Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันชีวิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

2023_MAY_76_DESKTOP.png
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Oct 06, 2023

อยากเป็นฟรีแลนซ์ (Freelance) ต้องวางแผนการเงินอย่างไร?

ในยุคนี้การจะทำอาชีพนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเป็นข้าราชการ เป็นพนักงานประจำอีกต่อไป แต่ ฟรีแลนซ์ (Freelance) ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ใครหลาย ๆ คนนิยมทำ และกับบางอาชีพ คุณอาจคาดไม่ถึงเสียด้วยซ้ำว่า นี่ก็ถูกนับว่าเป็นฟรีแลนซ์! แต่ใคร ๆ ก็บอกว่าฟรีแลนซ์วางแผนการเงินได้ลำบาก ยื่นภาษียุ่งยาก วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาคุณไปรู้จักกับฟรีแลนซ์ให้มากขึ้นกัน!

freelance คืออาชีพเกี่ยวกับอะไรกันแน่?

ฟรีแลนซ์ (Freelance) คือ รูปแบบการทำงานอิสระ โดยไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ทำงานแน่นอน หรือติดต่อที่สถานประกอบการในระยะเวลาถาวร

ฟรีแลนซ์สามารถทำงานกับหลายลูกค้าหรือโปรเจกต์ที่ต่างกัน และมักจะมีความอิสระในการกำหนดเวลาทำงานและรายได้ที่ต้องการรับ สำหรับลักษณะการทำงานแบบฟรีแลนซ์จึงมักจะเป็นแบบตามสัญญาครั้งละงาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะได้รับค่าตอบแทน และหลังจากนั้นก็อาจจะทำงานต่อกับลูกค้าเดิมหรือหางานใหม่ที่อื่นก็ได้

โดยทั่วไป ฟรีแลนซ์มักใช้พื้นที่ออนไลน์เพื่อหางานหรือโปรเจ็กต์ ทำให้หลายครั้ง อาจมีโอกาสในการทำงานกับลูกค้าจากทั่วโลก ทำให้ข้อดีของการทำงานฟรีแลนซ์ คือ ความอิสระในการวางตารางงานและการทำงาน, การควบคุมรายได้ของตนเอง และมีโอกาสที่จะทำงานในสาขาที่สนใจ

แต่การเป็นฟรีแลนซ์เองก็มีข้อเสียเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเสี่ยงในเรื่องของรายได้ ที่จำต้องวางแผนการเงินให้ดี การขาดแคลนของสวัสดิการที่จะได้รับจากบริษัท หรือองค์กรแบบดั้งเดิม เนื่องจากเป็นการรับงานแบบสัญญาต่องาน มีการแข่งขันในตลาดงานฟรีแลนซ์ค่อนข้างสูง ทำให้ต้องมีความสามารถ, ความรู้, และการตลาดตนเองเป็นสิ่งสำคัญในการประสบความสำเร็จในบทบาทนี้

งาน Freelance มีอะไรบ้าง?

งาน Freelance มีหลากหลายประเภท โดยจะขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญของแต่ละบุคคล ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจ หากเราจะสามารถพบฟรีแลนซ์ในหลายสาขาอาชีพ ยกตัวอย่าง

• สายเขียน

เช่น นักเขียนโฆษณา, นักเขียนบทความ, นักเขียนสคริปต์รายการหรือละคร, นักแปลภาษา และอื่น ๆ

• สายการออกแบบและศิลปะ

เช่น การออกแบบกราฟิก, นักออกแบบลายเสื้อผ้า, นักวาดภาพประกอบ, ช่างภาพ, นักออกแบบสินค้า และอื่น ๆ

• สายไอที

เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ, นักพัฒนาเว็บ, นักพัฒนาแอปพลิเคชั่น, นักทดสอบซอฟต์แวร์, นักออกแบบ UX/UI และอื่น ๆ

• สายงานการตลาดออนไลน์

เช่น ที่ปรึกษาการตลาด, ผู้ประสานงานการตลาดดิจิทัล, ผู้ทำ SEO, ผู้จัดการโฆษณา PPC, แอดมินโซลเชี่ยลต่าง ๆ และอื่น ๆ

• สายการศึกษาและการสอน

เช่น อาจารย์สอนออนไลน์, นักเขียนเนื้อหาทางการศึกษา, ผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำหลักสูตร และอื่น ๆ

หรือบางครั้ง การเป็นไรเดอร์ส่งของ ส่งอาหาร หรือทำอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเอง ก็ถูกนับว่าเป็นฟรีแลนซ์ได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่า ภาพรวมแล้ว งาน Freelance มีหลากหลายประเภทมาก ทั้งการทำงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางและงานที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะทาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ, ทักษะ, และความชอบของคนที่เป็นฟรีแลนซ์ด้วย

ยื่นภาษี ฟรีแลนซ์ ทำอย่างไร?

สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ในไทย จำเป็นจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91) ในทุกปี โดยขั้นตอนสำหรับการยื่นภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ที่ทำงานอิสระ มีดังนี้

1. คำนวณรายได้รวม และหักค่าใช้จ่าย



ให้บันทึกและคำนวณรายได้ทั้งหมดจากงานที่ทำในปีภาษี ซึ่งประกอบด้วยค่าจ้าง, ค่าธรรมเนียม, ค่าบริการ, ค่าสินค้า และรายได้อื่น ๆ จากงานฟรีแลนซ์ที่ทำ โดยไม่ลืมที่จะหักค่าใช้จ่ายด้วย เนื่องจาก มีบางรายการที่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ เช่น ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการทำงาน อย่างไรก็ตาม การหักค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับรูปแบบงานฟรีแลนซ์ที่ทำ และระเบียบข้อบังคับของกรมสรรพากร

2. คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย



โดยปกติแล้ว หากเป็นพนักงานประจำ คุณจะมี ‘ทวิ 50’ เป็นข้อมูลเงินเดือน โบนัส ประกันสังคม ฯลฯ ซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีได้ แต่สำหรับชาวฟรีแลนซ์ที่ไม่มี ทวิ 50 จะต้องเตรียมเอกสาร และคำนวณเงินได้พึงประเมินด้วยตัวเอง

ในกรณีที่เงินค่าจ้างเกิน 1,000 บาท ขึ้นไป ฟรีแลนซ์จะได้รับ ‘ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย’ จากผู้ว่าจ้าง แต่หากเป็นการจ้างที่ไม่เกิน 1,000 บาท อาจจะเก็บเป็นหลักฐานการโอนเงิน รวบรวมเอาไว้ทุกครั้ง เพราะต้องนำมาคิดรวมเป็นเงินได้พึงประเมินด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ การหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงยังไม่ถือเป็นการเสียภาษีขั้นสุดท้าย เมื่อถึงเวลายื่นภาษี เราสามารถนำ 3% ส่วนนี้ เพื่อยื่นขอภาษีคืนได้ (ในกรณีที่เงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท)

และเมื่อรวบรวมเงินได้พึงประเมินของทั้งปีเอาไว้แล้ว ก็เอามาคำนวณเงินได้สุทธิ เพื่อนำไปเทียบอัตราภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งเงินได้สุทธิมาจาก เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

โดยรายการลดหย่อนภาษีให้ยึดตามกฎเกณฑ์ล่าสุด เพราะจะมีการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์กันทุกปี อย่าลืมติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ จะได้วางแผนลดหย่อน เซฟเงินในกระเป๋าได้ทัน!

3. ยื่นภาษี



เมื่อทำการคำนวนภาษีต่าง ๆ เรียบร้อย พร้อมรวบรวมหลักฐานเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถทำการยื่นภาษีได้ 3 ทาง ดังนี้

  • ยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ด้วยตัวเอง ที่สำนักงานกรมสรรพากรในจังหวัดนั้นๆ
  • สำหรับฟรีแลนซ์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถส่งแบบฟอร์มผ่านไปรษณีย์ได้
  • ยื่นออนไลน์ในเว็บไซต์กรมสรรพากร แล้วชำระภาษีผ่านบัตรเครดิต

ฟรีแลนซ์ยื่นภาษี ภงด อะไรบ้าง?

สำหรับใครที่สงสัยว่า ฟรีแลนซ์ยื่นภาษี ภงด. อะไร? นั้น เราอาจจะต้องมาดูกันก่อนว่า ฟรีแลนซ์แบบคุณได้รายได้มาจากอะไรบ้าง? ซึ่งถ้าหากรายได้จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 ตามมาตรา 40 (2) ในประมวลรัษฎากร เช่น

เงินค่าจ้าง, เงินที่ได้จากหน้าที่, ตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ อย่างค่านายหน้า, ค่าส่วนลด, เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน หรือเงินที่ได้จากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นประจำ หรือชั่วคราว ก็ตาม จะยังสามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ได้เช่นเดียวกับพนักงานประจำทั่วไป

ถ้าหากรายได้ของคุณอาจจะไม่ได้มีแค่ทางเดียว หรือมีมากกว่าประเภทที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็ขอให้คุณตรวจสอบข้อมูลรายได้ของตัวเองให้ดี แล้วกรอกข้อมูลตามความจริงให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

และสำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่า รายได้ที่ได้มาจะจัดอยุ่ในประเภทไหน สามารถดูที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้ว่าจ้างออกให้ เพราะทางนายจ้างจะระบุรายได้ไว้ชัดเจนว่าเป็นประเภทไหน หรือถ้าใครไม่แน่ใจจริงๆ กลัวยื่นผิดยื่นเกิน เราแนะนำให้เข้าไปสอบถามที่กรมสรรพากรได้เลย

เรื่องวางแผนการเงินเผื่ออนาคต และการยื่นภาษีฟรีแลนซ์อาจจะดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่หากเราเตรียมข้อมูลเอกสารไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ความยุ่งยากในเหล่านี้จะหายไปอย่างแน่นอน! และสำหรับฟรีแลนซ์คนไหนที่กำลังมองหาการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมนั้น ต้องขอบอกเลยว่า การลดหย่อนภาษีจะมีการปรับเปลี่ยนไปในทุก ๆ ปี แต่ที่ไม่เปลี่ยนแน่นอน คือ การทำประกันชีวิตนั้น ช่วยลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าคุณจะทำงานประจำ หรือเป็นฟรีแลนซ์ก็ตาม!

คลิกเลย กับ แรบบิท แคร์ ที่นี้ นอกจากจะมีประกันชีวิตที่ช่วยลดหย่อนภาษีให้เลือกหลากหลายรูปแบบแล้ว ยังมีประกันออมทรัพย์ อีกหนึ่งทางเลือกการลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับสายฟรีแลนซ์ที่กำลังมองหาการออมเงิน วางแผนการเงินได้ด้วย

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

 แฮปปี้มีเงินใช้แฮปปี้มีเงินใช้

ไทยประกันชีวิต

  • แฮปปี้มีเงินใช้ เบี้ย 5 ปี คุ้มครองนาน 15 ปี
  • ตลอดสัญญา เงินคืน 521%
  • 3% การันตี ทุก 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท ต่อปี
  • อายุ 1 เดือน - 65 ปี สมัครได้
  • จ่ายเบี้ยได้ รายเดือน, 3 เดือน, ปี
  • ทุกอาชีพ อายุผู้สมัคร
ทุนทวี พลัส 20/20 ไทยประกันชีวิตทุนทวี พลัส 20/20

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ยเริ่ม 16 บาท/วัน (500 บาท/เดือน)
  • รับเงินคืน 174% ครบสัญญา ส่วนลดเบี้ย
  • รับเงินคืน 8% ครบ 174% ค่ารักษาหลักแสน
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท
  • อายุ 1 เดือน - 55 ปี สมัครได้
  • อุบัติเหตุ คุ้มครอง 100,000 บาท
  • สมัครง่าย เบี้ยหลักสิบ/วัน คุ้มครอง 20 ปี
ทรัพย์ปันผล 85/10ทรัพย์ปันผล 85/10

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ย 10 ปี คุ้มครอง 85 ปี
  • ครบสัญญา คืน 110% คุ้มครอง 85 ปี
  • ปีละ 1% ปันผล บำนาญ 100%
  • ลดหย่อนภาษี 100,000 บาท
  • อายุ 1 เดือน - 60 ปี สมัคร
  • ชำระเบี้ยได้ รายปี, 6 เดือน, 3 เดือน, เดือน
  • อาชีพไหนก็สมัครได้ ตอบโจทย์ทุกวัย
มันนี่ เซฟวิ่ง ไทยประกันชีวิตมันนี่ เซฟวิ่ง

ไทยประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 6 ปี คุ้มครอง 14 ปี
  • เงินคืนสูงสุด 10% ปี 2-13
  • 666% ผลประโยชน์
  • ออมและลดภาษี 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน ถึง 65 ปี
  • รับผลประโยชน์ 2% - 600% เป็นขั้นบันได
  • ไม่เกิน 15% ของรายได้

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา