Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

บริษัทซื้อหุ้นคืนไปเพื่ออะไร มีผลกระทบอย่างไรต่อบริษัท

สำหรับบริษัทที่มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จะมีวิธีการหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาบางอย่าง เช่น ราคาของหุ้นที่ต่ำ, โครงสร้างทางการเงินของบริษัทที่ส่อแววจะแย่ รวมไปถึงการแก้ไขความขัดแย้งในบรรดาผู้ถือหุ้นเอง วิธีการหนึ่งที่บริษัทจะเลือกใช้ในการแก้ปัญหาเหล่านี้คือการที่บริษัทซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อย วันนี้จะมาเล่าในเรื่องของ บริษัทซื้อหุ้นคืน คืออะไร ทำไปเพื่ออะไร มีผลกระทบอย่างไรต่อบริษัท

บริษัทซื้อหุ้นคืน (Stock Repurchase) คือ

บริษัทซื้อหุ้นคืน หรือ Stock Repurchase คือการซื้อหุ้นของบริษัทตัวเอง จากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ด้วยเงินส่วนตัว เพื่อลดจำนวนหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยหุ้นลักษณะแบบนี้จะไม่ถูกนับในเรื่องของสิทธิในการออกเสียงในการประชุมของคณะกรรมการบริษัท รวมไปถึงการไม่ได้รับเงินปันผลใดๆ จากการซื้อหุ้นคืน แต่การซื้อในลักษณะนี้ จะสามารถถือได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น โดยจะต้องขายหุ้นส่วนตรงนี้ออกเมื่อถือหุ้นอย่างน้อย 6 เดือน หรือไม่เกิน 3 ปี โดยสามารถทำการขายในตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ หรือหากต้องการเสนอขายกับประชาชนทั่วไปก็สามารถทำได้ แต่จะต้องลดทุนด้วยกันตัดหุ้นจดทะเบียนที่ซื้อคืนทิ้งไป

วิธีการของบริษัทในการซื้อหุ้นคืน

เมื่อรู้จักบริษัทซื้อหุ้นคืน คืออะไรแล้ว ทีนี้เรามาดูเงื่อนไขที่จะทำให้บริษัทสามารถซื้อหุ้นคืนได้ ก็คือจะต้องมีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจส่วนเกิน รวมไปถึงกำไรสะสม และจะต้องไม่ไปลดสัดส่วนการกระจายของผู้ถือหุ้นรายย่อย ต่ำกว่า 15% โดยหากซื้อหุ้นคืนต่ำกว่า 10% ของทุนชำระ คณะกรรมการของบริษัทจะสามารถมีอำนาจในการซื้อหุ้นคืนได้ แต่ถ้าหากบริษัทซื้อหุ้นคืนสูงกว่า 10% ของทุนชำระ จะต้องมีการประชุมเพื่อขอความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายอื่น เมื่อผ่านเงื่อนไขแล้วสามารถเข้าซื้อได้ผ่านกระดานหลักทรัพย์ตามปกติทั่วไป(Main Board) หรือการเสนอซื้อโดยตรง (General Offer) ในกรณีที่บริษัทต้องการซื้อหุ้นคืนสูงกว่า 10%

เหตุผลที่บริษัทซื้อหุ้นคืน

เนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่างที่บริษัทซื้อหุ้นคืนจะส่งผลทั้งดีและไม่ดีให้กับบริษัทเอง โดยเหตุผลที่บริษัทซื้อหุ้นคืนนั้น มีอยู่ 3 สาเหตุ ดังนี้

• ราคาของหุ้นมีมูลค่าต่ำเกินไป

หรือพูดง่ายๆ ว่าราคาหุ้นตก อันเนื่องมาจากสภาวะทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงผลประกอบการและความเชื่อมั่นในตัวของบริษัทนั้นๆ ถูกทำให้สั่นคลอน จนทำให้ราคาหุ้นในปัจจุบันส่อแววถึงอัตราที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

• มีความต้องการที่จะปรับโครงสร้างทางการเงิน

อันเนื่องมาจากการที่บริษัทมีกำไรสะสมเยอะ หรือมีเงินในมือเยอะเกินไป โดยที่ยังไม่ได้ต้องการที่จะนำไปลงทุนอะไร จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้นำเงินส่วนนี้มาซื้อหุ้นคืน เพื่อลดจำนวนหุ้นในตลาด และลดสัดส่วนของผู้ถือหุ้น ทำให้อัตราส่วนทางการเงินดูดีขึ้น

• แก้ปัญหาความขัดแย้งภายในบรรดาผู้ถือหุ้น

เช่นการที่ผู้ถือหุ้นไม่เห็นด้วยกับนโยบายบริษัท การซื้อหุ้นคืนเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพื่อทำให้บริษัทมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น ด้วยการลดจำนวนคนที่ไม่เห็นด้วยนั่นเอง

ข้อควรระวังของการที่บริษัทซื้อหุ้นคืน

เนื่องจากการที่บริษัทซื้อหุ้นคืนนั้น มีทั้งข้อดีข้อเสีย และส่วนใหญ่จะทำการซื้อหุ้นคืนด้วยความจำเป็นจากเหตุผลทั้ง 3 ข้อที่เล่าไปในหัวข้อก่อนหน้านี้ ในส่วนของข้อควรระวังของการที่บริษัทซื้อหุ้นคืนมีดังนี้

  • การซื้อหุ้นคืนอาจกระทบต่อความเสี่ยงในเรื่องหนี้สิน และการขยายธุรกิจในอนาคต เนื่องจากอัตราหนี้สินต่อทุน เพิ่มขึ้น
  • การนำเงินสดที่มีอยู่ส่วนตัว นำมาซื้อหุ้นคืน แทนการไปลงทุนกับโครงการ อื่นๆ ทำให้เสียโอกาสในการสร้างการเติบโตของบริษัท ทำให้บริษัทเติบโตช้าขึ้น และเสียความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งเจ้าอื่นๆ อีกด้วย
  • ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นปรับตัว ส่งผลให้สภาพคล่องของหุ้นลดลง
  • การปรับโครงสร้างทางการเงินอาจจะดูดีขึ้น แต่ต้องพิจารณาผลประกอบการให้ดีว่าบริษัทเติบโตจริงหรือไม่ หรือตัวเลขดูดีขึ้นแค่เพราะบริษัทซื้อหุ้นคืน

ดังนั้นจากข้อควรระวังดังกล่าวแล้ว หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ก็ไม่แนะนำให้บริษัทซื้อหุ้นคืนเท่าไหร่ เพราะผลกระทบอะไรหลายๆ อย่างอาจจะไม่คุ้มกับการซื้อหุ้นคืน ดังนั้นเจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการที่กำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้อยู่ โปรดพิจารณา ข้อดีข้อเสีย และเหตุผลในการที่จะซื้อหุ้นคืนให้ถี่ถ้วน ก่อนที่จะตัดสินใจในการใช้เงินก้อนที่มีอยู่กับการซื้อหุ้นคืน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา