันรถยนต์ที่เจ้าของเดิมทำไว้ยังคงคุ้มครอง แต่ประกันจะคุ้มครองเฉพาะเจ้าของเดิมเท่านั้น จนกว่าจะมีการแจ้งให้บริษัทประกันทราบและดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงข้อมูล

2. ขั้นตอนการโอนประกันไปยังเจ้าของใหม่

หากต้องการให้ความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ยังคงมีอยู่หลังจากการโอนรถ เจ้าของเดิมและเจ้าของใหม่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

  • ติดต่อบริษัทประกันเพื่อแจ้งการโอนรถและขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์
  • บริษัทประกันอาจต้องทำการประเมินความเสี่ยงใหม่สำหรับเจ้าของใหม่ เช่น ประวัติการขับขี่ และเงื่อนไขต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เบี้ยประกันเปลี่ยนแปลง
  • กรณีบางบริษัทอาจจำเป็นต้องทำการออกกรมธรรม์ใหม่ให้กับเจ้าของใหม่

3. สิทธิ์ในการยกเลิกกรมธรรม์

หากเจ้าของเดิมไม่ต้องการโอนประกันไปยังเจ้าของใหม่ เจ้าของเดิมมีสิทธิ์ในการยกเลิกกรมธรรม์แล้วรับเงินคืนในส่วนที่เหลือของเบี้ยประกันตามอัตราการคืนเงินของบริษัท

4. ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

สำหรับประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จะยังคงคุ้มครองต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนเจ้าของหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เจ้าของใหม่จะต้องต่ออายุเมื่อพ.ร.บ.หมดอายุ เพื่อคงความคุ้มครองตามกฎหมาย

5. การซื้อประกันใหม่

เจ้าของใหม่ควรทำประกันใหม่ภายหลังจากการโอนรถเสร็จสิ้น หากไม่มีการโอนประกันจากเจ้าของเดิม เพื่อให้มีความคุ้มครองทั้งตัวรถและความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก

เมื่อมีการโอนรถและเปลี่ยนเจ้าของ ประกันรถยนต์จะ ไม่คุ้มครองเจ้าของใหม่โดยอัตโนมัติ จนกว่าจะมีการแจ้งบริษัทประกันและดำเนินการโอนสิทธิ์หรือทำกรมธรรม์ใหม่ ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับประกันเป็นเรื่องที่เจ้าของใหม่ต้องจัดการทันทีหลังการโอนรถเพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง

ซื้อประกันรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

นอกจากเราจะสามารถเลือกได้เองว่าเรานั้นต้องการแผนประกันภัยแบบไหน ที่มันจะสามารถตอบโจทย์เราได้มากที่สุด ในเรื่องของราคานั้นก็คุ้มค่ามากที่สุดอีกด้วย เพราะว่าแรบบิท แคร์ เรามีพันธมิตรบริษัทประกันภัยมากกว่า 30 บริษัท แถมยังสามารถผ่อนค่าประกันภัยได้สบาย 0% นานสูงสุด 10 เดือนอีกด้วย ชำระได้ทั้งบัตรเครดิตและเงินสดเลย รวมทั้งยังสามารถขอรับบริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมงได้ทันที มีบริการรถยก รถลากให้ถึงที่ และยังมีเจ้าหน้าที่พร้อมช่วยดูแลตลอด ซื้อง่าย ซื้อทางออนไลน์ก็ได้ อีกทั้งถ้าเรานั้นขับดีไม่มีเคลมเลย ปีต่อไปก็จะมีลดเบี้ยประกันให้อีก เพราะเรานั้นแคร์คุณยิ่งกว่าใคร

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา