Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

วิธีการกลับรถหรือยูเทิร์นให้ปลอดภัย?

การกลับรถคืออะไร?

สำหรับการกลับรถในขณะที่มีการขับขี่อยู่นั้น จะหมายถึงการหมุนรถ 180 องศา เพื่อย้อนกลับไปยังทิศทางเดิมที่ขับรถมาเป็นรูปตัวยู (U) จึงเรียกกันอีกชื่อว่ายูเทิร์นนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้งในบริเวณจุดกลับรถ เนื่องจากว่าเลนขวาของทางฝั่งตรงข้ามนั้นจะมีไว้สำหรับรถที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูง โอกาสในการอุบัติเหตุจึงจะมีมากกว่าบริเวณอื่น ดังนั้นผู้ขับขี่จึงต้องใช้ความระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ และเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ใช้รถใช้ถนนด้วย จึงจะต้องมีการคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

  • การให้สัญญาณไฟในระยะ 30 เมตร ก่อนจะเลี้ยวรถ จะขอแซง หรือจะเปลี่ยนช่องทางในการเดินรถ ส่วนสัญญาณไฟกะพริบหรือไฟฉุกเฉินนั้นควรจะเปิดก่อนอย่างน้อย 50 เมตร และไม่ควรเปิดพร่ำเพรื่อ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
  • การจอดรถริมไหล่ทางจะต้องจอดในบริเวณที่มีการจัดไว้ให้เท่านั้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรจอดรถริมไหล่ทางที่เป็นทางขึ้นลงสะพาน ถนนที่มีไหล่ทางแคบ หรือถนนรูปคอขวด แต่ถ้าหากว่าจำเป็นจริง ๆ ก็ควรหาป้ายมาตั้งเตือน หรือเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินไว้ เพื่อให้รถคันข้างหลังนั้นมองเห็นได้ในระยะไกล จะได้มีเวลาเตรียมตัวและรับทราบว่าข้างหน้ามีรถจอดอยู่นั่นเอง
  • ควรปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร โดยการดูที่สีของสัญญาณไฟและเข้าใจสัญญาณไฟที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรด้วย เช่น ไฟกะพริบสีแดง แสดงว่าเรากำลังขับรถอยู่ในทางโท ดังนั้นจึงต้องหยุดรถและรอจนกว่าจะปลอดภัยจึงค่อยขับรถไปต่อ เป็นต้น

บริเวณใดสามารถกลับรถได้บ้าง?

อันดับแรกเราสามารถดูได้จากป้ายเตือนจุดกลับรถ ซึ่งผู้ขับขี่ทุกท่านจะต้องผ่านหูผ่านตาจากการสอบใบขับขี่กันมาแล้ว ซึ่งป้ายเตือนจะมีลักษณะเป็นป้ายที่มีพื้นหลังสีเหลือง พร้อมกับมีสัญลักษณ์จุดกลับรถให้รับทราบ เช่น

  • ป้ายเตือนทางจุดกลับรถไปทางซ้าย หมายความว่า ทางข้างหน้าจะมีจุดกลับรถไปทางซ้าย
  • ป้ายเตือนทางจุดกลับรถไปทางขวา หมายความว่า ทางข้างหน้าจะมีจุดกลับรถไปทางขวา

    U-trun.jpg

แต่ถ้าหากว่าป้ายนั้นเป็นป้ายบังคับประเภทห้ามหรือจำกัดสิทธิ์ (Prohibitory or Restrictive Signs) หรือเป็นป้ายจราจรที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ก็จะต้องปฏิบัติตามที่กำหนด เช่น

  • ป้ายบังคับห้ามกลับรถไปทางซ้าย หมายความว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่กลับรถไปทางซ้าย
  • ป้ายบังคับห้ามกลับรถไปทางขวา หมายความว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่กลับรถไปทางขวา

    NO U-trun.jpg

ขั้นตอนการยูเทิร์นหรือการกลับรถ

  1. อันดับให้ทำการเปิดไฟเลี้ยวขวาไว้ก่อน เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้รถคันข้างหลังรู้ว่าเรากำลังจะยูเทิร์นรถข้างหน้า
  2. เมื่อใกล้ถึงจุดกลับรถแล้วให้ชะลอรถ จากนั้นให้มองไปที่รถทางฝั่งตรงข้ามเพื่อกะระยะไม่ต่ำกว่า 100 เมตร แล้วจึงค่อยเลี้ยวรถเพื่อยูเทิร์นได้ แต่ถ้าหากว่ารถทางตรงมาเร็วก็ให้รถทางตรงนั้นผ่านไปก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยเลี้ยวรถเพื่อทำการกลับรถอย่างปลอดภัย
  3. เมื่อเลี้ยวรถยูเทิร์นมาเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ขับเร่งความเร็วเพื่อรีบตั้งลำรถและรีบเข้าเลนถนน ดังนั้นอย่าขับช้าจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้รถที่วิ่งมาทางตรงนั้นเกิดเบรกกะทันหันและอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายตามมาได้นั่นเอง
  4. การยูเทิร์นกลับรถนั้นไม่ควรตีวงกว้างและกินเลนถนนเลนที่ 2 แต่ถ้าหากว่าเป็นรถใหญ่ก็จะสามารถที่จะตีวงกว้างได้ เพื่อความปลอดภัยจากการกะระยะรถทางตรง จะได้ยูเทิร์นรถได้อย่างปลอดภัยและไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้
  5. ดังนั้นการเลี้ยวรถเพื่อยูเทิร์นจึงต้องเป็นการเลี้ยวแบบวงแคบให้ได้มากที่สุด และเมื่อตั้งลำรถเรียบร้อยแล้วก็ให้เราค่อย ๆ ขับรถเข้าเลนซ้ายมือในกรณีที่เราไม่รีบด้วย

ข้อควรระวังในการยูเทิร์นรถหรือการกลับรถ

  1. ควรระวังให้มีระยะห่างจากรถทางตรงไม่ต่ำกว่า 100 เมตร จากจุดที่เรากำลังจะยูเทิร์นรถ และจะต้องคำนวณความเร็วของรถทางตรงด้วย เพื่อความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในขณะที่กำลังจะกลับรถ
  2. ในบริเวณที่มีทางแยกทางร่วมที่มีสัญญาณไฟจราจรสีแดงห้ามกลับรถ ก็ควรรอให้สัญญาณไฟจราจรเปลี่ยนเป็นสีเขียวก่อนจึงจะกลับรถได้ เพราะถ้ามีการฝ่าไฟแดงแล้วกลับรถเลยทันที อาจจะมีปัญหารถทางตรงที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูงพุ่งเข้าชนท้ายรถเราได้ จนเกิดเป็นอุบัติเหตุทำให้มีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้จากเหตุการณ์นี้
  3. อย่าลืมเปิดสัญญาณไฟเลี้ยวรถทุกครั้งก่อนที่จะมีการยูเทิร์นรถ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้รถคันข้างหลังได้รับรู้ จะได้ไม่เกิดอันตรายจากการที่มีรถคันข้างหลังขับตามมา
  4. ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าในระหว่างที่กำลังจะยูเทิร์นรถนั้นไม่มีคนข้ามถนนอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินหรือวิ่งตัดหน้ารถเราจนอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้
  5. ในขณะที่กำลังจะเลี้ยวกลับรถนั้นควรที่จะรีบตั้งลำรถอย่างปลอดภัย และค่อย ๆ แตะคันเร่งเพื่อส่งความเร็วให้รถยนต์ขึ้นไปเลย เนื่องจากเลนขวานั้นเป็นเลนของรถที่ขับเร็ว จึงไม่ควรที่จะขับช้าโดยเด็ดขาด
  6. ระมัดระวังเรื่องการใช้ความเร็วในขณะที่กำลังยูเทิร์นรถ และประเมินสถานการณ์ให้ถี่ถ้วน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา เช่น พื้นถนนลื่น ความเร็วรถทางตรง เป็นต้น
  7. เมื่อยูเทิร์นกลับรถเรียบร้อยแล้ว และต้องการที่จะเปลี่ยนเลนรถไปทางซ้ายมือ ก็ให้ทำการมองรถทางตรงฝั่งซ้ายมือให้ดีก่อน เพื่อหลบรถทางตรงที่วิ่งเร็วให้ปลอดภัยและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้
  8. ห้ามยูเทิร์นรถตัดเส้นสีขาวหรือสีเหลืองที่เป็นเส้นทึบเป็นอันขาด ยิ่งถ้าเป็นเส้นทึบ 2 เส้นยิ่งต้องระมัดระวัง รวมไปถึงบริเวณที่มีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายห้ามยูเทิร์นรถด้วย เพราะเป็นกฎหมายจราจรที่ห้ามฝ่าฝืนและควรปฏิบัติให้ถูกต้องด้วย

กฎหมายจุดกลับรถมีอะไรบ้าง?

จากข้อมูลใน พรบ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 “ลักษณะ 3 การใช้ทางเดินรถ” หมวดที่ 3 การออกรถ การเลี้ยวรถ และการกลับรถได้กล่าวถึงกฎหมายการกลับรถหรือยูเทิร์นรถไว้ดังนี้

  • มาตรา 52 (1)
    ในทางเดินรถที่สวนกันได้ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่กลับรถหรือเลี้ยวรถทางขวา ในเมื่อมีรถคันอื่นสวนมาหรือตามมาในระยะที่น้อยกว่า 100 เมตร เว้นแต่เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถคันอื่น ๆ
  • มาตรา 53 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่
    - เลี้ยวรถหรือกลับรถในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยวขวา ห้ามเลี้ยวซ้าย หรือห้ามกลับรถ
    - กลับรถในเขตที่ปลอดภัย ที่คับขัน บนสะพาน หรือในระยะ 100 เมตรจากทางราบของเชิงสะพาน
    - กลับรถที่ทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถในบริเวณดังกล่าวได้

บริเวณที่ห้ามกลับรถมีจุดไหนบ้าง?

  1. ห้ามกลับรถในทางเดินรถที่สวนกันได้ หรือในขณะที่มีรถคันอื่นกำลังสวนทางมา
  2. ห้ามยูเทิร์นรถในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามเลี้ยวขวา ห้ามเลี้ยวซ้าย หรือห้ามกลับรถ
  3. ห้ามยูเทิร์นรถในระยะที่ต่ำกว่า 100 เมตรจากเขตทางราบเชิงสะพาน บนสะพาน ที่คับขัน หรือในเขตที่ปลอดภัย
  4. ห้ามยูเทิร์นรถบริเวณทางร่วมทางแยก ยกเว้นว่าจะมีเครื่องหมายจราจรติดไว้ว่าสามารถกลับรถได้

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

ยิ่งถ้าเป็นรถยนต์มือหนึ่งป้ายแดง ก็จะแนะนำว่าให้เลือกทำเป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไปเลยจะดีที่สุด เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความคุ้มครองในเรื่องของการซ่อมแซมได้ดีกว่าประกันภัยรถยนต์ชั้นอื่นแล้ว ก็ยังมีจุดเด่นอีกมากมาย เช่น การให้ความคุ้มครองการชนแบบไม่มีคู่กรณี รถไฟไหม้ รถยนต์หาย หรือรถน้ำท่วม ก็จะสามารถส่งเคลมได้ทั้งสิ้น อีกทั้งลูกค้าประกันภัยชั้น 1 ยังจะได้รับบริการสุดพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะลูกค้าที่ทำประกันภัยกับแรบบิท แคร์

ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

นอกจากแรบบิท แคร์ จะมีบริการเปรียบเทียบราคาประกันภัยรถยนต์ที่ใช้งานง่ายและสะดวกสบายให้คุณแล้ว ก็ยังคอยเป็นผู้ดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง เพียงแค่ติดต่อเจ้าหน้าที่ Care Center ที่เบอร์ 1438 เพราะฉะนั้นลูกค้าจึงมั่นใจได้เลยว่าจะมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลืออย่างแน่นอน สามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ แรบบิท แคร์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา